Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษสอบทักษะการพยาบาล วิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ …
กรณีศึกษสอบทักษะการพยาบาล
วิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
นางสาวพิกุล เตียนต๊ะนันท์ เลขที่ 47
กรณีศึกษา
ตรวจร่างกาย
V/S
BP 120/80 มิลลิเมตรปรอท
RR = 20 ครั้ง/นาที
PR = 94 ครั้ง/นาที
T = 37.0 องศาเซลเซียส
ตรวจครรภ์
Height of fundus ¾ เหนือระดับสะดือ, 39 เซนติเมตร
ทารกท่า LOA, HF
FHS 124-140 ครั้งต่อนาที, สม่ำเสมอ
on EFM (Category I)
ประวัติผู้คลอด
ผู้คลอดอายุ 36 ปี
G2P1A0L1, GA 39 wks.
BW= 80 kgs., Ht. = 148 cms.
GDMA1
สถานการณ์
PV
effacement 100 %
station +2
cervix fully dilatation
membranes rupture น้ำคร่ำ clear
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
Duration = 60 วินาที
Interval = 2 นาที
Intensity = severity
เบ่งคลอดนาน 30 นาที ภายหลังจากที่ศีรษะทารกแรกเกิดคลอดออกมาแล้วศีรษะทารกแรกเกิดจะมีลักษณะหดสั้นเข้าไปชิดกับช่องทางคลอดคล้ายคอเต่า
การประเมินภาวะเสี่ยง
ผลต่อมารดา
การแท้ง
คลอดก่อนกำหนด
ภาวะครรภ์แฝดน้ำ
Hypoglycemia
Hyperglycemia
ภาวะความดันโลหิตสูง
การติดเชื้อได้ง่าย
อัตราการตายของมารดาเพิ่มขึ้น
Diabetic ketoacidosis
การคลอดยากหรือการคลอดติดขัด
ตกเลือดหลังคลอด
ผลต่อทารก
ทารกพิการโดยกำเนิด
ทารกตัวใหญ่กว่าปกติ (Macrosomia)
ทารกในครรภ์เสียชีวิต
ทารกโตช้าในครรภ์
การตายปริกำเนิด
การตายของทารกหลังคลอด
อัตราการเกิด Respiratory distress syndrome (RDS)
Neonatal hypoglycemia
Hypocalcemia
Polycythemia
Hypomagnesemia
Renal vein thrombosis
Hypertrophic Cardiomyopathy
ภาวะแทรกซ้อน
Diabetic retinopathy
เริ่มแรกตรวจพบ micro aneurysm ขนาดเล็ก ต่อมามีการแตกของ aneurysm และมี serou fluid รั่วออกมา เป็น hard exudates โดยเรียกลักษณะดังกล่าวว่า background หรือ nonproliferative retinopathy ซึ่งจัดเป็น class D
ถ้าเกิดการลุกลามมากขึ้นเส้นเลือดทีผิดปกติจะมีการอุดตัน ทำให้เกิด retinal ischemia with infarction ทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า cotton wound exudates ซึ่งจะกลายเป็น proliferative retinopathy จะจัดเป็น class R
มีการสร้างเส้นเลือดขึ้นใหม่ neovascularization ในบริเวณที่มีการขาดเลือด เมื่อเกิดการแตกของเส้นเลือดก็จะเกิด vitreous cavity ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นและตาบอด ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการทำ laser coagulation
Diabetic nephropathy
มี proteinuria มากกว่า 500 กรัม/วัน ถ้าระดับ serum creatinie มากกว่า 1.5 มก./ดล. หรือ proteinuria มากกว่า 3 กรัม/วัน จะสัมพันธ์กับภาวะ end stage renal disease พบหลังจากคลอดราว 6 ปี แต่ถ้าควบคุมได้ดี จะลดโอกาสเกิด diabetic nephropathy
มีโอกาสเกิด end stage renal disease ภายใน 5-10 ปี ถ้ามี proteinuria มากกว่า 300 มก./ดล.
นอกจากนี้ ยังสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมอื่นๆ เช่น preeclampsia ซึ่งถ้ามี chronic hypertension ร่วมกับ Diabetic nephropathy จะมีโอกาสเกิด preeclampsia ภาวะทารกโตช้าในครรภ์
Diabetic neuropathy
สตรีตั้งครรภ์ไม่ค่อยเกิด peripheral symmetrical sensorimotor diabetic neuropathy แต่มักเจอ diabetic gastropathy ทำให้มีการคลื่นไส้ อาเจียน ทุพโภชนาการและควบคุมระดับน้ำตาลไม่ค่อยได้
สามารถรักษาโดยยากลุ่ม metoclopramide และ H2 receptor antagonists
การดูแลระยะหลังคลอด
มารดา
พึ่งระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากการคลอดทารกตัวโต กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดีต้องให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก นอกจากนี้ยังมีการกระทำหัตถการต่างๆ หลายอย่าง ดังนั้นต้องมีการตรวจดูช่องทางคลอด ประเมินการฉีกขาดช่องทางคลอดว่ามีมากน้อยเพียงใด และเย็บซ่อมให้เรียบร้อย มีการให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อ
แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมมารดา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และช่วยให้ภาวะการทนต่อกลูโคสดีขึ้น
แนะนำให้คุมกำเนิดหลังจากนั้น 6 - 12 สัปดาห์หลังคลอด
ควรได้รับคัดกรองการเป็นโรคเบาหวาน เพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษาโดยเร็วและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ทารก
ต้องรีบประเมินภาวะขาดออกซิเจน และให้ความช่วยเหลือโดยด่วน ตรวจร่างกายโดยละเอียด มีรอยบาดเจ็บมากน้อยเพียงใด มีบาดเจ็บที่เส้นประสาทไหล่ (brachial plexus injuries) หรือไม่ (ทารกยกแขนไม่ขึ้น) กระดูกแขนหักหรือไม่
ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้พัฒนาเป็นเด็กอ้วนมีภาวะทนต่อกลูโคสลดลง หรือกลายเป็นโรคเบาหวาน
การช่วยเหลือ
Call for help เรียกขอความช่วยเหลือจากสูติแพทย์ กุมารแพทย์ วิสัญญีแพทย์ พยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่อื่นๆ
ให้ผู้คลอดหยุดเบ่ง ห้ามกดบริเวณยอดมดลูก และให้สวนปัสสาวะ
ตัดหรือขยายแผลฝีเย็บให้กว้างขึ้นในกรณีที่ฝีเย็บแน่นมาก
ใช้ลูกยางแดงดูดมูกในจมูกและปากทารกให้หมด
ทำ Suprapubic pressure คือ การกดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าวในขณะที่ให้ผู้คลอดเบ่ง และผู้ทำคลอดดึงศีรษะทารกลงสู่ด้านล่างด้วยความนุ่มนวล
Mazzanti maneuver โดยให้ใช้มือกดไปตรงๆบริเวณเหนือหัวหน่าว
Rubin maneuver โดยให้ใช้มือกดโยกทางด้านข้างบริเวณเหนือหัวหน่าวที่คิดว่าเป็นด้านหลังของไหล่ทารก
ทำ McRoberts maneuver โดยให้ผู้คลอดงอสะโพกทั้งสองข้างอย่างมากในท่านอนหงายเพื่อให้ต้นขาทั้งสองข้างชิดติดกับบริเวณหน้าท้อง
All- fours หรือ Gaskin maneuver โดยให้ผู้คลอดพลิกตัวจากท่าขบนิ่วเป็นท่าคลานสี่ขา
Squatting โดยให้ผู้คลอดอยู่ในท่านั่งยองๆ
Rotational maneuver
Woods screw คือ การใช้มือใส่ไปทางด้านหลังของไหล่หลังทำรกแล้วหมุนไหล่ไป 180 องศา แบบ corkscrew จะทำให้ไหล่หน้าที่ติดอยู่ถูกหมุนมาคลอดออกทางด้านหลังได้
Rubin maneuver คือ การสอดมือเข้าไปในช่องคลอดคลำไปทางด้านหลังของไหล่หน้าแล้วดันให้เกิด adduction ของไหล่ไปทางหน้าอกจะทำให้ Bisacromial diameter ลดลงและไหล่หน้าก็จะหลุดออกมา
Posterior arm extraction วิธีนี้ควรจะให้การดมยาสลบในมารดาและใช้ยาคลายมดลูก (Tocolytic drugs) ร่วมด้วยเพื่อให้มดลูกคลายตัว ผู้ทำหัตถการต้องสวมถุงมือยาวแบบถุงมือล้วงรกสอดมือเข้าไปในช่องคลอดตามแนวโค้งของกระดูก sacrum หลังจากนั้นใช้นิ้วไล่ตามกระดูกต้นแขนไปตาม antecubital fossa แล้วกดลงไปบริเวณนี้ เพื่อให้ข้อศอกงอแล้วจึงใช้มือจับที่แขน แล้วค่อยๆปาดแขนผ่านหน้าอกและใบหน้าของทารกจนในที่สุดแขนและไหล่หลังคลอดออกจากช่องคลอด หลังจากนั้นจึงทำการคลอดไหล่หน้าตามปกติ
Clavicular fracture มี 2 วิธีที่ใช้ในการทำให้กระดูกไหปลาร้าหัก
ใช้มือดันบริเวณกลางของกระดูกไหปลาร้าของไหล่หน้าไปในทิศทางขึ้นด้านบนไปชนกับกระดูกหัวหน่าว
ใช้กรรไกรตัดกระดูกไหปลาร้า ซึ่งวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ทารกเสียชีวิตแล้วเท่านั้น