Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ
เชื้อโรค อาจเรียกได้หลายอย่าง
เชื้อจุลินทรีย์ จุลินทรีย์ เชื้อจุลชีพ จุลชีพ ศาสตร์ที่ศึกษา
เกี่ยวกับเชื้อโรค เรียกว่า จุลชีววิทยา ซึ่งแบ่งออกเป็นแขนงย่อยๆ อีกมากมายหลายแขนง
โรคติดเชื้อ (infectious diseases) หมายถึง โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรค การที่จะทำให้เกิดโรคมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ เช่น ชนิดและปริมาณของเชื้อโรค ภูมิต้านทานของร่างกายผู้ป่วย ปัจจัยทางพันธุกรรม เป็นต้น
เชื้อโรคที่เรียกว่าจุลชีพประจำถิ่น
อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์โดยไม่ทำให้เกิดโรค เช่น ในลำไส้นอกจากจะช่วยผลิตสารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพที่
ทำให้เกิดโรคได้ด้วย
วินิจฉัยโรคติดเชื้อ
3.วิธีเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการโรคติดเชื้อ ต้องกระทำอย่างถูกต้องครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเทคนิกการเก็บตัวอย่าง การดูแลเก็บรักษาสิ่งส่งตรวจ การขนส่งเคลื่อนย้ายไปยังห้องปฏิบัติการ
4.แพทย์ต้องใช้ลักษณะประวัติอาการเจ็บป่วยเป็นข้อมูลสำคัญในการวินิจฉัยเบื้องต้น รวมทั้งการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ทุกซอกทุกมุมของร่างกาย บางครั้งการตรวจผลความผิดปกติเพียงตำแหน่งเดียวอาจช่วยในการวินิจฉัยโรคได้อย่างมาก
2.การวินิจฉัยโรคติดเชื้อต้องกระทำอย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ เนื่องจากมีผลต่อการวางแผนการรักษาอย่างมาก ความล่าช้าในการวินิจฉัยโรคเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การรักษาไม่ได้ผล
5.ศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร่างที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าและกล้องจุลทรรศน์ของพยาธิสภาพ และผลแทรกซ้อนจากการติดเชื้อชนิดต่างๆ ช่วยให้การวินิจฉัยโรคทางคลินิกแม่นยำยิ่งขึ้น
1.โรคติดเชื้ออาจเกิดขึ้นกับระบบใดระบบหนึ่งของร่างกาย หรืออาจเกิดขึ้นทั่วร่างกายก็ได้ ลักษณะอาการของโรคติดเชื้อที่มักเกี่ยวข้องกับอวัยวะหลักๆ ได้แก่ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อระบบประสาท โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อของกระดูกและข้อ โรคติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน เป็นต้น
เชื้อก่อโรคที่พบได้บ่อย
ไข้ไทฟอยด์ โรคฉี่หนู บาดทะยัก ไข้กาฬหลังแอ่น โรคซิฟิลิส
ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคไวรัสตับอักเสบ โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ โรคเอดส์
โรคเชื้อราที่ผิวหนัง โรคติดเชื้อแคนดิดา โรคติดเชื้อแอสเปอจิลลัส
โรคพยาธิชนิดตัวแบน โรคพยาธิตัวกลม โรคมาลาเรีย โรคบิดมีตัว โรคเท้าช้าง
เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อปรสิต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โรคติดเชื้อส่วนใหญ่จำเป็นต้องส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ การตรวจบางชนิดทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ในขณะที่การตรวจบางอย่างยุ่งยาก และลำบากมาก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำ และการรักษามีประสิทธิภาพได้ผลมากยิ่งขึ้น มาตราฐานของห้องปฏิบัติการจึง
มีความสำคัญต่อกระบวนการวินิจฉัยโรคติดเชื้อทุกชนิด
แนวทางการรักษา
พิจารณาให้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม ในขนาดที่ถูกต้อง
ระยะต่อมา จะมีการนำผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาใช้ประกอบ และอาจมีการปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น
ระยะแรกเป็นการให้ยาตามข้อมูลเบื้องต้น เช่น ลักษณะอาการเจ็บป่วย สถิติของเชื้อโรคที่มักเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ
แล้ว ยังต้องให้การรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบต่างๆของร่างกาย ในทางการแพทย์เรียกว่า การรักษาประคับประคอง (supportive treatment) ได้แก่ การรักษาสมดุลของภาวะสารน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย การดูแลระบบไหลเวียนโลหิต การทำงานของหัวใจ ความดันเลือด การประเมินปัญหาในการหายใจของผู้ป่วย
การป้องกันจากโรคติดเชื้อ
การป้องกันที่ทางผ่านโรค
การฆ่าเชื้อในอากาศ
การใช้เครื่องฟอกอากาศ
การป้องกันที่ตัวบุคคล
การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรค เช่น หน้ากาก รวมถึงการป้องกันโรคขณะมีเพศสัมพันธุ์
การทำความสะอาดร่างกาย และเสื้อผ้าอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกาย
การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ สะอาด ไม่มีเชื้อโรคปะปน
การให้วัคซีน
การป้องกันที่จุดก่อโรค
การฆ่าเชื้อในแหล่งก่อเชื้อ เช่น แหล่งขยะ แหล่งน้ำเสีย
การกักกันบริเวณก่อโรค