Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วย ที่มีปัญหาระบบผิวหนัง - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วย
ที่มีปัญหาระบบผิวหนัง
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของผิวหนังที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย พบโรค
นี้ได้ประมาณร้อยละ1-2 ของประชากร ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทราบเพียงว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันได้แก่
พันธุกรรม
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
ปัจจัยกระตุ้นภายนอก
ท้าให้มีผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมีการแบ่งตัวของเซลผิวหนังเร็วผิดปกติ
ชนิดของสะเก็ดเงิน
1.ชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis)เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด รอยโรคเป็นผื่นแดงหนาขอบเขตชัด ขุยหนาสีขาวหรือสีเงินจึงได้ชื่อว่า”โรคสะเก็ดเงิน” พบบ่อยบริเวณหนังศีรษะ ล้าตัว แขนขา โดยเฉพาะบริเวณ ข้อศอก และหัวเข่าซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเสียดส
ชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate psoriasis) รอยโรคเป็นตุ่มแดงเล็กคล้ายหยดน้้าขนาดเล็กไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีขุย ผู้ป่วยมักมีอายุน้อยกว่า 30 ปี และอาจมีประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนน้ามาก่อน
ชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis) รอยโรคเป็นตุ่มหนองกระจายบนผิวหนังที่มีการอักเสบแดง ในรายที่เป็นมากอาจมีไข้ร่วมด้วย
ชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินชนิดรุนแรง ผิวหนังมีลักษณะแดงและมีขุยลอกเกือบทั่วพื้นที่ผิวทั้งหมดของร่างกายอาจเกิดจากการขาดยาหรือมีปัจจัยกระตุ้น
5.สะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ (Inverse psoriasis) เป็นโรคสะเก็ดเงินที่มีรอยโรคในบริเวณซอกพับของร่างกาย ได้แก่ รักแร้ ขาหนีบ และใต้ราวนม เป็นต้น ลักษณะเป็นผื่นแดงเรื้อรังและมักไม่ค่อยมีขุย
6.สะเก็ดเงินบริเวณมือเท้า (Palmoplantar psoriasis) เป็นโรคสะเก็ดเงินบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลักษณะเป็นผื่นแดงขอบเขตชัดเจน ขุยลอก ผื่นอาจพบลามมาบริเวณหลังมือ หลังเท้าได้
7.เล็บสะเก็ดเงิน (Psoriatic nails) ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมักพบมีความผิดปกติของเล็บร่วมด้วย ที่พบบ่อยได้แก่ เล็บเป็นหลุม, เล็บร่อน, เล็บหนาตัวขึ้นและเล็บผิดรูป
ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis) ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินอาจพบมีความผิดปกติการอักเสบของข้อร่วมด้วย ซึ่งพบได้ทั้งข้อใหญ่ ข้อเล็ก อาจเป็นข้อเดียว หรือ หลายข้อ ส่วนใหญ่การอักเสบของ
มือจะเกิดที่ข้อนิ้วมือซึ่งหากเป็นเรื้อรังและท้าให้เกิดการผิดรูปได้
การรักษา
แนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ขึ้นกับความรุนแรงของโรคดังนี้
สะเก็ดเงินความรุนแรงน้อย หมายถึง ผื่นน้อยกว่า10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย (ผื่นขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือเท่ากับพื้นที่ประมาณ1%) ให้การรักษาโดยใช้ยาทาเป็นอันดับแรก
สะเก็ดเงินความรุนแรงมากหมายถึง ผื่นมากกว่า10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย พิจารณาให้การรักษาโดยใช้ยารับประทานหรือฉายแสงอาทิตย์เทียม หรืออาจใช้ร่วมกันระหว่างยารับประทานหรือฉายแสงอาทิตย์เทียมและยาทา
ยาทาภายนอก
1.ยาทาคอติโคสเตียรอยด์(topical corticosteroids) ส่วนใหญ่นิยมใช้เนื่องจากเป็นครีมขาวใช้ง่าย และตอบสนองต่อการรักษาดีแต่หากใช้ยาที่แรงเกินไปร่วมกับทาเป็นระยะเวลานานจะท้าให้เกิดผิวหนังบางและเกิดรอยแตกของผิวหนังได้ รวมถึงอาจเกิดการดื้อยาและอาจกดการท้างานของต่อมหมวกไตได้
น้้ามันดิน (tar)มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติประสิทธิภาพดี แต่น้้ามันดินมีสีน้้าตาล กลิ่นเหม็น เวลาทาอาจท้าให้เปื้อนเสื้อผ้าผลข้างเคียงคือเกิดรูขุมขนอักเสบ หรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ทา
แอนทราลิน (anthralin, dithranol) มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ แต่อาจท้าให้ระคายเคืองผิวหนังรวมถึงผิวหนังบริเวณที่ทายามีสีคล้้า
อนุพันธ์วิตามิน D (calipotriol)มีฤทธิ์ท้าให้การแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังปกติข้อเสียของยานี้คือหากทาบริเวณผิวหนังที่บางกลับสู่อาจมีการระคายเคืองได
ยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor (tacrolimus,pimecrolimus) เป็นยากลุ่มใหม่รักษาผื่นโรคสะเก็ดเงินบริเวณหน้าหรือตามซอกพับเพื่อต้องการหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากยาทาคอติโคสเตียรอยด์แต่ยังไม่แพร่หลายเนื่องจากยามีราคาแพง
ยารับประทาน
เมทโทเทรกเสท (methotrexate) เป็นยาที่ได้ผลดีกับสะเก็ดเงินเกือบทุกชนิด ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลผิวหนังที่ผิดปกติ รวมถึงมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
อาซิเทรติน (acitretin) เป็นยารับประทานในกลุ่ม vitamin A ได้ผลดีมากส้าหรับสะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนอง
ไซโคลสปอริน (cyclosporin) มีฤทธิ์ลดการอักเสบและยับยั้งภูมิคุ้มกันของร่างกาย ประสิทธิภาพในการรักษาดีใช้กรณีสะเก็ดเงินรุนแรงปานกลางถึงมาก
การฉายแสงอาทิตย์เทียม (Phototherapy)
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีในการรักษาสะเก็ดเงิน โดยจะใช้รังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งปัจจุบันที่ใช้ ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ รังสีอัลตราไวโอเลต A และรังสี อัลตราไวโอเลต B ซึ่งผู้ป่วยต้องมารับการรักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย3 เดือนติดต่อกัน โดยจะให้ผลดีประมาณ 70 - 80% ขึ้นไป พบผลข้างเคียงน้อย 3 เดือนติดต่อกัน โดยจะให้ผลดีประมาณ 70 - 80% ขึ้นไป พบผลข้างเคียงน้อย ผู้ป่วยบาง รายอาจมีอาการคันและแดงบริเวณผิวหนังที่ฉายแสงหลังท้าการรักษา
ข้อดีคือส่วนใหญ่การกลับเป็นซ้้าของโรคจะน้อยกว่าการรักษาโดยใช้ยาทาหรือยารับประทาน
Cellulitis
เป็นการติดเชื้อทั้งส่วนของหนังแท้และชั้นไขมันส่วนใหญ่เกิดจาก group A Streptococci และ S. aureus แต่ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า3 ปี อาจพบ cellulitis บริเวณใบหน้าจากเชื้อ H.influenzae ส่วนในเด็กแรกคลอด cellulitis มักเป็นจากเชื้อgroup B Streptococci
ปัจจัยเสริมเช่น
เบาหวาน หรือได้ยากดภูมิคุ้มกันอาจเป็นจากS. pneumoniae และเชื้อที่ติดสีกรัมลบได้
อาการและอาการแสดง
มีแผลถลอกหรือถูกของแหลมตำต่อมาอีก 1-2 วัน
มีไข้สูง ปวด บวมแดงและร้อน ที่ผิวหนัง ขอบเขตของผื่นไม่ชัดเจน เนื่องจากการอักเสบอยู่ลึกกว่าในerysipelas ต่อมน้ำ
cellulitis ที่บริเวณหน้า มักเป็นข้างเดียวขอบเขตของผื่นชัดเจน ผื่นมีสีแดงเข้มจนถึงสีม่วงเด็กมักมีอาการของการติดเชื้อในกระแสโลหิตร่วมด้วยอาจมีหูชั้นกลางข้างเดียวกันอักเสบร่วมด้วยจำเป็นต้องรับไว้ในโรงพยาบาล และให้การรักษาโดยรีบด่วนเพราะถ้าเป็น periorbital cellulitis และ orbital cellulitis อาจทำให้เกิดcavernous sinus thrombosis, cerebral abcess และเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ใน periorbital cellulitis
การรักษา
การรักษาเฉพาะที่ ใช้ความอุ่นประคม นอนพัก ยกบริเวณที่เป็นให้สูงขึ้นถ้าที่เป็นหนองควรเจาะ หรือผ่าระบายหนองออก ส่งย้อมสีกรัมและเพาะเชื้อ
ให้ยาปฏิชีวนะ Penicillin 100,000 หน่วย/กก./วัน นาน 10 วันหรือพิจารณาตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่คิดว่าเกิดจากเชื้ออื่นเช่น cellulitis ที่หน้าในเด็กต่ำกว่า 3 ปี ควรให้ยาAmpicillin หรือ chloramphenicol แต่ถ้าเป็น b - lactamase producing อาจต้องพิจารณาให้cefotaxime
โรคเริม (Herpes simplex)
คือโรคติดเชื้อจากไวรัสที่มีชื่อว่า Herpes simplex virus การได้รับเชื้อไวรัสครั้งแรก เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นโรค
อาการของโรคเริม
โรคเริมที่เป็นครั้งแรก 3 - 7 วันหลังได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ ถ้ามีอาการ อาการจะรุนแรง พบเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำแตกเป็นแผลตื้น มักมีอาการเจ็บ ปวดแสบร้อน
เริมสามารถเป็นซ้ำได้ โดยอาการจะน้อยกว่า ตุ่มน้ำจะมีขนาดเล็กกว่าจำนวนตุ่มน้ำน้อยกว่าการเป็ครั้งแรก
ปัจจัยที่สามารถกระตุ้นทำให้เริมเกิดเป็นซ้ํา
ความเครียด
แสงแดดที่มาก
รอยถลอกขีดข่วน
การเจ็บป่วยจากโรคอื่น
การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น เสตียรอยด์
การผ่าตัดที่กระทบกระเทือนต่อเส้นประสาท
การรักษา
โรคส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ุ และหายเองได้โดยเฉพาะเริมที่กลับเป็นซ้ํา
ผู้ป่วยควรพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ
ถ้ามีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบนาเช็ดตัวบ่อย ๆและรับประทานยาพาราเซตามอลบรรเทาไข้
ใช้น้ำเกลือกลั้วปากถ้ามีแผลในปาก
ตัดเล็บสั้น ไม่แกะเกา
การรับประทานยาต้านไวรัสเร็ว ใน 48 ชั่วโมง
โรคงูสวัด Herpes Zoster
เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus)
เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับโรคอีสุกอีใส
ที่ซ่อนอยู่ปมประสาทรับความรู้สึกในร่างกาย ได้แสดงอาการและก่อให้เกิดโรคงูสวัด
ทำให้มีผื่นที่ผิวหนังและกลายเป็นตุ่มน้ำใส ร่วมกับอาการปวดแสบร้อน คันแสบ และตุ่มน้ำนั้นจะแตกออกมา
อาการของโรคงูสวัด
ช่วงของอาการปวดนำ
โดยทั่วไปอาการปวดจะเกิดขึ้น 4 – 6 วันก่อนที่ผื่นจะปรากฏ
จะเป็นอาการปวดแสบร้อน ชาหรือ รู้สึกปวดเสียวคล้ายหนามแทง และไวต่อสิ่งกระตุ้น
ผู้ป่วยอาจมีไข้ รู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
อาการปวดเฉียบพลัน
ตุ่มน้ำใสจะเรียงตัวตามแนวประสาท (dermatomes)
ปกติตุ่มน้ำใสจะไม่เกิดรอบตัว
อาการปวดนั้นจะเป็นการปวดที่ต่อเนื่อง ปวดแสบร้อน ปวดตุ๊บๆ ปวดแปล๊บ หรือคันร่วมด้วย
ระยะที่เกิดตุ่มใส ประมาณ 7 – 10 วัน และจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 2 – 4 อาทิตย์
ตุ่มน้ำจะค่อยๆตกสะเก็ดในที่สุด
และมันอาจทำให้เกิดแผลเป็น หรือทำให้สีผิวเปลี่ยนสี
อาการปวดปลายประสาทกึ่งเฉียบพลัน
เป็นอาการปวดต่อเนื่องจากระยะปวดเฉียบพลัน ซึ่งอาจเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือนหลังจากที่ตุ่มใสเริ่มเกิดขึ้น อาการปวดต่อเนื่องเรียกว่า อาการปวดประสาทหลังเป็นโรคงูสวัด (postherpetic neuralgia, PHN)
ภาวะแทรกซ้อนของโรคงูสวัด
อาการปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด (post herpetic neuralgia) คืออาการปวดที่เกิดต่อเนื่องโดยประมาณมากกว่า 90 วัน หลังจากที่มีตุ่มน้ำใสขึ้น
โดยเฉลี่ยพบได้ประมาณร้อยละ 10 – 27 ของผู้ป่วยโรคงูสวัด
ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัด ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดปลายประสาทเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น
การป้องกันและการรักษา
การให้ยาฆ่าเชื้อไวรัส ยาแก้ปวด และรักษาตามอาการ โดยปรึกษาแพทย์
Stevens-Johnson Syndrome (กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน)
คือความผิดปกติของผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวชนิดรุนแรงที่พบได้ไม่บ่อย โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือการตอบสนองของร่างกายต่อยาบางชนิด ในระยะแรกผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ตามมาด้วยผื่นแดงที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด จากนั้นผื่นจะค่อย ๆ ลุกลามและกลายเป็นแผลพุพองในที่สุด
อาการของกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน
รู้สึกเจ็บปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
เกิดผื่นแดงที่ตรงกลางมีสีเข้มและรอบข้างมีสีจาง จากนั้นผื่นจะค่อย ๆ ลุกลามและเพิ่มจำนวนขึ้น
เกิดแผลพุพองตามผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวบริเวณริมฝีปาก ช่องปาก จมูก ตา และอวัยวะเพศ
ผิวหนังชั้นนอกหลุดลอก เผยให้เห็นผิวด้านในที่มีลักษณะคล้ายผิวไหม้
สาเหตุของกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน
การใช้ยา ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติทันทีหลังจากใช้ยาหรือหลังหยุดใช้ยาไปแล้วนาน 2 สัปดาห์ ประเภทยาที่อาจก่อให้เกิด Stevens Johnson Syndrome ได้แก่
ยาต้านการติดเชื้อ เช่น เพนิซิลลิน โคไตรม็อกซาโซล
ยาระงับอาการปวด เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน
ยากันชักหรือยารักษาอาการป่วยทางจิต เช่น ฟีโนบาร์บิทัล เฟนิโทอิน เซอร์ทราลีน คาร์บามาซีปีน และอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากอยู่ในระหว่างเข้ารับการรักษาโรคด้วยวิธีฉายรังสี
ยารักษาโรคเกาต์ เช่น อัลโลพูรินอล
การติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ ปอดบวม เริม งูสวัด หรือเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นเสี่ยงต่อการเกิด Stevens Johnson Syndrome มากกว่าคนทั่วไปถึง 100 เท่า
ปัจจัยบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด Stevens Johnson Syndrome ได้แก่
ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ การทำเคมีบำบัด ติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวเคยป่วยเป็น Stevens Johnson Syndrome หรือ โรค Toxic Epidermal Necrolysis ซึ่งเป็นความผิดปกติทางผิวหนังที่มีอาการคล้ายกับโรคนี้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า
มีประวัติเป็น Stevens Johnson Syndrome มาก่อน ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคนี้จากการใช้ยามาก่อน หากจำเป็นต้องรับประทานยาในกลุ่มใกล้เคียง อาจส่งผลให้อาการป่วยกลับมาเกิดซ้ำได้
ยีน HLA-B 1502 เป็นยีนที่มักพบในคนจีน คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนอินเดีย ผู้ที่มียีนชนิดนี้อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากรับประทานยากันชัก ยารักษาอาการป่วยทางจิต หรือยารักษาโรคเกาต์
การวินิจฉัยกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน
การวินิจฉัย Stevens Johnson Syndrome จะทำโดยแพทย์ผิวหนัง โดยเริ่มจากตรวจดูอาการ ตรวจร่างกายเบื้องต้น สอบถามประวัติทางการแพทย์ รวมถึงประวัติการใช้ยา จากนั้นอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือด การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ เป็นต้น
การรักษากลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน
Stevens Johnson Syndrome เป็นความผิดปกติทางผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวที่รุนแรง ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือห้องฉุกเฉิน หากผลวินิจฉัยพบว่าอาการป่วยเกิดขึ้นจากการตอบสนองต่อยา แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดรับประทานยาที่คาดว่าอาจเป็นสาเหตุและกลุ่มยาใกล้เคียงทันที หรืออาจให้หยุดใช้ยาทุกชนิดที่ไม่จำเป็นต่อผู้ป่วยมากนัก หลังจากนั้นจะรักษาแบบประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการ โดยอาจใช้หลายวิธีร่วมกัน ดังนี้
ประคบเย็นเพื่อช่วยให้ผิวหนังที่ตายแล้วหลุดออกง่ายขึ้น จากนั้นจึงใช้ผ้าพันแผลปลอดเชื้อพันรอบผิวหนังบริเวณที่มีอาการ
ให้น้ำและสารอาหารผ่านทางจมูก ช่องท้อง หรือหลอดเลือด เนื่องจากการสูญเสียผิวหนังส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและสารอาหารมากกว่าปกติ
ใช้ผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นหรือมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ทาผิวเป็นประจำ
ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาชาหรือยาฆ่าเชื้อ เพื่อช่วยให้กลืนอาหารได้ง่ายขึ้น
ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติบริเวณดวงตา แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาหยอดตาหรือยาป้ายตา
ใช้ยาแก้ปวดชนิดรุนแรงเพื่อบรรเทาอาการปวดตามร่างกาย
ให้ยาปฏิชีวนะ หากผู้ป่วยมีอาการเข้าข่ายภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
ให้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อควบคุมอาการอักเสบของผิวหนัง
(Burn Management) การดูแลรักษาบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
การประเมินดีกรีความลึกของบาดแผลไฟไหม้
การประเมินความลึกของบาดแผลไหม้มีความสำคัญในการบอกถึงความรุนแรงของการบาดเจ็บ การวางแผนการรักษา และผลการรักษา
ดีกรีความลึกของบาดแผลไฟไหม้ (Degree of burn wound) แบ่งได้เป็น 3 ระดับ
แผลไหม้ระดับแรก (First degree burn)
การไหม้จะจำกัดอยู่ที่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า (epidermis) เท่านั้น โดยบาดแผลจะแดง (Erythema) แต่ไม่มีตุ่มพอง (Blister) มีความรู้สึกเจ็บปวดหรือแสบร้อน โดยแผลประเภทนี้จะใช้เวลารักษาประมาณ 7 วัน โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้(ยกเว้นถ้ามีการติดเชื้ออักเสบ)
ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดได้แก่แผลไหม้จากแสงอาทิตย์ กลุ่มผู้ป่วยที่กลับจากการพักตากอากาศ ไปชายทะเลมา หรือเป็นพวก sun burn การถูกน้ำร้อน ไอน้ำเดือดหรือวัตถุที่ร้อนเพียงเฉียดๆ และไม่นาน
การรักษา
ที่เหมาะสมคือ การใช้ครีมยาทาแผลเฉพาะภายนอก (Topical antibiotic treatment) หรือ ปิดด้วยผลิตภัณฑ์ปิดแผลชนิดต่างๆ
แผลไหม้ระดับที่สอง (Second degree burn) แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด
บาดแผลระดับที่สองชนิดตื้น (Superficial partial-thickness burn) จะเกิดการไหม้ขึ้นที่ชั้นหนังกำพร้าตลอดทั้งชั้น (ทั้งชั้นผิวนอกและชั้นในสุด) และหนังแท้ (dermis) ส่วนที่อยู่ตื้น ๆ (ใต้หนังกำพร้า) แต่ยังมีเซลล์ที่สามารถเจริญทดแทนส่วนที่ตายได้ จึงหายได้เร็วและไม่เกิดเป็นแผลเป็นเช่นกัน (ยกเว้นถ้ามีการติดเชื้อ)
ส่วนบาดแผลระดับที่สองชนิดลึก (Deep partial-thickness burns) จะเกิดการไหม้ขึ้นที่ชั้นของหนังแท้ส่วนลึก ลักษณะบาดแผลจะตรงกันข้ามกับบาดแผลระดับที่สองชนิดตื้น (superficial secondary degree burn) คือ จะไม่ค่อยมีตุ่มพอง, แผลสีเหลืองขาว, แห้ง และไม่ค่อยปวด บาดแผลชนิดนี้มีโอกาสเกิดแผลเป็นได้แต่ไม่มาก ถ้าไม่มีการติดเชื้อซ้ำเติม แผลมักจะหายได้ภายใน 3-6 สัปดาห์ การใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่จะช่วยให้แผลไม่ติดเชื้อ
แผลไหม้ระดับที่สาม(Third degree burn)
บาดแผลไหม้จะลึกลงไปจนทำลายหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อขุมขนและเซลล์ประสาท ผู้ป่วยมักไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผล อาจกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือกระดูก บาดแผลจะมีลักษณะขาว ซีด เหลือง น้ำตาลไหม้ หรือดำ หนาแข็งเหมือนแผ่นหนัง แห้งและกร้าน อาจเห็นรอยเส้นเลือดอยู่ใต้แผ่นหนานั้น และเนื่องจากเส้นประสาทที่อยู่บริเวณผิวหนังแท้ถูกทำลายไปหมดทำให้แผลนี้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด บาดแผลประเภทนี้จะไม่หายเอง จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกผิวหนัง
การรักษาบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
มื่อได้รับบาดเจ็บ ห้ามใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดประคบ เพราะอาจทำให้บาดแผลลึกมากขึ้นได้ ควรล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิห้อง อาจใช้สบู่อ่อนชะล้างสิ่งสกปรกออกไปก่อนและล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นใช้ผ้าสะอาดปิดแผลและไปพบแพทย์ ไม่ควรใช้ยาสีฟันหรือครีมอื่นใดชะโลมบนแผล เพราะอาจทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น ปัจจุบันการดูแลรักษาบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (Burn)
วัสดุปิดแผลใหม่ๆ (Burn wound dressing product) ที่มีคุณภาพดีหลายชนิด การเลือกใช้วัสดุปิดแผลอย่างถูกต้องและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ จะทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น ลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยจากบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกลงได้มาก และการเกิดแผลเป็นลดลง ดังนั้นหากมีบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์โดยเร็ว