Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด
การส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอด
การพักผ่อน
ควรพักผ่อนมากๆใน 2 สัปดาห์แรก
โดยในตอนกลางวันควรพักผ่อนประมาณ1-2ช่ัวโมง
หรือพักผ่อนในช่วงที่ทารกหลับ ส่วนในตอนกลางคืน
ควรพักผ่อนอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง
การทำงาน
ในระยะ 2 สัปดาห์แรกหลังคลอดสามารถ
ทำงานบ้านเบาๆ ได้ไม่ควรยกของหนักหรือทำงานที่ต้อง
ออกแรงมาก เพราะกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆยังไม่แข็งแรง
ซึ่งอาจทำให้มดลูกหย่อนภายหลังได้ หลังคลอด 2 สัปดาห์
ไปแล้วค่อยๆทำงานเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนครบ 6 สัปดาห์
จึงทำงานได้ตามปกติ
การรับประทานอาหาร
ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่า
เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง และผลิตน้ำนมได้เพียงพอ
เช่น อาหารพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่ว ไข่ นมสด ผัก และผลไม้
ทุกชนิด ดื่มน้ำอย่างน้อย วันละ 6-8 แก้ว อาหารที่ควรงด
ได้แก่ อาหารรสจัดของหมักดอง น้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มี
แอลกอฮอร์เนื่องจากสามารถผ่านทางน้ำนมได้
การรักษาความสะอาดของร่างกาย
ควรอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง
ไม่ควรแช่ในอ่างน้ำ หรือแม่น้ำลำคลองเพราะเชื้อโรคอาจผ่านเข้าไป
ในดพรงมดลูกทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ควรสระผมสัปดาห์ละ
2-3 ครั้ง ตัดเล็บให้สั้นเสื้อผ้าต้องสะอาดอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกาย
สะอาดสามารถดูแลบุตรในวัยทารกแรกเกิดได้ ไม่ติดเชื้อหรือ
อันตรายต่างๆจากผู้ที่ให้การเลี้ยงดู
การมีเพศสัมพันธุ์
ควรงดจนกว่าจะได้รับการตรวจ
หลังคลอดเมื่อครบ 4-6 สัปดาห์แล้วว่าไม่มีภาวะผิด
ปกติทั้งนี้ เนื่องจากช่วงหลังคลอดใหม่ๆ ยังมีแผลใน
โพรงมดลูกน้ำคาวปลา และมีแผฝีเย็บยังไม่ติดดีอาจ
ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ควรทำความ
สะอาดด้วยสบู่และล้างด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งที่อาบน้ำและหลัง
การถ่ายปัสสาวะ หรืออุจาระและซับให้แห้งจากด้านหน้าไปหลัง
เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคจากรูทวารหนักมาเข้าสู่ช่องคลอดได้
จากนั้นใส่ผ้าอนามัยที่สะอาดเพื่อรองรับน้ำคาวปลาที่ออกมา
ป้องกันติดเชื้อควรเปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อชุ่มหรือทุก 3-4 ชั่วโมง
การดูแลรักษาเต้านมและหัวนม
ควรล้างให้สะอาดขณะ
อาบน้ำ และเช็ดทุกครั้งหลังให้นมเพราะอาจมีคราบน้ำนมแห้ง
ติดทำให้หัวนมแตกเป็นแผลได้ ควรสวมเสื้อยกทรงพยุงเต้านมไว้
เนื่องจากเต้านมจะมีขนาดโตขึ้นอาจทำให้เต้านมหย่อนได้ภายหลัง
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระ
จิตสังคมของมารดาในระยะหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระ
การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์
หลังจากรกคลอดครบมดลูกจะหดรัดตัว ระดับยอดมดลูกจะลดลงมาอยู่ที่
ระดับต่ำกว่าสะดือ ผนังกล้ามเนื้อมดลูกด้านหน้าและด้านหลังจะมาอยู่ชิดกัน
หลังจากนั้นในวันที่ 1 – 2 หลังคลอดมดลูกจะอยู่ที่ระดับสูงกว่าหรือต่ำกว่า
สะดือเล็กน้อยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเอ็นที่ยึดมดลูก
หลังจากนั้นมดลูกจะเริ่มมีขนาดเล็กลง ประมาณ 1 สัปดาห์หลังคลอดมดลูก
จะอยู่กึ่งกลางระหว่างกระดูกหัวหน่าวกับสะดือ (น้ำหนักมดลูกประมาณ 500 กรัม)
ประมาณสัปดาห์ที่ 2 หลังคลอดมดลูกจะลงไปอยู่ในอุ้งเชิงกรานไม่สามารถคลำ
ได้จากหน้าท้อง (น้ำหนักมดลูกประมาณ 300 กรัม) และในสัปดาห์ที่ 4 หลังคลอด
มดลูกจะมีขนาดเท่ากับขณะที่ไม่ตั้งครรภ์หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย
ปากมดลูกหลังคลอดจะมีขนาดเล็กลง ในวันที่ 2 – 3 หลังคลอดจะมีขนาด
ประมาณใส่นิ้วได้ประมาณ 2 นิ้ว หลังจากนั้นประมาณปลายสัปดาห์แรก
จะไม่สามารถใส่นิ้วได้
Afterpains
ในสตรีตั้งครรภ์ครั้งแรก มดลูกจะยังคงหดรัดตัวอย่างต่อเนื่อง
ในระยะหลังคลอดทำให้มีความรู้สึกปวดตึงของมดลูก แต่ในสตรีที่เคยคลอด
หลายครั้งแล้วมดลูกมักจะหดรัดตัวแรงเป็นระยะ ทำให้เกิดอาการเจ็บคล้ายกับ
การเจ็บครรภ์จากมดลูกหดรัดตัวในระยะก่อนคลอด เรียกว่า afterpains ซึ่ง
อาการนี้จะพบชัดเจนมากขึ้นตามจำนวนครั้งการคลอดที่เพิ่มขึ้น และรุนแรง
มากขึ้นหากทารกดูดนมมารดา เนื่องจากมีการหลั่งของ oxytocin โดยทั่วไป
อาการ afterpains นี้จะค่อยๆ ลดความรุนแรงจนเหลืออาการปวดเพียงเล็กน้อย
ในวันที่ 3 หลังคลอด
น้ำคาวปลา (lochia)
เป็นสิ่งคัดหลั่งที่ออกมาจากโพรงมดลูกหลังคลอด
ประกอบไปด้วย decidua ที่หลุดลอก เม็ดเลือดแดง และแบคทีเรีย ในระยะแรก
ภายใน 3 วันหลังคลอดน้ำคาวปลาจะมีสีแดงเรียกว่า lochia rubra ในวันที่
3 – 10 หลังคลอดน้ำคาวปลาจะจางลง สีค่อนข้างใสเรียกว่า lochia serosa
และหลังวันที่ 10 น้ำคาวปลาจะลดน้อยลงมีสีขาวหรือสีเหลืองขาวเรียกว่า
lochia alba น้ำคาวปลามักจะยังคงมีอยู่ได้นานถึง 4 – 8 สัปดาห์หลังคลอด
การมีประจำเดือนและการตกไข่หลังคลอด
ในกรณีไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
อาจเริ่มมีประจำเดือนภายใน 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด และอาจตกไข่ได้เร็วที่สุดคือ
33 วันหลังคลอด แต่ในกรณีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สม่ำเสมอ การมีประจำเดือนจะทำนาย
ได้ยาก ส่วนใหญ่ประจำเดือนมักจะมาช้า หรืออาจไม่มีประจำเดือนเลยในช่วงที่
ให้นมบุตร เช่นเดียวกับการตกไข่ของสตรีหลังคลอดที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งจะช้ากว่า
และตกไข่ไม่บ่อยเท่าสตรีหลังคลอดที่ไม่ได้ให้ลูกดูดนม การให้ลูกดูดนมนานอย่างน้อย
ครั้งละ 15 นาทีวันละ 7 ครั้งขึ้นไปจะทำให้เลื่อนเวลาไข่ตกออกไปได้ อย่างไรก็ตาม
ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ในสตรีหลังคลอดที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะพบประมาณร้อยละ 4
ต่อปี โดยการตกไข่ที่พบได้เร็วที่สุดคือ 49 วันหลังคลอด สำหรับการตกไข่หลังแท้งหรือ
ท้องนอกมดลูกจะพบได้เร็วที่สุดคือ 14 วันหลังแท้ง ในกรณีที่มีไข่ตกไม่จำเป็นต้องเกิด
ประจำเดือนตามมา และในกรณีที่มีประจำเดือนก็ไม่จำเป็นต้องมีไข่ตกเสมอไป แต่พบว่า
ไข่จะตกอย่างสม่ำเสมอมากขึ้นหากประจำเดือนกลับมาเป็นรอบเหมือนปกติ
การลดลงของระดับ hCG หลังคลอด
ระดับ hCG จะค่อยๆ ลดระดับลงหลังคลอด
โดยภายใน 2 – 3 วันหลังคลอดจะมีค่าต่ำกว่า 1000 มิลลิยูนิต/มล. ในวันที่7 หลังคลอด
จะมีค่าต่ำกว่า 100 มิลลิยูนิต/มล. และจะไม่สามารถตรวจพบในกระแสเลือดได้ในวันที่
14 หลังคลอด สำหรับการแท้งจะไม่สามารถตรวจพบ hCG ในกระแสเลือดได้ในวันที่
37 หลังแท้ง
การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก
หลังจากคลอดเด็กและรกแล้ว
น้ำหนักหลังคลอดจะลดลงประมาณ 5 – 6 กิโลกรัม และจะค่อยๆ
ลดลงอีก 2 – 3 กิโลกรัมภายใน 1 สัปดาห์หลังคลอดจากการขับ
ปัสสาวะเพื่อลดปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ หลังจากนั้น
น้ำหนักจะค่อยๆ ลดลงจนเท่ากับขณะไม่ตั้งครรภ์ในเดือนที่ 6 หลังคลอด
อย่างไรก็ตามน้ำหนักอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
การเปลี่ยนแปลงของทางเดินปัสสาวะ
หลังคลอดภายในสัปดาห์
แรกปัสสาวะจะออกมาก หรือมีภาวะ diuresis เพื่อลดปริมาณเลือดที่เพิ่ม
ขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ให้กลับสู่ภาวะปกติ กระเพาะปัสสาวะจะยืดขยายใหญ่
ได้มากกว่าปกติ การถ่ายปัสสาวะจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในสัปดาห์
ที่ 3 หลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของเต้านม
ในขณะตั้งครรภ์เต้านมจะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนต่างๆ
ได้แก่ โปรเจสเตอโรน เอสโตรเจน อินสุลิน คอร์ติซอล ธัยรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น
เพื่อกระตุ้นให้ทั้งส่วนของ alveolar และ ductal system เจริญเติบโตขึ้นเตรียมพร้อม
การสร้างและหลั่งน้ำนม แต่ยังไม่มีการสร้างน้ำนมเนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและ
เอสโตรเจนในระดับสูงจะเป็นตัวยับยั้งไม่ให้โปรแลคตินออกฤทธิ์ในการสร้างน้ำนม
แต่ในระยะหลังคลอดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนจะลดระดับลง ทำให้
โปรแลคตินสามารถออกฤทธิ์ในการสร้างน้ำนมได้ถึงแม้จะมีระดับลดลงเช่นเดียวกัน
การดูดนม (suckling) จะทำให้ระดับโปรแลคตินเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างน้ำนมใหม่ขึ้นมาเพื่อเก็บไว้
นอกจากนี้ยังกระตุ้นการหลั่งออกซิโตซินให้มีการหลั่งน้ำนม หากไม่มีการดูดนมระดับ
โปรแลคตินจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 7 วันหลังคลอด หากมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ระดับโปรแลคตินจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 4 – 6 เดือนหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจ
โดยปกติหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ ของมารดาและทารก
หลังคลอด มารดาจะรู้สึกดีใจและมีความสุข แต่อาจมีปัจจัย
หลายอย่างที่ทำให้อารมณ์และจิตใจของมารดาหลังคลอด
แปรปรวนได้ง่าย เช่น ความตื่นเต้น ความกังวลใจในการ
เลี้ยงดูลูก ความกลัวการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ปัจจัยเหล่านี้อาจ
ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าภายหลังคลอดได้ โดยทั่วไปมี 3 ระดับ
Postpartum Depression
อุบัติการณ์
ร้อยละ 4 – 10
เวลาที่เริ่มเป็น
1 – 2 สัปดาห์
ระยะเวลาที่เป็น
> 2 สัปดาห์
อาการ
ซึมเศร้า ไม่สนใจตัวเอง รู้สึกผิด
สิ้นหวัง รู้สึกไม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้
Postpartum Psychosis
อุบัติการณ์
ร้อยละ 0.1 – 0.2
เวลาที่เริ่มเป็น
2 – 4 สัปดาห์
ระยะเวลาที่เป็น
แปรปรวน
อาการ
จิตหลอน สำคัญตนผิดไม่อยู่ในโลก
ของความเป็นจริง อารมณ์ไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์
Postpartum Blues
อุบัติการณ์
ร้อยละ 50 – 70
เวลาที่เริ่มเป็น
2 – 3 วัน
ระยะเวลาที่เป็น
< 2 สัปดาห์
อาการ
ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน กังวล
สับสน ไม่มีสมาธิ หายเองได้
อ้างอิง
โรงพยาบาลธนบุรี.
https://www.thonburihospital.com/
คำแนะนำสำหรับมารดาหลังคลอด.html.
วันที่ค้นหา 25 พฤษภาคม 2563
ผศ.พญ.เฟื่องลดา ทองประเสริฐ.
https://w1.med.cmu.ac.th/
การดูแลสตรีระยะหลังคลอด.
วันที่ค้นหา 25 พฤษภาคม 2563
นางสาวธนภรณ์ วังคีรี เลขที่20 ห้องA รุ่นที่26