Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้และทักษะการสื่อสารในการปฎิบัติการพยาบาล - Coggle Diagram
ความรู้และทักษะการสื่อสารในการปฎิบัติการพยาบาล
ความหมายของการสื่อสารในการปฎิบัติการพยาบาล
การสื่อสารเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการให้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพตามสิทธิ์ ทำให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและตอบสนองด้วยความพึงพอใจต่อบริการทางสุขภาพ
จริยธรรมการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติการพยาบาล/วิชาชีพพยาบาล
วิชาชีพการพยาบาล เป็นวิชาชีพที่ดูแลบุคคลที่เจ็บป่วย หรือมีความทุกข์เรื่องสุขภาพ โดยตรง ซึ่งในการดูแลลบุคคลพยาบาล จําาเป็นต้องมีความเข้าใจ เต็มใจ และให้ความช่วยเหลืออย่างดี ดังนั้นการปฏิบัติงานของพยาบาลจําาเป็นต้องมีความรู้ ทักษะ และ จริยธรรม ไปพร้อมกัน ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้กล่าวถึงหัวใจ ของ วิชาชีพพยาบาล คือ ความเอื้ออาทร (Caring) และความเมตตา กรุณา (Compassion) ซึ่งเป็นจริยธรรม ที่ควรมีในตัวพยาบาล และควรแสดงออกทุกครั้งท่ีดูแลผู้ป่วย
การสื่อสารทางการพยาบาล
การสื่อสาร คือ กระบวนการแลกเปลี่ยน และร่วมกันรับรู้เรื่องราวข่าวสารต่างๆโดยมีความเข้าใจร่วมกันต่อสัญลักษณ์ที่แสดงเรื่องราวข่าวสารนั้นๆ การสื่อสารมีความสำคัญในฐานะที่เป็นความจำเป็นพื้นฐานที่เป็นความจำเป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งในชีวิตมนุษย์ มีผลต่อความเป็นสังคม การดำเนินชีวิตประจำวัน อุตสาหกรรมธุกิจการปกครองและการเมืองระหว่างประเทศ พิจารณาในส่วนในส่วนที่เกี่ยวกับสาธารณสุข การสื่อสารมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างยิ่ง
หลักการสื่อสาร
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิพลสูงสุดควรมีลักษณะดังนี้ ถูกต้อง น่าเชื่อถือ เนื้อหาสาระ เหมาะสม มีความแจ่งแจ้ เหมาะสมกับกาลเทศะ มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ เลือกใช้สื่อได้เหมาะสมและคำนึงถึงความสามารถของผู้รับสาร
คุณลักษณะของพยาบาลในการสร้างสัมพันธภาพ
ความรักในเพื่อนมนุษย์
2.การเคารพในความเป็นบุคคล(Respect)ของผู้อื่น
การเห็นเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น(Empathy)
ความเช่ือถือ ไว้วางใจ (Trust)
ความจริงใจ (Genuineness)
ความเข้าใจ (Understanding)
การยอมรับ (Acceptance)
การเอาใจใส่ดูแลCaring)
ความสำคัญของการสื่อสารในการพยาบาล
เพิ่มความไว้วางใจระหว่างผู้รับบริการกับพยาบาล
เป็นหนทางที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทำให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพของผู้รับบริการ
เป็นพื้นฐานของสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและสมาชิกของทีมสุขภาพ
ช่วยส่งเสริมประสิทธิาพของการจัดการ
ทำให้เกิดการประสานงานในทีมสุขภาพ
ประเภทของการสื่อสารในการปฎิบัติการพยาบาล
วัจนภาษา <verbal language>
“การสื่อสารด้วยการพูดและการเขียน”
ข้อมูลที่แสดงออกโดยการพูด และ เขียนจะสื่อให้เข้าใจได้ง่ายและชัดเจน แต่ผู้ส่งข่าวสารอาจจะปกปิดความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงไว้หรือ บรรยาย ความรู้สึกที่แท้จริงไม่ได้
อวัจนภาษา <nonverbal language >
“การสื่อสารด้วยภาษาท่าทาง”
การแสดงกิริยาท่าทาง การเคลื่อนไหว การสัมผัส การแสดงออกทางสีหน้า และการประสานสายตา น้ําเสียงที่พูด การสื่อสารด้วยภาษาท่าทางสามารถ แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ที่ไม่สามารถอธิบายเป็นคําพูดและการเขียนได้
วิธีการในการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาล
การฟัง ( Listening)
การฟังเป็นการสอนบุคคลถึงวิธีในการรับฟังอย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการฟัง
การรับข้อความ
การดำเนินการ ทำความเข้าใจถึงข้อความนั้น
การตอบสนองต่อการฟัง
การฟังมี4แบบ
การฟังมี 4 แบบ
การฟังแบบเลือกฟัง (Selective Listening )
การตั้งใจฟัง (Deliberate Listening )
การฟังอย่างเข้าใจ (Empathic Listening )
ฟังอย่างไม่ตัดสินใจ และ ให้การยอมรับต่อผู้อื่น
มีความต้องการจะฟัง
กระตุ้นให้ผู้อื่นแสดงความรู้สึก
การฟังแบบต่อต้าน ( Defensive Listening )
การถาม (Quentioning )
เพื่อหาข้อมูลที่จำเป็น
เพื่อจัดกิจกรรมการพยาบาล
เพื่อการตรวจสอบ
การเตรียมคำถาม
เตรียมคำถามอย่างกว้างๆให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ควรมีการเตรียมคำถามล่วงหน้า
การดำเนินการใช้คำตอบ
การใช้คำถามที่ดี ควรสอดคล้องกับสถานการณ์
คำถามเพื่อความคิดเห็น ex วันนี้คุณเป็นอย่างไรบ้าง
คำถามเพื่อสอบถามข้อมูล Ex วันนี้จะมีญาติมาเยี่ยมคุณไหมคะ
คำถามเพื่อความกระจ่าง Ex ที่คุณพูดหมายความว่าอย่างไรคะ
คำถามเพื่อย้ำหรือสรุป Exคุณหมายความว่า… ใช่ไหมคะ
เทคนิคที่สำคัญและจำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาล
ใช้คำถามอย่างกว้างๆ
ฝึกฝนการใช้คำถามอยู่บ่อยๆ
ใช้ภาษาง่ายๆเน้นเป็นภาษาพูด
ใช้ภาษาที่สื่อสารเข้าใจกันได้ง่าย
ต้องมีความรู้ในการสื่อสารเรื่องนั้นๆเพื่อที่จะสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจัยสำคัญและอุปสรรคที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาล
ปัจจัย
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมของการสื่อสาร การสื่อสารไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยว แต่การสื่อสารทุกขณะ
เกิดขึ้นภายใต้บริบท (Context) หรือ สิ่งแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้น สิ่งแวดล้อมการสื่อสารจึงมีผลต่อการ สื่อสารของมนุษย์ด้วย
ปัจจัยด้านสภาพการสื่อสาร สภาพการสื่อสารเองก็เป็นปัจจัยสําคัญอีกประการหนึ่งที่มีส่วนกําหนดว่า การสื่อสารจะปรากฏผล ออกมาเช่นไร จะชัดเจนเข้าใจตรงกันหรือไม่ ซึ่งสภาพการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1) การสื่อสารทางเดียวหรือสองทาง การสื่อสารสองทาง (ทุติยวิถี หรือ two-way communication) จะให้ผลดีกว่าการสื่อสารทางเดียว (เอกตวิถี หรือ one-way communication) ทั้งในด้าน ความเข้าใจต่อเนื้อหา และสัมพันธภาพระหว่างคู่สื่อสาร
2) การสื่อสารหลายทอด การสื่อสารที่ถูกส่งต่อกันไปหลายทอดมากขึ้น มักเกิดปัญหาความ บิดเบือนของสาร (distortion) มากตามไปด้วย ความคลาดเคลื่อนบิดเบือนของสารอาจเกิดได้หลายสาเหตุ ทั้งโดย ตั้งใจและไม่ตั้งใจ “ความหมายของสารที่สื่อ” ในความรู้สึกกับความเป็นจริง บ่อยครั้งที่คนเรามีความสับสนระหว่าง ความรู้สึกกับความเป็นจริง คือ แทนที่จะ พูดอะไรออกไปตามความเป็นจริงที่พบเห็น กลับพูดออกไปตามความรู้สึก ของตน ซึ่งตนอาจรู้สึกหรือเข้าใจผิดได้
อุปสรรค
อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทําให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับ สาร อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจาก องค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1.อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
1.1 ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
1.3 ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
1.4 ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
1.5 ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
1.6 ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
1.2 ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนําเสนอที่ไม่เหมาะสม
อุปสรรคที่เกิดจากสาร
2.1 สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
2.2 สารขาดการจัดลําดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
2.3 สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
2.4 สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง
3.1 การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนําเสนอ
3.2 การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
3.3 การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
1 ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
4.2 ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
4.3 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
4.4 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
4.5 ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป
ตัวอย่าง Dialouge บทสนทนาโต้ตอบกัน ในสถานการณ์สมมุติ สถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่ง
การรายงานเเพทย์
การรับ-ส่งเวร
การให้คําเเนะนําการปฏิบัติตัวเตรียมผ่าตัด
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
ลักษณะการสื่อสารที่ดีของพยาบาล
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเครื่องมือสําคัญที่จะสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้ กําลังใจผู้ป่วยและครอบครัวในการเผชิญกับโรคและความเจ็บป่วย ช่วยให้เกิดความมั่นใจ ไว้วางใจ เห็นอกเห็นใจ ลดความวิตกกังวล นอกจากนี้ยังช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และช่วยในการวางแผนการรักษาร่วมกันของ ผู้ป่วย ครอบครัว กับทีมผู้ดูแลรักษา การพัฒนาความรู้ ทักษะการสื่อสารของพยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพจึงมีความสําคัญและจําเป็นต้องส่งเสริมพัฒนาให้เกิด ประสิทธิภาพ
ทักษะการใส่ใจ (Attending skill)
เป็นความพยายามที่จะเข้าใจผู้รับบริการในฐานบุคคล เป็นการฝึกความสนใจ ในทางความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้รับบริการ
เป็นการรวบรวมข้อมูลที่จําเป็นในการตัดสินใจ หรือให้คําแนะนํา
ทักษะการฟัง (Listening skill)
การฟังเหมือนเป็นเพียงการรับเอาเนื้อหาที่ผู้รับบริการได้สื่อออกมา และสามารถตอบคําถามผู้รับบริการว่า “อะไรกําลังเกิดขึ้น” ก็แสดงว่า พยาบาลกําลังฟังด้วยความสามารถในการรับรู้
ทักษะการใช้คําถาม (Questioning skill)
เพื่อให้ทราบข้อมูลของผู้รับบริการ สามารถแสวงหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงได้มากขึ้น