Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
Immune system
ความหมายระบบภูมิคุ้มกันคือระบบที่คนต้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่อาจเข้ามาทำอันตรายร่างกายได้เช่นเชื้อโรคชนิดต่างๆได้แก่แบคทีเรียไวรัสปรสิตพยาธิรวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆเช่นสิ่งที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็งอวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกายได้รับเลือดผิดหมู่สารก่อภูมิแพ้ สิ่งเรานี้มีคุณสมบัติเป็นสิ่งแบบฟอร์มที่ร่างกายยังไม่รู้จักเรียกว่าEntigen
หน้าที่
Defense =ป้องกันและทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
Homeostasis =ควายจำกัดสิวปกติที่สามสภาพเช่นเม็ดเลือดที่มีอายุมากแล้วออกจากระบบร่างกาย
Surveillance =คอยจับตาดูเซลล์ต่างๆที่จะไปสภาผิดไปจากปกติเช่นค่อยดักทำลายtumor cells เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
กลไกในการเกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันมีได้3แบบคือ
1.การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง
2.ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานมากเกินไปหรือภูมิไว้เกินทำให้มีการตอบสนองที่รุนแรงผิดปกติสารบางอย่างเช่นเกษรดอกไม้ขนสัตว์โลหะทำให้เกิดอาการในกลุ่มของโรคภูมิแพ้
3.ระบบภูมิคุ้มกันทำงานสับสนไม่สามารถแยกแยะแอนติเจนแปลกปลอมเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเข้าจู่โจมแหละเค้าทำลายเนื้อเยื่อร่างกายทำให้เกิดเป็นโรคทางออโตอิมมูน
1.ภาวะภูมิไวเกินHypersensitivity
คือร่างกายตอบสนองทางภูมิคุ้มกันมากเกินไปพอดีต่อสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ซึ่งเรียกว่าแอนติเจนทำให้มีการอักเสบทำลายเนื้อเยื่อตนเองมีทั้งหมด4แบบดังนี้
ภาวะภูมิไว้เกินแบบที่1 Type l Hypersensitiveity
Allergen คือฝุ่นยาอาหารเกษรดอกไม้ซีรั่มม้าซึ่งร่างกายได้รับทางการสัมผัสกินฉีดหรือหายใจอาการแพ้ที่เกิดจะเกิดเร็วเช่นแพ้ฝุ่นจะมีการไอจามทันที
Histamine เป็นสารที่ออกฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดฝอยขยายตัวทำให้เกิดการบวมแดงคันทำให้เกิดการเหลืองเรียบหดตัวเกิดการหดหดได้ถ้าการแพ้เกิดมากๆมีผลทำให้ชีพจรเต้นเร็วความดันโลหิตต่ำช็อคได้เรียกว่าเกิดAnaphylaxis
ภาวะภูมิไว้เกินแบบที่2
Type ll Hypersensitivity
Allergenคือเซลล์แปลกปลอมเช่นในการให้เลือดผิดกลุ่มการปลูกถ่ายอวัยวะกลไกในร่างกายตอบสนองโดยสร้างแอนติบอดีชนิดlgGและIgMไปเกาะกับเซลล์แปลกปลอมทำให้เกิดการกระตุ้นระบบComplementเซลล์จะแตกสลายมีPhagocyte เข้ามากินและหลังเอนไซม์ออกมาทำให้เกิดการอักเสบเช่นการที่เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากันการปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะ
ภาวะภูมิไว้เกินแบบที่3
Type lll Hypersensitivity
คือยาซีรั่มแก้พิษงูเชื้อจุลินทรีย์วัคซีนแอนติเจนของตัวเองในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเองแอนติบอดีที่เคยเป็นชนิดIgMภาวะภูมิแพ้แบบที่3เกิดได้ใน3กรณี
1.กรณีมีการติดเชื้อแล้วเกิดantigen antibody complex เช่นการติดเชื้อมาอาริยาการที่เชื้อไวรัสไข้เลือดออก
2.มีภาวะภูมิแพ้ต่อตัวเองเรียกautoimmune diseaseเช่นผู้ป่วยที่เป็นโรคเอสแอลอี
3.ผู้ที่ได้รับแอนติเจนปริมาณมากเช่นผู้ที่ถูกงูกัดและได้รับซีรั่มแก้แพ้พิษงูจากม้าจะเกิดการแพ้ที่เรียกserumหรือในผู้ที่หายใจเอาสปอของเชื้อราปริมาณมากเข้าไป
ภาวะภูมิไว้เกินแบบที่4
Type lV Hypersensitivity
อาจเรียกว่าdelayed type hypersensitivityหรือภาวะภูมิแพ้แบบช้าสิวที่เกี่ยวข้องคือTeffectorหรือTdth ตัวอย่างของภูมิแพ้แบบนี้เช่นการแพ้สารเคมีที่ผิวหนังเช่นการแพ้ผงซักฟอกในผู้ที่เป็นโรคอ้วน การทำ
tuberculin test การเกิดภูมิแพ้แบบนี้ให้เกิดช้า 48 ถึง 72 ชั่วโมง
2.โรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ คือ โรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยที่ร่างกายจะมีปฏิกิริยาไวต่อสารที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้หรือสารระคายเคือง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการแพ้ โรคชนิดนี้มักไม่ค่อยรุนแรงถึงชีวิต แต่จะส่งผลรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือทำงาน
อาการของโรคภูมิแพ้
• มีผื่นที่ผิวหนัง เช่นผื่นแพ้ ลมพิษ คันตามผิวหนัง
• คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม
• ไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด โรคหอบ หืด
• เคืองตาและตาแดง คัดจมูก
• บวมรอบปาก อาเจียน และถ่ายเหลว
• แสบคอ น้ำมูกไหลลงคอ หูอื้อ
สาเหตุ ของโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคติดต่อแต่เกิดจากปัจจัยสำคัญ 2 อย่าง คือ
กรรมพันธุ์ กรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้คือสิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ได้ง่าย เพราะภูมิแพ้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ ถ้าพ่อ หรือแม่เป็น ลูกก็จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ได้ประมาณ 30% แต่ถ้าหากทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ ลูกที่เกิดจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้สูงถึง 60-70 %
สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากเพราะสารก่อภูมิแพ้ที่จะเข้าสู่ร่างกายของเรา เกิดจากภาวะแวดล้อมทั้งสิ้น ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่นการหายใจ การรับประทานอาหาร หรือแม้กระทั่งการสัมผัสสารที่ร่างกายได้รับ หรือสัมผัสแล้วทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ตามมา ที่พบบ่อย ได้แก่ ไรฝุ่น ละอองเกสร เชื้อรา อาหารบางชนิด เช่น นมวัว ไข่ขาว อาหารทะเลนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ ได้แก่ อากาศเปลี่ยน การสัมผัส
การทดสอบภูมิแพ้ (Allergy Skin Prick Test)
เมื่อร่างกายเกิดโรคภูมิแพ้ เราจำเป็นต้องทราบว่าร่างกายแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด เพราะการรักษาที่ดีสุด คือการหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ การทดสอบภูมิแพ้เป็นการทดสอบภูมิแพ้ต่อสารชนิดต่างๆ ทางผิวหนัง โดยแพทย์จะเป็นผู้ทำการทดสอบด้วยน้ำยาทดสอบภูมิแพ้โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ทราบว่าผู้ป่วยมีอาการแพ้สารใดบ้าง เช่น แมลงสาบ ขนแมว ไรฝุ่น เชื้อรา ขนสุนัข เกสร หญ้า ฝุ่นบ้าน และแพ้อาหารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการทดสอบชนิดนี้ไม่ทำให้คนไข้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด และแพทย์ก็สามารถแจ้งผลการตรวจให้คนไข้ทราบได้ทันที
การรักษาภูมิแพ้
หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคือง เนื่องจากการรักษาที่ดีที่สุดของโรคภูมิแพ้ คือการหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อการรักษา หรือเพื่อบรรเทาและควบคุมอาการที่จะเกิดขึ้น
การใช้ยารักษา แพทย์จะวินิจฉัยและจ่ายยาให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เพื่อบรรเทาและควบคุมอาการที่จะเกิดขึ้น ผู้ที่มีอาการคัดจมูกมากอาจจะต้องใช้ยาลดอาการคัดจมูก สำหรับผู้ที่มีอาการเรื้อรังอาจจะต้องใช้ยาพ่นจมูก
การฉีดวัคซีนรักษาโรคภูแพ้ โดยผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารก่อภูมิแพ้เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันชนิด IgG การฉีดจะเลือกฉีดเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ที่ทดสอบทางผิวหนังแล้วพบว่าแพ้ จากนั้นแพทย์จะเพิ่มขนาดยาตามตารางเวลา ซึ่งผลข้างเคียงจากการฉีดจะมีรอยผื่นแดง ผื่นคัน นานประมาณ 4-8 ชั่วโมง ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น คือ การคัดจมูก น้ำมูกไหล อาการเหล่านี้มักจะเกิดภายใน 30 นาทีหลังฉีด มีส่วนน้อยที่อาจจะแพ้ยาที่ฉีดชนิดรุนแรง แต่อาการมักเป็นชั่วคราวและหายได้หลังจากแพทย์ให้ยาแก้แพ้
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสาร หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้
ดูแลร่างกายให้สดชื่น แข็งแรงอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และควรออกกำลังกายเป็นประจำ
ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำเมื่อมีน้ำมูกเรื้อรัง
ปฏิบัติตามคำแนะนำและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง พบแพทย์เมื่อมีอาการแทรกซ้อนระหว่างการรักษา เช่น มีไข้ น้ำมูก ไอมีเสมหะ หอบ เป็นต้น
3.โรคผื่นสัมผัส
คือ การอักเสบของผิวหนังชั้นนอกโดยเกิดจากการสัมผัสกับวัตถุบางอย่าง โดยมากมักเกิดเป็นผื่นที่ได้รับการสัมผัส
สาเหตุ
การระคายเคืองหรือการแพ้ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสได้ทั้งสิ้น เราอาจจะได้รับสารบางอย่างมาเป็นแรมปีและไม่เคยเกิดปัญหาอันใด แต่อยู่ๆ ก็เกิดผื่นแพ้สัมผัสขึ้นมา สาเหตุที่พบได้บ่อยของผื่นแพ้สัมผัส ได้แก่ กรด ด่าง สารละลายอะซีโตน สบู่ ผงซักฟอก โลหะ (เช่น นิกเกิล ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่แพ้เครื่องประดับ) ยาง ลาเท็กซ์ เครื่องสำอาง น้ำยาระงับกลิ่นกาย น้ำยาระงับเหงื่อ พืชบางชนิด (เช่น poison ivy) หรือยาบางประเภท
อาการของผื่นแพ้สัมผัสนั้นแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ผื่นที่เกิดขึ้นนั้นโดยปกติจะจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณที่เกิดการสัมผัสกับสารระคายเคืองเท่านั้น แต่บางครั้งผื่นอาจแพร่กระจายได้เช่นกัน
อาการที่อาจเกิดขึ้นได้คือ คัน แดง บวม ตุ่มพุพอง มีของเหลวไหลซึมออกมา หนังลอก หนังแห้งแข็งชั่วคราว การเกาหรือถูจะทำให้เกิดการติดเชื้อและทำให้อาการแย่ลงได้
การวินิจฉัย
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายผู้ป่วย และอาจส่งผู้ป่วยต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังต่อไป
การรักษา
การรักษาจะเน้นเรื่องการดูแลผิวและบรรเทาอาการที่มีอยู่ ซึ่งประกอบด้วย
• การดูแลผิว ล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำเปล่าและสบู่อ่อนๆ ซับให้แห้ง อย่าบีบหรือพยายามเปิดปากตุ่มพุพอง เนื่องจากจะทำให้ติดเชื้อได้ ปิดแผลพุพองด้วยผ้าพันแผลแห้งสะอาด
• การใช้ยา
o ครีมหรือขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของ cortisone
o ยาที่มีส่วนผสมของ corticosteroids เช่น prednisone ในกรณีมีไข้ร่วมด้วย และ antihistamines ซึ่งช่วยบรรเทาอาการคันได้
การป้องกัน
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันผื่นแพ้สัมผัสคือ การทราบว่าเราแพ้สารใดและพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสกับสารนั้น
ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง Immune deficiency
โรคเอดส์เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี เอชไอวีซึ่งย่อมาจากคำว่า human immunodeficiency virus เป็นเชื้อไวรัส ในขณะที่โรคเอดส์หรือ acquired immune deficiency syndrome คือกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อไวรัสทำลายจนร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายได้
ผลกระทบ
เมื่อร่างกายติดเชื้อเอชไอวี เชื้อเอชไอวีจะโจมตีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ จนในที่สุดเชื้อไวรัสจะโจมตีร่างกายทั้งหมด
เป้าหมายของเอชไอวีคือการทำลายเซลล์ที่มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคและการติดเชื้อไวรัสต่างๆ เซลล์นี้มีชื่อว่า CD4 (หรือเซลล์ T-helper) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เอชไอวีทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้ติดเชื้ออ่อนแอลงจนทำให้เกิดโรคต่างๆได้ง่าย ในขณะที่คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรงจะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคเหล่านี้ได้ดีกว่า
ความช้าเร็วของการดำเนินโรคและผลกระทบที่เชื้อเอชไอวีมีต่อร่างกายขึ้นอยู่กับผู้ติดเชื้อแต่ละคน ปัจจัยหลายอย่างเช่น สุขภาพและอายุ รวมถึงความช้าเร็วในการได้รับการรักษา ล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินโรคทั้งสิ้น คนบางคนสามารถติดเชื้อเอชไอวีนานหลายปีโดยไม่มีอาการของโรคเอดส์
ปัจจัยที่อาจทำให้การติดเชื้อเอชไอวีพัฒนาเป็นอาการของโรคเอดส์รวดเร็วขึ้นนั้น ยังคงรวมถึงปัจจัยทางกรรมพันธุ์
การติดเชื้อเอชไอวี 3 ระยะ
ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV Infectious) เป็นระยะแรกของการติดเชื้อเอชไอวี เกิดขึ้นระหว่าง 2-4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจำนวนมากจะเริ่มมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่นและปวดหัว อาการเหล่านี้เรียกว่า acute retroviral syndrome หรือ ARS เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อเอชไอวีในระยะนี้ เชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนอย่างมากในร่างกาย ทำให้เซลล์ CD4 ในร่างกายลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว เป็นระยะที่มีความเสี่ยงสูงมากที่ผู้ติดเชื้อจะแพร่กระจายไวรัสไปยังผู้อื่น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี
ระยะถัดมาคือ ระยะสงบทางคลินิก (Clinical Latency Stage) เป็นระยะที่เชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายโดยไม่แสดงอาการใดๆ หรืออย่างมากที่สุดคือมีอาการเพียงเล็กน้อย บางครั้งเรียกระยะนี้ว่า ระยะติดเชื้อเรื้อรัง (chronic HIV infection) หรือ ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ (asymptomatic HIV infection) ในระยะนี้ไวรัสจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นในระดับต่ำ และมักจะใช้เวลานานถึง 10 ปี แต่สำหรับผู้ติดเชื้อบางคนอาจใช้เวลาน้อยกว่านั้น
ระยะสุดท้ายคือ ระยะโรคเอดส์ (AIDS) เป็นระยะที่การติดเชื้อเอชไอวีได้พัฒนาเป็นโรคเอดส์
ระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงมีปริมาณเซลล์ CD4 อยู่ระหว่าง 500 ถึง 1,600 ในขณะที่ผู้ป่วยโรคเอดส์มี CD4 ต่ำกว่า 200 เมื่อถึงจุดนี้ระบบภูมิคุ้มกันได้ถูกทำลายอย่างรุนแรงจนผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infections) ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคที่ไม่ก่อให้เกิดโรคในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แต่จะทำให้เกิดโรคกับผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ แต่ไม่ว่าผู้ติดเชื้อมีปริมาณ CD4 เท่าใดก็ตาม หากมีอาการติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่าถือว่าผุ้ติดเชื้อนั้นเป็นโรคเอดส์
อาการ
ปอดอักเสบ
สูญเสียความจำ อาการซึมเศร้าและอาการทางระบบประสาทอื่นๆ
ท้องเสียเรื้อรังนานกว่าหนึ่งสัปดาห์
เหนื่อยผิดปกติ
อาการไข้ที่กลับมาเป็นซ้ำๆ
เหงื่อออกตอนกลางคืน
น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
มีผื่นตามผิวหนัง ในช่องปาก จมูกและเปลือกตา
แผลที่ริมฝีปาก อวัยวะเพศและทวารหนัก
อาการบวมที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้และขาหนีบ
การรักษาอาการติดเชื้อเอชไอวี
การรักษาอาการติดเชื้อเอชไอวีประกอบด้วยการใช้ยาต้านไวรัสในกลุ่ม ARV หลายชนิดรวมกันเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ หรือเรียกว่า Antiretroviral therapy (ART) วิธีการนี้เป็นการรักษาโรคโดยการควบคุมไวรัสไม่ให้ขยายพันธุ์ ทำให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อสู่คนอื่น ในปัจจุบันวงการแพทย์แนะนำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนรับการรักษาด้วย ยา ARV
หากกังวลว่าตัวเองอาจติดเชื้อเอชไอวีภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง (3 วัน) สามารถใช้ยา ARV หลังสัมผัสโรค (post-exposure prophylaxis หรือชื่อย่อว่า PEP) เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับยาให้เร็วที่สุดภายในเวลา 3 วันหลังจากสัมผัสเชื้อเอชไอวีเพื่อให้การป้องกันมีประสิทธิผล
นอกจากนี้ ยา ARV สามารถใช้ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนสัมผัสโรค (Pre-exposure prophylaxis หรือชื่อย่อว่า PrEP) ใช้ในผู้ไม่มีเชื้อเอชไอวีแต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง และต้องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อต้องรับประทานยาทุกวันเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
ภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง Autoimmune Immune
โรคเอสแอลอีเป็นโรคไม่ติดต่อ เป็นโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานทำร้ายตนเอง โดยภูมิต้านทานไม่สามารถแยกแยะระหว่างสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายกับเซลล์และเนื้อเยื่อของตนเองทำให้ภูมิต้านทานคิดว่าเซลล์ปกตินั้น เป็นสิ่งแปลกปลอมจึงได้ไปทำร้ายเซลล์นั้นซึ่งผลทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะนั้นๆ (ข้อ ไต ผิวหนัง เป็นต้น) การอักเสบหมายถึงการที่ส่วนของ ร่างกายมีการร้อน แดง บวม และอาจปวดได้ ถ้ามีการอักเสบเป็นระยะเวลา นานอย่าง เช่นในโรคเอสแอลอีก็จะทำให้เนื้อเยื่อนั้นถูกทำลายและไม่ สามารถทำหน้าที่ได้ปกติ ดังนั้นจุดประสงค์ของการรักษาคือการลดการ อักเสบนั่นเอง
ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย เป็นที่ทราบกันว่าโรคเอสแอลอีนั้นสามารถเกิดจากการกระตุ้นได้จาก หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในวัยเจริญพันธ์ ความเครียด ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเช่น แสงแดด
การวินิจฉัย
ขึ้นกับอาการ (เช่นอาการปวด) อาการแสดง (เช่นไข้) และผลตรวจเลือดและปัสสาวะ โดยที่จะต้องตัดโรคอื่นๆที่อาจเป็นสาเหตุ ออกไป เนื่องจากอาการและอาการแสดงทั้งหมดไม่ได้เกิดพร้อมกันทีเดียว ซึ่งอาจทำให้การวินิจฉัยนั้นล่าช้าได้ ในการช่วยแยกโรคเอสแอลอีกับ โรคอื่นๆ
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จากการตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการตรวจร่างกายจะดูว่าอาการปวดข้อนั้นมีการอักเสบซึ่งได้แก่ อาการบวม แดง ร้อน เกิดขึ้นหรือไม่ การขยับข้อติดขัดหรือไม่ ในกรณีที่การบวมหรืออักเสบยังไม่ชัดเจน แพทย์จะเอกซเรย์กระดูก หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพิ่มเติม
การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
แนวทางการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คือทำให้โรคสงบ หายปวด หายบวม หยุดยั้งการทำลายข้อเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติมากที่สุด ซึ่งทำได้โดย
การใช้ยา ประกอบด้วยยารับประทานหรือยาฉีดสำหรับรักษาเฉพาะเจาะจงกับโรคเพื่อลดการอักเสบ ควบคุมการลุกลามของโรค และยาช่วยบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวด หรือยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยไม่ให้ผู้ป่วยต้องเจ็บปวดทรมานจากโรค
การผ่าตัด สำหรับกรณีที่ข้อถูกทำลายไปมากแล้ว การผ่าตัดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนข้อจะช่วยให้ข้อทำงานได้ดีขึ้น ลดความเจ็บปวด และแก้ไขความพิการได้
กายภาพบำบัด รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อให้ข้อคงความยืดหยุ่น
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และแม้ว่าโรคจะสงบแล้วก็อาจกลับมาเป็นได้อีก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมโรคไม่ให้กลับมารุนแรงและติดตามกับแพทย์เป็นระยะๆ