Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รกค้าง (Retained placenta), นางสาวสุธาสินี กะเจ เลขที่ 76 รหัส 601001156 …
รกค้าง (Retained placenta)
ความหมาย
ภาวะที่รกไม่คลอดภายใน 30 นาทีหลังจากทารกคลอด
ทั่วไปรกจะคลอดภายใน 10 นาที หลังจากที่ทารกคลอดแล้ว และไม่ควรเกิน 30 นาที
การพยาบาล
ซักประวัติเกี่ยวกับสาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดภาวะรกค้าง เพื่อวางแผนป้องกันการเกิดภาวะรกค้าง และเตรียมการช่วยเหลือในระยะการคลอดรกอย่างเหมาะสม
ช่วยเหลือการคลอดรกที่ลอกแล้วแต่ค้างอยู่ในช่องคลอด โดยตรวจดูอาการแสดง (signs) ของรกที่ลอกตัวสมบูรณ์ ถ้ามี signs แสดงว่ารกลอกตัวแล้ว แต่ขาดกลไกธรรมชาติที่จะให้รกคลอดออกมาเอง ได้แก่ แรงเบ่งหรือขาดการช่วยเหลือการคลอดรก ดังนั้น เพียงแต่ช่วยเหลือการคลอดรกด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอย่างถูกวิธี รกจะคลอดออกมาโดยง่าย
ช่วยเหลือการคลอดรกที่ยังค้างอยู่ในโพรงมดลูก เมื่อตรวจแล้วไม่มีอาการแสดงของรกลอกตัวสมบูรณ์
3.1 ตรวจการหดรัดตัวของมดลูก ถ้าไม่มีการหดรัดตัว หรือหดรัดตัวไม่แข็งเต็มที่
3.1.1 สวนปัสสาวะ เพราะการมีปัสสาวะเต็มในกระเพาะปัสสาวะทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ไม่ดี เป็นเหตุให้รกไม่อาจลอกตัวได้สมบูรณ์
3.1.2 ถ้าสวนปัสสาวะแล้วมดลูกยังหดรัดตัวไม่ดีขึ้น ควรใช้ฝุามือคลึงเบาๆ ที่ยอดมดลูก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวดีขึ้น แต่ห้ามคลึงด้วยความรุนแรงเพราะมดลูกอาจเกิดการหดรัดตัวผิดปกติ
3.2 ถ้าปฏิบัติในข้อ 3.1 แล้ว รกยังไม่คลอดออกมาในเวลาอันสมควรอาจเกิดจาก
3.2.1 รกลอกตัวแล้ว แต่ไม่อาจผ่านโพรงมดลูกออกมาได้
3.2.2 รกลอกตัวเองไม่ได้ตามธรรมชาติ
3.3 ผู้ทำคลอดอาจสอดนิ้วมือเข้าไปในช่องคลอด เพื่อตรวจดูสภาพของปากมดลูกว่ามีการหดเกร็งของปากมดลูก (cervical cramp) จนขัดขวางการเคลื่อนต่ำของรก การสอดนิ้วมือเข้าไปในช่องคลอดต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และทำด้วยความนุ่มนวล เพราะอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดแก่มารดาได้
3.4 ลองทำคลอดรกโดยวิธีดึงสายสะดือ (control cord traction) ซึ่งรกจะคลอดได้ในกรณีที่รกลอกตัวแล้ว แต่มี cervical cramp หรือปากมดลูกบีบรัดรกเอาไว้ รกจะถูกดึงให้ผ่านส่วนที่บีบรัดไว้ออกมาได้ แต่ถ้าลองดึงดูแล้วรกยังติดอยู่ ห้ามดึงต่อไปด้วยกาลังแรง เพราะสายสะดืออาจขาดหรือมดลูกปลิ้น หรือมีเศษรกขาดค้างอยู่ในโพรงมดลูกได้
รายงานแพทย์ เพื่อพิจารณาช่วยคลอดรกโดยการล้วงรก
สาเหตุ
การขาดกลไกการลอกตัว
1.1 รกปกติ แต่มดลูกไม่มีการหดรัดตัว รกจึงไม่ลอกตัวหรือลอกตัวได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยที่ทาให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
1.1.1 มีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ (full bladder)
1.1.2 มีระยะการคลอดที่ยาวนาน (prolonged labor)
1.1.3 มารดาอ่อนเพลีย ขาดอาหารและน้ำ (maternal exhaustion and dehydration)
1.1.4 มารดาได้รับยาระงับปวดหรือยาสลบมากเกินไป (over analgesia and general anesthesia)
1.1.5 รกเกาะที่บริเวณคอร์นู (cornu) หรือที่มดลูกส่วนล่าง กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวมีกาลังการหดรัดตัวไม่ดีเท่าส่วนคอร์ปัส (corpus) และส่วนของยอดมดลูก (fundus)
1.2 รกผิดปกติ ถึงแม้มดลูกจะมีการหดรัดตัวได้ดีตามปกติ แต่รกไม่สามารถลอกออกมาได้ เนื่องจากภาวะรกติด (placenta adherens)พบในรกที่มีลักษณะแบนพลาเซนต้า เมมเบรนาเซีย (placenta membranacea) และรกที่มีลักษณะเป็นรกน้อยชนิดพลาเซนต้า ซัคเซนทูเรียต้า (placenta succenturiata) หรือชนิดพลาเซนต้า สปูเรี่ยม (placenta spurium) ซึ่งสาเหตุที่รกผิดปกติไม่สามารถลอกตัวได้ตามปกติ
1.2.1 placenta adherens ตามปกติแล้ว trophoblast จะไม่สามารถผ่านลงไปลึกกว่าชั้น spongiosa ของเยื่อบุผนังมดลูก ทั้งนี้เพราะมีสารจาพวกมิวโคโพลีเซคคาโรด์ (mucopolysaccharide) ต้านการทาลายจากซิลไซติโอโทรโฟบลาสท์ (Syncytiotrophoblast) แต่ในรกติดที่ฝังตัวลึกผิดปกตินี้ trophoblast จะฝังตัวลงไปลึกกว่าชั้น spongiosa จนอาจลึกไปถึงชั้นเบซอลลิส(basalis) หรือผ่านเลยลงไปภายในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก หรือทะลุผนังมดลูกออกไป ด้วยเหตุนี้รกติดที่ฝังตัวลึกจึงลอกตัวไม่ได้เพราะ
1.2.1.1 ขาดเครฟเวท ไลน์ (cleavage line) หรือการย่นยู่ของชั้น spongiosa ที่มีความเปื่อยยุ่ยฉีกขาดง่าย
1.2.1.2 รกปกติมีดีซิดัวส์ (deciduas) แทรกอยู่ระหว่างอินเตอร์วิลลัสสเปซ (intervillous) ที่เรียกว่าดีซิดัวส์เซบตัม (deciduas septum) แต่ในรกฝังตัวลึกผิดปกติแทนที่จะเป็น decidua ที่ถูกเบียดให้แบนบาง จะเป็นกล้ามเนื้อมดลูกซึ่งจะช่วยยึดให้รกติดอย่างแน่นหนากับผนังมดลูกมากขึ้น
1.2.2 placenta membranacea รกผิดปกติชนิดนี้ เป็นแผ่นแผ่บางไปทั่วส่วนใหญ่ของโพรงมดลูก ความบางของรกชนิดนี้ทำให้รกสามารถมีการย่นยู่ ร่วมไปกับการย่นยู่ของ deciduas cleavage ตามการหดรัดตัวของผนังมดลูกได้ จึงไม่อาจเกิดแรงดึงรั้งให้ชั้น spongiosa ฉีกขาดได้ดังเช่น รกปกติ ซึ่งมีความหนามาก (ความหนาของรกปกติ ทาให้รกไม่อาจย่นยู่ไปตามสภาพการหดรัดตัวของผนังมดลูกได้ จึงพยายามคลายตัวเพื่อแผ่ออกไปตามสภาพเดิมของรก ทำให้เกิดการดึงรั้งจน deciduas ฉีกขาดและรกลอกตัวได้หมด)
1.2.3 placenta succenturiata หรือ placenta spurium รกผิดปกติกลุ่มนี้ คือ เป็นรกที่มีรกน้อยร่วมด้วย โดยส่วนของรกน้อยอาจขาดค้างอยู่ในโพรงมดลูกได้
การขาดกลไกการขับดัน ให้รกที่ลอกตัวแล้วผ่านออกมาภายนอก
2.1 รกลอกตัวแล้วแต่ไม่อาจผ่านออกมาจากโพรงมดลูกส่วนบนได้ เกิดขึ้นเนื่องจากการหดรัดตัวที่ผิดปกติของมดลูก เช่น การหดเกร็งของปากมดลูก (cervical cramp) และคอนสตริกชั่นริง (constriction ring)
2.2 รกลอกตัวแล้ว และผ่านโพรงมดลูกออกมาอยู่ในช่องคลอด เนื่องจากมารดาไม่เบ่งผลักรกที่ลอกตัวแล้ว ให้คลอดออกมาเองตามธรรมชาติของการคลอดรก
สาเหตุส่งเสริม
3.1 การทำคลอดรกก่อนรกลอกตัวสมบูรณ์
3.2 เคยมีประวัติรกค้าง
3.3 เคยทำหัตถการที่ส่งเสริมให้เกิดรกค้าง เช่น ผ่าท้องคลอด ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกจากโพรงมดลูก (myomectomy ) หรือเคยขูดมดลูก
3.4 มดลูกมีลักษณะผิดปกติ เช่น มีผนังกั้นภายในโพรงมดลูก (bicornuate uterus)
ชนิดของรกติด (placenta adherens)
รกติด เป็นภาวะที่รกไม่สามารถลอกตัวได้ตามปกติ เนื่องจากมีการฝังตัวของเซลล์ โทรโฟบลาสท์ (trophoblast) ลึกกว่าปกติ
แบ่งได้ตามความลึกของการฝังตัวเป็น 3 ชนิด
placenta accreta ชนิดที่ trophoblast ฝังตัวลงไปตลอดชั้นสปอนจิโอซา (spongiosa) ของเยื่อบุมดลูกอาจทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน แต่ไม่ผ่านลงไปถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก
placenta increta ชนิดที่ trophoblast ฝังตัวลึกผ่านลงไปถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก แต่ไม่ถึงชั้น ซีโรซา (serosa)
placenta percreta ชนิดที่ trophoblast ฝังตัวลึกทะลุชั้นกล้ามเนื้อมดลูกจนถึง serosa
การรักษา
ให้ยาช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกมีการหดรัดตัวและคลายตัวเป็นระยะ ๆ ได้ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมกลไกการลอกตัวของรก ทำให้รกลอกตัวออกมาได้
ให้ยาเพื่อให้เกิดการคลายตัวของปากมดลูก
2.1 ยา adrenalin 1:1,000 จำนวน 0.3-0.5 cc. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
2.2 ให้ยา 20% magnesium sulphate 20 cc. ฉีดเข้าเส้นโลหิตช้า ๆ
ถ้าให้ยาแล้วไม่อาจช่วยให้รกลอกตัวสมบูรณ์ และรกไม่สามารถคลอดออกมาได้ แสดงว่ารกฝังตัวลึกต้องช่วยเหลือด้วยการล้วงรก (manual removal of the placenta)
ถ้ารกติดแน่น ผู้ทำคลอดสามารถล้วงรกออกมาได้ แต่มีบางส่วนค้างอยู่บนผนังมดลูกอาจให้การช่วยเหลือได้โดย
4.1ขูดมดลูกถ้าส่วนที่เหลือค้างมีน้อย หรือครรภ์แรกที่ยังต้องการมีบุตรอีก และต้องให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
4.2 ตัดมดลูก ในกรณีที่แม่มีบุตรเพียงพอเเล้ว หรือมีอายุมากหรือมีพยาธิสภาพมากไม่อาจทำให้รกลอกตัวอกมาได้ หรือมีเหลือเศษรกค้างอยู่มากภายในโพรงมดลูก
อาการและอาการแสดง
ไม่มีอาการแสดงของรกลอกตัว หรือมีเพียงเล็กน้อยหลังทารกคลอดนาน 15-30 นาที
พบว่ามดลูกหดรัดตัวไม่ดีหลังคลอด
มีเลือดออกทางช่องคลอดเป็นจำนวนมาก ภายหลังรกคลอด
ตรวจรกพบว่ามีบางส่วนของเนื้อรก หรือ membranes ขาดหายไป
มารดามีอาการกระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ตัวเย็นซีด เหงื่อออก ความดันโลหิตลดต่ำลง ระดับความรู้สึกตัวลดลง ซึ่งเป็นอาการของภาวะช็อค
ผลกระทบ
มารดา
ตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากรกไม่ลอกตัว และมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
เกิดการติดเชื้อหลังคลอดได้ เนื่องจากชิ้นส่วนของรกตกค้างภายในโพรงมดลูก หรือจากการล้วงรก
มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการถูกตัดมดลูกทิ้ง เนื่องจากรกฝังตัวลึกกว่าปกติ
กรณีถูกตัดมดลูก (hysterectomy) จะทาให้หมดโอกาสที่ตั้งครรภ์ต่อไป โดยเฉพาะมารดาที่อายุน้อยและยังต้องการมีบุตร
ทารก
ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดาล่าช้า
การเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกล่าช้า
นางสาวสุธาสินี กะเจ เลขที่ 76 รหัส 601001156