Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะการเรียนรู้บกพร่อง (Learning Disabilities) - Coggle Diagram
ภาวะการเรียนรู้บกพร่อง (Learning Disabilities)
ความหมาย
กลุ่มอาการที่มีปัญหาหรือขาดทักษะด้านการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยความบกพร่องในการอ่าน เขียน และคณิตศาสตร์
สาเหตุ
1.พันธุกรรม คาดว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เด็กมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ทั้งนี้ นักวิจัยบางส่วนโต้แย้งว่าเด็ก LD อาจไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่เกิดจากการเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่
2.พัฒนาการสมอง บางทฤษฎีกล่าวว่าเด็กที่มีพัฒนาการสมองผิดปกติ เช่น เด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่ามาตรฐาน คลอดก่อนกำหนด สมองขาดออกซิเจน หรือได้รับอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง อาจมีแนวโน้มเกิดภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้มากกว่าเด็กทั่วไป
3.สิ่งแวดล้อม การสูดดมหรือสัมผัสสารพิษจากสิ่งแวดล้อมเป็นประจำ เช่น สารตะกั่ว รวมถึงโภชนาการที่ไม่ดีตั้งแต่เด็ก อาจส่งผลให้เกิดความพร่องทางการเรียนรู้
อาการทางคลินิก
เรียนช้า ผลการเรียนตกต่ำ ซ้ำชั้น หรือปัญหาพฤติกรรม อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นต้นไป
การวินิจฉัย
ซักประวัติ เรื่องทักษะการปรับตัวความสามารถในการช่วยเหลือตนเองเพื่อแยกโรคสติปัญญาบกพร่อง ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติพัฒนาการก่อนหน้า ปัญหาในครอบครัวและสังคมที่อาจส่งผลต่อการเรียนของเด็ก
ชื่อตามหลัก ICD 10 F81 Specific developmental disorder of scholastic skills ความผิดปกติในการพัฒนาของทักษะในการเรียนรู้
การตรวจร่างกาย ในเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ มักไม่พบความผิดปกติแต่แพทย์ควรตรวจร่างกายอย่างละเอียดเนื่องจากความผิดปกติทางระบบประสาทและ พันธุกรรมอาจมีปัญหาการเรียนเป็นอาการนำได้ควรวัดการเจริญเติบโต สังเกตความผิดรูปของใบหน้า รอยโรคที่ผิวหนัง เป็นต้น
การตรวจทางพัฒนาการที่สำคัญ ได้แก่การตรวจระดับเชาว์ปัญญาของเด็กเพื่อแยกปัญหาการเรียนจากสติปัญญาบกพร่องโดยเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ผลการตรวจระดับเชาว์ปัญญามักอยู่ในเกณฑ์ปกติโดยอาจวัดระดับเชาว์ปัญญาอย่างง่ายGesell drawing test หรือ Draw-A-person test ก่อนส่งตรวจระดับเชาว์ปัญญามาตรฐานโดยนักจิตวิทยา
การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือ achievement test เป็นการตรวจที่สำคัญในความบกพร่องในการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ Wide Range Achievement Test หรือ WRAT-Thai เครื่องมือนี้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3 ด้าน ได้แก่การอ่าน การสะกดคำและคณิตศาสตร์
การวินิจฉัยตาม DSM-5 ของความบกพร่องในการเรียนรู้
เด็กต้องมีความยากลำบากในการเรียนรู้อย่างน้อย 1 ข้อตามเกณฑ์ต่อไปนี้ โดยอาการดังกล่าวต้องปรากฏอยู่นานอย่างน้อย 6 เดือนขณะได้รับการบำบัดรักษาที่จำเพาะแล้ว:
1.1 อ่านไม่ถูกต้อง อ่านช้า และยากลำบากในการอ่าน
1.2 ยากลำบากในการทำความเข้าใจเรื่องที่อ่าน
1.3 ยากลำบากในการสะกดคำ
1.4 ยากลำบากในการเขียน
1.5 ยากลำบากในการใช้จำนวน หลักทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ
1.6 ยากลำบากในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
มีผลกระทบต่อทำให้มีทักษะการเรียนต่ำกว่าวัย และรบกวน การเรียน การทำงานกิจกรรมและชีวิตประจำวัน ยืนยันโดยผลการวัดความสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาตรฐาน และการประเมินทางคลินิกอย่างละเอียด สำหรับเด็กอายุมากกว่า 17 ปี สามารถใช้ประวัติผลการเรียนในอดีตแทนผลการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาตรฐานได้
ความยากลำบากนี้เกิดขึ้นช่วงวัยเรียนแต่อาจไม่แสดงอาการเต็มที่จนกว่าจะมีความต้องการที่จะใช้ทักษะที่เด็กมีความยากลำบากนั้น
ความยากลำบากในการเรียนนี้ต้องไม่สามารถอธิบายได้จาก สติปัญญาบกพร่อง การรับรู้ที่ผิดปกติที่ยังไม่ได้แก้ไข ความผิดปกติทางจิตใจและระบบประสาท ปัญหาทางจิตสังคม บกพร่องในภาษาตามหลักสูตร
หรือ การเรียนการสอนที่ไม่เพียงพอ
การพยาบาล
อธิบายเด็กและผู้ปกครองในเข้าใจถึงความผิดปกติที่ส่งผลต่อการเรียนของเด็ก แพทย์ควรเขียนจดหมายถึงครูเพื่ออธิบายถึงข้อบกพร่องและจุดแข็งของเด็กที่ได้จากการประเมินเพื่อการดูแลรักษาร่วมกัน
2.ดูแลรักษาโรคร่วมที่พบได้ เช่น การให้ยาหากพบว่ามีโรคซนสมาธิสั้น หรือการปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นหากมีปัญหาด้านอารมณ์หรือการปรับตัวร่วมด้วย
3.ส่งเสริมทักษะที่เด็กถนัดนอกเหนือจากการเรียนเช่นกีฬา ดนตรีหรือศิลปะ ซึ่งทาให้เด็กมีความนับถือตนเองมากขึ้นเนื่องจากมีความสามารถที่เป็นที่ยอมรับ และมีประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคต
4.ให้เวลาเด็กในการทำงานที่ต้องใช้ทักษะที่เด็กบกพร่องนานขึ้น ประเมินผลโดยคำนึงถึงความบกพร่องของเด็ก
5.การดูแลรักษาเฉพาะด้าน เนื่องจากความผิดปกติในการเรียนรู้มีความแตกต่างกันในแต่ละด้านซึ่งมีการดูแลรักษาเฉพาะด้านประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่
5.1 การบำบัดรักษา(Intervention) คือการฟื้นฟูทักษะที่จำเพาะในด้านที่บกพร่อง
5.2 การช่วยเหลือ(Accommodation) คือการดูแลช่วยเหลือให้เด็กสามารถเรียนร่วมกับเพื่อนได้ ทำงานหรือประกอบอาชีพได้แม้ยังมีความบกพร่องในการเรียนรู้อยู่ โดยวิธีการหรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (assistive technology
การบำบัดรักษา
ด้านการอ่าน
1.ฝึกการแยกแยะเสียงเช่น ฝึกหาคำที่ขึ้นต้นด้วย /ม/
2.ฝึกการสะกดคำระบบโฟนิค (phonics instruction)
ได้แก่การสอนการเชื่อมเสียงกับพยัญชนะ การสอน
การประสมคำเป็นต้น
3.ฝึกความคล่องในการอ่าน ได้แก่การอ่านตามและ
แก้ไขคำที่อ่านผิดโดยผู้ใหญ่ หรือที่เรียกว่า guided
repeated oral reading
4.การสอนคำศัพท์ (Vocabulary)
5.การฝึกความเข้าใจภาษา (Comprehensions)
โดยการตั้งคำถามหลังจากเด็กอ่าน หรือฝึกให้สรุป
ความ
ด้านการเขียน
1.ฝึกทักษะการใช้มือและการเขียนโดยควรแนะนำ
ให้เด็กเขียนบ่อยๆ อาจเขียนโดยมีเส้นกำกับ ฝึก
การเขียนในตัวอักษรที่สับสนบ่อยๆเช่น ม กับ น
หรือ ผ กับ พ เป็นต้น
2.ปรึกษานักกิจกรรมบำบัดเพื่อช่วยเหลือให้
คำแนะนำในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การจับปากกา
หรือดินสอ
3.สอนให้เด็กวางแผนก่อนการเขียน และ ตรวจทาน
ก่อนส่งทุกครั้ง
ด้านคณิตศาสตร์
1.สอนความเข้าใจจำนวน สอนให้เด็กเข้าใจเรื่องการ
เปรียบเทียบจำนวนมากน้อย การจับคู่ระหว่าง
ตัวเลขกับจำนวน สอนการนับ
2.สอนหลักการคำนวณ โดยเริ่มจากการสอนกฎทาง
คณิตศาสตร์ต่างๆ
แบบประเมินและคัดกรอง
การทดสอบระดับสติปัญญา (IQ test)
เพื่อเป็นการวินิจฉัยปัญหา เช่น นักเรียนผู้หนึ่งมีความสามารถทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก นักแนะแนวต้องตั้งสมมติฐานว่า อาจเป็นเพราะสาเหตุเนื่องจากระดับสติปัญญาต่ำ หรือองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
เพื่อทำนายความสำเร็จของบุคคล โดยเฉพาะความสำเร็จทางการเรียน
แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (WRATtest =the wide range achievement test
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินวินิจฉัยภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนที่ศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โดยวัดความสามารถทางการเรียนรู้ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการอ่านคำ ด้านการเขียนสะกดคำและด้านคณิตศาสตร์
ปัญหาทางการพยาบาล
มีความบกพร่องของการสื่อภาษาเนื่องมาจากไม่ได้รับ
การกระตุ้น/มีความผิดปกติของสมอง
การพยาบาล
มีความสม่ำเสมอในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดความไว้วางใจและผู้ดูแลสามารถเข้าใจการสื่อความหมายของเด็ก
ดูแลตอบสนองความต้องการให้แก่เด็ก
พยาบาลมีความมั่นใจว่าเข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อสารได้ถูกต้อง
ให้แรงเสริมทางบวก เมื่อเด็กสื่อสารโดยการสบตา