Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด (Amniotic fluid embolism) - Coggle…
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด (Amniotic fluid embolism)
ความหมาย
ภาวะที่มีน้ำคร่ำผ่านเข้าสู่กระแสเลือดของมารดา ซึ่งจะเข้าไปในหลอดลมฝอยในปอดแล้วไปอุดกั้นบริเวณหลอดเลือดดำที่ปอดทำให้เกิดภาวะล้มเหลวของการทำงานระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ
ลักษณะเฉพาะ
ภาวะความดันโลหิตต่ำอย่างทันทีทันใด
ภาวะขาดออกซิเจน
ภาวะความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
ปัจจัยส่งเสริม
การเร่งคลอด
ทารกตายในครรภ์เป็นเวลานาน
การคลอดเฉียบพลัน
รกเกาะต่ำ
รกรอกตัวก่อนกำหนด
มดลูกแตก
มารดามีบุตรหลายคน
การบาดเจ็บในช่องท้อง
การผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
มารดาตั้งครรภ์หลังที่มีอายุมากกว่า35ปี
น้ำคร่ำมีขี้เทาปน
การเบ่งคลอดขณะถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก
การเจาะถุงน้ำคร่ำ
การรูดเพื่อขยายปากมดลูก
การหมุนเปลี่ยนท่าทารกภายในและภายนอกครรภ์
การตรวจวินิจฉัยน้ำคร่ำก่อนคลอด
อาการและอาการแสดง
มีอาการหนาวสั่น
เหงื่อกอกมาก
คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล
หายใจลำบากเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวทันทีทันใด เขียวตามใบหน้าและลำตัว
เกิดภาวะน้ำคั่งในปอด
เส้นเลือดที่หัวใจตีบ
ความดันโลหิตต่ำมาก
หมดสติและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ชัก
ถ้าเกิดอาการนานกว่า1ชั่วโมง ผู้คลอดยังมีชีวิตอยู่จะเกิดภาวะกลไกการแข็งตัวของเลือดเสียไปและเกิดอาการตกเลือดอย่างรุนแรง
การวินิจฉัย
วินิจฉัยจากอาการและอาการแสดง
ระบบหายใจล้มเหลว
อาการเขียว
เส้นเลือดหัวใจหดเกร็ง
เลือดออก
ไม่รู้สติ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาเซลล์ผิวหนัง ขนอ่อน
autopsy
CVP line
เสมหะ
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)จะบลักษณะ tachycardia STและ T wave เปลี่ยนแปลง
ตรวจการไหลเวียนของเลือดในปอดอาจพบความบกพร่องในการกำซาบได้
การตรวจหา Sialy 1TH antigen จะพบมีระดับสูงขึ้นในน้ำคร่ำที่มีขี้เทาปนเปื้อน
ผลกระทบ
👧ต่อมารดา
อาจเสียชีวิตจากการเสียเลือด ช็อค ถ้ารอดชีวิตมักมีอาการทางเส้นประสาทเนื่องจากขาดออกซิเจนรุนแรง
👶
ต่อทารก
มารดาที่หัวใจและปอดหยุดทำงานโอกาสรอดของทารกมีค่อนข้างน้อย ทารกที่รอดชีวิตจะมีภาวะบกพร่องทางระบบประสาท
การป้องกัน
ขณะเจ็บครรภ์คลอดไม่ควรเร่งให้มดลูกหดรัดตัวถี่เกินไป
เจาะถุงน้ำคร่ำควรทำอย่างระมัดระวังไม่ให้ถูกปากมดลูก
การกระตุ้นการเจ็บครรภ์ในรายที่เด็กตายในครรภ์โดยใช้ Oxytocin drip ควรทำอย่างระมัดระวัง และไม่ควรเจาะถุงน้ำก่อนปากมดลูกเปิดหมด
ไม่ควรกระตุ้นการเจ็บครรภ์โดยวิธีเลาะแยกเยื่อถุงน้ำคร่ำ
รายที่มีภาวะรกเกาะต่ำการตรวจภายในควรจะทำอย่างระมัดระวัง
การรักษา
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง จัดท่านอน Fowler's position ให้ออกซิเจน100%
ดูแลระบบการไหลเวียนเลือดโดยการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำเพื่อเพิ่มปริมาตรเลือดพลาสมา
ดูแลการหดรัดตัวของมดลูกโดยให้ยา Oxytocinและ methergin
เตรียมยาในการช่วยเหลือชีวิตหากมีความดันโลหิดต่ำ เช่น Dopamine , Norepinephrine,Epinephrine
รักษาภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติโดยให้ยา Heparin
ประเมินการเสียเลือดทางช่องคลอด
ให้ยา
Morphine
ลดการคั่งของเลือดดำในปอดอาการหอบและเขียว
Digitalis
ช่วยให้หัวใจบีบตัวช้าลง แรงขึ้น เลือดออกจากหัวใจมากขึ้น
Hydrocortisone
1gm IV drip ช่วยลดภาวะหดเกร็งของหลอดเลือดแดงฝอยของปอดทำให้การดูดซึมกลับของสารน้ำในเนื้อเยื่อต่างๆดีขึ้น
Isoprenaline
o.1 gm IV เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดในปอดและการทำงานของหัวใจดีขึ้น
ให้ Fresh whole blood,FFP,Platelet concentrated
ถ้าทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่ ผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้องโดยด่วน
หาก PPH ให้ยาช่วยการหดรัดตัวของมดลูก คลึงมดลูกตลอดเวลา หากไม่ได้พิจารณาตัดมดลูกออก
หากผู้คลอดรอดชีวิต แก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
การพยาบาล
เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
หากมีอาการชักเกร็งภาวะเขียวทั่วทั้งตัว
จัดท่านอนท่า Fowler
ให้ออกซิเจน
ให้สารน้ำและเลือดตามแผนการรักษา
เฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก
เตรียมช่วยเหลือการคลอดโดยคีมหรือผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
เตรียมช่วยฟื้นคืนชีพ ในรายที่เกิดหัวใจล้มเหลว
ใช้เครื่องช่วยหายใจใน 2-3 วันแรก
ดูแลและให้กำลังใจต่อครอบครัวถ้ามารดาและทารกเสียชีวิต
ข้อวินิจฉัย
เสี่ยงต่อการเกิดภาะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอดเนื่องจากมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
เสี่ยงต่อการตกเลือดอย่างรุนแรงและเกิดภาวะช็อกเนื่องจากการขาดกลไกการแข็งตัวของเลือดและมดลูกไม่หดรัดตัว
เกิดภาวะขาดออกซิเจนทั้งมารดาและทารกเนื่องจากการหดรัดเกร็งของหลอดเลือดที่ปอดมารดา
พยาธิสภาพ
น้ำคร่ำผ่านเข้าสู่กระแสเลือดของผู้คลอดผ่านเข้าสู่หัวใจและปอดทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดฝอยในปอดทำให้หลอดเลือดเกิดการหดเกร็งเลือดที่ไหลผ่านปอดเข้าสู่หัวใจซีกซ้ายลดลงทันทีเกิดภาวะช็อคจากหัวใจความดันในหลอดเลือดปอดสูงขึ้นเกิดเลือดคั่งในปอดส่งผลให้หัวใจซีกขวาไม่สามารถบีบตัวดันเลือดให้ผ่านปอดได้จึงเกิดภาวะปวดบวมน้ำตามมาตามมาด้วยภาวะการแข็งตัวของเลือดเป็นลิ่มเล็กๆแพร่กระจายในหลอดเลือด ผู้คลอดเสียเลือดมากและเสียชีวิตในที่สุด