Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:warning:ผู้ที่ประสบภาวะสูญเสีย เศร้าโศก :warning:, images, newscms…
:warning:
ผู้ที่ประสบภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
:warning:
ความหมาย
:check:
:explode:
การสูญเสีย (Loss)
หมายถึง สภาพการณ์ที่บุคคลต้องแยกจากสูญหาย หรือต้องปราศจากบางสิ่งบางอย่างที่เคยมีอยู่ในชีวิต ซึ่งอาจเกิดขึ้นทันทีทันใดหรือค่อยเป็นค่อยไป คาดการณ์ได้หรือไม่ได้ และอาจทำให้เกิดความชอกช้ำและเจ็บปวดอย่างมาก หรือเพียงเล็กน้อย
:explode:
ภาวะเศร้าโศก (Grief)
หมายถึง ความรู้สึกเสียใจที่เกิดขึ้นเมื่อคาดว่าจะมีการสูญเสียหรือรับรู้ว่าตนเองสูญเสียเป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่แสดงออกทั้งทางสรีระและอารมณ์
ประสบการณ์การสูญเสียที่เกิดขึ้นจริง (bereavement) ส่วนใหญ่บุคคลจะมีภาวะเศร้าโศกจากการเสียชีวิตของบุคคลสำคัญในชีวิต และบุคคลจะใช้ช่วงระยะตั้งแต่เริ่มเศร้าโศกไปจนถึงสามารถปรับตัวได้ประมาณ 1 ปี
ประเมินปัญหาทางการพยาบาล
:star:
ความเศร้าโศกเมื่อบุคคลคาดว่าจะสูญเสียหรือเมื่อรับรู้การสูญเสีย จะมีปฏิกิริยาการแสดงออกต่างๆ ใน
ช่วงแรก
พบอาการช็อก ตกใจ ปฏิเสธ เอะอะ โวยวาย ไม่ยอมรับความจริงหรือร้องไห้รำพึงรำพัน
ระยะต่อมา
อาการทางกาย
เช่น แน่นหน้าอก รู้สึกจุกแน่นที่คอ ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม กล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่มีกำลัง คอแห้ง กระหายน้ำ คลื่นไส้ รู้สึกตื้อๆ รับประทานอาหารไม่ได้ เป็นต้น
ด้านอารมณ์
จะพูดรำพันหรือร้องไห้คร่ำครวญ บางรายพุดจาก้าวร้าวโทษตัวเอง รู้สึกผิดหรือวิตกกังวล บางรายอาจหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้นึกถึงความสูญเสีย
กระบวนการคิด
มักพบว่ามีความสับสน ตัดสินใจไม่ได้ ความคิดหมกมุ่นถึงสิ่งที่สูญเสียไป ตกใจง่าย ไม่มีสมาธิ ขาดแรงบันดาลใจ ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
หากมีการแสดงออกที่ล่าช้าหรือยาวนานเกินไป ความเศร้าโศกนี้จะแปรเปลี่ยนเป็นความผิดปกติ ซึ่งพบว่าอาการจะรุนแรงผิดปกติมากขึ้น จนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
:star:
การวินิจฉัยทางการพยาบาล :
ทุกข์เมื่อคาดว่าจะสูญเสีย
เผชิญปัญหาไม่เหมาะสมเนื่องจากมีการสูญเสียสิ่งส่าคัญในชีวิต
ความรู้สึกมีคุณค่าเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเศร้าเสียใจจากการสูญเสีย
รู้สึกหมดหวังหรือสูญเสียพลังอ่านาจเนื่องจากรู้สึกเศร้าโศกจากการสูญเสีย
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องจากเศร้าโศกจากการสูญเสีย
รับประทานอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่ได้จากความเศร้าโศก
ช่วยเหลือตนเองได้น้อย เองจากรู้สึกหมดหวังจากการสูญเสีย
เศร้าโศกผิดปกติ เนื่องจากเผชิญความรู้สึกเศร้าโศกยาวนาน/ล่าช้า
:star:
กิจกรรมทางการพยาบาล
:red_flag:
เป้าหมายหลัก
= พยายามให้บุคคลได้มีโอกาสระบายออกและได้มีการประคับประคองให้อารมณ์เศร้าโศกเสียใจลดลง เพิ่มการเตรียมรับกับความจริงและกลับสู่สังคมได้โดยเร็ว
ส่งเสริมให้ลดความรู้สึกเศร้าโศกลง = ให้เวลาได้ระบายอารมณ์เศร้า ให้กำลังใจ และกระตุ้นให้ได้แสดงอารมณ์ และความรู้สึก
ส่งเสริมการสร้างและความคาดหวังที่เป็นจริง = สนับสนุนวิธีการเผชิญปัญหาที่เหมาะสม โดยเพิ่มกำลังใจและความพยายามต่อสู้ความเศร้า
กระตุ้นให้ผู้เศร้าโศกเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นและเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบ่าบัด
ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่เศร้าโศกผิดปกติ = เฝ้าระวังและสังเกตอาการผิดปกติ ให้ความรู้แก่ผู้เศร้าโศกและญาติ ให้เข้าใจถึงการมีปฏิกิริยาเศร้าโศกต่อการสูญเสีย
ดูแลช่วยเหลือเกี่ยวกับกิจวัตรประจ่าวัน ส่งเสริมให้ได้รับการพักผ่อน ได้รับอาหารที่เพียงพอและรักษาความสะอาดของร่างกาย
สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่เชื่อถือไว้วางใจ = สร้างสัมพันธภาพ ไม่แสดงท่าทีตำหนิ วิจารณ์พฤติกรรมที่แสดงออก
สนับสนุนจิตใจของญาติ และส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดี
อธิบายให้ญาติเข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของการแสดงออกและหนทางในการตอบสนองที่เหมาะสม
การประเมินผลทางการพยาบาล
:star:
ประเมินจากระดับความรุนแรงของผู้เศร้าโศกในการยอมรับและปรับตัวกับภาวะสูญเสียที่เกิดขึ้น
มีปฏิสัมพันธ์ในทางบวกกับคนอื่น
มีส่วนร่วมในการเข้ากลุ่มช่วยเหลือกัน โดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะสูญเสียและเสนอตัวในการช่วยเหลือ
สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิตและสามารถปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น
สามารถอภิปรายความหมายของภาวะสูญเสียผลที่เกิดขึ้นกับชีวิต
นางสาวปิยธิดา เตราชูสงค์ เลขที่ 37