Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์ - Coggle Diagram
ความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์
1 Hyperparathyroidism
มีระดับพาราธอร์โมนมากเกินไป ทําให้ร่างกายมีการดูด
ซึม Calcium มากขึ้น ร่วมกับมีการสลาย Calcium ออกมาจากกระดูก
มีระดับ Calcium ในเลือดสูงเกิดการตกตะกอน เกาะพอกของ Calcium (Calcification) ตามอวัยวะของร่างกาย
ไตซึ่งทําให้ เกิดนิ่ วในไต ถ้าค่าสูง >14 mg/dL จะพบอาการรุนแรงถึงขั้น Coma ได้
1.1 Primary hyperparathyroidism
พบในหญิงมากกว่าชาย 2-4 เท่าและพบมากที่สุดในช่วงอายุ 60-70 ปี โดย 90 % เกิดจากก้อนเนื้องอกชนิดที่มีก้อนเดี่ยวที่ต่อม (parathyroid
adenoma)
1.2 Secondary hyperparathyroidism
พบได้ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง หรือเรียก
Renal rickets ซึ่งเกิดจากการคั่งของ Phosphorus
อาการและอาการแสดง
ระบบกล้ามเนื้อ จะมีอ่อนล้า ไม่มีแรง
ระบบประสาท จะมีอาการทางจิต ได้แก่ จิตใจสับสน ไม่สงบ มีอาการทางจิตประสาท
ระบบปัสสาวะ มีพบนิ่วในไตเนื่องจากมีการเพิ่มการขับ Calcium และ
Phosphorus ที่ไตมากขึ้น
ระบบโครงสร้าง พบการสลายแคลเซียมจากกระดูก หรือเกิด Bone tumors ซึ่งเป็น Benign giant cells ผู้ป่วยจะมีอาการปวดกระดูก
ระบบทางเดินอาหาร พบการอักเสบของกระเพาะ ม้ามอักเสบ
ระบบอื่นๆ
ถ้าระดับ Calcium สูงเกิน 15 mg/dl (3.7nmol/L) เรียก Hypercalcemic crisis
อวัยวะในร่างกายทุกระบบจะถูกทําลายอย่างรุนแรง การช่วยเหลือคือต้องลดระดับแคลเซียมลงอย่างรวดเร็ว
การตรวจวินิจฉัยโรค
มีระดับของแคลเซียมและพาราธอร์โมนสูงอย่างต่อเนื่อง
Radioimmunoassay
การทํา Bone scans เพื่อช่วยวินิจฉัยความผิดปกติของกระดูก
การทํา Double antibody parathyroid hormone test ช่วยแยกภาวะ Primary hyperthyroidism จาก malignancy
Ultrasound, MRI, thallium scan, and fine-needle biopsy เพื่อตรวจประเมินหน้าที่ของต่อมพาราไทรอยด์ เพื่อหา Parathyroid cysts หรือ Adenomas หรือ Hyperplasia
2 Hypoparathyroidism
การมีระดับพาราธอร์โมนไม่เพียงพอ
สาเหตุที่พบบ่อยเนื่องจากต่อมขาดเลือดไปเลี้ยงอาจเกิดภายหลังการผ่าตัดเอาต่อม Parathyroid หรือ Thyroid ออก
อาการและอาการแสดง
มีการกระตุกหรือสั่นของกล้ามเนื้อทั่วตัวที่เรียก tetany
มีอาการชาตามมือ เท้า
อาการทางจิตประสาท เชน วิตกกังวล ซึมเศร้า สับสน
อาจพบการเปลี่ยนแปลงของ EKG และภาวะความดันโลหิตต่ำ(Hypotension)
ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะเกิดอาการรุนแรงขึ้น ได้แก่ หลอดลมหดเกร็ง กลืนอาหารลําบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะ และชัก
การตรวจวินิจฉัยโรค
จากอาการและอาการแสดง
ตรวจ Trousseau’s sign หรือ Chvostek’s sign มีค่า Positive
Positive Trousseau’s sign นิ้วมือมีลักษณะจีบเข้าหากันึ่งเกิดเนื่องจากมีการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงแขนนานเป็นเวลา 3 นาทีโดยใช้Bloodpressure cuff
Positive Chvostek’s sign จะมีการเกร็ง (Spasm) หรือกระตุกของปาก จมูกและตา เกิดขึ้นเมื่อเคาะบริเวณ Facial nerve ซึ่งอยู่ด้านหน้าของต่อมน้ําลาย หรือบริเวณหูด้านหน้า
ตรวจระดับซีรั่มแคลเซียมและฟอสเฟต พบว่า Tetany จะเกิดขึ้นเมื่อมีระดับแคลเซียมต่ำกว่า 5-6 mg/dl หรือ ระดับฟอสเฟตเพิ่มสูงขึ้น
ภาพถ่ายรังสีจะพบ ความหนาแน่นของกระดูกเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีแคลเซียมเกาะ(Calcification) ทั้งในกระดูกและในสมอง