Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท
เป้าหมาย : เด็กที่ไม่รู้สึกตัว
การดูแลขั้นพื้นฐาน
ภาวะแทรกซ้อนจากการไม่เคลื่อนไหว
แรงดันภายในสมอง
ระบบหายใจ
ให้ความรู้และคาแนะนา
เป้าหมาย : การทำทางเดินหายใจให้โล่ง
ดูแลไม่ให้มีอาหาร หรือเศษอาหารอยู่ในช่องปาก เพราะเด็กอาจสาลักได้
ดูดเสมหะให้เด็กเป็นระยะๆ
จัดท่านอนของเด็กให้เหมาะสม โดยให้นอนตะแคงข้าง เพื่อป้องกันการสาลัก
เตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือให้พร้อมหากมีปัญหาเกี่ยวกับการอุดกั้นทางเดินหายใจ จะได้ให้การช่วยเหลือได้ทันที
เป้าหมาย : แรงดันภายในสมองต้องไม่เพิ่มขึ้น
หลีกเลี่ยงท่านอนหรือกิจกรรม ที่ทาให้แรงดันเพิ่ม เช่น การกดหลอดเลือดที่คอ (neck vein) การก้มคอหรือแหงนหน้าไปด้านหลังอย่างเต็มที่ การหมุนศีรษะไปมา การกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวด และการดูดเสมหะ
จัดท่านอนให้ข้อสะโพกงอไม่เกิน 90 องศา
จัดให้เด็กนอนศีรษะสูง ประมาณ 15 – 30 องศา
ป้องกันไม่ให้ท้องผูก
ถ้าพบว่า เด็กแสดงอาการเจ็บปวด เช่น กระสับกระส่าย หัวใจเต้นเร็ว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น และความอิ่มตัวของออกซิเจนลดลง พยาบาลควรดูแลให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
วางแผนการพยาบาล โดยให้มีการรบกวนเด็กให้น้อยที่สุด
ติดตามอาการแสดงที่บ่งชี้ว่าเด็กมีการเปลี่ยนแปลงของแรงดันภายในสมอง วัดรอบศีรษะทุกวัน , สังเกต-บันทึกพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของเด็ก
เป้าหมาย : ได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ
ด้านอาหาร
ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดาตามแผนการรักษา
บันทึกปริมาณน้าดื่ม และปัสสาวะทุกวัน
ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ตามภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล
ควรชั่งน้าหนักทุกวันหรือตามแผนการรักษา
ด้านความสะอาด
อาบน้าให้เด็กทุกวัน
เปลี่ยนเสื้อผ้าให้เด็ก เพื่อความสะอาดและความรู้สึกสบาย
สระผมให้เด็กบ่อยๆ เพื่อให้ผมสะอาด
ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน ผิวหนัง และเล็บอย่างสม่าเสมอ
คำแนะนำในการทานยากันชัก
สม่าเสมอต่อเนื่องตามเวลา ห้ามหยุด/เพิ่ม/ลดยาเอง
ถ้าลืมรับประทานยากันชักทาอย่างไร
เมื่อไม่สบายไม่ควรซื้อยาทานเอง
ถ้าทานยาแล้วอาเจียนภายในครึ่งชั่วโมง ให้ทานยาซ้าในขนาดเดิม ถ้าเกินครึ่งชั่วโมงไม่ควรให้ยาซ้าอีก
ลืมข้ามวันไม่มีอาการชักให้ทานยาต่อไป
ลืมข้ามวันแล้วมีอาการชัก ให้ไปพบแพทย์
ด้านการขับถ่าย
ทาความสะอาดผิวหนังทุกครั้งหลังปัสสาวะและอุจจาระ
เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือกางเกงทุกครั้งที่เด็กขับถ่าย
ประเมินบริเวณหน้าท้อง เพื่อตรวจสอบว่ากระเพาะปัสสาวะตึงหรือไม่
ถ้ามีสายสวนปัสสาวะ ควรดูแลความสะอาดให้เพียงพอ
ให้ยาระบาย เพื่อป้องกันอาการท้องผูกตามแผนการรักษา
ได้รับน้าอย่างเพียงพอและสอดคล้องกับแผนการรักษา
เป้าหมาย : ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
ภาวะแทรกซ้อนระบบหายใจ
ไม่ให้ผู้ที่มีอาการติดเชื้อทางระบบหายใจ เข้าไปใกล้ชิดเด็ก
ก่อนและหลังสัมผัสเด็ก ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง ยกเว้นเด็กที่มีปัญหาความดันในสมองสูง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับปอด เช่น ปอดอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับตา
สังเกตและประเมินอาการที่บ่งชี้ว่า จะมีการระคายเคืองหรือการอักเสบของตา
อาจต้องใช้ผ้าปิดตา (eye pad) เพื่อไม่ให้ตาแห้ง
ถ้าตาแห้ง อาจต้องใช้น้าตาเทียม (artificial tears) หยอด
ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง
ดูแลผิวหนังให้สะอาดและชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เช่น ศีรษะส่วนท้ายทอย แนวกระดูกสันหลัง ส้นเท้า
ควรทาครีมบารุงผิวหนัง (lotion) และนวดผิวหนังทุกวันเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
หมั่นเปลี่ยนท่านอน หรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดแผล กดทับ
ดูแลบริเวณอวัยวะเพศภายนอก ฝีเย็บ (perineum) และทวารหนักให้สะอาด โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายทุกครั้ง
ประเมินสภาพผิวหนังเป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบว่ามีความผิดปกติของผิวหนังหรือไม่
เป้าหมาย : ครอบครัวได้รับความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับความเจ็บป่วย
รับฟังปัญหาของครอบครัวอย่างตั งใจ และอดทน
ตอบคาถามที่ครอบครัวต้องการทราบอย่างชัดเจน
ประเมินความต้องการข้อมูลของครอบครัว
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งความช่วยเหลือที่ครอบครัวต้องการ
ให้กาลังใจและประคับประคองด้านจิตใจแก่ครอบครัว
แนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
การพักผ่อนให้เพียงพอ
สุขวิทยาทั่วไป ระบบขับถ่าย ระวังท้องผูก
การออกกาลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการออกกาลังกายที่หักโหมที่จะกระตุ้นให้อาการกาเริบ
มาตรวจสุขภาพตามนัดทุกครั้งหากมีอาการผิดปกติมาก่อนนัด เช่น มีอาการชักมากขึ้นทั้งที่ไม่ขาดยา
รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
แพทย์สั่งเจาะเลือดหาระดับยากันชัก แนะนางดยากันชักมื้อเช้าก่อนเจาะเลือด