Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 3 - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 3
คำแนะนำในการใช้ยาอย่างปลอดภัยและสมเหตุสมผล
ให้รับประทานยาเพรดนิโซโลนพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที หรือรับประทานยาพร้อมนมเพื่อลดผลข้างเคียงในระบบทางเดินอาหาร
ห้ามเพิ่มปริมาณการใช้ยาเป็น 2 เท่าหากมีการลืม
รับประทานให้รับประทานให้เร็วที่สุดเมื่อนึกได้
ผู้ป่วยไม่ควรหยุดรับประทานยาด้วยตัวเอง ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ควรปรับลดขนาดยาลงทีละน้อยภายใต้คำแนะนำของแพทย์จนสามารถหยุดยาได้ในที่สุด เพื่อป้องกันอาการถอนยา
ยาชนิดเป็นยาที่ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคและเชื้อไวรัสเพราะผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื่อได้ง่าย
เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้องโดยห่างจากความชื้นและความร้อนสูง เนื่องจากจะทำให้ยาเสื่อมสภาพ
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ คือ Prednisolone
เป็นยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์
ยานี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้มาก ผู้ป่วยจึงควรสังเกตอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นทั้งในระหว่างการใช้ยาและหลังจากหยุดยาไปแล้ว 12 เดือน (เฉพาะในกรณีที่ใช้ยาเป็นเวลานาน) หากสงสัยว่าเกิดอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง ให้กลับไปพบแพทย์ทันที
อาการและอาการแสดงที่ผิดปกติ
ปัสสาวะเป็นฟอง
Pretibial pitting edema
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Urine protein = +4
ฺBlood albumin = 2 gm/dl
Creatinine = 0.5 mg/gl
Blood cholesteral = 300 mg/dl
มีอาการบวมหลังตื่นนอนมา 1 สัปดาห์ จากนั้นบวมทั้งตัว
สาเหตุและกลไกของการเกิดความผิดปกติ
สาเหตุ
เกิดความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตโดยตรง อาจเป็นมาตั้งแต่เกิดหรือไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้หน่วยไตมีความเสียหาย อาจเกิดจากการที่
T-cell ถูกกระตุ้นให้สร้าง mediators มาทำลาย glomerulus หรือมีความผิดปกติทางเมตาบอลิซึมอาหารและความผิดปกติของการไหลเวียนโลหิต
มีสาเหตุจากโรคอื่นแล้วทำให้เกิดพยาธิสภาพที่เนื้อไต เช่น hepatitis B,hepatitis C,diabetes mellitus,SLE
การได้รับสารพิษและยาจำพวก nephrotoxins,trimethadione anticonvulsants,probenecid,captopril,gold saltsและ NSAID อาจเกิดจากภูมิแพ้ได้อีกด้วย
กลไก
เมื่อ glomerular injury จะทำให้มีความผิดปกติที่ glomerular basement membrne(GBM) ที่
ทำหน้า่ที่ป้องกันอัลบูมินเข้าสู่ปัสสาวะ เมื่อเกิดความผิดปกติจะทำให้ประสิทธิภาพการกรองลดลง ทำให้มีอัลบูมินรั่วออกมาทางปัสสาวะเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดภาวะอัลบูมินในเลือดต่ำ ส่งผลให้ plasma oncotic pressure ลดลง น้ำย้ายออกไปนอกหลอดเลือดทำให้เกิดอาการบวมชนิดกดบุ๋ม นอกจากการลดลงของค่่าแรงดึงน้ำไว้ในหลอดเลือดส่งผลให้ปริมาณน้ำในหลอดเลือดลดลง ร่างกายจะต้องปรับให้เข้าสู้ภาวะสมดุลโดยจะหลั่ง rennin,ADH และaldosterone ทำให้มีการดูดกลับขงน้ำเพิ่มขึ้น มีอารคั่งของโซเดียมมีผลทำให้เกิดการบวม ในรายที่มีการเสียโปรตีนเป็นเวลานาน ตับจะมีการสังเคราะห์อัลบูมินและไลโปโปรตีนเพิ่มเพื่อรักษาสมดุล ทำให้มีโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในกระแสเลือดสูง
ปัญหาทางการพยาบาลและกิจกรรมทางการพยาบาล
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายเนื่องจากได้รับยาสเตียรอยด์
ดูแลผู้ป่วยด้วยหลัก aseptic technique ล้างมือก่อนและหลังการพยาบาลทุกครั้ง
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลรักษาความสะอาดของร่างป้องกันการสะสมของเชื้อโรค
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เรียบร้อยปราศจากสิ่งสกปรก
สังเกตภาวะการติดเชื้อ
แนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตนเองให้หตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการติดเชื้อ
ผู้ป่วยมีภาวะน้ำเกินในร่างกาย เนื่องจากมี
อัลบูมินในเลือดต่ำ ซึ่งมีผลจากความผิดปกติของไตในการกรอง
ประเมินอาการและอาการแสดงของการบวมและภาวะน้ำเกิน
ติดตามผลโปรตีนในเลือดและปัสสาวะเป็นระยะ
ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารรสจืดและได้รับโปรตีนในปริมาณทีเพียงพอ