Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด
การเปลี่ยงแปลงระบบสืบพันธุ์
ช่องคลอด และฝีเย็บ
ช่องคลอดหลังคลอดจะแคบลง รอยย่น (rugae) จะเริ่มปรากฏภายใน 3 สัปดาห์ แต่ยังไม่เด่นชัดเหมือนภาวะปกติ เยื่อบุผนังช่องคลอดจะเริ่มหนาตัวขึ้นภายใน 4 – 6 สัปดาห์หลังคลอด (มักเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการกลับมาของการผลิตเอสโตรเจนจากรังไข่) ส่วน hymen จะฉีกขาดและหดตัวกลายเป็นติ่งเนื้อเยื่อที่เรียกว่า myrtiform caruncles
การเปลี่ยนแปลงเต้านม
ในระยะหลังคลอดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนจะลดระดับลง ทำให้โปรแลคตินสามารถออกฤทธิ์ในการสร้างน้ำนมได้ถึงแม้จะมีระดับลดลงเช่นเดียวกัน การดูดนม (suckling) จะทำให้ระดับโปรแลคตินเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างน้ำนมใหม่ขึ้นมาเพื่อเก็บไว้ นอกจากนี้ยังกระตุ้นการหลั่งออกซิโตซินให้มีการหลั่งน้ำนม หากไม่มีการดูดนมระดับโปรแลคตินจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 7 วันหลังคลอด หากมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับโปรแลคตินจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 4 – 6 เดือนหลังคลอด
ปากมดลูก
ปากมดลูกหลังคลอดจะมีขนาดเล็กลง ในวันที่ 2 – 3 หลังคลอดจะมีขนาดประมาณใส่นิ้วได้ประมาณ 2 นิ้ว หลังจากนั้นประมาณปลายสัปดาห์แรกจะไม่สามารถใส่นิ้วได้ โดย external os จะมีรอยฉีกขาดด้านข้างเรียกว่า parous os ส่วน lower segment ของมดลูกจะหดเล็กลงเป็นส่วน isthmus อยู่ระหว่างตัวมดลูกกับปากมดลูกส่วน internal os
มดลูก
หลังจากรกคลอดครบมดลูกจะหดรัดตัว ระดับยอดมดลูกจะลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่าสะดือ ผนังกล้ามเนื้อมดลูกด้านหน้าและด้านหลังจะมาอยู่ชิดกัน แต่ละด้านหนาประมาณ 4 – 5 ซม.
2สัปดาห์หลังคลอดมดลูกจะลงไปอยู่ในอุ้งเชิงกรานไม่สามารถคลำได้จากหน้าท้อง
1 สัปดาห์หลังคลอดมดลูกจะอยู่กึ่งกลางระหว่างกระดูกหัวหน่าวกับสะดือ
วันที่ 1 – 2 หลังคลอดมดลูกจะอยู่ที่ระดับสูงกว่าหรือต่ำกว่าสะดือเล็กน้อยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเอ็นที่ยึดมดลูก
4 สัปดาห์หลังคลอดมดลูกจะมีขนาดเท่ากับขณะที่ไม่ตั้งครรภ์หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย การกลับเข้าสู่ภาวะปกติของมดลูกนี้เรียกว่า uterine involutio
อาการปวดมดลูก (Afterpain)
จากการหดรัดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อมดเกิดใน
หญิงครรภ์หลังส่วนในครรภ์แรกปกติจะไม่มีอาการปวดมดลูกเนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกยังมีความตึงตัวสูง
อาการปวดมดลูกปกติจะไม่เกิน
72 ชั่วโมง
ปวดมดลูกมีนานเกิน 72 ชั่วโมงอาจเกิดจากมีเศษรกค้างหรือมี
ก้อนเลือดค้างอยู่
เยื่อบุโพรงมดลูกและบริเวณรกเกาะ
ในระยะ 2 – 3 วันแรกหลังคลอด เยื่อบุโพรงมดลูกจะลดขนาดลงเหลือ ประมาณ 9 เซนติเมตร หรือ 1 ฝ่ามือ
น้้าคาวปลา (Lochia)
Lochia serosa
มีประมาณวันที่ 4 – 9
ลักษณะน้้าคาวปลาสีจะจางลงเป็นสีชมพูสีน้้าตาลหรือค่อนข้าง
เหลือง
Lochia rubra
มีลักษณะสีแดงคล้้าและข้นประกอบด้วยเลือด
ออกมาในระยะ 2 – 3 วันแรกหลังคลอด
Lochia alba
มีประมาณวันที่ 10
เป็นสีเหลืองจางๆหรือสีขาว
น้้าคาวปลาจะค่อยๆน้อยลง
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคมของมารดาในระยะหลังคลอด
ปรับเปลี่ยนบทบาทการเป็นมารดา
(taking-hold phase) ระยะกึ่งพึ่งพา
ระยะนี้เกิดขึ้นในช่วง 3-10 วัน ระยะที่เข้าสู่การพึ่งพากึ่งอิสระ มารดาจะมีความกระตือรือร้นกับการจัดการของตนเอง สามารถปฏิบัติกิจกรรมต่างๆอันเป็นภาระหน้าที่ของมารดาได้ ในระยะนี้มารดาจะสนใจอย่างมากในการเลี้ยงดูบุตร เริ่มซักถามถึงวิธีการเลี้ยงบุตร
(letting-go phase) ระยะพึ่งพาตนเอง
ระยะ 2 สัปดาห์หลังคลอด เป็นระยะพึ่งพาตนเอง ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่การเป็นมารดา สามารถที่จะดูแลตนเองและบุตร
ได้มากขึ้น เป็นระยะที่มารดารู้สึกเศร้าลึกๆ ต่อการสูญเสียสิ่งที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายคือบุตร และเริ่มยอมรับว่าบุตรเป็นบุคคลหนึ่งที่แยกออกจากตน
(the taking-in phase) ระยะพึ่งพา
ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอดโดยมารดาจะมีพฤติกรรมพึ่งพา ผู้อื่นมากที่สุดและไม่ต้องการทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ในระยะนี้มารดาจะสนใจแต่ความต้องการของตนเองในเรื่องการนอนหลับพักผ่อน การรับประทานอาหาร เพื่อทดแทนพลังงานที่เสียไปในการคลอดมากกว่าจะคิดถึงความต้องการของทารก ทั้งนี้เพราะมารดามีความไม่สุขสบายที่เป็นผลมาจากคลอดบุตรเช่น ปวดแผลฝีเย็บ ปวดมดลูก คัดตึงเต้านมปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก รวมทั้งตึงเครียดทางจิตใจ
ภาวะซึมเศร้าของมารดาหลังคลอด
2.ภาวะซึมเศร้าภายหลังคลอด (Postpartum Depression) วิตกกังวลและมีอาการย้ำคิดย้ำทำซึ่งหลายๆราย มีอาการรุนแรงจนรบกวนความเป็นอยู่และการเลี้ยงดูทารกมีอาการเป็นอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
3.โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis) มีอาการผุดลุกผุดนั่ง หงุดหงิด นอนไม่หลับ หลังจากนั้นอาการต่างๆที่เกิดขึ้นตามอย่างรวดเร็ว เช่นอารมณ์ซึมเศร้า อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว มีพฤติกรรมวุ้นวาย มีความคิดหลงผิดหรือความเชื่อผิดๆ รวมทั้งมีประสาทหลอน บางรายอาจมีอาการสับสนร่วมด้วย
1.อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum Blues) เป็นภาวะที่พบไดบ่อยที่สุดมารดาจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิด ร้องไห้มีความวิตกกังวลไปหมดทุกเรื่อง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ
การส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอด
การพยาบาลภายหลัง 24 ชั่วโมงหลังคลอด
การพักผ่อนในระยะหลังคลอด มารดาควรได้รับการพักผ่อนนอนหลับตอนกลางคืน 8 – 10 ชั่วโมงและควรได้รับการพักผ่อนในตอนบ่ายอย่างน้อยวันละ2 ชั่วโมง สังเกตการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจของ ผู้คลอดว่าซึมมีความวิตกกังวลหรือไม่เพราะบางรายอาจเกิดการวิกลจริตขึ้นได้ภายหลังคลอดในบางรายอาจ ต้องแยกทารกจากมารดาเพื่อให้มารดาได้พักผ่อน
Check vital signs ตรวจสอบอย่างน้อยวันละครั้งและทุก 4 ชั่วโมงในรายที่มีไข้หรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น
การป้องกันการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อน การดูแลความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญมากในระยะหลังคลอด เพราะระยะนี้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 7 วันหลังคลอด มารดาหลังคลอดควรจะอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งไม่ควรอาบน้ำโดยการแช่ลงในอ่างหรือแม่น้ำลำคลองเพราะจะติดเชื้อเข้าไปทางช่องคลอดสู่โพรงมดลูกได้ง่ายและควรเปลี่ยนเสื้อผ้าให้สะอาดด้วย
4.แนะนำให้มารดาหลังคลอดทำความสะอาดโดยใช้สบู่และน้ำสะอาด ซับให้แห้งอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและภายหลังการขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะทุกครั้งวิธีปฏิบัติให้ทำความสะอาด จากด้านหน้าไปด้านหลังซับจากบนลงล่างไม่ย้อนขึ้นลงและไม่ให้ถูกทวารหนัก
การพยาบาลในระยะ2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
.ความสะอาด
เช็ดตัวและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่เปียกหรือเปรอะเปื้อนออกFlushing โดยใช้
น้้ายา antiseptic เช่นHibitane 1 : 100 และเปลี่ยน Pad ให้ใหม่เนื่องจากถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้สกปรกจะท้าให้
มารดารู้สึกไม่สบายและจะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
อาหาร
มารดาหลังคลอดควรได้รับอาหารอ่อนๆหรือเครื่องดื่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดื่มเช่นนมโอวัลตินจะช่วยให้รู้สึกสดชื่นเพราะส่วนมากระยะนี้มารดาจะรสู่กกระหาย
น้้าเนื่องจากเสียโลหิตและเหงื่อในระหว่างการคลอด
การป้องกันการตกเลือด
.1 การตรวจมดลูกโดยการคล้าและวัดระดับความสูงของมดลูก
.2 ตรวจดูกระเพาะปัสสาวะ
3 สังเกตจ้านวนการเสียเลือดจากช่องคลอด (Blood Loss)
4 Vital Signs ควร check ทุก ½ ชั่วโมงหลังคลอดโดยปกติแล้ว Systolicpressure ประมาณ 110 – 120
mmHg แต่ไม่ควรต่้ากว่า 100 mmHg
การพักผ่อน
ดูแลให้มารดานอนในที่สงบเงียบไม่มีเสียงแสงรบกวนถ้าเจ็บแผลหรือปวดมดลูกควรให้ยาระงับความเจ็บปวดเพื่อมารดาจะได้พักผ่อนได้และในบางรายอาจจะมีอาการหนาวสั่น
เนื่องจากมีการปรับสภาพการเปลี่ยนแปลงความดันในช่องท้องอย่างรวดเร็วก็ต้องดูแล Keep warm ให้
อ้างอิง
เฟื่องลดา ทองประเสริฐ (20 ,มิถุนายน 2011) . การดูแลสตรีระยะหลังคลอด (puerperium care) .[ออนไลน์] จาก
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=473:postpartum-care&catid=38&Itemid=480
( สืบค้นเมื่อวันที่24เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563 )
เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ, NUR 2230 การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์1,หน้า26.[ออนไลน์] จาก
http://www.elnurse.ssru.ac.th/petcharat_te/pluginfile.php/58/block_html/content/PP%2827122556%29.pdf
( สืบค้นเมื่อวันที่24เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563 )
การเปลี่ยนแปลง
ระบบต่อมไร้ท่อ
(FSH)
มารดาหลังคลอดจะไม่มีการตกไข่และการมีประจำเดือนอยู่ช่วงระยะหนึ่ง เนื่องจากระดับ Estrogenและ Progesterone ในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว ร่วมกับระดับ Prolactin เพิ่มขึ้นกดการทำงานของรังไข่ (Inhibit follicular development)
(LH)
มารดาที่ไม่ได้ BF จะกลับมามีประเดือนอีกครั้ง ภายใน 7-9 สัปดาห์
การตกไข่จะเกิดขึ้นเร็วสุดอีกครั้ง ประมาณวันที่ 25 หลังคลอด
Prolactin
มีระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ในขณะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด
Prolactinคงอยู่ในระดับสูงนาน 6 –12 เดือน แต่แตกต่างกันออกไปตามความถี่ของการให้นมบุตรในแต่ละวัน
การเปลี่ยนแปลงของทางเดินปัสสาวะ
หลังคลอดภายในสัปดาห์แรกปัสสาวะจะออกมาก หรือมีภาวะ diuresis เพื่อลดปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ให้กลับสู่ภาวะปกติ กระเพาะปัสสาวะจะยืดขยายใหญ่ได้มากกว่าปกติ การถ่ายปัสสาวะจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในสัปดาห์ที่ 3 หลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงระบบหัวใจและหลอดเลือด
ปริมาณเลือด (Blood volume) จะลดลงทันทีจากการสูญเสียเลือดภายหลังคลอด
การไหลเวียนเลือด
ใน 2–3 วันแรกหลังคลอดจะเพิ่มขึ้น
3 วันแรกหลังคลอดค่าฮีมาโตคริตอาจสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากมีการลดระดับ
ของปริมาณน้้าเหลือง (Plasma)
6-12 สัปดาห์ จะกลับเข้าสู่สภาวะ ปกติ