Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การศึกษาชุมชน - Coggle Diagram
การศึกษาชุมชน
1. แผนที่เดินดิน (Geo – Social mapping)
คือการเดินสำรวจชุมชน โดยมีการทำแผนที่ทางภูมิศาสตร์และ แผนที่ทางสังคมไปพร้อมกัน ซึ่งทำให้แก้ปัญหาที่พบบ่อยในการทำงานที่เกี่ยวกับพื้นที่ได้
ประโยชน์ของเครื่องมือแผนที่เดินดิน
ทำให้เห็นภาพรวมของชุมชนได้อย่างครบถ้วนที่สุด
ได้ข้อมูลเดี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่จำนวนมากในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด
ทำให้เห็นกลุ่มเป้าหมายที่จะทำงานต่อได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง
ช่วยในการเริ่มต้นความสัมพันธ์และสร้างความคุ้นเคยกับสมาชิกในชุมชน
หลักการสำคัญของแผนที่เดินดิน
พื้นที่ทางกายภาพกับพื้นที่ทางสังคม คือ ทำให้ได้เห็นและเข้าใจพื้นที่ทางสังคม (Social space) ที่ ซ้อนทับอยู่กับพื้นที่ทางกายภาพ (Physical space)
เป็นระบบการจัดการข้อมูลพื้นที่ คือ เป็นการนำเอาข้อมูลทางสังคมอื่นๆ มา เชื่อมโยงกับพื้นที่ทางกายภาพทำให้แผนที่เดินดินกลายเป็นเครื่องมือในการจัดการข้อมูลต่างๆ
2. ผังเครือญาติ (Genogram
)
เป็นเครื่องมือหนึ่งในการถอดความสัมพันธ์ของระบบเครือญาติในชุมชนที่ เกิดขึ้นของคนในชุมชนทั้งโดยสายเลือดและจากการแต่งงานเพื่อให้รู้จักเครือข่ายทางสังคม (Social Network)
ประโยชน์ของเครื่องมือผังเครือญาติ
ช่วยให้เข้าใจโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ
ทำให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์เครือญาติ
ใช้เพื่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ และโรคทางพันธุกรรม
ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีและความสนิทสนมคุ้นเคยระหว่างเจ้าหน้าที่กับคนในชุมชน
หลักการสำคัญของผังเครือญาติ
การทำผังเครือญาติต้องครอบคลุมความสัมพันธ์ทั้งทางสายเลือดและทางสังคม
เครือญาติเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับการนับญาติ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม วัฒนธรรมหรือแต่ละท้องถิ่น
การนับญาติและแบบแผนการอาศัยในการแต่งงานนี้ มีส่วนสำคัญในการกำหนดอำนาจในครอบครัว
การทำผังเครือญาติได้หลายชั่วรุ่น
การสัมภาษณ์หรือสอบถามเพื่อบันทึกข้อมูลเครือญาติ จากการรู้จักตัวบุคคล
3. โครงสร้างองค์กรชุมชน (Community Organizations)
เป็นเครื่องมือหนึ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมของชาวบ้านในแง่มุมต่างๆทั้งโครงสร้างด้าน เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรมของชุมชน เพื่อทราบถึงความสัมพันธ์เชิงสถานภาพบทบาท หน้าที่ และ อำนาจระหว่างองค์กรภายใน ชุมชนการศึกษาโครงสร้างองค์กรชุมชน
ประโยชน์ของเครื่องมือโครงสร้างองค์กรชุมชน
การรู้จักและเข้าใจโครงสร้างองค์กรชุมชนที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ช่วยให้เห็นได้ชัดเจนถึงมิติความสัมพันธ์ในชุมชน
ศักยภาพของชุมชนอยู่ที่การรวมตัวเป็นกลุ่มหรือเครือข่าย ที่สำคัญทั้งในการแก้ปัญหาและการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง
หลักการสำคัญของโครงสร้างองค์กรชุมชน
โครงสร้างองค์กรชุมชนเริ่มจากการทำความเข้าใจแบบ แผนความสัมพันธ์ขององค์กรชุมชนในมิติต่างๆทั้งความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สัมพันธ์ทางสังคม สัมพันธ์ทาง การเมือง โดยการสัมภาษณ์พูดคุย การสังเกต
4. ระบบสุขภาพชุมชน (Local Health Systems)
ใช้ในการศึกษาชุมชนทำให้เห็นภาพรวมของระบบสุขภาพชุมชนอย่างเชื่อมโยงกับมิติของชุมชนรวมทั้งความหลากหลายของวัฒนธรรมสุขภาพในชุมชน เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพ และทุนทางสังคมด้านสุขภาพของชุมชน
ประโยชน์ของเครื่องมือระบบสุขภาพชุมชน
เห็นภาพรวมของระบบสุขภาพชุมชน
เห็นความหลากหลายของวัฒนธรรมสุขภาพ
เข้าใจถึงวัฒนธรรมความเชื่อ วิธีปฏิบัติ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของท้องถิ่น
เห็นปัญหา ศักยภาพ และทุนทางสังคมด้านสุขภาพของชุมชน
ชุมชนเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
หลักการสำคัญของระบบสุขภาพชุมชน
การได้ศึกษาจากประสบการณ์ความเจ็บป่วยจากข้อมูลที่มีการบันทึกความหลากหลายและความแตกต่างของรูปแบบวิธีการรักษา
ระบบการดูแลสุขภาพและความเจ็บป่วยในชุมชนประกอบด้วยระบบการแพทย์หลายระบบ หรือที่ เรียกว่า “ระบบการแพทย์แบบพหุลักษณ์”
ระบบการแพทย์
ระบบทฤษฎีโรค (Disease Theory System): คือ แนวคิดหรือทฤษฎีทางการแพทย์ที่ อธิบายถึงสาเหตุของการเกิดโรค ลักษณะการดำเนินโรค การพยากรณ์โรค ตลอดจนแนวทางการรักษาโรค
ระบบการดูแลรักษาสุขภาพ (Health Delivery System): คือ ระบบที่สังคมจัดขึ้นเพื่อให้ การดูแลรักษาหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพ
5. ปฏิทินชุมชน (Community Calendar)
การเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้านว่าในหนึ่งรอบปีกิจกรรมการผลิต วัฒนธรรม ประเพณีในชุมชนมีอะไรบ้าง เกิดขึ้นอย่างไร เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวบ้านอย่างไร
หลักการสำคัญของปฏิทินชุมชน
จำแนกกิจกรรมชุมชนเพื่อทำเป็นปฏิทินด้านเศรษฐกิจ และด้านวัฒนธรรม
รวบรวมข้อมูลกิจกรรมเกี่ยวกับอาชีพ
ปฏิทินวัฒนธรรม รวบรวมกิจกรรมด้านสังคมวัฒนธรรม ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณี
6. ประวัติศาสตร์ชุมชน (Local History)
การศึกษาเรื่องราวความเป็นมาประวัติศาสตร์ของชุมชนในมิติเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตลอดจนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงต่างๆ ที่ ส่งผลกระทบต่อวิถีชุมชน
ประโยชน์ของประวัติศาสตร์ชุมชน
ทราบถึงที่มาที่ไปของปรากฏการณ์ ปัญหาและผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน
ทราบพัฒนาการร่วมกันของชุมชนที่มีส่วนในการกำหนดความรู้สึกนึกคิดของชาวบ้าน
เข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในชุมชน
7. ประวัติชีวิต (Life Story)
การสัมภาษณ์และถอดบทเรียนจากประวัติชีวิตของบุคคลที่มีความสสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในชุมชน
หลักการสำคัญของประวัติชีวิต
เรียนรู้มิติความเป็นมนุษย์ในงานชุมชน การท าประวัติชีวิตจึงไม่ได้มุ่งให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วยเพื่อให้ ได้ตามเป้าหมาย แต่มุ่งที่จ าได้เข้าใจและซึมซับเรื่องราวประสบการณ์ชีวิตของผู้คนในชุมชน