Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Neonatal jaundice
2020-05-25 (10), เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกสารสีเหลืองจะถูกป…
Neonatal jaundice
การรักษา
-
การถ่ายเปลียนเลือด
ในกรณีทีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงมากหรือทารกเริมแสดงอาการทาง
สมองแล้ว เพือลดระดับบิลิรูบินในเลือดลงอย่างรวดเร็ว
-
-
การวินิจฉัย
1.1 ประวัติในครอบครัวเป็นโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย ได้แก่ บิดา Rh positive มารดาRh negative มารดามีประวัติติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ เบาหวาน ได้รับยาบางชนิด การคลอดผิดปกติ การแท้งคุกคาม อาจบ่งบอกภาวะ Rh incompatibility ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD เป็นต้น
1.2 ประวัติการคลอดของทารก ได้แก่ คะแนน apgar ต่ำ การได้รับบาดเจ็บจากการคลอด การคลอดก่อนกำหนด การตัดสายสะดือช้า เป็นต้น
1.3 อาการผิดปกติอื่นๆ ของทารกที่ร่วมกับอาการตัวเหลือง ได้แก่ อาการอาเจียน ซึมลง ดูดนมได้ไม่ดี น้ำหนักตัวน้อย หายใจเร็วอุณหภูมิร่างกายไม่คงที่
2.การตรวจร่างกาย
สามารถดูที่ผิวหนังทารก อาจใช้แผ่นกระจก(slide) กดผิวหนัง
หรือใช้วิธีรีดผิวหนัง(blanching) ที่หน้าผากหรือลำตัวที่ซีด
หรือมองดูที่ผิวตาขาวของทารกว่าเหลืองหรือไม่
-
3.2 ระดับ direct bilirubin ในทารกที่มีอาการเหลืองนานกว่า 2 สัปดาห์ หรือสงสัยว่าเกิดภาวะ cholestatic jaundice
3.3 หมู่เลือดมารดาและทารก เพื่อประมินภาวะ blood group incompatibility (ABO, Rh)
-
-
-
-
-
3.9 การตรวจอื่นๆ เมื่อมีข้อบ่งชี้ เช่น CBC, T4, TSH, urine reducing substance เป็นต้น
กิจกรรมการพยาบาล
1.ตรวจหาหรือติดตามหาสาเหตุของการเกิดภาวะตัวเหลือง
โดยดูจากเวลาที่เริ่มปรากฏอาการตัวเหลือง ระยะเวลาของการเกิดตัวเหลือง
อัตราการเพิ่มของระดับบิลิรูบิน ระดับสูงสุดของบิลิรูบินในกระแสเลือด
หมู่เลือดมารดาและทารก ภาวะพร่องเอนไซม์G6PD และสภาพอาการของทารก
2.ตรวจสภาพการทำงานของหลอดไฟ ควรเปลี่ยนหลอดไฟตามอายุการใช้งานที่มีการแนะนำ หรือประมาณ2000 ชั่วโมง และดูระยะห่างจากหลอดไฟ
ถึงทารกให้ห่างประมาณ 30-40 เซนติเมตร
-
4.ประเมินและปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม ถ้าหากอุณหภมิห้องสูง ควรปรับลดลงทีละ 2-3 องศาเซลเซียส และประเมินซ้ำภายหลังการปรับ 30 นาที
5.ประเมินการได้รับสารน้ำและดูแลให้ทารกได้รับสารน้ำหรือนมอย่างเพียงพอ เพื่อให้ทารกสามารถขับบิลิรูบินทางปัสสาวะและอุจจาระได้ โดยส่วนใหญ่จะให้นมแก่ทารกทุก 3 ชั่วโมง ทั้งนี้ควรป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการให้นมคือการสำรอก
ผู้ดูแลควรจับให้ทารกเรอหลังการให้นมทุกครั้ง
6.ประเมินการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ลักษณะ สีของอุจจาระและปัสสาวะจะค่อยๆเปลี่ยนไปเมื่อทารกได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ คือ อุจจาระจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีเขียว และสีเหลืองตามลำดับ
7.ถอดเสื้อผ้าทารกออกเพื่อให้บริเวณที่มีพื้นที่ผิวมาก ซึ่งได้แก่ หน้าอกและท้อง ได้สัมผัสกับแสง ทั้งนี้อาจใส่ผ้าอ้อมผืนเล็กๆได้ในกรณีที่ทารกถ่ายอุจจาระในปริมาณที่มาก
8.ควรปิดตาทารกด้วยผ้าปิดตาที่ทำจากวัสดุทึบแสง ระวังไม่ให้ผ้าปิดตาเลื่อนหลุด เพื่อป้องกันแสงไฟทำลายจอประสาทตาและเปิดออกอย่างน้อย 15-30 นาที ทุก 4 ชั่งโมงทำความสะอาดตาให้ทารกด้วยน้ำต้มสุกตามปกติ
9.พลิกตะแคงตัวทารกทุก 3 ชั่วโมง ดูแลผิวหนังของทารกให้สะอาด ห้ามทาโลชั่นหรือครีมใดๆบนผิวหนังของทารก เพราะอาจทำให้เกิดผิวไหม้ได้ สังเกตการเกิดผดผื่นต่างๆที่ขึ้นตามผิวหนัง และประเมินลักษณะยืดหยุ่นของผิวหนัง
10.ตรวจหาหรือติดตามผลระดับของบิลิรูบินในกระแสเลือด ทุก 24 ชั่วโมง จากห้องปฏิบัติการ โดยไม่ควรคาดคะเนความรุนแรงของภาวะตัวเหลืองจากสีผิวของทารก
11.เฝ้าระวังและสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทอย่างใกล้ชิด ได้แก่ อาการซึม ดูดนมไม่ดี กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก แขนขากระตุก หรือเหยียดเกร็ง ร้องเสียงแหลม ชัก รายงานแพทย์ทันทีเมื่อพบอาการดังกล่าว
-
-
-
-
-
-
-
-