Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วย ที่มีปัญหาระบบผิวหนัง - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วย
ที่มีปัญหาระบบผิวหนัง
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของผิวหนังที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย พบโรค นี้ได้ประมาณร้อยละ 1-2 ของประชากร ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทราบเพียงว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
ปัจจัยกระตุ้นภายนอก
พันธุกรรม
โรคสะเก็ดเงินไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะทางผิวหนัง แต่อาจพบมีสัมพันธ์กับโรคอื่นๆ ได้แก่ โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน และกลุ่ม metabolic syndrome ได้แก่ โรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน เป็นต้น
ชนิดของสะเก็ดเงิน
ชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate psoriasis)
ชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis)
ชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis)
ชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic psoriasis)
สะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ (Inverse psoriasis)
.สะเก็ดเงินบริเวณมือเท้า (Palmoplantar psoriasis)
เล็บสะเก็ดเงิน (Psoriatic nails)
ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis)
การรักษา
ยาทาภายนอก
ยาทาคอติโคสเตียรอยด์(topical corticosteroids)
น้้ามันดิน (tar)
แอนทราลิน (anthralin, dithranol)
อนุพันธ์วิตามิน D (calipotriol)
ยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor (tacrolimus,pimecrolimus)
ยารับประทาน
เมทโทเทรกเสท (methotrexate)
อาซิเทรติน (acitretin)
ไซโคลสปอริน (cyclosporin)
การฉายแสงอาทิตย์เทียม (Phototherapy)
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีในการรักษาสะเก็ดเงิน โดยจะใช้รังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งปัจจุบันที่ใช้
ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน
โรคเริม (Herpes simple)
อาการของโรคเริม
เริมสามารถเป็นซ้ำได้ โดยอาการจะน้อยกว่า ตุ่มน้ำจะมีขนาดเล็กกว่า จำนวนตุ่มน้ำน้อยกว่าการเป็นครั้งแรก ผู้ป่วยอาจมีอาการนำ เช่น อาการคัน แสบร้อนบริเวณที่จะเป็น ต่อมาจะมีกลุ่มของตุ่มน้ำเกิดขึ้น ในตำแหน่งใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิม การเป็นซ้ำมักไม่มีอาการอื่นๆ เช่น ไข้ร่วมด้วย
โรคเริมที่เป็นครั้งแรก 3 - 7 วันหลังได้รับเชื้อผู้ป่วยจะไม่มีอาการ ถ้ามีอาการ อาการจะรุนแรง พบเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำแตกเป็นแผลตื้น มักมีอาการเจ็บ ปวดแสบร้อน
ปัจจัยใดสามารถกระตุ้นทำให้เริมเกิดเป็นซ้ำ
แสงแดดที่มาก
รอยถลอกขีดข่วน
ความเครียด
การเจ็บป่วยจากโรคอื่น
การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์
การผ่าตัดที่กระทบกระเทือนต่อเส้นประสาท
การป้องกันการแพร่เชื้อของโรคเริม
ระยะแพร่เชื้อติดต่อให้ผู้อื่นคือ ตั้งแต่ เริ่มมีอาการนำจนกระทั่งแผลหายตกสะเก็ด
ผู้ป่วยที่มีรอยโรคที่อวัยวะเพศ สามารถแพร่เชื้อให้คู่นอนได้ จึงควรงดการทีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่เริ่มมีอาการนำจนกว่าแผลจะหายสนิท
หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล น้ำลาย สารคัดหลั่งของผู้ป่วย
เนื่องจากโรคเริมสามารถแพร่เชื้อสู่คู่นอนได้แม้ผู้ป่วยไม่มีอาการจึงแนะนำให้ใช้ถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
การรับประทานยาต้านไวรัสทุกวันสามารถลดการแพร่เชื้อได้ แต่เนื่องจากยามีผลข้างเคียง จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานยา
การรักษาและการปฏิบัติตัวผู้ป่วยโรคเริม
ถ้ามีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ และรับประทานยาพาราเซตามอลบรรเทาไข้
ตัดเล็บสั้น ไม่แกะเกา และอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด เพื่อป้องกันมิให้ตุ่มกลายเป็นหนองและแผลเป็น
ผู้ป่วยควรพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ
ใช้ผ้ากิอซชุบน้ำเกลือหรือน้ำต้มสุกประคบทำความสะอาดแผล
ยาต้านไวรัสเช่น acyclovir ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในปมประสาทได้
การทายาต้านไวรัสมีประโยชน์น้อยโดยเฉพาะรอยโรคที่อวัยวะเพศ และอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้
Stevens-Johnson Syndrome
อาการ
ระยะแรกผู้ป่วยอาจมีไข้และหนาวสั่น ร่วมกับมีอาการไอ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดตามร่างกาย แสบตา หรือรู้สึกอ่อนเพลีย จากนั้นภายใน 2-3 วันหรือไม่เกิน 2 สัปดาห์ความผิดปกติทางผิวหนังจึงเริ่มปรากฏ สังเกต
ปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
ผื่นแดงที่ตรงกลางมีสีเข้มและรอบข้างมีสีจาง จากนั้นผื่นจะค่อย ๆ ลุกลาม
เกิดแผลพุพองตามผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวบริเวณริมฝีปาก ช่องปาก จมูก ตา และอวัยวะเพศ
ผิวหนังชั้นนอกหลุดลอก เผยให้เห็นผิวด้านในที่มีลักษณะคล้ายผิวไหม้
สาเหตุ
การใช้ยา ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติทันทีหลังจากใช้ยาหรือหลังหยุดใช้ยาไปแล้วนาน 2 สัปดาห์ ประเภทยาที่อาจก่อให้เกิด Stevens Johnson Syndrome
การติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ ปอดบวม เริม งูสวัด หรือเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นเสี่ยงต่อการเกิด Stevens Johnson Syndrome
การวินิจฉัย
การวินิจฉัย Stevens Johnson Syndrome จะทำโดยแพทย์ผิวหนัง โดยเริ่มจากตรวจดูอาการ ตรวจร่างกายเบื้องต้น สอบถามประวัติทางการแพทย์ รวมถึงประวัติการใช้ยา จากนั้นอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือด การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ เป็นต้น
การรักษา
ประคบเย็นเพื่อช่วยให้ผิวหนังที่ตายแล้วหลุดออกง่ายขึ้น จากนั้นจึงใช้ผ้าพันแผลปลอดเชื้อพันรอบผิวหนังบริเวณที่มีอาการ
ให้น้ำและสารอาหารผ่านทางจมูก ช่องท้อง หรือหลอดเลือด เนื่องจากการสูญเสียผิวหนังส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและสารอาหารมากกว่าปกติ
ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาชาหรือยาฆ่าเชื้อ เพื่อช่วยให้กลืนอาหารได้ง่ายขึ้น
ให้ยาปฏิชีวนะ หากผู้ป่วยมีอาการเข้าข่ายภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
การป้องกัน
ป้องกันได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากแต่ละคนตอบสนองต่อยาแต่ละชนิดแตกต่างกัน สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่อาจพบยีน HLA-B 1502 แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจหายีนดังกล่าวก่อนรับประทานยาบางชนิดที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ เช่น ยาคาร์บามาซีปีน ยาอัลโลพูรินอล ส่วนผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคนี้มาก่อนควรงดรับประทานยาที่กระตุ้นให้เกิดอาการผิดปกติและปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานยาชนิดอื่น รวมทั้งสวมกำไลข้อมือสำหรับผู้แพ้ยาเสมอ ทั้งนี้ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของการเกิด Stevens Johnson Syndrome คนในครอบครัวของผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็นต้นเหตุของอาการผิดปกติ
Burn Management
การดูแลรักษาบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
ห้ามใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดประคบ เพราะอาจทำให้บาดแผลลึกมากขึ้นได้ ควรล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิห้อง อาจใช้สบู่อ่อนชะล้างสิ่งสกปรกออกไปก่อนและล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นใช้ผ้าสะอาดปิดแผลและไปพบแพทย์ ไม่ควรใช้ยาสีฟันหรือครีมอื่นใดชะโลมบนแผล เพราะอาจทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น ปัจจุบันการดูแลรักษาบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (Burn)
ดีกรีความลึกของบาดแผลไฟไหม้
Second degree burn
บาดแผลระดับที่สองชนิดตื้น (Superficial partial-thickness burn) จะเกิดการไหม้ขึ้นที่ชั้นหนังกำพร้าตลอดทั้งชั้น (ทั้งชั้นผิวนอกและชั้นในสุด) และหนังแท้ (dermis)
ส่วนบาดแผลระดับที่สองชนิดลึก (Deep partial-thickness burns) จะเกิดการไหม้ขึ้นที่ชั้นของหนังแท้ส่วนลึก
Third degree burn
บาดแผลไหม้จะลึกลงไปจนทำลายหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อขุมขนและเซลล์ประสาท ผู้ป่วยมักไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผล อาจกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือกระดูก
First degree burn
การไหม้จะจำกัดอยู่ที่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า (epidermis) เท่านั้น โดยบาดแผลจะแดง (Erythema)
Herpes Zoster
สาเหตุ
เกิดความเครียด พักผ่อนน้อย ไวรัสชนิดนี้จะทำให้เกิดการอักเสบแล้เกิดตุ่มใส เรียงตัวตามแนวของเส้นประสาท เมื่อไวรัสเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ร่างกายแสดงอาการออกมาเป็นโรคงูสวัดอย่างชัดเจน
ติดต่อผ่านการสัมผัสผื่น แผล ขณะที่มีตุ่มพุพองของโรค และหลังจากได้รับเชื้อแล้วก็จะเกิดเป็นโรคอีสุกอีใส แต่ไม่เป็นโรคงูสวัด
อาการ
อาการระยะที่ 2 : ผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นแดงขึ้นบริเวณผิวหนัง จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ เรียงกันเป็นกลุ่ม
อาการระยะที่ 1 : ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อย ปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่ผื่นกำลังจะขึ้น เช่น แผ่นหลังหรือแขน เพราะเส้นประสาทเกิดการอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดน้อยลงจนทำให้ร่างกายอ่อนแอ และเมื่อผ่านไปสัก 2 – 3 วัน
อาการระยะที่ 3 : ผื่นจะเรียงตัวตามแนวเส้นประสาทในร่างกาย เช่น แขน ขา แผ่นหลัง หรือรอบเอว เป็นต้น โดยตำแหน่งที่น่ากลัวของการป่วยโรคงูสวัด คือ บริเวณแนวเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้า เพราะอาจทำให้ตาบอดได้ จากนั้นแผลจะค่อยๆ แห้งและตกสะเก็ด ซึ่งอาการของงูสวัดจะค่อยๆ หายไป
การวินิจฉัย
สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง โดยสังเกตว่าหากมีผื่นขึ้นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย พร้อมมีอาการปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณผื่นนั้น ถือว่ามีโอกาสเป็นงูสวัดได้ค่อนข้างสูง
จากนั้นจะเริ่มตรวจดูอาการของผื่นและตุ่มน้ำ โดยจะเก็บตัวอย่างเซลล์ตุ่มน้ำเข้าตรวจในห้องปฏิบัติการ
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการสัมผัสผื่น และตุ่มโรคของผู้ป่วยงูสวัด โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสหรือไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสตั้งแต่ก่อนเป็น