Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด (Amniotic fluid…
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
(Amniotic fluid embolism/AFE)
ภาวะที่มีน้ำคร่ำผ่านเข้าสู่กระแสเลือดของมารดา ทำให้เกิดภาวะล้มเหลวของการทำงานของระบบหายใจ ระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต ระบบการแข็งตัวของโลหิต ช็อคและเสียชีวิตในที่สุด
ภาวะฉุกเฉินทางการคลอดที่มีลักษณะเฉพาะสามประการ
ภาวะความดันโลหิตต่ำ (hypotension) อย่างทันทีทันใด
ภาวะขาดออกซิเจน (hypoxia)
ภาวะความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด (consumptive coagulopathy)
ปัจจัยส่งเสริม
การเร่งคลอด โดยการใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ทารกตายในครรภ์ เป็นเวลานาน ทำให้มีการเปื่อยยุ่ย ขาดง่าย อาจเกิดการฉีกขาดของหลอดเลือด ทำให้น้้ำคร่ำเข้าสู่กระแสเลือด
การคลอดเฉียบพลัน
รกเกาะต่ำ
รกลอกตัวก่อนกำหนด
มดลูกแตก
น้ำคร่ำมีขี้เทาปน
การเจาะถุงน้ำคร่ำ
พยาธิสรีรวิทยา
ส่วนประกอบของน้ำคร่ำจะผ่านเข้าสู่กระแสเลือดของผู้คลอด เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของผู้คลอด ผ่านเข้าสู่หัวใจและปอด ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดฝอยในปอด ทำให้หลอดเลือดเกิด การหดเกร็ง เลือดที่ไหลผ่านปอดมาสู่หัวใจซีกซ้ายลดลงทันทีทันใด ทำให้เลือดที่จะถูกบีบออกจากหัวใจข้างซ้ายลดลงทันที เกิดภาวะช็อคจากหัวใจ (cardiogenic shock) ความดันในหลอดเลือดปอดสูงขึ้น เกิดเลือดคั่งในปอด ส่งผลให้หัวใจซีกขวาไม่สามารถบีบตัวดันเลือดให้ผ่านปอดได้ เนื่องจากภายในปอดมีแรงดันสูง จึงเกิดภาวะปอดบวมน้ำตามมา ปฏิกิริยาต่อต้านทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดในปอดลดลง ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในหลอดเลือดแดง และ ตามมาด้วยภาวะการแข็งตัวของเลือดเป็นลิ่มเล็กๆ แพร่กระจายในหลอดเลือด (Disseminated intravascular clotting, DIC) ผู้คลอดจะเสียเลือดมากและเสียชีวิตในที่สุดจากภาวะระบบหายใจและระบบหัวใจล้มเหลว
อาการและอาการแสดง
หนาวสั่น (chill)
เหงื่อออกมาก
เกิดภาวะน้ำคั่งในปอด (pulmonary edema)
หายใจลำบาก (dyspnea) เกิดภาวะหายใจล้มเหลวทันทีทันใด เขียวตามใบหน้า และลำตัว (cyanosis)
เส้นเลือดที่หัวใจตีบ
ความดันโลหิตต่ำมาก (low blood pressure)
ชัก
ถ้าเกิดอาการนานกว่า 1 ชั่วโมง ผู้คลอดยังมีชีวิตอยู่จะเกิดภาวะกลไกการเข็งตัวของเลือดเสียไป และเกิดอาการตกเลือดอย่างรุนแรง
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดง
ระบบหายใจล้มเหลว (respiratory distress)
อาการเขียว
เส้นเลือดหัวใจหดเกร็ง (cardiovascular collapse)
เลือดออก
ไม่รู้สติ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาเซลล์ผิวหนัง ขนอ่อน (lanugo hair) เมือกของทารกหรือเซลล์จากรก (fetal squamous cell, fetal debris, trophoblasts)
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก พบลักษณะ pulmonary edema
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) จะพบลักษณะ tachycardia STและ T wave เปลี่ยนแปลง
ตรวจการไหลเวียนของเลือดในปอดอาจพบ (perfusion defect)
การตรวจหา Sialy 1TH antigen จะพบมีระดับสูงขึ้นในน้ำคร่ำที่มีขี้เทาปนเปื้อน
ผลกระทบต่อมารดา
ทำให้ผู้คลอดเสียชีวิตจากการเสียเลือด ช็อค ถ้ามีผู้รอดชีวิตมักมีอาการทางระบบประสาท เนื่องจากมีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง
ผลกระทบต่อทารก
มารดาที่หัวใจและปอดหยุดทำงาน โอกาสรอดของทารกมีค่อนข้างน้อย ทารกที่รอดชีวิตจะมีภาวะบกพร่องทางระบบประสาท
การป้องกัน
ขณะเจ็บครรภ์คลอด ไม่ควรเร่งให้มดลูกหดรัดตัวถี่เกินไป
การเจาะถุงน้ำควรทำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ถูกปากมดลูก
ในรายที่เด็กตายในครรภ์โดยใช้ Oxytocin drip ควรทำอย่างระมัดระวัง ดูอาการหดรัดตัวของมดลูกอย่างใกล้ชิด
ไม่ควรกระตุ้นการเจ็บครรภ์โดยวิธีเลาะแยกเยื่อถุงน้ำคร่ำ
(stripping membranes)
ในรายที่มีภาวะรกเกาะต่ำ การตรวจภายในควรจะกระทำอย่างระมัดระวัง
การรักษา
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยจัดให้นอน Fowler ‘ s position ให้ออกซิเจน 100%
ดูแลระบบการไหลเวียนเลือด เพื่อแก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ำ โดยการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มปริมาตรเลือด พลาสมา และสารไฟบริโนเจน
ดูแลการหดรัดตัวของมดลูก โดยให้ยา oxytocin หรือ methergin ทางหลอดเลือดดำ
ถ้าทารกยังไม่คลอด ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารก เละรีบให้การช่วยเหลือโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องอย่างเร่งด่วน
เจาะเลือดเพื่อประเมินความเข้มข้นของเลือดและการแข็งตัวของเลือด
รักษาภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (DIC) โดยให้ยา Heparin
ประเมินการเสียเลือดทางช่องคลอด
การพยาบาล
เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
มีภาวะชักเกร็งโดยไม่มีภาวะความดันโลหิตสูงมาก่อนมีภาวะเขียวทั่วทั้งตัว หรือเริ่มเขียวเป็นบางส่วนของร่างกาย
จัดให้มารดานอนในท่า fowler
ให้ออกซิเจน
เฝ้าระวังการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก
เตรียมช่วยเหลือการคลอดโดยคีมหรือผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
เตรียมช่วยฟื้นคืนชีพ ในรายที่เกิดหัวใจล้มเหลว (cardiac arrest)