Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ
โรคติดเชื้อ (infectious diseases) หมายถึง โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรค การที่จะทำให้เกิดโรคมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ เช่น
ชนิดและปริมาณของเชื้อโรค ภูมิต้านทานของร่างกายผู้ป่วย ปัจจัยทางพันธุกรรม เป็นต้น บางครั้งเชื้อโรคก็ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ เช่น ภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ก็จะสามารถกำจัดเชื้อได้ แต่เมื่อร่างกายอ่อนแอลง เชื้อโรคก็จะก่อเหตุทันที
หลักการวินิจฉัยโรคติดเชื้อ
1.โรคติดเชื้ออาจเกิดขึ้นกับระบบใดระบบหนึ่งของร่างกาย หรืออาจเกิดขึ้นทั่วร่างกายก็ได้ ลักษณะอาการของโรคติดเชื้อที่มักเกี่ยวข้องกับอวัยวะหลักๆ
โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคติดเชื้อระบบประสาท
โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
โรคติดเชื้อของกระดูกและข้อ
โรคติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน
2.การวินิจฉัยโรคติดเชื้อต้องกระทำอย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ เนื่องจากมีผลต่อการวางแผนการรักษาอย่างมาก ความล่าช้าในการวินิจฉัยโรคเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การรักษาไม่ได้ผล
3.วิธีเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการโรคติดเชื้อ ต้องกระทำอย่างถูกต้องครบถ้วน
เทคนิคการเก็บตัวอย่าง
การดูแลเก็บรักษาสิ่งส่งตรวจ
การขนส่งเคลื่อนย้ายไปยังห้องปฏิบัติการ
4.แพทย์ต้องใช้ลักษณะประวัติอาการเจ็บป่วยเป็นข้อมูลสำคัญในการวินิจฉัยเบื้องต้น รวมทั้งการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ทุกซอกทุกมุมของร่างกาย บางครั้งการตรวจผลความผิดปกติเพียงตำแหน่งเดียวอาจช่วยในการวินิจฉัยโรคได้อย่างมาก
5.ศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร่างที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าและกล้องจุลทรรศน์ของพยาธิสภาพ และผลแทรกซ้อนจากการติดเชื้อชนิดต่างๆ ช่วยให้การวินิจฉัยโรคทางคลินิกแม่นยำยิ่งขึ้น
6.ทบทวนการวินิจฉัยโรค และเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ หากมีข้อมูลใหม่ๆ จากห้องปฏิบัติการ หรือพบการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนลักษณะการดำเนินโรคของผู้ป่วย
เชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดโรคขึ้นได้ อาศัยปัจจัยที่สำคัญสองประการคือ
1 ปัจจัยทางฝ่ายเชื้อโรค
เชื้อโรคนั้นต้องมีคุณสมบัติในการก่อโรคได้ เชื้อโรคบางชนิดที่เคยก่อโรคได้เมื่อเราเอามาทำให้ฤทธิ์อ่อนลง แต่ยังไม่ตาย เช่น เอามาทำเป็นวัคซีน ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคไขสันหลังอักเสบหรือโปลิโอ วัคซีนบีซีจีสำหรับป้องกันวัณโรค ใช้ฉีดหรือกินให้เกิดภูมิต้านทานได้ แต่ไม่ทำให้เป็นโรค ปัจจัยประการต่อไปก็คือ เชื้อโรคจะต้องเข้าสู่ร่างกายให้ถูกทาง ตามความเหมาะสมที่เชื้อโรคแต่ละชนิด จะผ่านเข้าไปในร่างกายและเจริญเติบโตได้ ประการสุดท้าย เชื้อโรคจะต้องมีปริมาณมากพอ จึงจะเหลือจากการทำลายโดยการต้านทานชั้นแรกของร่างกายเพียงพอที่จะแบ่งตัวเพิ่มปริมาณขึ้น เพื่อจะทำอันตรายแก่ร่างกายต่อไปได้
ปัจจัยทางฝ่ายร่างกาย
ร่างกายย่อมมีความต้านทานต่อเชื้อโรคอยู่แล้วมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่บุคคล ความต้านทานต่อเชื้อโรคนี้แบ่งออกได้เป็นสองชนิดคือ
ความต้านทานตามธรรมชาติ ร่างกายมีผิวหนัง และเยื่อเมือกที่บุทางเดินอาหารและทางเดินอากาศหายใจ และที่อื่นๆ สำหรับป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากภายนอกผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อส่วนในของร่างกาย เมื่อป้องกันไม่อยู่ เชื้อโรคที่เข้าสู่เนื้อเยื่อภายในของร่างกาย ก็จะพบกับเม็ดเลือดขาวและภูมิต้านทานของร่างกายที่มีอยู่แล้ว ช่วยกันกินและทำลายเชื้อโรค
ความต้านทางที่เกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาต่อสู้ต้านทานเชื้อโรค คือ เกิดการอักเสบขึ้น เพื่อระดมเม็ดเลือดขาว ภูมิต้านทาน และสารต่อต้านเชื้อโรคชนิดอื่นๆ ให้มารวมกันอยู่ในบริเวณที่เชื้อโรคเข้าไป เพื่อจะสกัดกั้น กิน และทำลายเชื้อโรคและพิษของเชื้อโรคนั้นๆ นอกจากนั้น เชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายยังมีส่วนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานเฉพาะเชื้อโรคนั้นๆ ขึ้นในรูปแบบต่างๆ กัน เป็นการเพิ่มความต้านทานต่อเชื้อโรคนั้นๆ
เชื้อก่อโรคที่พบได้บ่อย
เชื้อก่อโรคที่พบได้บ่อย ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อปรสิต
โรคติดเชื้อไวรัสที่รู้จักกันดี ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคไวรัสตับอักเสบ โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ โรคเอดส์
โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่รู้จักกันดี
ไข้ไทฟอยด์
โรคฉี่หนู
บาดทะยัก
ไข้กาฬหลังแอ่น
โรคซิฟิลิส
โรคติดเชื้อราที่รู้จักกันดี ได้แก่ โรคเชื้อราที่ผิวหนัง โรคติดเชื้อแคนดิดา โรคติดเชื้อแอสเปอจิลลัส
โรคติดเชื้อปรสิตที่รู้จักกันดี ได้แก่ โรคพยาธิชนิดตัวแบน โรคพยาธิตัวกลม โรคมาลาเรีย โรคบิดมีตัว โรคเท้าช้าง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โรคติดเชื้อส่วนใหญ่จำเป็นต้องส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ การตรวจบางชนิดทำได้ง่าย
ไม่ยุ่งยาก ในขณะที่การตรวจบางอย่างยุ่งยาก และลำบากมาก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำ และการรักษามีประสิทธิภาพได้ผลมากยิ่งขึ้น มาตราฐานของห้องปฏิบัติการจึง
มีความสำคัญต่อกระบวนการวินิจฉัยโรคติดเชื้อทุกชนิด
แนวทางการรักษาโรคติดเชื้อ
1พิจารณาให้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม ในขนาดที่ถูกต้อง เป็นระยะเวลาที่ได้ผลดีที่สุดส่วนใหญ่การพิจารณาใช้ยาต้านจุลชีพจะแบ่งเป็นสองระยะ
ระยะแรกเป็นการให้ยาตามข้อมูลเบื้องต้น เช่น ลักษณะอาการเจ็บป่วย สถิติของเชื้อโรคที่มักเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ
ระยะต่อมา จะมีการนำผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาใช้ประกอบ และอาจมีการปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น
2ทดสอบความไวของยาต้านจุลชีพเสมอ ทั้งจากรายงานในสถานพยาบาลแห่งนั้นรายงานจากหน่วยงานราชการ และรายงานจากห้องปฏิบัติการอ้างอิง
3 หัวใจสำคัญของการรักษาโรคติดเชื้อ นอกจากการใช้ยาต้านจุลชีพที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว ยังต้องให้การรักษาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบต่างๆของร่างกาย ในทางการแพทย์เรียกว่า การรักษาประคับประคอง (supportive treatment)
การรักษาสมดุลของภาวะสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
การดูแลระบบไหลเวียนโลหิต
การทำงานของหัวใจ ความดันเลือด
การทำงานของหัวใจ ความดันเลือด
4 หมั่นติดตามการเปลี่ยนแปลงของอาการผู้ป่วยอยู่เสมอ โรคติดเชื้อเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคตลอดเวลา ดังนั้นการติดตามผลการรักษา ไม่ว่าจะเป็นยาต้านจุลชีพหรือการรักษาอื่นๆ จึงช่วยให้เกิดผลสำเร็จในที่สุด
การป้องกันจากโรคติดเชื้อ
การป้องกันที่จุดก่อโรค
การฆ่าเชื้อในแหล่งก่อเชื้อ เช่น แหล่งขยะ แหล่งน้ำเสีย
การกักกันบริเวณก่อโรค
การป้องกันที่ทางผ่านโรค
การฆ่าเชื้อในอากาศ
การใช้เครื่องฟอกอากาศ
การป้องกันที่ตัวบุคคล
การให้วัคซีน
การออกกำลังกาย
การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรค เช่น หน้ากาก รวมถึงการป้องกันโรคขณะมีเพศสัมพันธุ์
การทำความสะอาดร่างกาย และเสื้อผ้าอย่างสม่ำเสมอ
การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ สะอาด ไม่มีเชื้อโรคปะปน
กลุ่มโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ
1.โรคหวัด (Acute Rhinopharyngitis: Common cold)
โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Acute Rhinopharyngitis : Common cold) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยมากที่สุดโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หรือโดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ ในเด็กเล็กสามารถเป็นได้หลายครั้งในแต่ละปี ในผู้ใหญ่จะเป็นน้อยลงตามลำดับเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น
2.ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เป็นโรคติดต่อที่เกิดการระบาดใหญ่เป็นครั้งคราว เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เชื้อไวรัสสามารถแพร่ระบาดได้ทั่วโลก โดยแต่ละปีทั่วโลกจะมีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ประมาณร้อยละ 15ของประชากรทั้งหมด พบได้ในทุกช่วงอายุ ในเด็กเล็กจะติดเชื้อได้ง่าย ส่วนผู้สูงอายุเมื่อติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงกว่า ความรุนแรงโรค อาจมีแค่อาการไข้สูง ไอ ปวดตามร่างกาย หรือรุนแรง มีอาการปอดอักเสบ การรักษาใช้การรักษาประคับประคองอาการ หรือยาต้านไวรัสในรายที่รุนแรง ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งได้ผลดีมากในการช่วยลดความรุนแรง ของโรค
3.คออักเสบ (Acute Pharyngitis)
โรคคออักเสบ (Acute Pharyngitis) เกิดจากเยื่อบุภายในคออักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยมากส่วนใหญ่ สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ ในเด็กจะพบได้บ่อยกว่า ความรุนแรงของโรคไม่มาก มักมีอาการกลืนเจ็บ แสบคอ และสามารถหายได้เองภายในไม่กี่วัน แต่การติดเชื้อแบคทีเรียอาจทำให้มีอาการนาน การรักษาจะเน้นการรักษาประคับประคองอาการจนหายดี
4.โรคปอดอักเสบ (Pneumonia)
โรคปอดอักเสบ หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า “ปอดบวม” เป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดการติดเชื้อบริเวณปอด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย และทำให้เกิดการอักเสบ บวม มีน้ำหรือหนองอยู่ภายในถุงลมปอด ทำให้การแลกเปลี่ยนอากาศทำได้ไม่ดี พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว โรคปอดอักเสบสามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ แต่ในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปีและผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี มีโอกาสเกิดความรุนแรงของโรคได้มากกว่า โรคปอดอักเสบทำให้เกิดอาการไอ หายใจลำบาก และหายใจหอบเหนื่อย ในรายที่มีอาการมากอาจเสียชีวิตได้
5.หลอดลมอักเสบ (Acute Bronchitis)
โรค หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) สามารถแบ่งได้เป็นชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ในชนิดที่จะกล่าวถึงนี้คือ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchitis) เป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อที่หลอดลม หลอดลมในร่างกายมีขนาดใหญ่และจะแตกแขนงเป็นขนาดเล็กย่อยๆจนกว่าจะถึงถุงลม ปอด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เยื่อบุหลอดลมเกิดการอักเสบบวม ทำให้การไหลผ่านอากาศทำได้ไม่ดี พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว พบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ โรคหลอดลมอักเสบทำให้เกิดอาการไอมาก มีเสมหะ หายใจลำบาก การรักษามักใช้การรักษาประคับประคองตามอาการจนอาการหายดี
โรคติดเชื้อผิวหนังที่พบบ่อย
เชื้อไวรัส
โรคอีสุกอีใส
เกิดจากเชื้อวาริเซลลา-ซอสเตอร์ (varizella-zoster) ติดต่อทางการหายใจ เริ่มจากมีไข้ ขณะเดียวกันก็จะมีตุ่มแดง ๆ คัน กระจายไปตามใบหน้า ลำตัว ต่อมาตุ่มแดงเปลี่ยนเป็นตุ่มใส ๆ คล้ายหยดน้ำ ต่อมาอีก 2-3 วันก็จะตกสะเก็ด ตุ่มใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผื่นมีหลายแบบอยู่ในคนเดียวกัน ในเด็กผื่นจะน้อย อาการไม่มาก ผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงและมีตุ่มขึ้นมากกว่าเด็ก โดยทั่วไปผื่นหายโดยไม่มีแผลเป็น ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เมื่อโรคอีสุกอีใสหาย เชื้อไวรัสนี้อาจไปหลบอยู่ที่ปมประสาท เมื่อภูมิคุ้มกันต่อเชื้อต่ำลงจะเกิดโรคงูสวัดในภายหลังได้
โรคงูสวัด
เกิดจากเชื้อไวรัสโรคอีสุกอีใสที่ซ่อนอยู่ในปมประสาทเส้นใดเส้นหนึ่ง แบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบที่เส้นประสาท เชื้อกระจายมาที่ผิวหนังเกิดตุ่มเหมือนอีสุกอีใสขึ้นตามบริเวณที่เส้นประสาทเส้นนั้นไปเลี้ยง
ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคงูสวัดคือการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลงจากอายุที่มากขึ้น โรคมะเร็ง โรคเอดส์ หรือได้รับยากดภูมิ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทนำมาก่อนหรือเกิดพร้อมกับผื่น ผื่นงูสวัดจะเป็นแนวยาวซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเท่านั้น ไม่พันรอบตัว เพราะเส้นประสาท 1 เส้น เลี้ยงแค่ครึ่งหนึ่งของลำตัว แม้ผื่นงูสวัดหายไปแล้ว ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งอาจมีอาการปวดเรื้อรังบริเวณนั้นไม่หายขาด
รักษาให้ยาต้านเชื้อวาริเซลลา-ซอสเตอร์ และการรักษาตามอาการ ได้แก่ ประคบผื่น ทายาที่ช่วยให้ผื่นแห้งเร็ว ให้ยาแก้ปวด ส่วนใหญ่ผื่นมักหายเองได้ในเวลา 1-2 สัปดาห์ การให้ยารับประทานต้านเชื้อไวรัส ถ้าจะให้ได้ผลดีควรเริ่มให้ภายในเวลา 72 ชั่วโมงแรก หลังจากมีผื่นขึ้น การใช้ยารักษาอื่น ๆ จะขึ้นกับอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก
โรคหูดข้าวสุก
ติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคหูดข้าวสุก ถึงแม้ว่าโรคนี้จะเป็นโรคที่ไม่อันตรายแต่ก็สามารถติดต่อแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนมีสีเดียวกับผิวหนังขนาดต่าง ๆ กัน อาจพบได้มากกว่า 10 ตุ่มขึ้นไป ตรงกลางตุ่มมักบุ๋ม ภายในตุ่มจะพบสารสีขาวแข็งคล้ายข้าวสุก ตำแหน่งที่พบบ่อยในเด็กจะอยู่ตรงช่วงลำตัว หน้าอก หลัง แขน ขา ส่วนผู้ใหญ่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบบริเวณอวัยวะเพศ โดยการรักษามีได้หลายวิธีคือ การจี้ไฟฟ้า พ่นไนโตรเจนเหลว ทายา แต่วิธีที่ได้ผลดีที่สุดคือ แพทย์จะหนีบเอาตุ่มสีขาวออกให้หมดเพื่อทำลายเชื้อไวรัสภายใน
เชื้อแบคทีเรีย
โรคแผลพุพอง
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ปกติอยู่บนผิวหนัง แต่เพิ่มจำนวนมากขึ้น แผลเริ่มจากตุ่มหนองหรือตุ่มน้ำใส ต่อมาตกสะเก็ดแห้งสีน้ำผึ้งติดแน่น พบที่หน้า แขน ขา ติดต่อจากแผลไปยังส่วนอื่น ๆ โดยการแกะเกา พบในเด็กก่อนวัยเรียน สัมพันธ์กับการไม่รักษาความสะอาด ความชื้น อากาศร้อน ผู้ใหญ่พบน้อยมาก
รักษาโดยใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียทา อาจให้ยาปฏิชีวนะรับประทานเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ
เชื้อรา
เกลื้อน
เชื้อเกลื้อนเป็นเชื้อราปกติอยู่บนผิวหนัง ในภาวะความมันและความชื้นเหมาะสมจะเพิ่มจำนวนก่อโรคได้ จึงพบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน โดยเฉพาะคนที่มีผิวมัน เหงื่อออกมาก ผิวหนังชื้นอยู่เสมอ พบประปรายในเด็กโตแถวคาง หน้า หู ลักษณะของผื่นจะเป็นวงเล็ก ๆ เริ่มจากรอบรูขุมขน อาจขยายรวมกันเป็นปื้นใหญ่ บนผื่นจะมีขุยละเอียด ถ้าใช้เล็บขูดจะเห็นขุยชัดขึ้น ผื่นมีได้หลายสี ตั้งแต่สีขาว สีแดง จนถึงสีน้ำตาล
พบบริเวณที่มันและชื้น ได้แก่ หน้าอก หลัง ไหล่ ต้นคอ และต้นแขน อาจไม่มีอาการหรือคันเล็กน้อย
รักษาด้วยแชมพูกำจัดเชื้อรา เช่น 20% sodium thiosulfate หรือ2.5% selenium sulfide หรือ ketoconazole โดยทาแชมพูทั่วบริเวณที่มันและชื้น เช่น ลำตัว ต้นแขน ต้นขา ทิ้งไว้ 5-10 นาทีแล้วล้างออก ถ้าฟอกมากเกินไปอาจเกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังได้
กลาก
เป็นโรคที่คนทั่วไปมักได้ยินชื่อบ่อย ๆ กลากเป็นโรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง เล็บและเส้นผม เกิดจากการใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นโรค ติดจากดิน หรือจากสัตว์ ร่วมกับผิวหนังชื้น โดยกลากบริเวณในร่มผ้า เรียกว่า โรคสังคัง กลากที่ฝ่าเท้า และง่ามนิ้วเท้า เรียกว่า ฮ่องกงฟุต
โดยกลากที่ผิวหนังเริ่มจากเป็นตุ่มแดงแล้วค่อย ๆ ขยายลามออกไปเป็นวง ขอบเขตชัดเจน แดงนูน และมีสะเก็ด บริเวณผิวหนังตรงกลางผื่นเมื่อขยายออกแล้วจะเหลือรอยเพียงเล็กน้อยจนเกือบปกติ ขอบผื่นอาจมีตุ่มน้ำใสหรือเป็นหนองขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อและปฏิกิริยาจากภูมิต้านทานของผู้ป่วย บางครั้งผื่นอาจลามติดต่อกันหลายวงจนมีลักษณะเป็นวงแหวนซ้อนกัน มักมีอาการคัน
กลากในเด็กพบบ่อยที่ศีรษะ ผื่นเป็นขุยสีเทา ผมร่วง หัก หรืออักเสบมากเป็นตุ่มฝีหนองสลับกับร่องรอยของการอักเสบที่หายเองเป็นแผลเป็น เรียกว่า ชันนะตุ ในผู้ใหญ่ไม่ค่อยพบกลากที่เส้นผม แต่พบกลากที่เล็บบ่อยกว่าเด็ก
หากเป็นผื่นที่มีขอบชัดให้สงสัยว่าเป็นโรคกลาก การทายาสเตียรอยด์ ผื่นอาจดีขึ้นแต่ไม่หายและลามออกเรื่อย ๆ กรณีเป็นกลากที่ผิวหนังควรใช้ยาทาฆ่าเชื้อราวันละ 2 ครั้ง นาน 4-6 สัปดาห์ ในรายที่เป็นโรคบนผิวหนังที่หนา เช่น ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า อาจต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่าปกติ ในส่วนของการรับประทานยาฆ่าเชื้อราจะใช้ในกรณีที่เป็นผื่นบริเวณกว้าง กลากที่เล็บ หรือกลากที่ศีรษะ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์