Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มดลูกแตก (Uterine rupture / Rupture of the uterus), นางสาวสุธาสินี กะเจ…
มดลูกแตก (Uterine rupture / Rupture of the uterus)
ความหมาย
ภาวะที่มีการฉีกขาดของผนังมดลูก ในขณะตั้งครรภ์หลังจากทารกโตพอที่จะมีชีวิตอยู่ได้ หรือหลังอายุครรภ์ 28 สัปดาห์
เกิดการฉีกขาดระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างเจ็บครรภ์ หรือระหว่างการคลอด โดยไม่รวมการแตกหรือฉีกขาดในการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือการทะลุของมดลูกที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
การพยาบาล
การพยาบาลเพื่อการป้องกันภาวะมดลูกแตก
1.1 มารดาที่มีประวัติการคลอดยาก ผ่าตัดมดลูก และเคยได้รับการทำสูติศาสตร์หัตถการควรแนะนำให้ฝากครรภ์อย่างสม่าเสมอในระยะตั้งครรภ์ และแนะนำให้มาคลอดที่โรงพยาบาล
1.2 มารดาที่เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ควรแนะนำให้คุมกำเนิด และเว้นระยะในการตั้งครรภ์อย่างน้อย 2 ปี และเมื่อตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์ครั้งแรกควรส่งพบแพทย์
1.3 ในระยะคลอดต้องเฝูาดูแลมารดาอย่างใกล้ชิด
1.3.1 ตรวจการหดรัดตัวของมดลูก ถ้าพบว่าผิดปกติ คือ interval ‹ 2 นาที, duration › 90 วินาที resting period ‹ 1 นาที, 30 วินาที และ intensity +4
1.3.2 สังเกตลักษณะมดลูก ถ้าพบว่ามีลักษณะ Bandl’s ring คือมดลูกแบ่งเป็นสองลอน หน้าท้องแข็งตลอดเวลามารดากระสับกระส่วย ปวดท้องมาก แน่นอึดอัดในท้อง ฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้ยิน ให้รายงานแพทย์
1.4 ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ผิดปกติ หรือมีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ควรรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาผ่าท้องทำคลอด
การพยาบาลเมื่อมีภาวะมดลูกแตกแล้ว
2.1 เตรียมมารดาเพื่อทำผ่าตัดในรายที่มีภาวะเสี่ยงต่อมดลูกแตก หรือในรายที่มดลูกแตก
2.2 เตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพ
2.3 ให้การดูแลจิตใจมารดาและครอบครัว ในกรณีที่สูญเสียบุตร
ลักษณะของมดลูกแตก
แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
มดลูกแตกสมบูรณ์ (Complete rupture) รอยแตกทะลุชั้นเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) มดลูกแตกลักษณะนี้ ทารกมักจะหลุดเข้าไปอยู่ในช่องท้อง
มดลูกแตกไม่สมบูรณ์ (Incomplete rupture) รอยแตกไม่ทะลุชั้น peritoneum คือ มีการฉีกขาดของชั้นกล้ามเนื้อมดลูกเท่านั้น ส่วนชั้น peritoneum ยังคงปกติดีอยู่
มดลูกปริ (Dehiscence) อาจไม่พบอาการอะไรเลย ในรายที่เคยผ่าตัดมดลูก แผลเก่าอาจปริแยกจากกันโดยเยื่อหุ้มรกยังไม่แตก ซึ่งอาการอาจดำเนินอย่างค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป และในระยะคลอดมดลูกปริ อาจจะกลายเป็นมดลูกแตกได้
ชนิดของมดลูกแตก
แบ่งเป็น 3 ชนิด
การแตกของแผลเป็นที่ตัวมดลูก (Rupture previous uterine scar)
ชนิด classical มดลูกจะแตกในระหว่างตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 3
ชนิด low transverse จะแตกในระหว่างการเจ็บครรภ์
การแตกของมดลูกที่เป็นปกติ เนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือน (Traumatic rupture of the intact uterus)
เกิดจากอุบัติเหตุและมีการบาดเจ็บที่บริเวณช่องท้อง
การทำสูติศาสตรหัตถการ
การแตกเองของมดลูก (Spontaneous rupture of the intact uterus)
พบได้บ่อยในมารดาตั้งครรภ์หลังอายุมาก
ได้รับยากกระตุ้นการหดรัดของมดลูก
การผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและช่องเชิงกรานมารดา ท่าและส่วนนำผิดปกติ
เด็กหัวบาตร ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ
สาเหตุ
รอยแผลผ่าตัดเดิม จากแผลผ่าท้องคลอด หรือแผลผ่าตัดอื่นๆ
การทาสูติศาสตร์หัตถการอย่างยาก
การทำคลอดด้วยคีม การทำคลอดท่าก้น การหมุนเปลี่ยนท่าเด็กจากภายใน สูติศาสตร์หัตถการทาลายเด็ก
การบาดเจ็บบริเวณช่องท้องอย่างรุนแรง (severe abdominal trauma) จากการได้รับอุบัติเหตุ
เคยผ่านการตั้งครรภ์ และการคลอดบุตรจำนวนมาก (grand multiparty) จากผลการศึกษาพบว่ารายที่เคยคลอดบุตร 7 ครั้งขึ้นไป
การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
รกฝังตัวลึกชนิด placenta percreta หรือ placenta increta
การคลอดติดขัด (obstructed labor) จากการผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับช่องเชิงกราน (cephalopelvic disproportion), contracted pelvis, hydrocephalus ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง มีก้อนเนื้องอกขวางอยู่ เช่น เนื้องอกรังไข่หรือมดลูก ครรภ์แฝด
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงเตือนว่ามดลูกจะแตก (threatened uterine rupture)
1.1 มดลูกหดรัดตัวตลอดเวลา (tetanic uterine contraction) ไม่สัมพันธ์กับความก้าวหน้าของการคลอด
1.2 ปวดท้องน้อยบริเวณเหนือหัวเหน่าอย่างรุนแรง
1.3 กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว หายใจไม่สม่ำเสมอ
1.4 กดเจ็บบริเวณเหนือหัวเหน่า โดยเฉพาะบริเวณส่วนล่างของมดลูก
1.5 พบ Bandl’s ring หรือ pathological retraction ring จากการตรวจหน้าท้องเห็นมดลูกเป็นสองลอน
1.6 จากการตรวจภายในช่องคลอด พบปากมดลูกลอยสูงขึ้น เนื่องจากถูกดึงรั้งขึ้นไปและ
อาจพบปากมดลูกบวม
1.7 อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ไม่สม่ำเสมอ
1.8 อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด
อาการและอาการแสดงของมดลูกแตก (uterine rupture)
2.1 อาการปวดท้องน้อยจะทุเลาลง ภายหลังจากที่มารดาบางรายบอกว่ารู้สึกเหมือนกับมีการแยกออกของอวัยวะในช่องท้อง
2.2 บางรายพบมีเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ
2.3 มีอาการช็อกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของมดลูกแตก ว่ามีเลือดออกมากน้อยเพียงใดถ้ามีภาวะ hypovolemic shock มารดาจะมีอาการกระสับกระส่าย ชีพจร เบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ เหงื่อออก ตัวเย็น หายใจไม่สม่าเสมอ และหมดความรู้สึก
2.4 คลำส่วนของทารกได้ชัดเจนมากขึ้น และอาจคลาได้ส่วนของมดลูกอยู่ข้างๆ ทารก
2.5 เสียงหัวใจทารกจะเปลี่ยนแปลง หรือหายไปขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของมดลูกที่แตก
2.6 การตรวจภายในพบว่าส่วนนำถอยกลับ หรือส่วนนำลอยสูงขึ้น หรือตรวจไม่ได้ส่วนนำ และอาจคลำพบรอยแตกของมดลูก
2.7 อาจคลำได้ก้อนหยุ่น ๆ ข้างมดลูก ถ้ามีเลือดเข้าไปขังอยู่ใน broad ligament
2.8 สวนปัสสาวะอาจได้เลือดปนในปัสสาวะ ถ้ามีการฉีกขาดของกระเพาะปัสสาวะ
2.9 ปวดท้องอย่างรุนแรง รู้สึกอึดอัดเนื่องจากเลือด น้าคร่าและตัวทารก ก่อความระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องท้อง
การรักษา
แก้ไขภาวะช็อค
การผ่าตัดเปิดช่องท้อง (exploratory laparotomy) ไม่ว่าทารกจะมีชีวิตหรือไม่ เพื่อแก้ไขสาเหตุของมดลูกแตก
รายงานกุมารแพทย์ เพื่อช่วยฟื้นคืนชีพทารก ในกรณีที่ทารกยังมีชีวิต
การเย็บซ่อมแซมหรือตัดมดลูก
ถ้าเลือดออกอีกอาจต้องทำผ่าตัด เพื่อผูก hypogastric arteries ทั้งสองข้างร่วมด้วย ภายหลังการตัดมดลูกออกแล้ว
ให้เลือดทดแทน และให้ยาปฎิชีวนะอย่างเต็มที่
ผลกระทบ
มารดา
อัตราตายของมารดาจากมดลูกแตกเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการเสียเลือดทั้งก่อนและหลังคลอด และเกิดการติดเชื้อ
ทารก
การตายปริกำเนิดของทารกจากภาวะมดลูกแตกร้อยละ 50-70 เนื่องจากทารกขาดออกซิเจน
นางสาวสุธาสินี กะเจ เลขที่ 76 รหัส 601001156