Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยนรีเวช - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยนรีเวช
มะเร็งปากมดลูก
เกิดจากเชื้อฮิวแมนแป๊ปปิโลม่าไวรัส (Human papilloma virus = HPV) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เชื้อเอชพีวี (HPV) ซึ่งติดต่อไปยังบุคคลอื่นๆ ได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งอาจจะเคยได้รับเชื้อนี้ แต่ร่างกายสามารถกำจัดไปได้ และมีบางส่วนที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ รวมถึงมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกและทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น หูดหงอนไก่ มะเร็งปากมดลูก
อายุ ส่วนใหญ่มะเร็งปากมดลูกมักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
มีคู่นอนหลายคน ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อ HPV มากขึ้น
สูบบุหรี่
มีบุตรจำนวนมาก
ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์)
อาการ
เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ สวนล้างช่องคลอด ตรวจภายใน
เลือดออกทางช่องคลอดที่ไม่ใช่รอบประจำเดือน
เลือดออกทางช่องคลอดหลังจากหมดประจำเดือนไปนานแล้ว (วัยทอง)
ตกขาวมากขึ้น มีกลิ่นเหม็น
ปวดท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกราน
เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
การรักษา
ระยะก่อนลุกลาม
การตรวจภายใน การทำแพปสเมียร์ และการตรวจด้วยกล้องขยาย (Colposcope) ทุก 4 - 6 เดือน รอยโรคขั้นต่ำบางชนิดสามารถหายไปได้เองภายใน 1 - 2 ปี
การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า
การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น
การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด
ระยะลุกลาม
ระยะที่ 1 และ 2 บางราย รักษาโดยการตัดมดลูกออกแบบกว้างร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองเชิงกรานออก
ระยะที่ 2 - 4 รักษาโดยการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด
โรคเชื้อราในช่องคลอด (Vaginal candidiasis)
อาการ
ผู้ที่เป็นโรคเชื้อราในช่องคลอด จะมีอาการคันเป็นอาการนำที่สำคัญ มีตกขาวลักษณะข้นมีสีขาวหรือสีเหลืองนวลเหมือนนมบูด มีกลิ่น ผนังช่องคลอดมีลักษณะบวมแดง มีอาการคันบริเวณอวัยวะเพศและภายในช่องคลอด
สาเหตุ
โรคเชื้อราในช่องคลอด เกิดจากเชื้อราในกลุ่ม “แคนดิดา ( Candida)” ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ย่อย เชื้อที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบของช่องคลอดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ “แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans)” โดยมีรูปร่างเป็นเซลล์กลมๆหรือที่เรียกว่า ยีสต์ ซึ่งโดยปกติเป็นเชื้อที่อยู่ในช่องคลอดโดยไม่ทำให้เกิดโรค แต่ถ้าร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานๆ เป็นโรคเบาหวาน โรคเอดส์ หรือมีภาวะอับชื้นบริเวณอวัยวะเพศเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้เชื้อรามีปริมาณมากขึ้นจนก่อโรค
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องคลอดที่พบบ่อย
ภาวะตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen ) สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ปริมาณสารไกลโคเจน (Glycogen) ซึ่งจะถูกย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคสในช่องคลอดสูงขึ้น เป็นสาเหตุให้เชื้อรามีการเจริญเติบโตดีขึ้น นอกจากนี้ปริมาณฮอร์ โมนที่สูงขึ้น ก็จะทำให้เชื้อรามีปริมาณมากขึ้นเช่นกัน
โรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมโรคไม่ดี
การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานเกินไป จะไปทำลายเชื้อต่างๆที่ทำให้เกิดภาวะสมดุลของเชื้อราในช่องคลอด ทำให้เชื้อราเพิ่มปริมาณมากขึ้น
การรับประทานยาสเตียรอยด์ เพราะจะลดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค
ผู้ป่วยที่มีโรคภูมิคุ้มกันต้านทานบกพร่อง หรือโรคเอดส์
การใส่กางเกงที่คับมากและอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนชื้น
ภาวะที่คู่นอนมีการติดเชื้อรา
รักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด
ใช้ยาฆ่าเชื้อรา อาจจะเป็นยาสอดทางช่องคลอดกลุ่ม imidazole derivatives หรือยารับประทานกลุ่ม Ketoconazole, Polyene antibiotics หรือ Itraconazole นอกจากนี้ สามารถใช้ยาทาเฉพาะที่เพื่อบรรเทาอาการคันร่วมด้วยได้รักษาปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยเสริมต่างๆ ที่พบร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคอื่นๆที่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานๆ
ต้องรักษาคู่นอนร่วมด้วยเสมอ ในรายที่รักษาไม่หายหรือเป็นเรื้อรัง พยายามตรวจหาโรคเอดส์ หรือโรคเบาหวานด้วยเสมอ
โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อพยาธิ
การติดต่อ
โดยการร่วมเพศ และสัมผัสทางเพศกับผู้มีเชื้อ
อาการ
ผู้ชาย ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ บางรายมีเมือกใสหรือเมือกปนหนองไหล มีอาการคันและเจ็บที่ท่อปัสสาวะ
อาการ ผู้หญิง มีอาการช่องคลอดอักเสบ ตกขาวเป็นฟองสีเขียวปนเหลืองหรือสีขาว มีกลิ่น
เหม็น มีอาการคัน และแสบรอบๆปากช่องคลอด บางรายมีอาการปัสสาวะแสบขัด เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อโปรตัวซัว ที่ชื่อ ทริโคโมแนส วาจินาลิส (Trichomonas Vaginalis)
การรักษา
โรคนี้เป็นโรคที่รักษาหายขาด
ต้องรักษาผู้ป่วยและคู่นอน
แพทย์นิยมรักษาด้วยยาชนิดรับประทานครั้งเดียว
คำแนะนำการปฏิบัติตน และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาหาย ถ้าจำเป็นควรใช้ถุงยางอนามัย
รับประทานยาหรือสอดยาตามแผนการรักษา
ดูแลความสะอาด ร่างกาย เสื้อผ้า ชุดชั้นใน ไม่ใส่ซ้ำหมักหมม และไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น
ดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ทุกครั้งหลังการขับถ่าย โดยการล้างจากด้านหน้าไปหาด้านหลัง แล้วซับให้แห้งด้วยผ้าหรือทิชชูสะอาด
มารับการตรวจรักษาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็นหรือเป็นหนอง มีอาการคัน ควรมาพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
หากคู่นอนมีอาการที่น่าสงสัย ควรพามาพบแพทย์