Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory), นางสาวดาวรรณ วรรณพงษ์ เลขที่ 26…
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning Theory)
1) พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
2.พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่วาง เงื่อนไขกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ จะหยุดลงเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติและจะกลับปรากฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
3) มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning Theory)
1) พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2) เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Operant Conditioning Theory)
1) การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด
2) การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
3) การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
4) การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อกระทำพฤติกรรมที่ต้องการ สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได
ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงปัญญาสังคม
(Social cognitive learning theory)
1) กระบวนการให้ความสนใจ (Attention process)
ความสนใจของบุคคลที่มีต่อตัวแบบจะนำไปสู่พฤติกรรมที่จะเลือกกระทำตามตัวแบบหรือพฤติกรรมที่ต่างไปจากตัวแบบ ซึ่งความสนใจของบุคคลจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีตและสภาพแวดล้อม
2) กระบวนการจดจำ (Retention process)
บุคคลจะมีการจดจำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากตัวแบบใน 2 ลักษณะ
ภาพในใจ (Imaginary)
คำพูด (Verbal)
4) กระบวนการจูงใจ (Motivation process)
ในการเรียนรู้จากตัวแบบบุคคลมีความคาดหวังที่จะได้รับความพึงพอใจ ซึ่งความคาดหวังนี้ทำให้บุคคลเลือกที่จะกระทำตามพฤติกรรมของตัวแบบต่อไป โดยบุคคลจะเลือกแสดงออกในพฤติกรรมที่ได้เรียนรู้จากตัวแบบแล้วได้รับผลตอบสนองเป็นที่น่าพึงพอใจเท่านั้น
3) กระบวนการแสดงออก (Motor reproduction process)
บุคคลสามารถแสดงออกจากการให้ความสนใจและการจดจำตัวแบบ
แสดงพฤติกรรมออกมาแล้วได้รับการตอบสนองที่เป็นที่พึงพอใจก็จะดำเนินพฤติกรรมนั้นต่อไป
แสดงพฤติกรรมออกมาแล้วแต่ไม่ได้รับการตอบสนองที่น่าพอใจก็จะไม่แสดงพฤติกรรมนั้นอีก
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1) ตัวแบบจากชีวิตจริง (Live model)
หมายถึง ตัวแบบที่เราเผชิญในชีวิตจริง เช่น บิดา มารดา ญาติ พี่ น้อง ครู และเพื่อน เป็นต้น
2) ตัวแบบสัญลักษณ์ (Symbolic model)
หมายถึง ตัวแบบที่เราเห็นผ่านสื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
3) ตัวแบบในรูปคำสอน (Verbal description or instruction)
หมายถึงการพูดหรือ การบอกทางวาจา หรือเป็นคำสอนในภาษาเขียน
นางสาวดาวรรณ วรรณพงษ์ เลขที่ 26 ห้อง 2B รหัสนักศึกษา 613601134