Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Behavioral Disorders - Coggle Diagram
Behavioral Disorders
เกณฑ์การวินิจฉัย
A. มีลักษณะการดำเนินชีวิตที่แตกต่างไปจากบุคคลอื่นที่อยู่ในวัฒนธรรมเดียวกัน โดยมีอาการอย่างน้อย 2 จาก 4 กลุ่มต่อไปนี้
1.Cognitive มีการรับรู้เกี่ยวและเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่นและเหตุการณ์ที่คลาดเคลื่อนแตกต่างไปจากความเป็นจริงที่ผู้อื่นรับรู้
2.Affectively มีการตอบสนองทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม ไม่มั่นคงซึ่งอาจมากหรือน้อยเกินไป
3.Interpersonal function มีปัญหาด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น
4.Impulse control มีพฤติกรรมที่หุนหันพลันแล่น ขาดการควบคุมพฤติกรรมที่เหมาะสม
B. ลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา ขาดความยืดหยุ่นตามสถานการณ์
C. ลักษณะดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาที่ชัดเจนในการทำงาน การใช้ชีวิตในสังคม หรือกิจกรรมอื่นๆที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน
D. ลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นสม่ำเสมอและต่อเนื่องยาวนาน โดยลักษณะอาการดังกล่าวเริ่มเป็นมาตั้งแต่วัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
E. ลักษณะอาการดังกล่าวไม่ใช่อาการของโรคทางจิตเวช หรือไม่เกิดขึ้นหลังจากเป็นโรคทางจิตเวช
F. ลักษณะอาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการใช้สาร ยารักษาโรค หรือโรคทางกาย
-
Sleep-Wake Disorders
Insomnia disorder อาการหลักของโรคนอนไม่หลับ ได้แก่ หลับยากเมื่อเข้านอน (Difficulty initiating sleep) นอนหลับไม่สนิท หรือตื่นขึ้นบ่อยๆ กลางดึก (Difficulty maintaining sleep) หรือมีการตื่นเร็วกว่าปกติ (Early morning awakening) ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับมานานอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน มีอาการอย่างน้อย 3 คืนต่อสัปดาห์ การบำบัดรักษาและการช่วยเหลือ 1) พิจารณาหาสาเหตุของการนอนไม่หลับ 2) การบำบัดโดยใช้การปรับพฤติกรรมโดยยึดแนวคิดของหลักสุขอนามัยของการนอน การทำพฤติกรรมบำบัด เช่น เทคนิคการผ่อนคลาย ,การใช้การบำบัดแนวปรับความคิด, การบำบัดโดยการควบคุมสิ่งเร้า, การนอนหลับแบบจำกัดเวลานอน ใช้การบันทึกระยะเวลานอน (Sleep diary)
Hypersomnolence disorder ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการง่วงนอนในตอนกลางวันเป็นอย่างมาก หรือนอนหลับมากกว่าปกติ แต่จะรู้สึกว่านอนไม่พอ ไม่สุดชื่นทั้งที่ได้นอนหลับในช่วงกลางคืนอย่างเต็มที่ (มากกว่า 7 ชั่วโมงขึ้นไป) การบำบัดรักษาและการช่วยเหลือ 1) พิจารณาสาเหตุแล้วจึงแก้ไขตามสาเหตุ 2) ดูแลเรื่องความปลอดภัย เพราะการนอนมากหรือง่วงตลอดเวลามีความสัมพันธ์กับการขาดสมาธิและปัญหาด้านความจำ
Narcolepsy จะมีอาการง่วงนอนที่มากเกิน ไม่สามารถต้านทานความง่วงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้ โดยเกิดภาวะง่วงหลับในช่วงของ REM sleep ในขณะกำลังตื่นอยู่ เช่น ขณะกำลังรับประทานอาหาร กำลังสนทนา หรือขณะกำลังขับรถ เป็นด้น ลักษณะอาการสำคัญของโรคนี้ คือ ผู้ป่วยง่วงนอนและหลับ โดยจะเกิดขึ้นซ้ำๆ ใน1 วัน เป็นการง่วงที่ยากจะฝืน เกิดขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอาการมากกว่า 3 เดือน
Restless legs syndrome ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความรู้สึกไม่สบายที่ขาทั้งข้าง โดยเฉพาะนั่งหรือนอนพัก ทำให้ต้องขยับขาเพื่อบรรเทาอาการทางประสาทสัมผัสที่ผิดปกติ
Circadian rhythm sleep-wake disorder
- Delayed Sleep Phase Type คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกง่วงช้ากว่าคนทั่วไป
- Advanced Sleep Phase Type คือ ผู้ป่วยง่วงนอนและตื่นเร็วกว่าคนทั่วไป
- Irregular Sleep-Wake Type โดยจะนอนเป็นช่วงสั้นๆกระจายอยู่ในเวลา 24 ชั่วโมง - Shift Work Type คือ มีปัญหานอนไม่หลับ รู้สึกไม่สดชื่น
Breathing-Related sleep disorder เป็นการหยุดหายใจชั่วขณะระหว่างหลับ มีการหยุดหายใจในระยะสั้นๆ ประมาณ 10-60 วินที อาจเป็นหลายครั้งในหนึ่งคืน สัญญาณที่บ่งบอกว่ามีการหายใจผิดปกติ คือการกรน การหยุดหายใจเป็นช่วงๆ
Rapid eye movement sleep behavior disorder ปกติในช่วง REM กล้ามเนื้อจะมีผ่อนคลาย ระบบกาทำงานจะลดลงจนถึงหายไป แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้กล้ามเนื้อจะไม่ผ่อนคลาย จะมีการเคลื่อนไหวของร่างกายตามความฝัน เช่น เกิดการเตะ การต่อย หรือวิ่งลงจากเตียง ขบเขี้ยวเคียวพันขณะหลับ โขกศีรษะขณะหลับ เป็นต้น
Nightmare disorder ในช่วงของ REM seep จะสามารถจดจำความผันที่เกิดขึ้นได้ หากผู้ป่วยถูกปลุกให้ตื่นช่วงนี้จะไม่สับสนสามารถถูกปลุกได้ง่าย
Nightmare disorder ในช่วงของ REM seep จะสามารถจดจำความผันที่เกิดขึ้นได้ หากผู้ป่วยถูกปลุกให้ตื่นช่วงนี้จะไม่สับสนสามารถถูกปลุกได้ง่าย
Substance/Medication induced sleep disorder เกิดจากการที่ผู้ป่วยใช้สารหรือยาที่มีฤทธิ์ทำให้นอนไม่หลับ
Sexual Disorders
Sexual dysfunction
เกณฑ์การวินิจฉัย
Delayed Ejaculation ภาวะหลั่งช้า เป็นอาการใดอาการหนึ่ง ได้แก่
1)หลังอสุจิช้าอย่างชัดเจน
2)ไม่สามารถหลั่งอสุจิได้ ทั้งๆ ที่มีการกระตุ้นและมีความรู้สึกตื่นตัวทางเพศอย่างเพียงพอ
Erectile Disorder เป็นอาการใดอาการหนึ่ง ได้แก่
1) อวัยวะเพศชายไม่มีการแข็งตัว
2) ไม่นานพอในระหว่างกิจกรรมทางเพศ
3) แข็งตัวไม่เต็มที่ มีการลดลงของการแข็งตัวของอวัยวะเพศอย่างเห็นได้ชัด พบว่ามีความสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น
Female Orgasmic Disorder เป็นอาการใดอาการหนึ่ง ได้แก่
1) ไม่เกิดความรู้สึกถึงจุดสุดยอด หรือ
2) รู้สึกลดลงอย่างมากขณะมีเพศสัมพันธ์ ทั้งๆที่มีการกระตุ้นทางเพศอย่างเพียงพอ
Female Sexual Interest/Arousal Disorder เป็นกลุ่มอาการที่เพศหญิงมีความสนใจในกิจกรรมทางเพศลดลง หรือไม่มีความสนใจหรือมีความรู้สึกตื่นตัวทางเพศ โดยแสดงออกอย่างน้อย 3 อาการ ดังนี้
1)การไม่มีหรือลดลงของความสนใจในกิจกรรมทางเพศ 2) การไม่มีหรือลดลงของจินตนาการทางเพศ
3) การไม่มีหรือลดลงของการเริ่มตันกิจกรรมทางเพศ
4) การไม่มีหรือลดลงของความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศ
5) การไม่มีหรือลดลงของความสนใจ/ความรู้สึกตื่นต้นทางเพศในการตอบสนองต่อสัญญาณทางเพศ
6)การไม่มีหรือลดลงของความรู้สึกตื่นตัวที่อวัยวะเพศ Genito-Pelvic pain/Penetration Disorder เป็นกลุ่มอาการที่เพศหญิงมีบัญหา โดยจะมีอาการอย่างน้อย 1 อาการที่
1) มีความยากลำบากในการสอดใส่ทางช่องคลอดไม่ว่าจะเป็น Sexual Intercourse หรือการตรวจภายใน
2) เจ็บบริเวณอวัยวะเพศหรือซ่องท้องส่วนล่างเมื่อมีความพยายามจะสอดใส่
3) มีความรู้สึกกลัวต่อการสอดใส่หรือมีการเคร่งและตึงของกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือ
4) กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งชิงกรานเกิดการรัดเกร็งขณะพยายามสอดใส่ทางซ่องคลอด
Male Hypoactive Sexual Desire Disorder เป็นอาการที่เพศชายมีความต้องการทางเพศลดลงหรือไม่มีความต้องการ ไม่มีความคิดหรือจินตนาการเรื่องเพศ Premature (Early) Ejaculation เป็นอาการหลั่งอสุจิเร็วเกินไป คือมีการหลั่งตั้งแต่ก่อนสอดใส่หรือหลั่งภายในไม่เกิน 1 นาทีหลังสอดใส่ และเกิดขึ้นก่อนที่บุคคลนั้นต้องการ
Substance/Medication-Induced Sexual Dysfunction เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติในด้านเพศโดยมีความเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาของการใช้ยาหรือสารเสกติด ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นใช้ยา การปรับขนาดยา หรือการหยุดใช้ยา
หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย (ร่วม) ตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ DSM-5 แบ่งเป็น
- มีอาการต่อเนื่องติดต่อกันนาน 6 เดือนขึ้นไป
- อาการดังกล่าวต้องเกิดเป็นส่วนใหญ่ 75%ขึ้นไป
- อาการดังกล่าวส่งผลให้เกิดความตึงเครียด ทุกข์ทรมาน
- ไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางร่างกาย
การพยาบาล
- การช่วยเหลือด้านร่างกาย
– การหลีกเลี่ยงการใช้สารที่ส่งผลต่อสมรถภาพทางเพศ – กรณีที่ยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศให้ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนยา
– การใช้ยาบางชนิดเพื่อช่วยในเรื่องการแข็งตัว
– การผ่าตัด
– การใช้อุปกรณ์ต่างๆ
- การช่วยเหลือด้านจิตสังคม ได้แก่
– สนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้สำรวจความรู้สึกของตนเองกับปัญหาที่เกิดขึ้น
–ให้ความรู้ ปรับทัศนคติ และฝึกทักษะหรือเทคนิคที่จำเป็นต่างๆ
– การทำพฤติกรรมบำบัดแบบลดความวิตกกังวลอย่างเป็นระบบ
– การบำบัดคู่สมรส
– การทำจิตบำบัดแบบปรับความคิดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (CBT)
Gender dysphoria
การวินิจฉัยและอาการ
- มีการแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความไม่สอดคล้องกันของเพศที่แสดงออกหรือเพศที่ต้องการเป็นกับเพศที่ถูกกำหนดมาหรือเพศที่เป็นอยู่ โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- ภาวะในข้อ 1 ส่งผลให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกทุกข์อย่างมากหรือทำให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ทางสังคม การงาน/การเรียน หรือหน้าที่สำคัญอื่นๆ
การพยาบาล
- ให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาทางเพศของผู้ป่วย
- เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยพูดระบายความรู้สึก และได้ชักถามปัญหา - ช่วยให้ผู้ป่วยรู้จัก เข้าใจตนเอง ยอมรับอารมณ์และความต้องการที่แท้จริงของตนเอง
- ทำจิตบำบัดรายบุคคล และครอบครัวบำบัด
- ส่งเสริมให้มีทักษะการเผชิญกับปัญหาที่เหมาะสม
- ประเมินความต้องการในการตัดแปลงเพศ
Paraphilic Disorders
การวินิจฉัยและอาการ
- Anomalous Activity Preferences ความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นจากลักษณะของกิจกรรมที่ทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศ
a. Voyeurism การแอบดูผู้อื่นเปลือยกาย
b. Exhibitionism การเกิดอารมณ์ทางเทศโดยการอวดอวัยวะเพศให้คนแปลกหน้าเพศตรงข้าม
c. Frotteuism การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการถูไถอวัยวะเพศกับเพศตรงข้ามที่ยังสวมเสื้อผ้าและไม่ได้ยินยอม
d. Sexual masochism การเกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อตนเองได้รับความเจ็บปวด/คิดความทุกข์ทรมาน
e. Sexual sadism การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดหรือเกิดความทุกข์ทรมานทางกายหรือจิตใจ
- Anomalous Target Preferences ความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นจากลักษณะของเป้าหมายที่มีกิจกรรมทางเพศด้วย
a. Pedophilia การเกิดอารมณ์ทางเพศกับเด็ก (อายุไม่เกิน 13 ปี)
b. Fetishism การเกิดอารมณ์ทางเพศกับวัตถุหรืออวัยวะที่ไม่ได้ใช้เพื่อกิจกรรมทางเพศ
c. Transvestic fetishism การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการสวมใส่เครื่องแต่งกายของเพศตรงข้าม
- Other specified paraphilic disorder
a. โทรศัพพ์ลามก (Telephone scatophillia)
b. เพศสัมพันธ์ระหว่างบุคคลร่วมสายโลหิต (incest)
c. การมีเพศสัมพันธ์กับศพ (Necrophilio)
d. การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ (Zoophilio)
e. เวจกาม (Coprophiio)
f. บัสสาวะรดกาม (Urophiio)
การพยาบาล
- การช่วยเหลือทางด้านร่างกาย การใช้ยา เช่น กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น Depo-Provera (medroxyprogesterone acetate), Lupron Depot (leuprolide) ยากลุ่ม SSS, Anticonvulsant
- การช่วยเหลือทางด้านจิตสังคมสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้โดยการระบุเกี่ยวกับความคิดที่บิดเบือนช่วยให้ผู้ป่วยสามารถบอกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และวิธีการแสดงออกในกิจกรรมทางอย่างเหมาะสม