Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หญิงตั้งครรภ์ที่ดื่มสุราและใช้สารเสพติด, image - Coggle Diagram
หญิงตั้งครรภ์ที่ดื่มสุราและใช้สารเสพติด
ประเภท การออกฤทธิ์ และผลกระทบต่อทารก
ประเภทฝิ่น
มอร์ฝีน
การออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมา
ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนคลายตัว
ผลกระทบต่อทารก
ใช้ในระยะคลอด
ทำให้เกิดอาการถอนยาในทารกแรกเกิด
กดศูนย์ควบคุมการหายใจ
ประเภทแอลกอฮอล์
สุรา
การออกฤทธิ์
Ethanol จากแอลกอฮอล์ มีโมเลกุลขนาดเล็กสามารถผ่านรก ไปสู่ทารกในครรภ์ได้
ผลกระทบต่อทารก
Fetal alcohol syn drome, FAS
ช่องตาสั้น
ร่องริมฝีปากบน (Phil rum) เรียบ
ริมฝีปากบนยาวและบาง
หนังคลุมหัวตามาก (epicanthal folds)
จมูกแบน
ปลายจมูกเชิดขึ้น
บริเวณส่วนกลางใบหน้ามีการพัฒนาน้อยกว่าปกติ (midface hypoplasia)
บาบิทูเรต
การออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ต่อตัวรับ GABA
กดการทำงานของกระแสประสาท
ผลกระทบต่อทารก
ทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าและพิการได้
เสพเป็นเวลานานทารกจะมีอาการติดยา
ใช้ในระยะคลอดจะมีกลไกการหายใจของทารก
ประเภทแอมเฟตามีน
แอมเฟตามีน
การออกฤทธิ์
กระตุ้นสมองส่วนซีรีบรัม
ผลกระทบต่อทารก
ภาวะเลือดออกในสมอง
มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย
มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด
ภาวะสมองตาย
ทำลายเซลล์ประสาท เส้นรอบศีรษะมีขนาดเล็ก ซึ่งมีผลต่อสมาธิ ความจำ และมิติสัมพันธ์ (spatial skills) และมีผลทำให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรมในระยะยาวอีกด้วย
โคเคน
การออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ขึ้นอยู่กับวิธีการและปริมาณที่เสพ
ผลกระทบต่อมารดา
เพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
กระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือดบริเวณมดลูก
เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกจะมีศีรษะขนาดเล็ก
เกิดความผิดปกติทางระบบทางเดินปัสสาวะหรือหัวใจ
ทารกในครรภ์เป็นโรคหลอดเลือดสมอง
ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสมองหรือเสียชีวิตได้
ทารกคลอดก่อนกำหนด
มีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย
กัญชา
การออกฤทธิ์
Tetrahydrocannabinol สารนี้จะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท
ทำให้ผู้เสพตื่นเต้น
ช่างพูด
หัวเราะตลอดเวลา
Tetrahydrocannabinol สารนี้จะออกฤทธิ์กดประสาท
ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้า
เซื่องซึม
ง่วงนอน
หากเสพเข้าไปในปริมาณมาก จะออกฤทธิ์หลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว
ผลกระทบต่อมารดา
อัตราการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
อัตราของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น
เกิดการระคายเคืองของปอด และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในปอด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย
เกิดผลเสียต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์
ทารกที่เกิดมาจะพบมีความผิดปกติทางร่างกาย
ความผิดปกติของเซลล์ประสาทในสมอง
และอาจเป็นโรคทางพันธุกรรม
ความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ
ใบกระท่อม
การออกฤทธิ์
สาร Mitragyna ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้
เสพติดทางกาย มีอาการ
รู้สึกหนาวสั่น เมื่อมีอากาศชื้น หรือเมื่อฝน ฟ้าคะนอง
มีอาการมึนงง
ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ทนแดดไม่รู้สึกร้อนทำให้ผิวหนังไหม้เกรียม
ปากแห้ง
นอนไม่หลับ
เสพติดทางจิตใจ
มีอาการประสาทหลอน
จิตใจสับสน
ประเภทหลอนประสาท
เห็ดขี้ควาย
การออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาทอย่างรุนแรง
สารไซโลซีนและไซโลไซบีน
ออกฤทธิ์หลอนประสาท
ส่งผลให้ผู้เสพเคลิบเคลิ้ม
ส่งผลให้ผู้เสพเกิดอาการมึนเมา
ส่งผลให้ผู้เสพบ้าคลั่งได้
แอลเอสดี (Lysergic acid diethylamide -LSD)
การออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์หลอนประสาท
ให้เกิดอาการผิดปกติทางจิตอย่างรุนแรง
มีอาการเพ้อ
เกิดภาพหลอนเห็นแสงสีที่ผิดปกติ
ออกฤทธิ์ทางกาย
ความดันโลหิตสูง
ม่านตาขยาย
ทำให้หัวใจเต้นเร็ว
หายใจไม่สม่ำเสมอ
บุหรี่
การออกฤทธิ์
นิโคตินทำให้เกิดหลอดเลือดหดตัว
ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างมารดากับทารกลดน้อยลง
มีผลต่อการหลั่ง epinephrine หรือ adrenaline จากต่อมหมวกไต
หลอดเลือดแดงของมารดาหดรัดตัว
ความดันโลหิตสูง
หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติและไม่เป็นจังหวะ
หัวใจของทารกจะเต้นเร็วตามไปด้วย
ผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร
ทำให้ความอยากรับประทานอาหารเกิดขึ้นช้ากว่าปกติ ในขณะที่ความต้องการน้ำตาลของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น
ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ
นิโคตินจะกระตุ้นให้มีการขับสิ่งคัดหลั่ง (secretion) เพิ่มมากยิ่งขึ้น
ทำให้เกิดการระคายเคืองในช่องทางเดินหายใจ
ภายหลังคลอดนิโคตินยังกดการหลั่งน้ำนมอีกด้วย
ผลกระทบต่อทารก
สารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่ และทาร์จะมีผลต่อการทำงานของสารสื่อประสาท
ขัดขวางการพัฒนาของเซลล์ประสาทของทารก
มีการหดตัวของหลอดเลือดดำมดลูก ทำให้เลือดผ่านรกลดลง
ทารกจึงได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ มีผลให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
ทำให้เกิดปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม
สมาธิสั้น
เชาวน์ปัญญาบกพร่อง
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติข้อมูลทั่วไป
ระดับการศึกษา (หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับการศึกษาน้อยมีความเสี่ยงในการใช้สารเสพติดมากกว่ากลุ่มอื่น)
อาชีพ (หญิงตั้งครรภ์ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสถานบันเทิงมีความเสี่ยงในการใช้สารเสพติดมากกว่ากลุ่มอื่น)
อายุ (หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยหรือกลุ่มวัยรุ่นมีความเสี่ยงในการใช้สารเสพติดมากกว่ากลุ่มอื่น)
สถานภาพทางเศรษฐกิจ (หญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากจนมีความเสี่ยงในการใช้สารเสพติดมากกว่ากลุ่มอื่น)
ประวัติการดื่มสุราหรือใช้สารเสพติด อดิต-ปัจจุบัน
การตรวจร่างกาย
การสังเกตอาการติดยาของหญิงตั้งครรภ์
ยาหลอนประสาท
นั่งสลึมสลือ
หวาดกลัว
ฝ่ามือมีเหงื่อออก
ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน
ร่างกายซูบซีด
ม่านตาหรี่ไม่กล้าสู้แสง
ผอมเหลือง นัยน์ตาเหลืองซีด
ริมฝีปากเขียวคล้ำ
ผู้เสพหรือติดยาบ้า
อาการทางร่างกาย
การดูแลความสะอาดร่างกายมักจะลดลง
กัดกราม
ไม่อยู่นิ่งเดินไปเดินมา
จิตใจ และอารมณ์
มีความซึมเศร้า
หงุดหงิดง่าย
ก้าวร้าว
กัญชา
กล้ามเนื้อลีบ มือเท้าเย็น และหายใจขัดบ่อยๆ
มีอาการตื่นเต้น กระสับกระส่ายตลอดเวลา
สารระเหย
ง่วงเหงาหาวนอน ขาดสติสัมปชัญญะ
มีกลิ่นสารระเหยทางลมหายใจ และตามเสื้อผ้า
มีอาการเหมือนคนเมาเหล้า พูดจาอ้อแอ้ เดินโซเซ
การตรวจร่างกายตามระบบ
ลักษณะผิวหนัง
รอยเข็มฉีดยา
รอยแผล
ศีรษะ ใบหน้า ช่องปากและลำคอ
หากมีการสูบบุหรี่อาจสังเกตพบริมฝีปากคล้ำ
มารดาที่ใช้เฮโรอีนชนิดฉีดอาจตรวจพบโรคเชื้อราในช่องปาก
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ประเมินความดันโลหิตลดลง
ฟังเสียงการเต้นของหัวใจ การเต้นของชีพจร
ระบบทางเดินอาหาร
สอบถามอาการท้องผูก
สังเกตและสอบถามอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ระบบประสาท
ประเมินระดับความรู้สึกตัว
การใช้การประเมิน
ประเมินภาวะขาดยา(Withdrawal sign & symptom)
ประเมินระดับความรุนแรงของการติดยาและสารเสพติด โดยใช้ DSM-5
ประเมินระดับแรงจูงใจในการเลิกยาเสพติด โดยใช้การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing: MI) ด้วยแบบประเมิน SOCRATE- 8D
แบบคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติดเพื่อรับการบำบัดรักษา กระทรวงสาธารณสุข (บคก.กสธ.)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่ดื่มสุราและใช้สารเสพติด
เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้สารเสพติด
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายให้เห็นความสำคัญของการมาฝากครรภ์ตามนัด
ให้คำแนะนำ อธิบายผลกระทบที่อาจเกิดจากการใช้สารเสพติดในระยะตั้งครรภ์ แนะนำหญิงตั้งครรภ์ที่ติดสุราหรือใช้สารเสพติดให้หยุดดื่มสุราหรือหยุดใช้สารเสพติดให้เร็วที่สุด ให้การช่วยเหลือประสานงานให้ได้รับการบำบัดรักษา
ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์
นับการดิ้นของทารก
เสียงหัวใจทารกในครรภ์
ผลการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง
ความสูงของยอดมดลูก
ดูการเพิ่มของน้ำหนัก
ผลการประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์รวมทั้งอาการผิดปกติอื่นๆ
ประเมินการใช้สารเสพติดของหญิงตั้งครรภ์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สหวิชาชีพต่างๆเพื่อลงพื้นที่คักรองหาผู้เสพสารเสพติด โดยปฏิบัติ ดังนี้
โดยการตั้งจุดตรวจ ดำเนินการติดตาม ผู้คาดว่าเสพสารเสพติดเข้าสู่ศูนย์คัดกรอง 7 วัน หลังเสร็จสิ้นการค้นหา
สร้างสัมพันธภาพกับผู้สัมภาษณ์ก่อน โดยการพูดคุยเรื่องทั่วๆ ไป สั้นๆ แสดงท่าที่ที่จริงใจ เป็นมิตร
ไวต่ออารมณ์ ความรู้สึกของผู้ถูกสัมภาษณ์และแสดงความเห็นอก เห็นใจ
แจ้งให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ทราบว่าข้อมูลที่ให้นี้ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อผู้ถูกสัมภาษณ์ และเก็บรักษาเป็นความลับ
ดำเนินการคัดกรองโดยใช้แบบคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติด เพื่อเข้ารับการบำบัดรักษา กระทรวงสาธารณสุข บคก.สธ.
ทำการคัดกรองการใช้สารเสพติดทางคลินิก
สัมภาษณ์สอบประวัติการใช้สารเสพติดในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ซักประวัติทั่วไป
การตรวจร่างกายและสภาพจิต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจปัสสาวะ
การตรวจสารเสพติดเบื้องต้น
การตรวจยืนยัน
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการบำบัดรักษาอย่างเหมาะสม
ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการใช้สารเสพติด/ขาดสารเสพติด เช่น อาการลงแดง และให้การพยาบาลเพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อนนั้น
ระยะคลอด
ให้ดูแลเรื่องการบรรเทาความเจ็บปวดอย่างเหมาะสม
เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับการคลอด
หากทารกมีอาการผิดปกติ รายงานกุมารแพทย์เพื่อเตรียมดูแลทารกแรกเกิด
เฝ้าระวังอาการผิดปกติหลังคลอด เช่น ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage, PPH)
เตรียมหญิงตั้งครรภ์ให้มีความพร้อมสำหรับการคลอด
มีการประเมินภาวะสุขภาพทารกทันทีหลังเกิด เพื่อจะได้ช่วยเหลือทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติ
ได้ทันท่วงที เนื่องจากมารดามีประวัติการตั้งครรภ์เสี่ยงสูง คือดื่มสุราและใช้สารเสพติด ปรเมินโดยใช้ การประเมิน Apgar Score
ระยะหลังคลอด
ก่อนกลับบ้านประเมินความสามารถในการดูแลทารก
ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาที่ดื่มสุราและใช้สารเสพติด ส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาเพื่อเพิ่มสายสัมพันธ์ แต่ต้องพิจารณา ดังนี้
กัญชา
จะมีผลต่อระบบประสาท หากทารกได้รับในระหว่างที่มีการพัฒนาของระบบประสาทของทารก แต่ในระหว่างการให้นมบุตรนั้น กัญชาจะมีผลทำให้มารดาง่วงซึมและส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดูแลทารกมากกว่าอันตรายที่จะเกิดกับทารกโดยตรง
สารเสพติดจำพวกอนุพันธ์ฝิ่น ได้แก่ เฮโลอีน
มารดาควรได้รับการรักษาระหว่างการตั้งครรภ์โดยใช้ยาเมธาโดน (methadone) ซึ่งมีข้อมูลหลักฐานว่าปลอดภัยและคุ้มค่าในการที่จะเลือกให้นมแม่
บุหรี่
ในมารดาที่สูบบุหรี่ ควรเปลี่ยนไปใช้ยาที่ใช้ในการรักษาการติดบุหรี่ ซึ่งพบว่ามีความปลอดภัยเมื่อใช้ในระหว่างการให้นมบุตร
แอลกอฮอล์
ระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดจะใกล้เคียงกับในน้ำนม แนะนำให้หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างให้นมบุตร แต่หากมารดาได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่เกิน 2 ดื่มมาตรฐาน (ปริมาณใกล้เคียงกับการกินเบียร์ 2 กระป๋อง) ควรเว้นระยะห่างจากการให้นม 2 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายกำจัดแอลกอฮอล์ออกไป ซึ่งพบว่า ทารกที่กินนมแม่หลังการเว้นระยะการให้นมบุตร ไม่พบว่ามีอันตรายหรือความเสี่ยงใด ๆ ที่เกิดแก่ทารก
ยาบ้า
ควรเว้นช่วงการให้นมบุตรอย่างน้อย 24 ชั่วโมงจากการใช้ครั้งสุดท้าย เนื่องจากยาจะอยู่ในร่างกายมารดาได้นานกว่า อย่างไรก็ตาม การเว้นระยะของการให้นมบุตรนั้นยังขึ้นอยู่กับปริมาณสารเสพติดที่ได้รับด้วย
หากมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆให้การพยาบาลมารดาตามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
สนับสนุนช่วยเหลือเรื่องการหยุดใช้สารเสพติดอย่างต่อเนื่อง
เพื่อส่งเสริมการปรับตัวของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวและส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารกและครอบครัว
เปิดโอกาสให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวพูดคุยระบายความรู้สึก และร่วมกันวางแผนเรื่องการดูแลทารกในภายหลังคลอด
ให้การดูแลด้านจิตสังคมอย่างเหมาะสมให้กำลังใจและส่งเสริมให้มองตนเองในด้านบวก
สร้างสัมพันธภาพกับหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวทำให้สตรีมีครรภ์รู้สึกไว้วางใจ
ส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวได้เรียนรู้ร่วมกับกลุ่มต่างๆโดยเฉพาะเรื่องการเลี้ยงดูบุตรภายหลังคลอด
ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของมารดาและทารก
ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารกและครอบครัว
การให้ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์
การสัมผัสขณะที่ทารกดิ้น
การพูดคุยกับทารกในครรภ์
ให้บิดาและมารดาได้สัมผัสและอบกอดบุตรโดยเร็วหลังคลอด
การบำบัดรักษา
การรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเมาสารกระตุ้นเมทแอมเฟตา
ควรหลีกเลี่ยงการโต้เถียง โดยยอมรับฟังสิ่งที่ผู้ป่วยพูด
ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่าอาการเกิดจากฤทธิ์ของสาร ซึ่งจะดีขึ้นเมื่อสารหมดฤทธิ์
พยายามลดสิ่งกระตุ้นเร้าจากสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด
อาจขอให้เพื่อน หรือญาติอยู่ด้วย หรือติดต่อให้ได้พูดคุยด้วย
พยายามลดสิ่งกระตุ้นเร้าจากสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด
หญิงตั้งครรภ์ที่เสพแอมเฟตามีน
ยาในกลุ่ม
Antipsychotics
Haloperidol 5 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้าม
ยากลุ่ม Benzodiazepines
Diazepam 2-10 มิลลิกรัม ฉีดเข้าเส้น ทุก 4-6 ชั่วโมง
Diazepam 10-30 มิลลิกรัม
การใช้ยาเพื่อรักษาอาการขาดยา (Treatment of detoxification)
ยาในกลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
Fluoxetine
20-40 มิลลิกรัมต่อวัน
ยากลุ่ม Antipsychotic
Haloperidol 0.5- 5 มิลลิกรัม/วัน
Risperidone 0.5 - 2 มิลลิกรัม/วัน
ยาในกลุ่ม Benzodiazepine
Diazepam 2-10 มิลลิกรัม/วัน
อาจใช้การผูกยึด (Physical restraint) ผู้ป่วยที่มีสภาวะเมาสารกระตุ้นประสาท ในกรณีที่จำเป็น และไม่สามารถทำให้สงบได้ด้วยยา หรือไม่สามารถใช้ยาได้
ใช้การบำบัดรูปแบบต่างๆ
ใช้การบำบัดแบบสั้น (Brief Intervention : BI)
แบบเสริมแรงจูงใจ (Motivational Interviewing : MI) (Motivational Enchantment Therapy : MET)
การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy : CBT) อย่างย่อแบบ 16 ครั้ง/(Motivational Enchantment Therapy : MET) ทุกสัปดาห์เป็นระยะเวลา 4 เดือน (16 ครั้ง) รวมรายบุคคล 3 ครั้ง และครอบครัว 3 ครั้ง
จิตสังคมบำบัด ได้แก่ Modified Matrix,จิตสังคมบำบัดในโรงเรียน
และสถานประกอบการ อย่างน้อย 3-12 ครั้ง ใน 4 เดือน
กลุ่มเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ที่มีแนวโน้มดื่มสุราและใช้สารเสพติด
หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยหรือกลุ่มวัยรุ่น
หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาครอบครัว
หญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากจน
หญิงตั้งครรภ์ที่การศึกษาไม่ดี