Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร - Coggle Diagram
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร
ความหมาย
เป็นการดำเนินงานหรือกระบวนการใดๆของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคำนึงถึงการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
องค์ประกอบของการบริหาร
เป้าหมายที่ชัดเจน(Goal)
ทรัพยากรในการบริหารที่มีจำกัด(Management Resources)
การประสานงานระหว่างกัน(Co-ordinate)
การแบ่งงานกันทำ (Division)
ความแตกต่างระหว่างการ "บริหาร" กับการ "จัดการ"
การบริหาร(Administration)
เป็นกระบวนการดำเนินการระดับการกำหนดนโยบาย
หรือกระบวนการบริหารงานขององค์การ ที่ไม่ต้องการผลกำไรหรือผลประโยชน์
ผู้บริหารพยายามบริหารงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ
ผลสำเร็จขององค์การมิได้คำนึงถึงผลตอบแทนที่สมาชิกจะได้รับ
ดังนั้น การบริหารมักจะใช้กับองค์การภาครัฐหรือหน่วยงานสาธารณะที่ไม่หวังผลกำไร
การจัดการ(Management)
เป็นกระบวนการบริหารงาน ขององค์การที่ต้องการกำไร โดยผู้จัดการจะต้องทำให้องค์การบรรลุเป้าหมาย
เพื่อให้องค์การอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่อยู่ในระบบการแข่งขัน
มักใช้ในองค์การธุรกิจหรือองค์การที่มุ่งผลกำไร
เป็นการนำทรัพยากรในการบริหารมาใช้ และนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่
ต่างกันอย่างไร
ต่างกันตรงที่
การบริหาร เป็นการทำงานโดยที่ไม่หวังผลกำไร แต่การจัดการเป็นการทำงานเพื่อหวังผลกำไร
การจัดการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
Science
การที่มีความรู้ (Knowledge)ความเข้าใจในหลักการบริหาร
Art
การที่มีทักษะที่เกิดจากความชำนาญในการปฏิบัติ
"ผู้จัดการ" หรือ "ผู้บริหาร"
ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์
คือเป็นผู้ที่มีความรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล เพื่อให้การดำเนินงานได้ผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ความสำคัญของการบริหาร
ช่วยให้กลุ่มบุคคลร่วมกันทำงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถนำทรัพยากรทั้งคน เงิน และอุปกรณ์มารวมเข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการผลิต
ถ้าขาดการบริหาร
จะทำให้เกิดความสับสน ยุ่งยาก สิ้นเปลือง ด้อยประสิทธิภาพ
จึงจำเป็นต้องมีผู้นำหรือผู้บริหารมาดูแล
ช่วยชี้แนวโน้มความเจริญของสังคม และความเสื่อมของสังคมในอนาคต
การบริหารงานมีลักษณะที่ต้องใช้การวินิจฉัยสั่งการเป็นเครื่องมือ แสดงความสามารถของผู้บริหาร องค์การจะคงสภาพอยู่หรือมีความเจริญก้าวหน้า หรือถดถอยลงขึ้นอยู่กับคุณภาพของการบริหาร
ชีวิตประจำวันของมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารอยู่เสมอ ดังนั้นการบริหารจึงเป็นเรื่องน่าสนใจและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
เป็นวิธีที่สำคัญที่จะนำสังคมและโลกไปสู่ความเจริญ ก้าวหน้า
เป็นเครื่องบ่งชี้ความเจริญก้าวหน้าของสังคม ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการในด้านต่างๆ ทำให้การบริหารเกิดการเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ความหมายของผู้บริหาร
ผู้บริหาร
ผู้ที่ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน และดูแลงานของคนอื่นๆในทีมงาน หรือในแผนกงาน หรือในองค์การ รวมทั้งประสานงานกับบุคคลหรือแผนกงานหรือองค์การภายนอกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เป้าหมายของหน่วยงานหรือองค์การบรรลุผลสำเร็จ
เป็นผู้ที่ใช้บุคคลอื่นในการทำงานหรือใช้ทรัพยากรในองค์การทั้นให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์การ โดยก่อให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจกันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
ปัจจัยการบริหาร
3Ms
คน (Men)
เงิน (Money)
วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ (Materials)
Prof.Peter Drucker
มี 5 องค์ประกอบ
คน (Men)
เงิน (Money)
วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ (Materials)
อำนาจหน้าที่ (Authority)
เวลา (Time)
ระยะหลัง
คน (Men)
เงิน (Money)
วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ (Materials)
อำนาจหน้าที่ (Authority)
เวลา (Time)
จิตใจในการทำงาน (Mind)
อุปกรณ์อำนวยความสะดวก (Facilities)
ผู้บริหาร
ระดับของผู้บริหาร
ระดับสูง ( Top level manage)
ประธานบริษัท กรรมการผู้จัดการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการทั่วไป
ระดับกลาง (Middle level management)
ผู้จัดการฝ้ายขาย ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ผู้จัดการฝ่ายผลิต
ระดับปฏิบัติการ ( Operational level management)
หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน พนักงานทั่วไป
ทักษะของผู้บริหาร
ระดับสูง
เน้นที่การมองภาพรวม กับ มนุษยสัมพันธ์ ทักษะในการปฏิบัติงานน้อย
ระดับกลาง
มีทักษะในการปฏิบัติงาน มนุษยสัมพันธ์ การมองภาพรวม อย่างระเท่าๆกัน
ระดับต้น
เน้นทักษะในการปฏิบัติงาน มนุษยสัมพันธ์ มองภาพรวมน้อย
การจัดการ
ทฤษฎีการจัดการ
แบบดั้งเดิม
แบ่งเป็น 3 แบบ
การจัดการแบบวิทยาศาสตร์
แบบราชการ
ตามหลักการบริหาร
หลักการจัดการ 14 ประการ
หลักการของ Fayol
การวางแผน
การจัดองค์กร
การบังคับบัญชา
การประสานงาน
การควบคุม
POSDCORB
Planning
Organizing
Staffing
Directing
Coordinating
Reporting
Budgeting
ด้านมนุษยสัมพันธ์
Theory X and Theory Y
เชิงปริมาณ
การจัดการปัจจุบัน
ประเทศที่เป็นผู้นำได้แก่ USA และ Japan
การจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้
การจัดการเชิงคุณภาพ
การรื้อปรับระบบ
การจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการในรูปแบบ E-Business
แนวคิดการจัดการแบบญี่ปุ่น : 5 ส ทฤษฎี Z ของ Ouchi
หลักการจัดการ 14 ประการ
หลักที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ
หลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
หลักของการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
หลักของการธำรงไว้ซึ่งสายงาน
หลักของการแบ่งงานกันทำ
หลักเกี่ยวกับระเบียบวินัย
หลักของการถือประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นรองจากประโยชน์ส่วนรวม
หลักการของการให้ประโยชน์ตอบแทน
หลักของการรวมอำนาจไว้ส่วนกลาง
หลักของความมีระเบียบเรียบร้อย
หลักของความเสมอภาค
หลักของความเสถียรภาพของการว่าจ้างงาน
หลักของความคิดริเริ่ม
หลักของความสามัคคี