Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท
ความไม่รู้สึกตัว
เป็นภาวะการทำงานของสมองที่ไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า แม้ว่าสิ่งเร้านั้นจะรุนแรง หรือก่อให้เกิดความเจ็บปวดก็ตาม
ระดับความรู้สึกตัว
ระดับความรู้สึกตัวดี (full consciousness)
ความรู้สึกสับสน (confusion)
การรับรู้ผิดปกติ (disorientation)
ระดับความรู้สึกง่วงงุน (lethargy / drowsy)
ระดับความรู้สึก stupor ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หลับลึก แต่ยังสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่รุนแรง
ระดับหมดสติ (coma) ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ได้
ภาวะไม่รู้สึก ร่วมกับการเคลื่อนไหวผิดปกติ
อาการสำคัญ
ชักเกร็ง ซึม ไม่ดูดนม
กรณีที่ 1
ไม่มีไข้ นึกถึง ความผิดปกติของสมองที่เกิดจากการได้รับ บาดเจ็บ (Head Injury) เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) โรคลมชัก (Epilepsy)
กรณีที่ 2
มีไข้ นึกถึง ความผิดปกติที่สมองทีเกิดจากการติดเชื้อของ เยื่อหุ้มสมอง สมองและไขสันหลัง (Meningitis ;Encephalitis; Tetanus)
กรณีที่ 3
มีไข้สูง เกิน 38 °c อายุ ประมาณ 6 เดือน – 5 ปี ไม่มีการ ติดเชื้อของระบบประสาทนึกถึง Febrile convulsion
ภาวะชักจากไข้สูง (Febrile convulsion )
อาการชักที่สัมพันธ์กับการมีไข้ โดยไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อของระบบประสาทหรือความไม่สมดุลย์ของเกลือแร่ ในเด็กที่อายุมากกว่า 1 เดือน โดยที่เด็กไม่เคยมีอาการชักโดยไม่มีอาการไข้มาก่อน
ปัจจัยเสี่ยงของการชักซ้้ำ
อายุ โดยเฉพาะเด็กที่มีอาการชักครั้งแรกในช่วงอายุก่อน 1 ปี
มีความผิดปกติของระบบประสาทก่อนมีอาการชัก
ประวัติการชักของสมาชิกในครอบครัว
ไข้ที่เกิดร่วมกับการติดเชื้อ
สาเหตุ
การติดเชื้อในระบบต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ระบบประสาท เช่น ติดเชื้อระบบ ทางเดินอาหาร , ทางเดินปัสสาวะ , ทางเดินหายใจ
อาการ
เด็กจะมีอาการชักเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส อาการชัก เกิดขึ้นภายใน 24 ชม.แรกที่เริ่มมีไข้ มักเกิดในเด็กอายุ 3 เดือน ถึง 5 ปี พบมากช่วงอายุ 17 – 24 เดือน
ชนิดของการชักจากไข้สูง
Simple febrile seizure (primary febrile seizure)
มีไข้ร่วมกับชักในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี
การชักเป็นแบบทั้งตัว (generalized seizure)
ระยะเวลาการชักเกิดช่วงสั้น ๆ ไม่เกิน 15 นาที
ไม่มีการชักซ้ำในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกัน
ก่อน / หลัง ชักไม่มีอาการทางระบบประสาท
Complex febrile seizure
การชักเป็นแบบเฉพาะที่หรือทั้งตัว (Local or Generalized seizure)
ระยะเวลาการชักเกิดนานมากกวา่ 15 นาที
เกิดการชักซ้ำในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกัน
หลังชักจะมีความผิดปกติของระบบประสาท เด็กที่ชักชนิด complex มีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคลมชัก แพทย์จะให้ยาป้องกันการชัก เช่น Phenobarbital หรือ Valproic acid
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ ไข้ , การติดเชื้อ , ประวัติครอบครัว , การได้รับวัคซีน , โรประจำตัว, ประวัติการชัก , ระยะเวลาของการชัก เป็นต้น
ประเมินสภาพร่างกาย การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษอื่น ๆ
โรคลมชัก(epilepsy)
ภาวะทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชักซ้ำๆ อย่าง น้อย 2 ครั้งขึ้นไป และอาการชักครั้งที่ 2 ต้องห่างกันมากกว่า 24 ชั่วโมง โดยไม่ได้เกิดจากสาเหตุมีปัจจัยกระตุ้น ผลจากเซลส์ประสาทสมองปล่อยคลื่นไหวผิดปกติ
พบได้บ่อยในเด็กโรคระบบประสาท พบได้ร้อยละ 4-10 ของเด็กทั่วไป
อายุที่มีอุบัติการณ์บ่อยคือ 2-5 ปี และเมื่ออายุเพิ่มขึ้นอุบัติการณ์จะลดลง
อัตราการเกิดพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
สาเหตุ
ทราบสาเหตุ : ติดเชื้อระบบประสาทส่วนกลาง,ภยันตรายระหว่างการคลอดหรือ หลังคลอด
ไม่ทราบสาเหตุ : จากความผิดปกติของ Neurotransmission ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีน
กลุ่มที่หาสาเหตุไม่ได้ : มีพยาธิสภาพภายในสมอง จัดอยู่ใน กลุ่ม Symtomatic epilepsy
อาการและอาการแสดง
Preictal period ระยะก่อนอาการชัก
อาการนำา (Seizure prodromes) อาการบางอย่างที่นำมาก่อน มีอาการชัก
อาการเตือน (Aura) ลักษณะอาการเตือนแตกต่างกันตาม ตำแหน่งของสมอง เช่น มีอาการปวด ชา เห็นภาพหลอน
Ictal event หรือ Peri-ictal period ระยะที่เกิดอาการชัก
เกิดขึ้นทันทีทันใด
เกิดในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 5 นาทีและหยุดเอง มีส่วนน้อยที่ชักและดำเนินต่อเนื่องเป็น Status epilepticus
เกิดขึ้นเองแต่บางครั้งมีปัจจัยกระตุ้น
ส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกันทุกครั้ง
Postictal peroid ระยะเวลาเมื่อการชักสิ้นสุดลง
มีอาการทางคลินิค มีการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมองมีอาการ ได้แก่ สับสน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ
Automatism การเคลื่อนไหวร่างกายไปโดยอัตโนมัติขณะชัก เช่น เบี้ยวปาก กระพริบตาถี่ๆ ตีมือคว่ำาหงายสลับกัน
Postical paralysis หรือ Todd’s paralysis กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉพาะที่
Interictal peroid คือ ช่วงเวลาระหว่างการชัก เริ่มตั้งแต่ระยะเวลา หลังการชักหนึ่งสิ นสุดลงไปจนถึงเริ่มเกิดชักครั้งใหม่ อาจพบคลื่นไฟฟ้าสมองที่ผิดปกติ
ชนิดของโรคลมชัก
อาการชักเฉพาะที่ (Partial / Focal seizure)
1.1 ชักเฉพาะที่แบบมีสติ (Simple partial seizures /Simple focal seizure) ขณะชักผู้ป่วยรู้ตัวตลอดเวลาบอกได้ว่าการที่เกิดมีลักษณะอย่างไร ดำเนินไปอย่างไร
1.2 อาการชักเฉพาะที่แบบขาดสติ (Complex partial seizures /Complex focal seizure) ขณะชักจะสูญเสียการรับรู้สติ เมื่อสินสุดการชักจะจำเหตุการณ์ในช่วงชักไม่ได้
1.3 อาการชักเฉพาะที่ตามดว้ยอาการชักทั้งตัว (Focal with secondarily generalized seizures) อาการชักแกร็งก ระตุกทั้งตัว
อาการชักทั้งตัว (Generalized seizures) เกิดการเสียหน้าที่ของสมองทั้ง 2 ซีก
2.1 อาการชักเหม่อ (Absence) มีลักษณะเหม่อลอย ไม่รู้สึกตัวชั่วครู เกิดขึ้นทันทีเป็นระยะเวลาสั้น ๆ
กลุ่มอาการโรคลมชัก
กลุ่มอาการชักเหม่อแบบตรง (Typical absence seizures) ชักลักษณะ เหม่อลอยไม่รู้สึกตัว ระยะเวลาที่เกิดอาการประมาณ 5 – 10 วินาที อาการเกิดขึ้นทันทีและหายทันที
อาการชักเหม่อที่ไม่รู้ตัวหรือไรส้ติเท่านั้น
อาการชักเหม่อที่มีอาการกระตุกหรือสะดุ้งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ อาจมีหนังตา กระตุกร่วมด้วย
อาการชักเหม่อที่มีอาการตัวอ่อนร่วม เป็นอาการชักที่มีการเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้ออย่างทันทีเมื่อเกิดอาการชัก เวลา ประมาณ 1-2 วินาที พบในเด็กอายุ 5 ปี
อาการชักเหม่อที่มีอาการเกร็งกล้ามเนื้อ ร่วมอาการเกร็งเฉพาะที่กล้ามเนื่อ ใบหน้าหรือคอ
อาการเกร็งกระตุก (Tonic clonic seizures)ชักเกร็งกระตุก ทั งตัว ผู้ป่วยจะหมดสติ ร่วมกับมีอาการเกร็งกล้ามเนื้อทั้งตัวนานไม่เกิน 30 วินาที ตามด้วยกล้ามเนื้อกระตุกเป็นจังหวะ
อาการชักกระตุก (Clonic seizures) เป็นการชักมีลักษณะกระตุก เป็นจังหวะของอาการชัก
อาการชักเกร็ง (Tonic seizures) เป็นการชักมีลักษณะเกร็งแข็ง จากกล้ามเนื อมีความตึงตัวมากขึ้น เกิดนานประมาณ 2 – 10 วินาที
อาการชักสะดุ้ง (Myoclonic seizures) การชักที่มีลักษณะ สะดุ้ง มีการหดตัวของกล้ามเนื ออย่างรุนแรงและรวดเร็วมาก
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ(meningitis)
เป็นการอักเสบเฉียบพลันของเยื่อหุ้มสมอง ชั้นในสุดและอแรคนอยด์ที่อยู่รอบๆ สมองและไขสันหลังและเยื่อหุ้ม สมองถูกทำลาย ส่วนมากพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 3 ตัว คือ Haemophilus influenzae, Neisseria meningitidis, Streptococcus peumoniae
อาการและอาการแสดง
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดข้อ ชักและซึมลงจนหมดสติ มีอาการ คอแข็ง
ตรวจพบ Kernig sign และ Brudzinski sign ให้ผลบวก รีเฟล็กซ์ลึกไวเกิน
เกิดจากเชื้อเมนิงโกคอคคัส จะตรวจพบผื่นแดงที่ผิวหนัง จุดเลือดออก กระจายทั่วๆ ไปรวมทั้งมีเลือดออกทตี่่อมหมวกไตด้วย
การประเมินสภาพ
Meningeal Irritation
ตรวจน้ำไขสันหลัง CFS
ค่าปกติของน้ำาไขสันหลัง ปกติจะไม่มีสี
ความดันระหว่าง 75 – 180 มม.น้้ำ(5 – 15 มม.ปรอท)
ไม่มีเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
โปรตีน 15 – 45 mg / 100 ml (1% ของ serum protein)
กลูโคส 50 – 75 mg / 100 ml
คลอไรด์ 700 – 750 mg / 100 ml
Culture & Latex agglutination
ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease)
โรคติดเชื้อที่บริเวณเยื่อหุ้มสมอง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส (Neisseria Meningitidis) ซึ่งเป็นเชื้อที่มีอันตรายสูง เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในทารก เด็ก
การเก็บสิ่งส่งตรวจ
วิธีทางชีวเคมี และวิธี PCR (กรณีเก็บตัวอย่างเชื้อบริสุทธ์)
วิธีตรวจหาค่า Minimum inhibition concentration (MIC)
วิธี seminested-PCR
วิธีติดต่อ
เชื้อนี้ติดต่อจากคนไปสู่คน โดยเชื้อจะออกมาทางละอองน้ำามูก น้้ลาย (droplet) จากปากหรือจมูกของผู้ที่เป็นพาหะ (ผู้ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ) หรือผู้ป่วย โดยมีระยะฟัก ตัวประมาณ 2-10 วัน (เฉลี่ย 3-4 วัน)
อาการและอาการแสดง
ไข้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง อาจมีผื่นแดง จ้้ำเลือด (pink macules) ขึ้นตามผิวหนังร่วมด้วย และอาจเกิดภาวะช็อกอย่าง รวดเร็ว
อาการสำคัญ 2 อย่าง
Meningococcemia และ Meningitis
การรักษา
Glucocorticoid therapy ก่อนการให้ยาปฏิชีวนะ 15 นาที
ยาปฏิชีวนะ เช่น Ceftriaxone /PGS/Chloramphenicol
การรักษาแบบประคบัประคองและตามอาการอื่นๆ
การป้องกันผู้สัมผัสโรค
บุคคลที่อยู่ร่วมกับผู้ป่วยในบ้านเดียวกัน และผู้ที่สัมผัสใกล้ชิด (Close contact) กับผู้ป่วย ต้องได้รับยาป้องกันได้แก่ Rifampicin หรือ ceftriaxone หรือ ciprofloxacin
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับความดันในสมองสูง
โรคอุทกเศียร : น้้าไขสันหลังคั่งในโพรงสมอง : ภาวะน้้าคั่งในกะโหลกศีรษะ (Hydrocephalus)
ศีรษะโตแต่กำเนิด,กระหม่อมหน้าโป่ง,ศีรษะโตเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับทรวงอก (OF circumference > C circumference 2.5cms), ปวดศีรษะ ซึม ไม่ดูดนม อาเจียนพุ่ง
Congenital Hydrocephalus ความผิดปกติในการสร้างน้ำไขสันหลัง
Obstructive Hydrocephalus ความผิดปกติในการอุดกั้นทางเดินน้ำไข สันหลัง
Communicate Hydrocephalus ความผิดปกติในการดูดซึมน้้ำไขสัน หลัง post meningitis
อาการและอาการแสดงทางคลินิก
1.หัวบาตร(Cranium enlargement)
2.หัวโตกว่าปกติเมื่อเทียบกับGrowth curve ปกติ (Disproportion Head circumference:chest circumference,height development )
3.รอยต่อกะโหลกศีรษะแยกออกจากกัน (Suture separation)
4.รอยเปิดกะโหลกโป่งตึง (Fontanelle bulging)
5.หนังศีรษะบางและเห็นเส้นเลือดดำ(Enlargement & engorgement of scalp vein)
6.เสียงเคาะกะโหลกเหมือนหม้อแตก ( Macewen sign Cracked pot sound)
7.อาการแสดงของความดันในกะโหลกศีรษะสงู ( Sign of increase intracranial pressure) ปวดศีรษะ , ตามัว , อาเจียน
8.ตากลอกลงล่าง กลอกขึ้นบนไม่ได้ (Setting Sun sign (Impaired upward gaze) เนื่องจากมีการกดบริเวณ Mid brain ที่Superior colliculs
9.ตาเขเข้าในมองไปด้านข้างไม่ได้เนื่องจากCN 6TH Palsy มองเห็นภาพ ซ้อน(Diplopia)
10.รีเฟลกซ์ไวเกิน(Hyperactive reflex)
11.การหายใจผิดปกติ(Irregular respiration)
12.การพัฒนาการช้ากว่าปกติ(Poor development ,failure to achieve milestones)
13.สติปัญญาต่ำกว่าปกติ,ปัญญาอ่อน(Mental retardation )
14.เด็กเลี้ยงยากไม่รับประทานอาหาร(Failure to thrive)
การรักษา
1.การรักษาด้วยยา ยาขับปัสสาวะ Acetazolamide ช่วยลดการสร้างน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง ประมาณ 25-50%
2.การรักษาด้วยการผ่าตัด
1.) การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองออกนอกร่างกาย (ExternalVentricularDrainage,EVD,Ventriculostomy)
2.) การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองสู่ช่องในร่างกาย ผ่าตัด ใส่สายระบายจาก
การรักษา IICP
รักษาเฉพาะ : รักษาสาเหตุที่ทำใหเ้กิด IICP เช่น เนื้องอกbการอุดกั้น ทางเดินน้ำไขสันหลัง
การรักษาเบื้องต้น กรณีมีIICPสูงอย่างเฉียบพลัน
การจัดท่านอนนอนราบศรีษะสูง 15 – 30 องศา เพื่อช่วยให้การ ไหลเวียนของน้ำไขสนัหลงักลับสู่หลอดเลอืดดำได้ดีขึ้น
กรณีผู้ป่วยมีการเปลยี่นแปลงทางระบบประสาทอย่างรวดเร็ว ซึม ไม่รู้สึกตัว แพทย์จะรักษาโดยการใส่ท่อหลอดลมคอและช่วยหายใจ เพื่อลดความดัน PaCO2 ในหลอดเลือดแดงให้อยู่ระหว่าง 30 – 35 mmHg
การรักษาความผิดปกติที่เกิดต่อเนื่องจากพยาธิสภาพเดิมหรือที่เกิดร่วม - Hydrocephalus : Obstructive , Communicating - ภาวะสมองบวม
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง
มีก้อนที่หลัง หรือที่หน้าผาก ขาอ่อน แรงทั้งสองข้าง ปัสสาวะ อุจจาระ ตลอดเวลา นึกถึง Congenital Spina bifida occulta Meningocele Meningomyelocele
ไข้ร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีประวัติ ไม่ได้รับวัคซีน ไม่มีประวัติการคลอดในรพ. เป็นชนต่างด้าว นึกถึง Poliomyelitis
Spina Bifida
เป็นความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง มีถุงยื่นผ่านจากกระดูกไขสันหลัง ออกมาตามต าแหน่งที่บกพร่องนั้น พบบ่อยที่สุดที่บริเวณ lumbosacrum
แบ่งเป็น 2 ชนิด
Spina bifida occulta : ผิดปกติกระดูกสันหลังส่วน Vetebral arches ไม่รวมตัวกัน เกิดเป็นช่องโหว่ระหว่างแนวกระดูกสันหลัง เกิดบริเวณ L5 หรือ S1 ไขสันหลังและเยื่อหุ้มสมองยังอยู่ในกระดูกสันหลัง
Spina bifida cystica : ผิดปกติของการปิดของส่วนโค้งกระดูกสันหลัง ทำให้มีการยื่นของไขสันหลัง หรือเยื่อหุ้มสมองผ่านกระดูกออกมาให้เห็นเป็นถุงหรือก้อน มี 2 ชนิด
2.1 Meningocele : ก้อนหรือถุงน้ำประกอบไปด้วยเยื่อหุ้มสมอง น้ำไขสันหลัง ไม่มีเนื อเยื่อประสาทไขสันหลัง ไขสันหลังอยู่ตำแหน่งปกติ ไม่เกิดอัมพาต
2.2 Myelomeningocele หรือ Meningomyelocele : กระดูกสันหลังผิดปกติ มีก้อนยื่นออกมา ก้อนหรือถุง มีเยื่อหุ้มสมอง น้ำไข สันหลังและไขสันหลัง พบบ่อย อันตรายและเกิดความพิการ
การป้องกัน
ให้กรดโฟลิคแก่หญิงตั้งครรภ์จะช่วยลดการเกิดโรคได้
การรักษา
ไม่จำเป็นต้องรักษาแต่ชนิด Cystica ต้อง ผ่าตัดภายใน 24 – 48 ชั่วโมงภายหลังเกิดเพื่อลดการติดเชื้อ
ภาวะไม่รู้สึกตัวและสติปัญญาพกพร่อง
อาการสำคัญคือ ไม่รู้สึกตัว เกร็งเมื่อกระตุ้น หายใจ ไม่มีประสิทธิภาพ การดูดกลืนบกพร่อง เลี้ยงไม่โต ข้อ ติดแข็ง พัฒนาการล่าช้า
มีประวัติ สมองขาดออกซิเจน นึกถึง Cerebral palsy
สมองพิการ Cerebral Palsy
ความบกพร่องของสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การทรงตัว ชนิดของสมองพิการ
กล้ามเนื้อหดเกร็ง (Splastic)
.1.1 Splastic quadriplegia มีความผิดปกติกล้ามเนื้อแขนขา ทั้ง 2 ข้าง คอและลำตัวอ่อนผิดปกติ ศีรษะเล็ก น้ำลายไหล
1.2 Splastic diplegia มีความผิดปกติกล้ามเนื้อแขนขาทั้ง 2 ข้าง ขาเป็นมากกว่าแขน
1.3 Splastic hemiplegia ผิดปกติที่แขนขาซีกใดซีกหนึ่ง
Extrapyramidol cerebral palsy (athetoidsis) การ เคลื่อนไหวผิดปกติตลอดเวลาขณะตื่น บังคับส่วนต่างๆของ ร่างกายให้ไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้ กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก
Ataxia cerebral palsy มีเดินเซ ล้มง่าย กล้ามเนื้อตึงตัว น้อย ทรงตัวได้ไมดี สติปัญญาปกติ
Mixed type หลายอย่างร่วมกัน
อาการและอาการแสดง
มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า โดยเฉพาะด้านการเคลื่อนไหว การทรงตัวผิดปกติ
ปัญญาอ่อน
อาการอื่นๆ ร่วม เช่น ชัก หูหนวก ตาบอด การรับรู้ผิดปกติปัญหาด้านการพูด
กิจกรรมการพยาบาล
การทำทางเดินให้โล่ง
จัดท่านอนของเด็กให้เหมาะสม โดยให้นอนตะแคงข้าง เพื่อ ป้องกันการสำลัก
ดูแลไม่ให้มีอาหาร หรือเศษอาหารอยู่ในช่องปาก เพราะเด็ก อาจส าลักได้
ดูดเสมหะให้เด็กเป็นระยะๆ
เตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือให้พร้อมหากมีปัญหาเกี่ยวกับการอุด กั้นทางเดินหายใจ จะได้ให้การช่วยเหลือได้ทันที
แรงดันในช่องสมองไม่เพื่ม
จัดให้เด็กนอนศีรษะสูง ประมาณ 15 – 30 องศา
หลีกเลี่ยงท่านอนหรือกิจกรรม ที่จะทำให้แรงดันภายใน สมองเพิ่ม เช่น การกดหลอดเลือดที่คอ (neck vein) การก้ม คอหรือแหงนหน้าไปด้านหลังอย่างเต็มที่ การหมุนศีรษะไปมา การกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวด และการดูดเสมหะ เป็นต้น
จัดท่านอนให้ข้อสะโพกงอไม่เกิน 90 องศา ป้องกันไม่ให้ท้องผูก
ป้องกันไม่ให้ท้องผูก
ถ้าพบว่า เด็กแสดงอาการเจ็บปวด เช่น มีอาการ กระสับกระส่าย หัวใจเต้นเร็ว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิต เพิ่มขึ้น และความอิ่มตัวของออกซิเจนลดลง พยาบาลควรดูแลให้ยา แก้ปวดตามแผนการรักษา
วางแผนการพยาบาล โดยให้มีการรบกวนเด็กให้น้อยที่สุด
ติดตามอาการแสดงที่บ่งชี้ว่าเด็กมีการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน ภายในสมอง วัดรอบศีรษะทุกวัน , สังเกต-บันทึกพฤติกรรมที่ เปลี่ยนแปลงของเด็ก
ด้านอาหาร
ดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ตามภาวะสุขภาพของ แต่ละบุคคล
ดูแลให้เด็กได้รับอาหารทางหลอดเลือดด าตามแผนการรักษา
บันทึกปริมาณน้ าดื่ม และปัสสาวะทุกวัน
ควรชั่งน้ำาหนักทุกวันหรือตามแผนการรักษา
ด้านการขับถ่าย
ดูแลให้เด็กได้รับน้ำอย่างเพียงพอและสอดคล้องกับแผนการรักษา
ถ้าเด็กมีสายสวนปัสสาวะ พยาบาลควรดูแลความสะอาดให้เพียงพอ
ทำความสะอาดผิวหนังทุกครั้งหลังการขับถ่ายทั้งปัสสาวะและ อุจจาระ
เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือกางเกงทุกครั้งที่เด็กขับถ่าย
ประเมินบริเวณหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบว่ากระเพาะปัสสาวะตึง หรือไม่
ดูแลให้ยาระบาย เพื่อป้องกันอาการท้องผูกตามแผนการรักษา
ด้านความสะอาด
อาบน้ำให้เด็กทุกวัน
เปลี่ยนเสื้อผ้าให้เด็ก เพื่อความสะอาดและความรู้สึกสบาย
สระผมให้เด็กบ่อยๆ เพื่อให้ผมสะอาด
ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน ผิวหนัง และเล็บ อย่างสม่ำเสมอ