Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด, หลังคลอด, ร่วมกับคอร์ติซอลอินสุลิน,…
การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด
การส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอด
การพักผ่อน
พักผ่อนให้มากอย่างน้อย 2 สัปดาห์ กลางคืนควรได้นอน 6-8 ชั่วโมง หลังอาหารกลางวันควรได้นอนพัก 1/2-3 ชั่วโมง และภายใน 6สัปดาห์หลังคลอดห้ามทำงานหนักเช่น ยกของหนักหรือแบกหามเพราะจะมีผลกระทบกระเทือนต่ออวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น มดลูก
อาหาร
ควรรับทานอาหารที่ย่อยง่ายและมีประโยชน์ทุกชนิด เช่น เนื้อ นม ไข่ ผลไม้ และผักสด อาหารเหล่านี้จะช่วยให้มีน้ำนมที่มีคุณค่าพอเพียงสำหรับลูกควรรับประทานผัก และผลไม้สด จะช่วยไม่ให้ท้องผูก
ไม่ควรรับทานอาหารรสจัด ของหมักดอง หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาดอง
การรักษาความสะอาดร่างกาย
เมื่อช่วยตัวเองได้ภายหลังคลอด 12-24 ชั่วโมง อาบน้ำได้แต่ไม่ควรอาบน้ำในอ่างน้ำ หรือแม่น้ำลำคลอง เพราะเชื้อโรคอาจเข้าไปภายในมดลูก นอกจากนี้ควรหมั่นเปลี่ยนเสื้อผ้า เนื่องจากระยะหลังคลอดแม่มักมีเหงื่อออกมากและมีน้ำนมไหลเปียกเสื้อตลอดเวลา
น้ำคาวปลา
สิ่งที่ถูกขับออกมาทางช่องคลอด ใน 2-3 วันแรก จะมีสีแดง ต่อมาจะค่อย ๆ จางลง และหมดไปภายใน 2-3 สัปดาห์ ควรทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งที่ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ และหมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าไปภายในมดลูก ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบ และติดเชื้อได้
การดูแลแผลบริเวณฝีเย็บ
ควรทำความสะอาด เช้า - เย็น และทุกครั้งที่ถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระ เมื่อใช้กระดาษชำระภายหลังถ่ายอุจจาระ ระวังอย่าเช็ดย้อนจากทวารหนักมายังฝีเย็บ เพราะในอุจจาระมีเชื้อโรคมาก จะทำให้ติดเชื้อได้
การดูแลเต้านมและหัวนม
ระหว่างที่ให้นมลูก แม่ควรสนใจความสะอาดของเต้านมและหัวนมให้มากเป็นพิเศษ โดยการทำความสะอาดทุกครั้งที่อาบน้ำและหลังจากให้นมลูก ถ้ามีอาการนมคัด ควรแก้ไขโดยบีบน้ำนมออกเสียบ้าง และใช้น้ำเย็นประคบหรือประคบร้อนชื้นบริเวณเต้านม จะทำให้ลดอาการปวด
งดอยู่ร่วมกับสามี : ควรงดเว้นอย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการฉีกขาดของช่องคลอด
การตรวจหลังคลอด
1 เดือนหลังคลอดควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าอวัยวะต่าง ๆ เข้าสู่สภาพปกติหรือยัง (ถ้ามีสิ่งใดผิดปกติ จะได้มีโอกาสแก้ไข) พร้อมกับปรึกษาเรื่องการคุมกำเนิดด้วย
การมีประจำเดือนใหม่ภายหลังคลอด
ถ้าไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะมีประจำเดือนภายใน 5 - 6 สัปดาห์หลังคลอด แต่ถ้าเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประจำเดือนจะมีช้ากว่านั้นหรือไม่มีในระหว่างนั้น แต่การตั้งครรภ์อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ยังไม่มีประจำเดือนได้
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคมของมารดาในระยะหลัง คลอด
การเกิดอารมณ์แปรปวนหลังคลอด
3.โรคจิตหลังเศร้า (postpartum psychosis)เป็นอาการที่รุนแรงมาก มีความคิดผิดปกติ อาการเริ่มตั้งแต่ 48-72 ชั่วโมงภายหลังคลอด มีอาการหลงผิดและเห็นภาพหลอนร่วมด้วย
2.ภาวะซึมเศร้าภายหลังคลอด (postpartum Depression) มีการเปลี่ยนแปลงการนอนหลับ ลักษณะคล้ายกับโรคซึมเศร้าทั่วไป กลัวเมื่อต้องอยู่คนเดียว สูญเสียการรับรู้
1.อารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues) เป็นอาการชั่วคราวที่มีลักษณะอารมณ์แปรปรวน ร้องไห้ง่าย มีปัญหาเรื่องการนอนหลับและขี้หงุดหงิด อาการมักเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 5 หลังคลอด
การปรับตัวมารดาหลังคลอด
ระยะกึ่งพึ่งพา ( taking-hold phase) เป็นระยะที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้นเกิดขึ้นช่วง 3-10 วันหลังคลอด มารดาเริ่มที่จะสนใจการดูแลบุตร แนะนำให้ดูแลบุตรกระตุ้นให้มารดาฝึกบทบาทการดูแลบุตร
ระยะพึ่งตนเอง ( latting-go phase) เป็นระยะที่มารดามีความเป็นตัวเองมากขึ้น เกิดขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์ ควรส่งเสริมให้มารดามีการตอบสนองความต้องการของทารกอย่างเหมาะสม
ระยะพึ่งพา (taking-in phase) เป็นระยะที่พึ่งพาผู้อื่นทั้งร่างกายและจิตใจ การพยาบาลควรส่งเสริมให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ปัจจัยที่มีผลต่อมารดาหลังคลอด
ภาวะสุขภาพของบุตร
ภาวะสุขภาพของมารดา
สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส
ด้านครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อม
อายุ
ระดับการศึกษาและรายได้ครอบครัว
ระยะการดำรงบทบาทการเป็นมารดา
ระยะการกระทำบทบาทตามรูปแบบ
ระยะการกระทำบทบาทของตนเองที่ไม่เป็นตามรูปแบบเฉพาะ
ระยะคาดหวังบทบาท
ระยะการกระทำบทบาทตามเอกลักษณ์ของตนเอง (1-4 เดือนหลัง
คลอด)
การเปลี่ยนแปลงของระบบอวัยวะสืบพันธุ์
มดลูก (Uterus)
หลัง 24 ชั่วโมง : มดลูกลอยเหนือสะดือเล็กน้อย เอียงไปทางขวา
มดลูกลงสู่อุ้งเชิงกราน วันละ 0.5-1 นิ้ว จนปกติ= " มดลูกเข้าอู่"
หลังคลอด: ลดลงทันทีที่ท่รกและรกคลอด มีก้อนแข็งอยู่ระดับสะดือหรือต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย
อาการปวดมดลูก (Afterpain)
อาการปวดมดลูกมีสาเหตุจากการหดรัดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
ระยะเวลาที่เกิดอาการปวดมดลูกปกติจะไม่เกิน
72 ชั่วโมง ถ้าอาการปวดมดลูกมีนานเกิน 72 ชั่วโมงหรืออาการเจ็บปวดรุนแรงอาจเกิดจาก มีเศษรกค้างหรือมี
ก้อนเลือดค้างอย
ช่องคลอด และฝีเย็บ
ช่องคลอด : หลังคลอดจะอ่อนนุ่มมาก รอยย่นภายในลดน้อยลงเส้นผ่าศูนย์จะกว้างกว่าระยะก่อนคลอด
ฝีเย็บ : หลังคลอดจะมีอาการปวดบริเวณฝีเย็บฝีเย็บจะมี
ลักษณะบวมและอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังจากการที่หลอดเลือดฝอยฉีกขาด
การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูกและบริเวณรกเกาะ
หลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กคลอดแล้วจะเกิดรอยแผลที่บริเวณรกลอกตัวมีขนาดประมาณ 8 X 9 เซนติเมตร
ดิซิดิว(Decidua) ที่เหลืออยู่ในโพรงมดลูกจะแบ่งตัวเป็น 2 ชั้นคือ
ชั้นผิวใน (Superficial layer) จะหลุดออกมาเป็น
ส่วนของน้้าคาวปลา
ชั้นใน (Functional layer) ซึ่งอยู่ติดกับเนื้อมดลูกมีต่อมเยื่อบุโพรงมดลูกเนื้อเยื่อคอนเน็คทิฟว์(Connective tissue) จ้านวนเล็กน้อยจะงอกขึ้นมาใหม่
การมีประจำเดือน
แม่ให้นมทารก
ทารกดูดนม
กระตุ้นต่อมไฮโปทาลามัส
เส้นประสาท/สมอง กดไม่ให้หลั่ง FSH+LH
ไม่มีการตกไข่และการมีประจำเดือน
การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
หลังคลอด 1 สัปดาห์=มีลักษณะแข็ง กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร
6 สัปดาหลังคลอด : เหมือนรอยตะเข็บหรือรอยแตก ด้านนอกไม่กลมเหมือนระยะก่อนคลอด สามารถบอกได้ว่าสตรีผ่านการคลอดมาแล้ว
หลังคลอดทันทีมีลักษณะนุ่มมาก ไม่เป็นรูปร่างทั้ง Internal และ External os
การเปลี่ยนแปลงหัวนมและเต้านม
น้้าคาวปลา (Lochia)
Lochia rubra
ออกมาในระยะ 2 – 3 วันแรกหลังคลอด
มีลักษณะสีแดงคล้้า มีขี้เทา ไขและขนอ่อนเด็กปนด้วย
Lochia serosa
วันที่ 4 – 9 มีสีแดงจางๆหรือชมพู จนเป็นสีน้ำตาล มีเม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดแดง เศษเยื่อบุมดลูก
Lochia alba
วันที่ 10 เริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาว มีเม็ดเลือดขาว เมือก อาจมีเศษเยื่อบุมดลูก
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนของรก(Placental hormone)
หลังคลอดระดับฮอร์โมนจากรกในพลาสมา (Plasma) จะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน24 ชั่วโมง
Prolactin
มีระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ในขณะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด
ฮอร์โมนต่างๆในร่างกายลดลง เพื่อปรับสมดุลในร่างกายให้เป็นปกติ
การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด
ปริมาณเลือด (Blood volume) จะลดลงทันทีจากการสูญเสียเลือดภายหลังคลอด
เม็ดเลือดขาวสูง
ส่วนประกอบต่างๆของเลือดลดลงเพื่อปรับสมดุลในร่างกายให้ปกติ
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ
หลังคลอดภายในสัปดาห์แรกปัสสาวะจะออกมาก หรือมีภาวะ diuresis เพื่อลดปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ให้กลับสู่ภาวะปกติ กระเพาะปัสสาวะจะยืดขยายใหญ่ได้มากกว่าปกติ การถ่ายปัสสาวะจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในสัปดาห์ที่ 3 หลังคลอด
ร่างกายปรับสมดุลโดยการกำจัดน้ำและเกลือโซเดียม
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินอาหาร
ท้องผูก : เนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อน
ความอยากอาหาร : มีความอยากมากขึ้นจากการสูญเสียพลังงานหลัง คลอด
น้ำหนัก
ลดลงทันทีหลังคลอด ประมาณ 4.5-5.5 กก. จากการคลอดทารกรกและการสูญเสียเลือด
สตรีเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาจะมีน้ำหนักลดลงเร็วกว่าสตีที่ไม่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
การเปลี่ยนแปลงของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้าง
กล้ามเนื้อช่วง 1 – 2 วันแรกหญิงระยะหลังคลอดมีอาการเมื่อยและปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณแขนขา
ไหล่และคอ หลังคลอดรกฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดต่้าลงทำให้
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเริ่มลดลง
โครงกระดูกในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนรีแลคซิน (relaxin) ทำให้บริเวณข้อต่อต่างๆของร่างกายมีการยืดขยายมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อมากเกินไป ทำให้กระดูดสันหลังแอ่นและกระดูกเชิงกรานรับน้้าหนักมากขึ้นหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของมารดาในระยะหลัง
คลอด
เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ, NUR 2230
การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์1
,(ออนไลน์).สืบค้นจาก:
http://www.elnurse.ssru.ac.th/petcharat_te/pluginfile.php/58/block_html/content/PP%2827122556%29.pdf
. [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2563]
คณะการแพทย์แผนไทยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
การดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด
(ออนไลน์).สืบค้นจาก :
http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=73
.[ สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2563]
หลังคลอด
การดูดนมของทารก
ปลายประสาทหัวนมและลาน
ใยประสาทส่วนไขสันหลัง
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
ออกซิโทซิน
เซลล์กล้ามเนื ้อรอบๆถุงผลิตน ้านมและท่อน ้านม
ขับน้ำนม
มดลูกหดรัดตัว
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
โปรแลคติน
เซลล์ผลิตน้ำนม
สร้างน้ำนม
เอสโตรเจนลดลง,โปรเจสเตอโรนลดลง
ร่วมกับคอร์ติซอลอินสุลิน
แผนภูมิแสดงกลไกลการควบคุมการสร้างน้้านมและการขับน้้านม
นางสาวกาญจนา ลาวัล เลขที่ 60 ห้อง A รุ่นที่ 26 รหัสนักศึกษา 613020110698