Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
น้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด Amniotic fluid embolism - Coggle Diagram
น้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด Amniotic fluid embolism
ความหมาย
ภาวะที่มีน้ำคร่ำพลัดเข้าไปในกระแสเลือดทางมารดา ทำให้เกิดภาวะล้มเหลวของการทำงานระบบไหลเวียนเลือดหัวใจและระบบหายใจ ถ้าในรายที่ผู้ป่วยไม่เสียชีวิตทันที จะมีภาวะผิดกติของกลไกขอลการแข็งตัวของเลือดพร้อมับมดลูกหดรัดตัวไม่ดีทำให้เลือดออกผิดปกติ
มีลักษณะเฉพาะ 3 ประการ
ภาวะความดันโลหิตต่ำ Hypotension อย่างทันทีทันใด
ภาวะขาดออกซิเจน Hypoxia
ภาวะความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด consumptive coagulopathy
ปัจจัยส่งเสริม
การเร่งคลอด
ทารกตายในครรภ์เป็นเวลานาน
การคลอดเฉียบพลัน
รกเกาะต่ำ
รกลอกตัวก่อนกำหนด
มดลูกแตก
การบาดเจ็บในช่องท้อง
การผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
มารดามีบุตรหลายคน
มารดาตั้งครรภ์หลังที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
น้ำคร่ำมีขี้เทาปน
การเบ่งคลอดขณะถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก
การเจาะถุงน้ำคร่ำ
การรูดเพื่อเปิดขยายปากมดลูก
การตรวจวินิจฉัยน้ำคร่ำก่อนคลอด
การหมุนเปลี่ยนท่าทารกภายในและภายนอกครรภ์
พยาธิสภาพ
น้ำคร่ำ/ส่วนประกอบของน้ำคร่ำ ผ่านเข้าสู่กระแสเลือดของผู้คลอดบริเวณที่รกลอกตัวหรือบริเวณปากมดลูกที่ฉีกขาด
ส่วนประกอบของน้ำคร่ำจะเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของผู้คลอดผ่านเข้าสู่หัวใจและปอด
ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดฝอยในปอด ทำให้หลอดเือดเกิดหดเกร็ง เลือดที่ไหลผ่านปอดมาสู่หัวใจซีกซ้ายลดลงทันทีทันใด
ทำให้เลือดที่ถูกบีบออกจากหัวใจข้างซ้ายลดลงทันที เกิดภาวะช็อคจากหัวใจ Cardiogenic shock
ความดันในหลอดเลือดปอดสูงขึ้นเกิดเลือดคั่งในปอดส่งผลให้หัวใจซีกขวาไม่สามารถบีบตัวดันเลือดให้ผ่านปอดได้ เนื่องจากภายในปอดมีแรงดันสูง จึงเกิดภาวะปอดบวมน้ำตามมา
ปฎิกิริยาต่อต้านทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดในปอดลดลงส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในหลอดเลือดแดงตามมาด้วยภาวะการแข็งตัวของเลือดเป็นลิ่มเล็กๆ แพร่กระจายในหลอดเลือด Disseminated intravascular clotting,DIC
ผู้คลอดจะเสียเลือดมากและเสียชีวิตในที่สุดจากภาวะระบบหายใจและระบบหัวใจล้มเหลว
อาการและอาการแสดง
มีอาการหนาวสั้น Chill
เหงื่อออกมาก
คลื่อนไส้ อาเจียน วิตกกังวล
หายใจลำบาก dyspnea เกิดภาวะหายใจล้มเหลวทันทีทันใด เขียวตามใบหน้า และลำตัว cyanosis
เกิดภาวะน้ำคั่งในปอด pulmonary edema
เส้นเลือดที่หัวใจตีบ
ความดันโลหิตต่ำมาก low blood pressure
ชัก หมดสติ Unconscious และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ถ้าเกิดอาการนานกว่า 1 ชั่วโมง ผู้คลอดยังมีชีิตอยู่จะเกิดภาวะกลไกการแข็งตัวของเลือดเสียไ และเกิดอาการตกเลือดอย่างรุนแรงหากไม่ได้รับการแก้ไขการหดรัดตัวของมดลูกที่ดีพอ
การวินิฉัย
จากอาการและอาการแสดง
ระบบหายใจล้มเหลว respiratory distress
อาการเขียว
เส้นเลือดหัวใจหดเกร็ง cardiovascular collapse
เลือดออก ไม่รู้สติ
จากการตรวจทางห้องปฎิบัติการ
ตรวจหาเซลล์ผิวหนัง ขนอ่อน
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก
การตรวจ EKG พบ Tachycardia ST และ T wave เปลี่ยนแปลง
ตรวจการไหลเวียนของเลือดในปอด
การตรวจหา Sialy ITH antigen จะพบมีระดับสูงขึ้นในน้ำคร่ำ
การป้องกัน
ให้ Oxytocin ด้วยความระมัดระวัง > ไม่ควรเร่ง
ไม่เจาะถุงน้ำก่อนปากมดลูกเปิดหมด
การเจาะถุงน้ำควรทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้ถูกปากมดลูก
ไม่ควรทำ membranes stripping > เลือดดำบริเวณปากมดลูกฉีกขาด
การตรวจภาวะรกเกาะต่ำควรทำด้วยความระมัดระวัง
สังเกตุอาการในผู้คลอดที่ถุงน้ำแตกแล้ว และมดลูกมีการหดรัดตัวรุนแรงร่วมกับการฉีกขาดของผนังมดลูก ปากมดลูก
จักท่านอนศีรษะสูง พร้อมทั้งให้ออกซิเจน 6-8 LPM ทางหน้ากาก
ไม่ควรกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวถี่เกินไป
ในรายที่เด็กตายในครรภ์ กระตุ้นการเจ็บครรภ์โดย Oxytocin drip ดูการหดรัดตัวของมดลูกอย่างใกล้ชิด และไม่ควรเจาะถุงน้ำก่อนปากมดลูกเปิดหมด
ไม่ควรกระตุ้นการเจ็บครรภ์โดยวิธีเลาะแยกเยื่อถุงน้ำคร่ำ
รายที่มีภาวะรกเกาะต่ำ การตรวจภายในควรจะทำอย่างระมัดระวัง
การรักษา
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยจัดท่านอน Fowler's position ให้ออกซิเจน 100%
ดูแลระบบไหลเวียนเลือด แก้ไขความดันโลหิตต่ำ โดยการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
ดูแลการหดรัดตัวของมดลูก โดยให้ยา Oxytocin หรือ Methegin ทางหลอดเลือดดำ
เตรียมยาในการช่วยชีวิตผู้คลอดถ้ามีความดันโลหิตต่ำ
รักษาภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ โดยให้ยา Heparin
ประเมินการเสียเลือดทางช่องคลอด
ให้ moephine ลดการคั่งของเลือดดำในปอด อาการหอบ เขียว
ให้ Digitalis ช่วยให้หัวใจบีบตัวช้าลง แรงขึ้น
ให้ Hydrocortisone ช่วยการหดเร็งของหลอดเลือดแดงฝอยของปอด
ให้ FFP แก้ไขภาวะ Fibinogen ในเลือดต่ำ
5hkmkid.o8ii4N,u=u;b9vp^j.shzjk9yfgvkgfHdvvdmk'sohkmhv'Ffpfj;o
การพยาบาล
เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยคำนึงถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิด
ถ้ามีอาการและอาการแสดงชักเกร็ง ภาวะเขียวทั่วตัว หรือเริ่มเขียวเป็นบางส่วน ควรปฎิบัติดังนี้ จัดท่านอนในท่า Fowler ให้ออกซิเจน ให้สารน้ำและเลือกตามแผนการรักษา เฝ้าระวังการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก
เตรียมการช่วยเหลือการคลอดโดยคีมหรือผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
เตรียมช่วยฟื้นคืนชีพ ในรายที่หัวใจเกิดล้มเหลว
ใช้เครื่องช่วยหายใจใน 2-3 วันแรก ภายใต้การดูแลในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก เพื่อดูแลระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต
ดูแลและให้กำลังใจต่อครอบครัว ถ้ามารดาและทารกเสียชีวิต