Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินสุขภาพเพื่อการวินิจฉัยแยกโรค และการรักษาพยาบาลเบื้องต้น…
การประเมินสุขภาพเพื่อการวินิจฉัยแยกโรค และการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ที่มีปัญหาด้านศัลยกรรม
กลุ่มอาการ Shock
สาเหตุ
ความผิดปกติในการทำงานของหัวใจ ประสาท และต่อมไร้ท่อ
มีภาวะเสียเลือดหรือน้ำอย่างรุนแรง ( Hypovolumic shock )
การติดเชื้อในกระแสเลือด ( Septic shock )
ได้รับสารพิษ เช่น ถูกสัตว์แมลงกัด ได้รับสารเคมี หรือยาบางอย่าง
มีความผิดปกติของเมตาบอลิซึม
น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำผิดปกติ
ภาวะไตวาย
ตับวาย
อาการร่วม/อาการแสดง
ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว เช่น BP < 90/60 มม.ปรอท Pulse pressure ≤ 20 มม.ปรอท mean arterial pressure < 60 มม.ปรอท
กระสับกระส่าย ชิพจรเบาเร็ว ซีด เหงื่อออก ตัวเย็น กระหายน้ำ อ่อนเพลีย อาเจียน จะเป็นลม ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออกเลย หายใจเร็วถี่ขึ้น ไม่สม่ำเสมอ หมดสติ
ถ้ามีอาการช็อกรุนแรงม่านตาจะไม่ค่อยตอบสนองต่อแสง
การรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ
ประเมินความรู้สึกตัว ABCs
ให้นอนราบยกขาสูงขึ้น 10-20 นิ้ว เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดจากส่วนปลายกลับสู่หัวใจ และเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมอง
ให้ออกซิเจนและให้ความมอบอุ่นแก่ร่างกาย
ให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาสัญญาณชีพควรให้สารน้ำที่มีความเข้มข้นใกล้เคียงกับเลือด (isotonic solution) เช่น NSS, Lactated Ringer’s solution ไม่ควรให้สารน้ำที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าเลือด เช่น 5% D/W
ให้งดน้ำและอาหารทางปาก
ใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้เพื่อดูปริมาณปัสสาวะ
แก้สาเหตุของการช็อก เช่น ถ้าเสียเลือดจากบาดแผลทำการห้ามเลือด
ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
Burn
การแบ่งความรุนแรงของผิวหนังไหม้
ขนาดของแผลซึ่งอาจจะใช้กฎเลขเก้า (rules of nine) ในผู้ใหญ่ หรือวิธีของ Lund and Browder
ความลึกของบาดแผล
ระดับ
Partial-thickness burns
ระดับที่ 1 หนังกำพร้า(epidermis)
ผิวหนังสีแดงเหมือนโดนแดดเผา แห้ง
ระดับที่ 2
ลึกหนังกำพร้า (epider-mis) ชั้นบนและชั้นลึกของผิวหนังแท้แต่ยังมีบางส่วนเหลืออยู่ (deep part of dermis)
ผิวหนังเป็นสีขาวซีดแต่ยังมีลักษณะนิ่มอยู่
การหายของแผลประมาณ 3-4 สัปดาห์ ลักษณะของแผลเมื่อหายจะเป็นแผลเป็นมาก
ตื้น หนังกำพร้า(epidermis)และชั้นบนของหนังแท้ (superficial part of dermis)
บาดแผลพองเป็นตุ่มน้ำใส มีอาการปวด
การหายของแผลประมาณ 10-14 วัน ลักษณะของบาดแผลเป็นค่อนข้างดี
Full-thickness burns
ระดับ 3 ผิวหนังถูกชั้นถูกทำลายทั้งหมดบางครั้งรวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกกว่าด้วย
ผิวหนังเป็นสีขาว หรือน้ำตาล แข็งเหมือนหนังอาจพบเส้นเลือดอุดตันอยู่ใต้ผิวหนัง
การหายของแผลจะหายจากการหดรั้ง (wound contraction) หรือการปลูกถ่ายผิวหนัง (skin grafting)
ในเด็ก (อาจประเมินโดยกำหนดว่าพื้นที่ 1 ฝ่ามือของผู้ป่วยเท่ากับ 1% ของพื้นที่ผิวหนังของผู้ป่วย)
การพยาบาล
ระยะฉุกเฉิน (Resuscitative phase or Emergent phase)
ปัญหาที่พบ
มีการสูญเสียสารน้ำจำนวนมากจนอาจเกิดภาวะ hypovolemic shock ได้
การหายใจบกพรอ่ง
ความเจ็บปวดทั้งจากร่างกายและจิตใจ
การดูแลผู้ป่วยเมื่อแรกรับ
ประเมินสภาพเบื้องต้นตามหลัก ABC (Airway, Breathing, Circulation)
หยุดขบวนการเผาไหม้ที่ยังหลงเหลืออยู่
ซักประวัติจากผู้ป่วยและญาติ
ประเมินการบาดเจ็บอื่นๆ โดยเฉพาะ
ประเมินสภาพแผลไหม้
ขณะเดียวกันก่อนให้สารน้ำให้ดูดเลือดเพื่อส่งตรวจ
ใส่สายสวนปัสสาวะด้วยวิธีปลอดเชื้อ พร้อมทั้งส่งปัสสาวะตรวจ
ใส่สาย N-G tube : เพื่อประเมินดูการทำงานของกระเพาะอาหารและเตรียม
ส่งตรวจภาพรังสีทรวงอก
ระยะวิกฤต (Acute phase)
ระยะฟื้นฟู (Rehabilitative phase)
พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
เม่นทะเลตำ (Sea urchins)
อาการร่วม/อาการแสดง
Systemic reaction จะมีอาการแพ้ต่างๆ โดยเฉพาะ anaphylaxis (ฉุกเฉิน)
การรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ
• ประเมินความรู้สึกตัว ABCs
• ถ้าระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตหยุดทำงานให้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพ ( cardiopulmonary resuscitation )
• ให้ออกซิเจนถ้าหายใจไม่ดี
• ให้การรักษาเหมือน local reaction ( ที่จะกล่าวต่อ ไป)
• ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ถ้ามีความดันโลหิตลดลงหรือมีภาวะช็อก
• ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
Local reaction จะมีอาการเจ็บปวดเหมือนถูกหนามตำ ต่อมาจะมีอาการชาบริเวณที่ถูกตำ และถ้าหนามของหอยเม่นหักคา จะปวดมาก โดยเฉพาะเม่นทะเลตำ จะมีหนามที่ยาวและเปราะมาก(สามารถให้การดูแลรักษาได้)
การรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ
• ทุบหนามที่หักคาให้แหลก โดยอาจใช้น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาวทาที่แผลสลับการทุบ เพื่อลดอาการชา
• ให้ยาแก้ปวดถ้าปวดมาก
• ให้ยาแก้แพ้
• ทาด้วยแอมโมเนีย เพื่อช่วยลดอาการปวด
พิษจากแมงกะพรุน (Jellyfish dermatitis)
Fatal reaction อาการ anaphylaxis, cardiopulmonary arrest(ฉุกเฉิน)
การรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ
• ประเมินความรู้สึกตัว ABCs ถ้าระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตหยุดทำงานให้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพ
• ลดการเคลื่อนไหวบริเวณบาดแผล ห้ามถูแผล
• Local heat อุ่นน้ำทะเลที่อุณหภูมิ 39 องศา เทราดบริเวณแผล (ห้ามใช้น้ำจืด หรือแอลกอฮอล์ เพราะความเข้มข้นน้อยกว่าน้ำทะเลจะทำให้ถุงพิษแตก เข็มพิษกระจายมากขึ้น)
• ใช้แป้งโรยบริเวณแผลเพื่อเอาหนวดออก
• ใช้ผักบุ้งทะเลโขลกแล้วทาบนแผล
• รักษาตามอาการ ยาแก้แพ้ ยาแก้ปวด ส่วนยาแก้อักเสบให้กรณีแผลลึกมากๆ
• แนะนำเฝ้าระวังอาการของ anaphylaxis และ systemic infection
Systemic reaction ปวดเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก น้ำตาไหล ไข้ กล้ามเนื้อกระตุก ชา แน่นหน้าอก(สามารถให้การดูแลรักษาได้)
Local reaction บวมแดงเป็นแนวเส้น ตามรอยหนวดที่สัมผัส เจ็บ คัน บางทีมีตุ่มพอง ระยะเวลาการเกิดตั้งแต่ทันทีที่สัมผัส และ/หรือหลังสัมผัส 1-4 สัปดาห์(ฉุกเฉิน)
การรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ
• ดูแลระบบหายใจ โดยเฉพาะภาวะหลอดลมตีบ ได้ยินเสียงวี๊ด หายใจลำบาก เขียว
• ให้สารน้ำตามความเหมาะสม
• ให้ยาแก้แพ้
• ให้ออกซิเจน
• ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
งูกัด (Snake bite)
ชนิด
งูพิษ
งูที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin)
งูเห่า
งูจงอาง
งูสามเหลี่ยม
งูทับสมิงคลา
อาการร่วม/อาการแสดง
มึนงง เวียนศีรษะ หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น
ขากรรไกรแข็ง อ้าปาก ไม่ขึ้น อ่อนเพลีย หมดแรง กระวนกระวาย
หายใจลำบาก
หมดสติ
ตาย
งูที่มีพาต่อระบบเลือด (hematotoxin)
งูกะปะ
งูแมวเซา
งูเขียวหางไหม้
อาการร่วม/อาการแสดง
ปวดมาก บวมมาก
มีเลือดออกจากแผล เหงือก ไรฟัน ริมฝีปาก
มีจ้ำเลือด
มีปัสสาวะเป็นเลือด
กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำลง
ปวดท้อง แน่นหน้าอก
หมดสติ
งูที่มีพิษต่อระบบกล้ามเนื้อ (myotoxin)
งูทะเลบางชนิด
งูคออ่อน
งูชายธง
งูแสมรัง
อาการร่วม/อาการแสดง
ปวดเมื่อยตามแขนขา ลำตัว เอี้ยวคอลำบาก
กลอกตาไม่ได้
ไม่สามารถเคลื่อนไหวแขน ขา และร่างกายได้
กล้ามเนื้ออักเสบรุนแรง
ระบบปัสสาวะล้มเหลว (ปัสสาวะเป็นสีน้ำโค้ก)
ระบบหายใจล้มเหลว
การรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ
ห้ามกรีดแผลหรือใช้ไฟจี้แผล
ให้การดูแลเบื้องต้น ดังนี้
ประเมินความรู้สึกตัว ABCs
ถ้าระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตหยุดทำงานให้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพ ( cardiopulmonary resuscitation)
ตรวจดูบาดแผล และรอยเขี้ยวพิษ
ถ้าเป็นงูเห่าพ่นพิษถูกที่ใบหน้าหรือนัยน์ตา ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากๆ
ให้การดูแลบาดแผล
ให้งดน้ำและอาหารไว้ก่อน แต่ถ้าเป็นงูทะเล ต้องดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับปัสสาวะและพิษงู
พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุดโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกกัด
อธิบายให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวลหรือตกใจเพื่อหลีกเลี่ยงอาการหัวใจเต้นเร็วขึ้น เป็นการช่วยให้พิษเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง
ไม่ควรใช้ปากดูดที่แผล
ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรใดๆ มาพอกที่แผล
ส่งต่อไปสถานพยาบาลที่มีความพร้อม
งูไม่มีพิษ
งูแม่ตะง่าว
งูปล้องฉนวนหลังเหลือง
งูเห่ามังหรืองูแส้ม้า
งูดอกหมากแดง
งูทางมะพร้าว
งูเหลือม
งูหลาม
งูปากจิ้งจก
งูลายสาบ
งูลายสอ
งูก้นกบ
งูงอด
งูปี่แก้ว
งูแสงอาทิตย์
อาการร่วม/อาการแสดง
อาจจะมีอาการปวด บวม มีเลือดออกไม่มาก ผู้ป่วยไม่มีอาหารผิดปกติอื่นใดที่ชัดเจน
การรักษาเบื้องต้น/ส่งต่อ
ถ้าแน่ใจว่าเป็นงูไม่มีพิษ ให้ทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือน้ำสะอาดและสบู่
ให้การรักษาตามอาการ เช่น ประคบเย็น รับประทานยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อ ( เช่น dicloxacillin หรือ amoxicillin ) นาน 5-10 วัน แล้วแต่ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของบาดแผล
ให้ยาป้องกันบาดทะยัก (ตามแนวทางมาตรฐาน)
สังเกตอาการ และนัดตรวจซ้ำเพื่อติดตามการรักษา
หมายเหตุ ถ้าไม่ทราบชนิดของงูให้การดูแลรักษาเหมือนงูพิษกัด