Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้และทักษะการสื่อสารในการปฏิบัติพยาบาล, 1F83EEFD-12EA-4974-9121…
ความรู้และทักษะการสื่อสารในการปฏิบัติพยาบาล
ความหมาย
การแลกเปลี่ยน และร่วมกันรับรู้เรื่องราวข่าวสารต่างๆ โยมีความเข้าใจร่วมกันต่อสัญลักษณ์ที่แสดงเรื่องราวข่าวสารนั้นๆลักษณะการสื่อสารที่ดีในการสื่อสารของ
ความสำคัญ
เป็นปัจจัยสําคัญในการดํารงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะสังคม มนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคม จึงดําเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการ ทางการสื่อสาร
ก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง วิถีชีวิตของผู้คน ช่วย ธํารงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
เป็นปัจจัยสําคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทาง สังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ
ประเภทของการสื่อสาร
Verbal Communication
เป็นข้อมูลที่แสดงออกโดยการพูดและเขียน
เป็นการสื่อให้เข้าใจง่ายและชัดเจน
ผู้ส่งข่าวอาจจะปิดความรู้สึก หรือบรรยายความรู้สึกออกมาไม่ได้
Nonverbal Communication
เป็นการแสดงกิริยาท่าทาง การเคลื่อนไหว
สัมผัส แสดงออกทางสีหน้า น้ำเสียงที่ใช้ การประสานสายตา
สามารถแสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ
ที่ไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดและการเขียนได้
ปัจจัยสำคัญและอุปสรรคที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในการปฎิบัติการพยาบาล
ปัญหาและอุปสรรคท่ีเกิดจากผู้ส่งสาร
1.1 ผู้ส่งสารมีความรู้ความเข้าใจและมีข้อมูลเกี่ยวกับสารไม่เพียงพอที่จะสื่อสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดพลาด เกิดความลังเลไม่แน่ใจ หรือได้รับข้อมูลผิดๆ ไปโดยไม่รู้ตัว
1.2 ผู้ส่งสารขาดวิธีการ รูปแบบ ในการถ่ายทอดหรือการนาเสนอที่ดี การใช้กลวิธี ในการถ่ายทอดหรือนาเสนอที่ดีที่เหมาะสมจะทาให้ผู้รับสารเกิดความสนใจ กระตือรือร้น และรับสาร ได้ถูกต้องรวดเร็วขึ้น
1.3 บุคลิกภาพของผู้ส่งสาร หากผู้ส่งสารมีบุคลิกภาพที่ดี เช่น แต่งกายดี ใช้น้ำเสียง น่าฟัง มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ย่อมช่วยปลุกเร้าให้ผู้รับสารเกิดความสนใจที่จะรับสารมากยิ่งขึ้น
1.4 ทัศนคติของผู้ส่งสาร หากผู้ส่งสารมีทัศนคติท่ีดีต่อท้ังตนเอง ทั้งต่อผู้รับสาร ย่อมช่วยให้การสื่อสารเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ
ปัญหาและอุปสรรคท่ีเกิดจากสาร
สารที่ส่งออกไปยากเกินไปสาหรับผู้รับสาร เช่น อาจเป็นเรื่องที่ผู้รับสารไม่เคยมี
ภูมิหลังมาก่อน หรือสารมีความซับซ้อน มีข้อมูลหรือการอ้างอิงท่ียุ่งยาก
สารขาดการจัดลาดับที่ดี ทาให้เกิดความสับสนและขาดความน่าสนใจได้
สารขัดกับค่านิยม ความเชื่อ หรือขัดต่อระบบความคิดของผู้รับสาร หรือแม้แต่
ระบบความคิดของผู้ส่งสารเอง เช่น กาหนดให้พูดในเรื่องที่ผู้ส่งสารไม่มีความศรัทธา ไม่มีความเช่ือถือ จะทำให้การพูดขาดความน่าสนใจและไม่มีชีวิตชีวา
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากสื่อหรือช่องทางการสื่อสาร
ภาษาพูด ภาษาเขียน อาจ ทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร สาเหตุของการใช้ภาษาพูด และภาษาเขียนไม่ชัดเจน เช่น ในการพูดมี การออกเสียงไม่ชัด การเลือกใช้คำในการสื่อสารที่ไม่ตรงกับความหมาย การแบ่งวรรคตอนหรือจังหวะ การพูดหรือเขียนสั้นเกินไปหรือยาวเกินไป เป็นต้น
ปัญหาในการสื่อสารนั้นอาจมีสาเหตุมาจาก ความ ไม่ชัดเจนของสื่อ เช่น รูปภาพ สัญลักษณ์ การทาสัญญาณ การเคลื่อนไหว
ปัญหาและอุปสรรคจากผู้รับสาร
ผู้รับสารไม่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูลหรือสารที่ตนได้รับ เช่น ไม่เคยได้ยิน
หรือได้ฟังมาก่อน หรือผู้รับสารมีความรู้ในระดับที่ต่างกัน เช่น ต่ำหรือสูงเกินไป
ผู้รับสารมีทัศนคติท่ีไม่ดี เช่น ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร ต่อตัวสาร
ซึ่งส่งผลทาให้ความสนใจของผู้รับสารลดน้อยลง และอาจจะไม่สนใจเลย
ผู้รับสารตั้งความคาดหวังไว้สูงเกินไป เช่น ผู้รับสารคาดหวังว่าจะได้รับฟังสาร
จากนักพูดท่ีมีชื่อเสียง แต่เมื่อถึงเวลาจริงไม่เป็นตามความคาดหวัง
เทคนิคที่สำคัญและจำเป็น
ฟังอย่างตั้งใจและใส่ใจ(listening actively)
การใช้ความเงียบ(use silence)
การสังเกตภาษากายของผู้รับบริการ(observe nonverbal behavior of the client)
การใช้คำและน้ำเสียง(tone and words)
การใช้คำพูดและภาษากายที่สอดคล้องกัน(be consistent)
การใช้คำถามปลายเปิด(ask open-ended questions)
การใช้ภาษาที่ผู้รับบริการสามารถเข้าใจ/ด้(use language understood by the patient)
การกล่าวซ้ำหรือทวนเนื้อความ (restating)
การสะท้อนความรู้สึก(reflecting)
การเน้นประเด็นใดประเด็นหนึ่ง (focusing)
การสำรวจหรือการค้นหา (exploring)
การใช้คำกล่าวกว้าง ๆ เพื่อเปิดประเด็น (giving board openings)
การกล่าวนำเพื่อให้ผู้รับบริการพูดต่อ (offering general leads)
การเรียงลำดับเหตุการณ์ (placing the event in time or sequence)
การแสดงน้ำเสียงสงสัย (Voicing doubt)
กระตุ้นให้ประเมินตนเอง (encouraging evaluation)
การแสดงความเห็นอกเห็นใจ (empathy)
เกณฑ์ตัดสินประสิทธิภาพการสื่อสาร
สมบูรณ์ (Complete) ข่าวสารควรมีความสมบูรณ์และเป็นจริงตามที่ผู้รับต้องการ ข่าวสารที่ไม่ สมบูรณ์มักทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนและสับสนได้ ผู้ส่งสารเป็นผู้รับผิดชอบ (ก่อนส่งสารออกไป ) ว่าข้อมูล ที่จะส่งมีความสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ
ชัดเจน (Clear) ข่าวสารที่ชัดเจน หมายถึง การใช้คำตรงไปตรงมา เหมาะสมกับสถานการณ์และ หลีกเลี่ยงคำที่มีความหมายกำกวม ซึ่งความชัดเจนในการสื่อสารทาให้ข่าวสารนั้นง่ายต่อการเข้าใจ และเพิ่ม ความหมายของข่าวสาร
ถูกต้อง (Correctness) ความถูกต้องในการสื่อสาร หมายถึง ถูกต้องทั้งตัวสะกดและถูกไวยากรณ์
สั้นกะทัดรัด (Concise) หมายถึง การตัดคำฟุ่มเฟือย สื่อสารเฉพาะสิ่งที่ต้องการสื่อสาร
เข้าใจ (Consideration) ความเข้าใจ บ่งชี้ถึงการเอาตัวเราเข้าไปในจิตใจของผู้อื่น การสื่อสารที่มี
ประสิทธิภาพจำเป็นต้องเข้าใจผู้รับสาร (มุมมองของผู้รับสาร ภูมิหลัง จิตใจ ระดับการศึกษา) ผู้ส่งสารควรพยายาม ทำความเข้าใจผู้ฟัง อารมณ์และปัญหาของผู้รับสาร รวมถึงให้ความนับถือโดยไม่ทำร้ายความรู้สึกของผู้รับสาร
มีมารยาท (Courtesy) มารยาทในการสื่อสารควรแสดงความรู้สึกรวมถึงให้ความนับถือผู้รับสาร โดยการใช้คำสุภาพ ไม่เลือกปฏิบัติสะท้อนความคิดเห็น
รูปแบบ/วิธีการ ในการสื่อสาร ในการปฏิบัติการพยาบาล
กระบวนการบริหารการพยาบาล
การนําองค์กร ซึ่งประกอบด้วย การนําการกําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ทิศทาง ผลการ ดําเนินงานที่คาดหวัง วิธีการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ โดยอาศัยการมีส่วนร่วม มีการกํากับตัวเองที่ดี มีการทบทวนผล การดําเนินงาน
การบริหารจัดการให้มีกําลังคนที่เหมาะสม เพียงพอต่อการให้บริการที่มีคุณภาพความเครียด
หรือความเร่งรีบในการปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่ขาดกําลังคน ทำให้กระบวนการสื่อสารมีประสิทธิภาพลดลง
การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านพยาธิ สรีรวิทยา ตลอดจนสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมที่มี ผลต่อสุขภาพ เพื่อทําให้พยาบาลเข้าใจ บริบทของผู้ใช้บริการได้ และทําให้กระบวนการสื่อสารมีเป้าหมาย สามารถ วางแผนการสื่อสารให้ตรงกับปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่มได้ดีขึ้น
การสนับสนุนการฝึกทักษะการสื่อสารของพยาบาล ในลักษณะการสื่อสารเชิงวิชาชีพซึ่ง สามารถใช้ทฤษฎีของคิง
การเป็นแบบอย่างที่ดีในการสื่อสาร ของผู้บริหารในทุกระดับ การสร้างต้นแบบ ที่จะสื่อแสดง ถึงค่านิยม วัฒนธรรมที่พึงปรารถนา และนําไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ได้ผลงานที่มีคุณภาพ
กระบวนการปฏิบัติการพยาบาล
พัฒนาความรู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งพยาธิ สรีรวิทยา ความก้าวหน้าทางวิชาการพยาบาลและ ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง [พึงระลึกไว้เสมอว่าการศึกษาหาความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด
ฝึกทักษะการสื่อสาร ทั้งการใช้อวจนภาษา และวนจภาษา การมองโลกในแง่ดี การให้ ความสําคัญแก่ผู้รับสาร ซึ่งจะมีผลต่อการสื่อสาร โดยเฉพาะอวจนภาษาที่อาจตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจได้
ใช้กระบวนการพยาบาล โดยยึดหลักการสร้างสัมพันธภาพที่ดี นอกจากปรับใช้ความรู้ที่ เกี่ยวข้องในการประเมิน การเฝ้าระวัง การวางแผน การประเมินผลแล้ว ควรฝึกการปฏิบัติการเปิดโอกาส หรือการ กระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการ
ประเมินผลทั้งทักษะ ทัศนคติ ของตนเอง ทีมงาน และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ทั้งที่ เกิดจากการสื่อสาร หรือมีผลต่อการสื่อสาร
ลักษณะการสื่อสารที่ดี
ในการสื่อสารของพยาบาล
มีความคิดที่กระจ่างชัด ก่อนมีการสื่อความหมาย
มีวัตถุประสงค์ของการสื่อความหมายที่แน่ชัด
มีเนื้อหาถ้อยคำการออกเสียงที่ดี และถูกต้องตามวรรคตอนในการสื่อความหมาย
กริยาท่าทาง(body language) ต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับการสื่อความหมายนั้นๆ
คำนึงถึงสภาพของสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมของผู้กำลังจะมีการสื่อความหมายด้วยกัน
ใช้ Two way communication
ในการสื่อความหมาย
two way communication คือ การสื่อสารสองทาง การที่ผู้ส่งและผู้รับสามารถโต้ตอบกันได้ในสื่อกลางเดียวกัน เรียกว่าDuplex
ข่างสารที่ส่งออกไปต้องมีความหมายและมีความสำคัญ
ผู้สื่อความหมายต้องเป็นผู้ฟังที่ดี
จริยธรรมการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาล/วิชาชีพพยาบาล
การพิทักษ์สิทธิ(Advocacy)
พยาบาลทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิ์ของผู้ป่วย
พยาบาลเป็นผู้ช่วยผู้ป่วยในการค้นหาความต้องการของตนเองและช่วยให้ความต้องการได้รับการตอบสนอง
พยาบาลพิทักษ์คุณค่าความเป็นมนุษย์และทำหน้าที่ไม่ให้มีการล่วงละเมิดศักดิ์ศรี ความเป็นส่วนตัวและทางเลือกของผู้ป่วย
หน้าที่ความรับผิดชอบ (Accountability)
เพื่อประเมิณผลการปฏิบัติแบบใหม่และประเมิณผลการปกิบัติที่กระทำอยู่อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
เพื่อคงไว้ซึ่งมาตรบานการดูแลสุขภาพ
เพื่อทำให้การแสดงออกซึ่งความเห็นส่วนตัว ความคิดเห็นทางจริยธรรมและหระบวนการพัฒนาตนเองในเรื่องวิชาชีพสุขภาพง่ายขึ้น
เพื่อกำหนดหลักตัดสินในเชิงจริยธรรม
ความร่วมมือ (Coperation)
การทำงานกับบุคคลอื่นที่มีเป้าหมายร่วมกัน
การมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
เสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว เพื่อให้ความสัมพันธ์ในวิชาชีพยั่งยืน
ความเอื้ออาทร (Caring)
การไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย
การให้ความเคารพผู้ป่วย
การเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย
ความเป็นกันเองกับผู้ป่วย
ตัวอย่าง:
ผู้รับบริการ: ดิฉันพึ่งมาโรงพยาบาลเป็นครั้งแรก อยากขอทำบัตรคนไข้ใหม่ค่ะ
พยาบาล: ได้ค่ะกรุณากรอกชื่อและข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณในแบบสอบถามนี้ด้วยค่ะ ถ้าไม่เข้าใจ หรือ ต้องการความช่วยเหลือ กรุณาบอกนะคะ
ผู้รับบริการ: ขอโทษค่ะ ห้องคุณ ก อยู่ที่ไหนคะ
พยาบาล: รอสักครู่ค่ะจะตรวจดูให้ อืม…เจอแล้วค่ะ
คุณ ก อยู่ห้อง 123 ชั้นที่ 2 ค่ะ เดินขึ้นบันไดทางขวามือนี้ได้เลยค่ะ