Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกหลังคลอด, นางสาวเพ็ญพิชชา ราโชธร…
การส่งเสริมสัมพันธภาพมารดาและทารกหลังคลอด
Bonding (ความผูกพัน)
กระบวนการผูกพันทางอารมร์ที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูมีต่อทารกฝ่ายเดียว เกิดขึ้นตั้งแต่วางแผนตั้งครรภ์ ทราบว่าตั้งครรภ์ หรือจนลูกดิ้น
Attachment (สัมพันธภาพ)
ความรู้สึกรักใคร่ผูกพันระหว่างทารกกับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นพิเศษและคงอยู่ถาวร
การพัฒนาสัมพันธภาพในระยะหลังคลอด
ในระยะหลังคลอดทันที มารดาจะแสดงความรักความผูกพันกับลูกตั้งแต่นาทีแรกหลังคลอดจนกระทั่งถึง 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่มารดามีความรู้สึกไวที่สุด (Sensitive period)
กระบวนการพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
ระยะก่อนการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 1 การวางแผนการตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
ขั้นที่ 2 การยืนยันการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 3 การยอมรับการตั้งครรภ์
ขั้นที่ 4 การรับรู้การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์
ขั้นที่ 5การยอมรับว่าทารกในครรภ์เป็นบุคคลหนึ่ง
ระยะคลอดและระยะหลังคลอด
ขั้นที่ 6 การสนใจดูแสุขภาพตนเองและทารกในครรภ์และการแสวงหาการคลอดที่ปลอดภัย
ขั้นที่ 7 การมองดูทารก
ขั้นที่ 8 การสัมผัสทารก
ขั้นที่ 9 การดูแลทารกและให้ทารกดูดนม
พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก
1.การสัมผัส (Touch)
พฤติกรรมสำคัญที่จะผูกพันมารดากับบุตร คือ ความสนใจของมารดาในการสัมผัสบุตร โดยใช้นิ้วสัมผัสที่แขนขา ทารกจะดึงผมและจับมือเป็นการสนอง
2.การประสานสายตา (eye to eye contact)
เป็นสื่อสำคัญต่อการเริ่มต้นพัฒนาการด้านความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ และความสัมพันกับบุคลอื่น ระยะแรกที่ทารกสามารถมองเห็นมารดาได้ชัดเจน คือ 8-12 นิ้ว
3.การใช้เสียง (voice)
การตอบสนองเริ่มทันทีที่ทารกเกิด ทารกแรกเกิดจะตอบสนองต่อเสียงสูงมากกว่าเสียงต่ำ
4.การเคลื่อนไหวเป็นจังหวะตามเสียงพูด (entrainment)
ทารกจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายเป็นจังหวะสัมพันธ์กับเสียงพูดสูงต่ำของมารดา
5.จังหวะชีวภาพ (biorhythmcity)
หลังคลอดทารกจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกที่ต่างจากครรภ์มารดา มารดาจะช่วยสร้างจังหวะชีวภาพได้โดยขณะที่ทารกร้องไห้ มารดาอุ้มไว้แนบอก
6.การรับกลิ่น (Odor)
มารดาจำกลิ่นทารกได้ตั้งแต่แรกคลอด แยกกลิ่นได้ภายใน 3-4 สัปดาห์ ส่วนทารกแยกกลิ่นมารดาและหันเข้าหากลิ่นน้ำนมมารดา 6-10 วันหลังคลอด
7.การให้ความอบอุ่น (heat)
หลังทารกคลอดได้รับการเช็ดตัวให้แห้ง ห่อตัวทารกและนำทารกให้มารดาโอบกอดทันที ทารกจะไม่สูญเสียความร้อน
8.การให้ภูมิคุ้มกันทางน้ำนม (T and B lymphocyte)
ทารกจะได้รับภูมิคุ้มกันในนมแม่ ซึ่งจะช่วยป้องกัน
และทำลายเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร
9.การให้ภูมิคุ้มกันทางเดินหายใจ (bacteria nasal flora)
ขณะมารดาอุ้มทารกจะมีการถ่ายทอดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจของมารดาสู่ทารก เกิดภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันทารกติดเชื้อจากสิ่งแวดล้อม
การประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
แนวทางการประเมินสัมพันธภาพ
ความสนใจในการดูแลตนเองและทารก
พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดากับทารก
ความสามารถในการปฏิบัติบทบาทการเป็นมารดา
ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของทารก
พฤติกรรมของมารดาและทารกที่แสดงถึงการขาดสัมพันธภาพ
ไม่สนใจมองบุตร สีหน้าเมินเฉยหรือหันหน้าหนี
ไม่ตอบสนองต่อบุตร เช่น ไม่สัมผัส ไม่ยิ้ม
พูดถึงบุตรในทางลบ
แสดงท่าทางหรือคำพูดที่ไม่พึงพอใจขณะดูแลบุตร
ขาดความสนใจในการซักถามเกี่ยวกับพฤติกรรมและการเลี้ยงดูบุตร
บทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์ในการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
ระยะตั้งครรภ์
ยอมรับการตั้งครรภ์
ครอบครัวคอยให้กำลังใจ
การปรับบทบาทการเป็นบิดา มารดา
ยอมรับความเป็นบุคคลของทารกในครรภ์
การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
ระยะคลอด
สร้างบรรยากาศให้เกิดความไว้วางใจ
ลดความวิตกกังวลของผู้คลอด
ให้ข้อมูล เป็นสื่อกลางระหว่างผู้คลอดและครอบครัว
ส่งเสริมให้การคลอดผ่านไปอย่างปลอดภัย
ระยะหลังคลอด
ส่งเสริมให้มารดาสัมผัสหรือโอบกอดทันทีหลังคลอด
Rooming in โดยเร็วที่สุด
ให้คำแนะนำในการดูแลบุตร
ตอบสนองต่อความต้องการของมารดา
กระตุ้นให้มีปฏิสัมพันธ์
เป็นตัวแบบในการส้างสัมพันธภาพ
ให้มารดา บิดา ได้อยู่ด้วยกันตามลำพัง
นางสาวเพ็ญพิชชา ราโชธร ชั้นปีที่ 2 ห้อง B
เลขที่ 3 รหัสนักศึกษา 613020110904