Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติหลอดเลือดและการไหลเวียนเลือด - Coggle Diagram
ความผิดปกติหลอดเลือดและการไหลเวียนเลือด
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตเกิดจาก จำนวนเลือดที่ออกจากหัวใจ (Cardiac output) และความต้านทานหลอดเลือด (Peripheral vessel resistant)
ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความดันโลหิต
1.ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจ (Cardiac output)
2.ปริมานเลือดในร่างกาย (Blood volume)
3.Resistance ประกอบด้วย
3.1 ความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือดแดง (Flexibility of arterial wall)
3.2 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือด (Diameter of artery)
3.3 ผนังหลอดเลือดหนา (Thickness)
ความดันโลหิตสูงมี 2 ประเภทคือ
1.ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ (Essential or primary hypertension) ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด มีความเชื่อว่ามีความเกี่ยวพันการปฎิบัติตัวเช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย เป็นต้น
2.ความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุ (Secondary hypertension) เช่น โรคเกี่ยวกับไต และต่อมหมวกไต เป็นต้น
การแบ่งระดับของความดันโลหิตสูง
ระดับความดันโลหิตปกติคือ ต่ำกว่า 120/80 mmHg
ระดับขั้นของความดันโลหิตสูง มี 3 ระดับ ดังนี้
1.Prehypertension ระดับความดันโลหิตอยู่ในช่วง 120/80-139/89 mmHg
2.Stage 1 ระดับความดันโลหิตอยู่ในช่วง 140/90-159/99 mmHg
3.Stage 2 ระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 160/100 mmHg เป็นต้นไป
ระดับความดันโลหิตที่สูงมากขั้นวิกฤติ (Hypertensive crisis) คือมีระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 180/110 mmHg เป็นต้นไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.Hypertensive urgency มีความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 180/110 mmHg เป็นต้นไป แต่ยังไม่มี อวัยวะเป้าหมายที่สำคัญถูกทำลาย (Target organ damaged)
2.Hypertensive emergency มีความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 180/110 mmHg เป็นต้นไป และมีสัญญาณของอวัยวะเป้าหมายที่สำคัญถูกทำลาย (Target organ damaged) เช่น ตา ไต หัวใจ สมองและหลอดเลือด
สาเหตุของความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ
1.โรคไต
2.โรคของต่อมไร้ท่อ
3.ความผิดปกติทางระบบประสาท
ได้รับยาบางชนิด ได้แก่ ยากินคุมกำเนิด
ยากลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์
อาหารที่มีสารธัยรามีน เช่น เนยเก่า ตับไก่ เบียร์ ไวน์
ภาวะเครียดเฉียบพลัน: psychogenic hyperventilation ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ความผิดปกติของหลอดเลือด หลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) หลอดเลือดเออร์ต้าตีบคอด (Coarctation of aorta) มีปริมาตรน้ำในหลอดเลือดมาก
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์
Renovascular disease
Pheochromocytoma
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ (Non modifiable risk factor)
-ประวัติครอบครัว พันธุกรรมและปัจจัยหลายอย่าง
-อายุ (Age) ความดันโลหิตสูงแบบปฐมภูมิพบบ่อยในช่วงอายุ 30-50 ปี อัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น
-เพศ (Sex) ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง
-เชื้อชาติ (Race)
ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ (Modifiable risk factor)
-ภาวะ (Stress) ตัวกระตุ้นทำให้มีภาวะเครียดมีมากมายเช่น เสียง การติดเชื้อ การอักเสบ ความเจ็บปวด การได้รับออกซิเจนลดลง อากาศเย็น ทำงานหนัก เป็นต้น
-อ้วนมาก (Obesity) โดยเฉพาะอ้วนลงพุง (พุงใหญ่ แขนขาเล็ก)
-สารอาหาร โดยเฉพาะโซเดียม
-สารเสพติด บุหรี่ แอลกอฮอล์
-ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมทางกายน้อย (Inactivity)
โรคหลอดเลือดสมอง Stroke
สรีรภาพของสมอง ได้รับเลือดที่สูบฉีดจากหัวใจไปเลื้ยงโดยเลือดได้นำออกซิเจน กลูโคส และสารอาหารต่าง ๆ ไปเลี้ยง ดังนั้นเมื่อมีความผิดปกติของหลอดเลือดไปเลี้ยงสมอง มีผลต่อการทำลายของเซลสมอง
โดยปกติ สมองมีเลือดมาเลี้ยงประมาณ 50 - 55 มล. /100 กรัมของสมอง/ นาที
ถ้า<18 มล. /100 กรัมของสมอง/ นาที เซลล์สมองจะเสียหน้าที่ทางสรีระ
ถ้า <15 มล./100 กรัมของสมอง/ นาที จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์สมองอย่างถาวร
ประเภทของ Stroke
1.Ischemia stroke เป็นภาวะ Stroke ที่เกิดมากที่สุดประมาณ 80% ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง ประกอบด้วย
1.1 Thrombosis เกิดจากการที่ผนังหลอดเลือดแดงผิดปกติเช่น หนาขึ้น แข็ง และไม่ยืดหยุ่น เกิดขึ้นที่หลอดเลือดแดงใหญ่หรือหลอดเลือดแดงเล็ก
1.1.1 Large artery มักพบว่ามีการตีบของหลอดเลือดแดงที่ Right or left carotid artery หรือ right or left vertrabral artery
1.1.2 Small artery บางครั้งเรียกว่า Lacunar infarction เกิดการตีบของหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่ไปเลี้ยงสมอง มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน ๆ
1.2 Emboli การเกิด Stroke จากลิ่มเลือด ซึ่งสาเหตุของการเกิด ลิ่มเลือดมีสาเหตุจาก
1.2.1 การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ เช่น CHF หรือ MI ที่มีผลต่อการสูบฉีดเลือดไม่ดี เกิดเลือดไหลวนเวียนอยู่ในหัวใจ เกิดเป็นลิ่มเลือดขึ้น
1.2.2 การเต้นของหัวใจผิดปกติ ได้แก่ AF
1.2.3 เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis)
Hemorrhagic stroke เป็นภาวะ Stroke ที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ประกอบด้วย
2.1 Intracerebral hemorrhage เป็นภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง มักมีสาเหตุจาก uncontrolled HT, trauma, Bleeding disorder, vascular malfunction, drug abuse
2.2 Subarachnoid hemorrhage เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ผิวสมองแตก (anurysm rupture) มักมีสาเหตุจาก สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความดันโลหิตสูง พันธุกรรม ยาและสารพิษอื่น ๆ
อาการของ Stroke
1.ระยะเฉียบพลัน (Acute stage) เป็นระยะ 24 - 48 ชั่วโมง ผู้ป่วยมีอาการหมดสติ มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ระบบการหายใจและการทำงานของหัวใจผิดปกติ
2.ระยะหลังเฉียบพลัน (Post acute stage) เป็นระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการคงที่ 1- 14 วัน
ระยะฟื้นฟูสภาพ (Recovery stage) 3 เดือนแรก
ปัจจัยเสี่ยง
1.ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
-อายุ อายุที่สูงขึ้นมีภาวะเสี่ยงสูงขึ้น
-เพศ ชายมีภาวะเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
-ประวัติครอบครัว
-ประวัติเคยเป็น โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke มาก่อน
ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้
-เป็น HT, DM, สูบบุหรี่, สุรา หรือยาเสพติด
-โรคของ carotid artery disease และ peripheral
-โรคของหัวใจและระบบไหลเวียน cardiovascular disease (HF, congenital heart defects, CHD, cardiomegaly, cardiomyopathy)
-Atrial Fibrillation
-Transient ischemic attack (TIA)
-ไขมันในเลือดสูง
-อ้วน
-ไม่ออกกำลังกาย
Thrombopheblitis
สาเหตุ Thrombopheblitis หมายถึง การอักเสบของผนังหลอดเลือดดำร่วมกับการอุดตันโดยลิ่มเลือดที่หลอดเลือดดำ มักพบผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่ อ้วน ตั้งครรภ์ ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ที่ทำให้เลือดมีการไหลชะลอตัว เกิดลิ่มเลือดสะสมที่ผนังหลอดเลือดทำให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือดและเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบ อันตรายคือ ลิ่มเลือดลอยไปอุดตันหลอดเลือดที่อวัยวะสำคัญ เช่น ปอด สมอง ไต
อาการ ปวดบริเวณที่เกิดหลอดเลือดอักเสบ บวม แดง มีการขาดเลือดของอวัยวะที่มีการอุดตัน เช่น อวัยวะส่วนปลายบวม ซีด ปวดน่องเวลากระดกนิ้ว (Homann’s sign) หลอดเลือดดำตื้น ๆ แข็ง บาง แตกง่าย อาจพบคลำชีพจรปลายเท้าได้เบาลง
การรักษา
1.ให้ยาขยายหลอดเลือด และยาละลายลิ่มเลือด เช่น Heparine, coumarin
2.ถ้ารักษาด้วยยาไม่ได้ผลทำการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหรือเอาก้อนเลือดออก
การพยาบาล
1.ห้ามวิ่ง เดินนาน หรือยกน้ำหนัก
2.ใส่ผ้ายืดหรือถุงน่องรัดขาไว้ สังเกตอาการเลือดออกจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือด
3.ห้ามใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน
4.ดูแลป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำโดยการจัดการปัจจัยเสี่ยง
5.ลดน้ำหนัก
หลอดเลือดดำและแดงอักเสบ
Thromboangitis Obliteranns, TAO, Buerger’s disease
เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงและดำทั้งขนาดกลางและเล็ก บริเวณแขนและขาอักเสบแบบเฉียบพลัน โดยไม่ทราบสาเหตุ
อุบัติการณ์ พบมากในผู้ชายอายุระหว่าง 20-35 ปี ที่มีประวัติสูบบุหรี่
อาการ ในระยะแรก มีอาการปวดบริเวณขา และหลังเท้ารุนแรง อาจมีอาการปวดน่องร่วมด้วยเวลาเดิน เดินไม่ได้ไกล เป็นตะคริวบ่อยที่เท้าและน่อง หลังเดินหรือออกกำลังกาย อาการหายไปเมื่อพัก อาการเหล่านี้เรียกว่า Intermittent Claudication อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่ออารมณ์แปรปรวน สูบบุหรี่ อากาศเย็น ถ้าหลอดเลือดอักเสบที่มือ จะมีอาการดังกล่าวที่มือ
ในระยะต่อมาจะมีแผลเรื้อรัง ตามนิ้วมือ นิ้วเท้า ในที่สุดอาจถูกตัดนิ้วมือและเท้าได้
การวินิจฉัย
เบื้องต้นจากประวัติ
การตรวจ ABI หรือ Droppler ultrasound, Artheriograms เพื่อวินิจฉัย
ภาวะขาดเลือดที่หลอดเลือดส่วนปลาย
การรักษา/พยาบาล มีเป้าหมายเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนปลายได้ดีขึ้น
1.งดสูบบุหรี่
2.รักษาแผลเรื้อรังที่เท้า
3.ให้ยาขยายหลอดเลือด แก้ปวด ตามอาการ
4.ให้ยา NSIAD เมื่อมีอาการหลอดเลือดดำอักเสบ
การรักษาโดยการผ่าตัด
5.1 Debride แผล เป็นการตัดเนื้อตายที่แผล
5.2 Lumbar sympathectomy ตัดเส้นประสาทซิมพาเธติคที่เอวออก เพื่อลดการหดเกร็งของหลอดเลือดแดงทำให้เลือดมาเลี้ยงที่ปลายเท้าเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 70 จะได้ผลดีในการทำให้แผลเรื้อรังหาย
5.3 การผ่าตัดหลอดเลือดซึ่งมักไม่ได้ผลเพราะหลอดเลือด ที่ต่อไว้มากกว่าร้อยละ 50 จะตีบภายใน 1 ปี
หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
(Peripheral arterial disease/PAD/Arterial occlusion)
โรคหลอดเลือดตีบ หมายถึงหลอดเลือดแดงขนาดกลาง หรือเส้นใหญ่ มีการสะสมของไขมัน และแคลเซี่ยมที่ผนังด้านในของหลอดเลือดแดง เมื่อสะสมมีขนาดใหญ่พอ ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะน้อยลง
สาเหตุ คือการที่ผนังหลอดเลือดแดง (intima)ได้รับอัตรายซึ่งอาจจะเกิดจาก
-แรงดันของความดันโลหิต
-การอักเสบจากโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน
-โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น Chlamydia pneumoniae or Helicobacter pylori) หรือเชื้อไวรัสบางตัวเช่น cytomegalovirus
-สารเคมีในร่างกาย เช่น ไขมัน Cholesterol น้ำตาล เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ การสูบบุหรี่
ไขมันในเลือดสูง
ความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน
โรคอ้วนลงพุง
ขาดการออกกำลังกาย
รับประทานอาหารไม่ถูกต้อง
เพศ
อายุ
ประวัติการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดตีบก่อนวัยในครอบครัว
อาการ คล้ายหลอดเลือดแดงอักเสบ คือ จะมีอาการปวดรุนแรงบริเวณที่หลอดเลือดแดงไปเลี้ยง เช่น บริเวณ แขน ขา น่อง
การรักษา/พยาบาล
การดูแลรักษาแบบประคับประคอง
การเดินเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กระตุ้นให้เดินจนกระทั่งเริ่มปวด แล้วหยุด เมื่อหายปวดเริ่มเดินใหม่ การเดินจะทำให้หลอดเลือดที่ขามีการสร้างขึ้นใหม่ ช่วยทำให้เดินได้นานขึ้น ปวดน้อยลง
หลีกเลี่ยงการประคบน้ำแข็งหรือน้ำร้อน
สวมรองเท้าที่คับพอดี
การรักษาด้วยยา
2.1 การใช้ยา โดยใช้ ยาต้านเกล็ดเลือด Anti-Platelet Agents – ยาในกลุ่มนี้จะลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เดินได้ไกลขึ้น ยาที่สำคัญได้แก่
Aspirin - ขนาด (81-325 mg) เป็นยาหลักที่ใช้รักษา
Clopidogrel bisulfate (Plavix) – เป็นยาต้านเกล็ดเลือดใหม่ที่ใช้รักษาโรคหัวใจ
2.2 Anticoagulation Agents – ยาละลายลิ่มเลือด ยาที่ใช้ได้แก่
Warfarin การปรับยาต้องเจาะเลือดตรวจ เพราะหากให้มากไปอาจจะเกิดเลือดออกในช่องท้องหรือสมอง
การผ่าตัด
4.การพยาบาลหลังผ่าตัด
1.จัดท่านอนราบขาเหยียดตรง ห้ามงอ ห้ามเอาหมอนรองใต้เข่าเนื่องจากมีระบบไหลเวียนเลือดลดลง
2.สังเกตออาการ Bleeding, pain, infection, ขาดเลือด, หายใจและวิตกกังวล
3.เฝ้าระวังภาวะเลือดออกง่ายเนื่องจากได้รับยา Anticoagulance ได้แก่ heparin
4.คำแนะนำป้องกันกลับเป็นซ้ำ ได้แก่ งดบุหรี่ ควบคุมไขมันในเลือด เบาหวาน และความดันโลหิต
5.สังเกตอาการผิดปกติ 6 P ได้แก่ ปวดขามาก ไข้ แขนขาอ่อนแรง เย็น คลำชีพจรไม่ได้ แผลตัดเชื้อให้มาพบแพทย์
หลอดเลือดดำตีบ
(Deep vein thrombosis)
โรค DVT หรือ Deep Venous Thrombosis ก็คือ โรคหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน หรือ "กลุ่มอาการเครื่องบินชั้นประหยัด" (Economy Class Syndrome)
พยาธิสภาพ เส้นหลอดเลือดดำจะนำเลือดที่ใช้แล้วกลับสู่หัวใจ โดยอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ร่วมกับลิ้นในหลอดเลือดดำ หลอดเลือดดำที่ขามี 2 ชนิดคือหลอดเลือดดำที่ผิว superficial veinที่สามารถเห็นได้ด้วยตา ซึ่งจะนำเลือดจากผิวไปสู่หลอดเลือดดำส่วนลึก deep veinซึ่งจะอยู่ในกล้ามเนื้อ หลอดเลือดดำลึกก็จะนำเลือดไปยังหลอดเลือดดำใหญ่ในท้อง inferior venacava
สาเหตุของลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
1.หลอดเลือดดำได้รับอันตราย เช่นอุบัติเหตุกระดูกหัก กล้ามเนื้อถูกกระแทก หรือการผ่าตัด
2.เลือดในหลอดเลือดมีการไหลเวียนช้าลงเช่นการนั่งหรือนอนนาน หลังผ่าตัด อัมพาต การเข้าเฝือก
3.การที่เลือดมีการแข็งตัวง่าย
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
คนแก่ นอนไม่เคลื่อนไหวมากว่า 3วัน
อัมพาต
การเข้าเผือก
หลังผ่าตัดทำให้ต้องนอนนาน
การที่ต้องนั่งรถ รถไฟ เครื่องบิน หรือนั่งไขว่ห้าง
การใช้ยาคุมกำเนิด ฉีดยาเสพติด
การตั้งครรภ์ หลังคลอด
นอนไม่เคลื่อนไหวมากกว่า 3 วัน
โรคมะเร็ง
โรคทางพันธุกรรมบางโรค
อาการ อาการที่สำคัญคืออาการบวมที่เท้าเนื่องจากการไหลกลับของเลือดไม่ดีมักจะบวมข้างเดียว บางรายอาจจะเห็นเส้นเลือดโป่งพอง อาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริวพบได้ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะเวลากระดกข้อเท้าจะทำให้ปวดมากขึ้น เมื่อกดบริเวณน่องก็จะทำให้ปวด
การตรวจร่างกาย
บวมเท้าที่เป็นข้างเดียว และอาจจะกดเจ็บบริเวณน่อง
เมื่อจับปลายเท้ากระดกเข้าหาตัวโดยที่เข่าเหยียดตรง (เรียกการตรวจนี้ว่า Homans Sign) จะมีอาการปวด
อาจจะตรวจพบว่าหลอดเลือดดำโป่งและอาจจะคลำได้ ถ้าเส้นเลือดอักเสบเวลาคลำจะปวด
ไข้ต่ำๆ
การตรวจพิเศษ
1.venography คือการฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดที่สงสัยเพื่อดูว่ามีลิ่มเลือดอุดหรือไม่ แต่ให้ผลการตรวจไม่แม่นยำ และอาจจะเกิดอาการแพ้จึงไม่นิยม
2.venous ultrasound เป็นการใช้ ultrasound ช่วยในการวินิจฉัย วิธีนี้ไม่เจ็บปวดให้ผลดี
3.MRI
การรักษา/พยาบาล
หากวินิจฉัยว่าเป็น DVT จะต้องรีบให้การรักษาโดยรับตัวไวในโรงพยาบาลแพทย์จะเลือกให้ heparin หรือ low molecular weight heparin หลังจากนั้นต้องให้ warfarin เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอีก 3 เดือน
การป้องการคือการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกและการป้องกันเส้นเลือดขอด
วิตามินอีช่วยลดการเกิดโรค
โรคหลอดเลือดดำขอด
(Varicose vein)
พยาธิสภาพ เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดดำให้ผิวหนัง (Superficial vein) เกิดจากลิ้นกั้นในเลือดเลือดเสียหน้าที ทำให้การไหลเวียนเลือดผิดปกติ ไม่สามารถไล่เลือดให้ไหลกลับสู่หัวใจได้หมด จึงเกิดการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำ ทำให้หลอดเลือดดำขยายตัวกว้างใหญ่ขึ้น ยาวขึ้นและหงิกงอ คดเคี้ยว พบได้บ่อยบริเวณขา น่อง ข้อเท้า และหลังเท้า
สาเหตุ การเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดหลอดเลือดขอดเพิ่มขึ้น คือ การยืนนานๆ การตั้งครรภ์ ความร้อน การถูกผูกรัด เช่น การใส่ถุงน่องที่คับเกินไป เป็นต้น กรรมพันธุ์ เชื้อชาติ
เพศ พบว่าเพศหญิงมีอัตราการเกิดสูงกว่าเพศชาย
อาการ ปวดตื้อ ๆ บริเวณขา กล้ามเนื้อเป็นตระคริว
มีอาการเมื่อยล้าขามากผิดปกติ
ถ้าเป็นเส้นเลือดขอดในระดับรุนแรง จนมีหลอดเลือดอุดตัน จะมีอาการบวมปวด ขามีสีคล้ำ
อาจมีแผลที่เท้าจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และติดเชื้อได้ง่าย
การวินิจฉัย การตรวจเบื้องต้นโดยการตรวจ Bodiettrendendelenberg test มีวิธีการโดยให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกขาสูง และรัด Tourniquet ที่ต้นขา หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยยืน แล้วนำสายยางที่รัดออก ถ้ามีเลือดไหลเข้าสู่ Superficial vein แสดงว่า การทำหน้าที่ของลิ้นในหลอดเลือดผิดปกติ (Valve incopetent)
การตรวจยืนยันโดยการตรวจ Ultrasonography และ venography
การรักษา/พยาบาล
1.รักษาแบบประคับประคอง
2.การผ่าตัดนำหลอดเลือดที่ขอดออก
2.1 หลังผ่าตัดพยาบาลควรตรวจสอบเกี่ยวกับการตกเลือด (Hemorrhage)
ควรคลำ pedal pedis pulse ตรวจการทำหน้าที่ของ Motorและ Sensory ของขาทุก 2 ชั่วโมง เป็นเวลานาน 8 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
คลายผ้ายืดวันละ 3 ครั้ง และพันใหม่ทุกครั้ง
เมื่อผู้ป่วยฟื้นแล้วสามารถเดินได้ตั้งแต่วันแรก แต่ต้องพันขาและสวมถุงน่องไว้นานประมาณ 1 เดือน เวลานอนควรยกขาขึ้น นอกจากนี้ควรออกกำลังกายขาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เลือดบริเวณขาไหลเวียนดีขึ้น
2.2 ซึ่งหลังผ่าตัดต้องให้แนะนำเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ได้แก่
ห้ามนั่งไขว่ห้าง
ออกกำลังกายเป็นประจำ และออกกำลังขาโดยการนอนยกขาสูง
ลดน้ำหนัก
หลีกเลี่ยงการยืนนาน ๆ