Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่1 การดูแลเด็กเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล, pain-scale-faces-stock…
บทที่1 การดูแลเด็กเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เด็ก หมายถึง
จากพจณานุกรม
คนที่มีอายุยังน้อย
(กฎ) ผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ซึ่งอายุไม่ครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
คนที่อายุเกิน7ปี แต่ไม่เกิน15ปีบริบูรณ์
คนที่อายุแต่15ปีลงมา
ว. ยังเล็ก อ่อนวัย
คนที่อายุไม่เกิน18ปี
ด้านสุขภาพ
บุคคลตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ15ปี
ช่วงวัยเด็กแบ่งตามระยะพัฒนาการ
Newborn ทารกแรกเกิด 28 วันหลังคลอด
Infant ทารกอายุมากว่า 28 วันถึง 1 ปี
Toddler เด็กวัยเดิน อายุ 1-3 ปี
Preschool age เด็กวัยก่อนเรียน 3-5 ปี
School age เด็กวัยเรียน 6-12 ปี
Aldolescent วัยรุ่น 13-15 ปี
สิทธิเด็ก
สิทธิในการมีชีวิต
คือ สิทธิของเด็กที่คลอดออกมาแล้วจะต้องมีชีวิตอยู่รอดอย่างปลอดภัย
สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง
สิทธิที่เด็กได้รับปกป้องคุ้มครองจากการทารุณกรรมทุกรูปแบบ รวมทั้งเด็กที่มาลี้ภัย
สิทธิในด้านพัฒนาการ
เด็ก ทุกคนจะได้รับสิทธิให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับพัฒนาการ ร่างกาย จิตใจ สังคม รวมถึงความพึงพอใจความสุข และต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี
สิทธิในการมีส่วนร่วม
เด็กมีสิทธิตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสามารถแสดงความคิดเห็นโดยไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคลอื่น
ระยะของการเจ็บป่วย
ระยะเฉียบพลัน (Acute)
เป็นทันทีทันใด และรุนแรงในวงการแพทย์ เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน
ระยะเรื้อรัง (Chronic)
รักษาไม่หายขาด ต่อสู้กับโรคตลอดชีวิต
ระยะวิกฤต (Crisis)
มีโอกาสเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วการดูแลเน้นการรักษา ดูแลประคับประคองทั้งร่างกายจิตใจ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน อันตรายที่จะเกิดกับชีวิตผู้ป่วย
ระยะสุดท้าย / ใกล้ตาย (Death / Dying)
มีชีวิตอยู่ได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน
ความเจ็บป่วยของเด็ก
ประเภท 0
ตอบแบบไม่เข้าใจ
ระดับความคิดความเข้าใจก่อนขั้นปฏิกิริยา(อายุ 18 เดือน – 7 ปี)
ประเภท1
ตอบตามปรากฏการณ์
ประเภท2
สาเหตุสัมพันธ์กับวัตถุ หรือบุคคลที่อยู่ใกล้ๆ
ระดับความคิดความเข้าใจในขั้นปฏิบัติการด้วยรูปธรรม(อายุ 7-11 ปี)
ประเภท3
การปนเปื้อน
ประเภท4
ภายในร่างกาย
ระดับปฏิบัติการด้วยนามธรรม(อายุ 11-12 ปี จนถึงวัยผู้ใหญ่)
ประเภท5
ความเจ็บป่วยเกิดจากอวัยวะภายในร่างกายทำงานไม่ดี หรือไม่ทำงาน
ประเภท6
เข้าใจถึงสาเหตุของความเจ็บป่วยที่พัฒนาถึงขึ้นสูงสุด
ความเข้าใจของเด็กเกี่ยวกับความตาย
วัยแรกเกิดและวัยทารก
อายุ < 6 เดือน ไม่เข้าใจความหมาย
มีปฏิกิริยาด้วยการตอบสนองของ physiological reflexเพื่อต่อสู้ให้ตนมีชีวิตรอด
อายุ > 6 เดือนผูกพันกับผู้เลี้ยงดู รู้สึกแยกจาก
วัยเดินและวัยก่อนเรียน
คิดว่าตายแล้วสามารถกลับคืนมได้(Reversible)เหมือนการไปเที่ยวชั่วคราว
ความตายเปรียบเหมือนการนอนหลับ ทำให้เด็กบางคนกลัวการนอน
เด็กวัยนี้บางคนอาจเข้าใจความตายเป็นจุดสุดท้ายของชีวิตเกือบสมบูรณ์
วัยเรียน
สามารถจินตนาการเรื่องความตาย และเข้าใจได้ว่าตัวเองก็อาจจะตายในวันหนึ่ง
กลัวการสูญเสียตนเองและบุคคลอันเป็นที่รัก
วัยรุ่น
เป็นวัยที่ยังมองความตายเป็นเรื่องที่ไกลตนเอง ยอมรับความตายของตนเองยากที่สุดเหมือนการลงโทษ การถูกกำหนดให้เป็นไปทั้งที่ตนเองไม่ต้องการ จะรู้สึกโกรธ เศร้าใจ
ผลกระทบของความเจ็บป่วย
วัยทารก
การเจ็บป่วยทำให้เด็กรู้สึกไม่สุขสบาย ส่งผลต่อความต้องการทั่วไปของทารก
วัยเรียน
ความสามารถที่ทำกิจกรรมน้อยกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน ทำให้รู้สึกเป็นปมด้อย
วัยรุ่น
ความเชื่อมั่นในตนเองลดน้อยลง
วัยเดิน
อยากรู้อยากเห็น ไม่ชินจากการแยกกับผู้เลี้ยง เวลาป่วยจึงคิดว่าถูกทิ้ง
วัยก่อนเรียน
มีการเรียนรู้ที่ยากลำบาก
คิดว่าการมารักษาอาการป่วยเป็นการลงโทษ
ปฏิกิริยาของเด็กป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ความวิตกกังวลจากการแยกจาก (separation anxiety)
พบมากในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 3 ปี
มี 3 ระยะ
ระยะปฏิเสธ (denial or detachment)
ระยะสิ้นหวัง(despair)
ระยะประท้วง(protest)
ความเจ็บปวดทางกายเนื่องจากการตรวจรักษา (body injury and pain)
เป็นกลไกการปรับตัวที่พบเสมอในเด็กวัยเดินและเด็กก่อนวัยเรียน เด็กจะหยุดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หันกลับมาใช้พฤติกรรมดั้งเดิม
ความเครียดและการปรับตัวของเด็กและครอบครัว : การสูญเสียความสามารถในการควบคุม (loss of control)
การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ (body image)
ความตาย
ปฏิกิริยาโต้ตอบของบิดามารดาต่อความเจ็บป่วยของลูก
ความสามารถในการปรับตรัวขึ้นอยู่กับ
ความรุนแรงของการรักษา
ประสบการณ์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการอยู่ในโรงพยาบาล
วิธีปฏิบัติเพื่อการวิเคราะห์โรคและการรักษา
ปัจจัยการช่วยเหลือค้ําจุน
ความเข็มแข้งของบิดามารดา
ความสามารถในการปรับตัวครั้งก่อน ๆ
ความเคร่งเครียดที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากระบบครอบครัว
ความเชื่อถือเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนา
แบบแผนการสื่อสารของสมาชิกในครอบครัว
ปฏิกิริยา
การปฏิเสธ และไม่เชื่อ ในระยะแรก
ความรู้สึกโกรธและโทษตัวเอง เมื่อรู้แน่ชัดว่าเด็กป่วยจริง
ความรู้สึกกลัว และวิตกกังวล มักจะมีความสัมพันธ์กับอาการรุนแรงของโรคที่เด็ก
ความรู้สึกหงุดหงิด คับข้องใจ และการขาดอำนาจต่อรอง
ความรู้สึกเศร้า
แนวคิดและหลักการพยาบาลใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
องค์ประกอบ
การตระหนักและการเคารพ (Respect) เคารพและยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความเป็นบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ ความมีอิสระ ทางความคิดและการกระทำ การตัดสินใจ
การร่วมมือ (Collaboration)
การสนับสนุน (Support)
หลักการดูแล
1.เคารพและตระหนักว่าครอบครัวคือส่วนคงที่ในชีวิตเด็กในขณะที่บุคลากรด้านสุขภาพและระบบบริการสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลง ให้ความสำสนับสนุนครอบครัวให้ทำหน้าที่ผู้ดูแลเด็กขณะเจ็บป่วย ร่วมกับครอบครัวในการค้นหาทางเลือกต่างๆ ในการดูแลต่างๆคัญกับการตัดสินใจของสมาชิกในครอบครัว
2.สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างบิดามารดากับทีมสุขภาพในทุกระดับของการบริการดูแลสุขภาพทั้งที่โรงพยาบาล บ้าน และชุมชน มีการสื่อสารในทางที่ดี เปิดเผย และต่อเนื่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน สื่อสารทำความเข้าใจถึงบทบาท และความคาดหวังของกันและกัน วางแผนการดูแลรักษา และตัดสินใจร่วมกัน
3.มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่จําเป็นและสมบูรณ์แก่บิดามารดาอย่างต่อเนื่องและไม่ลําเอียงด้วยท่าทีที่เหมาะสมในลักษณะของการสนับสนุนอธิบายศัพท์ทางการแพทย์ให้ครอบครัวให้เข้าใจ ใหข้อมูลบิดามารดาทั้งทางวาจาและลายลกัษณ์อักษร อธิบายเป้ าหมายและเหตุผลของการพยาบาล ตอบข้อสงสัยของบิดามารดา
เข้าใจและผสานความต้องการตามระยะพัฒนาการ ของ บุคคลและครอบครัวเข้าในระบบบริการสุขภาพ
ลงมือปฏิบัติสนับสนุนและช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และเศรษฐกิจ เช่น ส่งปรึกษา สงคมสงเคราะห์เรื่องเงิน ส่งหน่วยปรึกษาเมื่อเกิดปัญหา การปรับตัวหรือความคับข้องใจ
ยอมรับว่าครอบครัวมีจุดแข็ง และมีลักษณะเฉพาะ รวมทั้งเคารพวิธีการเผชิญปัญหาที่แตกต่างกัน เสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) ของ ครอบครัว โดย เริ่มจากจุดแข็งที่ครอบครัวมีอยู่
เคารพยอมรับในความหลากหลายของเชื้อชาติวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ และสังคม เศรษฐกิจของ ครอบครัว
กระตุ้นและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายผู้ปกครองให้คุณค่าความสำคัญของการช่วยเหลือระหว่างครอบครัว สนับสนุนความร่วมมือของเครือข่ายระหว่างกลุ่มแพทย์และเครือข่ายผู้ปกครอง ส่งต่อครอบครัวไปยังเครือข่ายผู้ปกครอง
จัดบริการให้มีความความยืดหยุ่น เข้าถึงได้และ ตอบสนองความต้องการของครอบครัวจัดหาวิธีการและทางเลือกของการรักษาใหกับบิดามารดาและสนับสนุน/กระตุ้นให้เกิดการดูแลแบบสหสาขา
บทบาทของพยาบาลเด็กในการใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
เสริมสร้างความสามารถของครอบครัว โดยให้โอกาสบิดามารดาแสดงความสามารถและสมรรถนะ เพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กและครอบครัวในการดูแลเด็กป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เสริมสร้างพลังอำนาจแก่ครอบครัวในการควบคุมชีวิตของครอบครัวและการเปลี่ยนแปลงในทางบวก
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะ และทรัพยากรกับครอบครัว โดยพยาบาลต้องตระหนักว่าบิดามารดามีความเสมอภาคกับตน และมีสิทธิที่จะตัดสินใจว่าอะไรคือความสำคัญของเด็กและครอบครัว
พยาบาลสร้างกลไกความสัมพันธ์กับบิดามารดาเป็นแบบหุ้นส่วน โดยมีข้อตกลงว่าใครจะเป็นคนให้การพยาบาลเด็กด้านใด
การจัดการการพยาบาลเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
การประเมินและการวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนและการดําเนินการ ประกอบไปด้วย
2.1 การจัดสิ่งแวดล้อม (environment) ควรมีการจัดการดูแลโดยการสร้างบรรยากาศในโรงพยาบาลให้มีสภาพคล้ายบ้านมากที่สุด
2.2 การอํานวยความสะดวก (facilitative) ควรมีการอํานวยความสะดวกแก่เด็กและบิดามารดาเช่น ไม่จำกัดเวลาเยี่ยม อนุญาตให้เด็กสวมใส่ เสื้อผ้าของตนเองหากเด็กต้องการ ไม่จํากัดเวลาในการรับประทานอาหาร อนุญาตให้บิดามารดาอยู่ กับเด็ก เป็นต้น
2.3 การประสานงาน (coordination) ควรมีการประสานงานในด้านต่างๆ ดังนี้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมฟื้นฟูพัฒนาการด้านความรู้และสติปัญญาขณะเจ็บป่วย
2.4 การสื่อสาร (communication)
วัยทารก ให้ข้อมูลกับบิดามารดา
วัยเตาะแตะ ให้ข้อมูลกับบิดามารดาร่วมกับการให้ข้อมูลเด็กผ่านกิจกรรมการเล่น เช่นเล่นตุ๊กตา เล่านิทาน
วัยก่อนเรียน บางเรื่องต้องให้ข้อมูลผ่านบิดามารดา บางเรื่องสามารถที่จะสื่อสารกับเด็กโดยใช้วิธีให้เด็กได้ลองสัมผัสจับต้องลองเล่นเครื่องมือทางการแพทย์หรือดูหนังสือภาพเกี่ยวกับโรค
วัยเรียน สามารถอธิบายผ่านหนังสือภาพ แผ่นพับ ภาพพลิก ได้เข้าใจโดยไม่ต้องมีบิดามารดาช่วย
วัยรุ่นสามารถสื่อสารได้หลายรูปแบบ เช่น แผ่นพับ ภาพพลิก ภาพเกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรคและแนวทางการรักษาและแลกเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องมีบิดามารดาช่วย
2.5 การให้การพยาบาลตามระยะพัฒนาการของเด็ก เมื่อเด็กเข้ารับการรักษา ต้องให้การพยาบาลครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ
การพยาบาลทั่วไป (provide general interventions)
การพยาบาลเพื่อความสุขสบายทางกายและความปลอดภัย(providephysical comfort and safety interventions)
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ (providecognitiveinterventions)
การพยาบาลด้านจิตสังคมและอารมณ์(provide psychosocial and emotion interventions)
3 การประเมินผล การให้การพยาบาลแก่เด็กเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้ทราบความคิดความรู้สึกของเด็กเพื่อให้เด็กได้รับการตอบสนองความต้องการให้ได้มากที่สุด
ข้อมูลได้จากตัวเด็กโดยตรงสำคัญมาก
การประเมินpainในเด็ก
เครื่องมือที่ใช้ประเมินpain
ควรถามเกี่ยวกับ
ความรุนแรงของความปวด
ตำแหน่งที่ปวด
รูปแบบ ระยะเวลาความเจ็บปวด :เจ็บตลอดเวลา เป็นๆหายๆ
ลักษณะการเจ็บปวด: เจ็บ ปวด แสบ ปวดแสบ ปวดร้อน
ผลกระทบต่อความปวด :หงุดหงิด ก้าวร้าว นอนไม่หลับ
ปัจจัยที่ทำให้ปวดมากขึ้น ลดลง
CRIES Pain Scale
พฤติกรรมร้องไห้ ไม่ร้อง=0 ,เสียงสูง=1 ,ปลอบไม่หยุด=2
พฤติกรรมO2 forSa O2 >95% ไม่ใช้ = 0 ,<30%O2=1, >30%O2=2
พฤติกรรมVital signs HRorBP</=preop = 0, HRorBP<20 % preop=1, HRorBP>20% preop =2
การแสดงออก ไม่มี=0, หน้าเบ้=1, หน้าเบ้/คราง=2
การนอนไม่หลับ ไม่มี=0, ตื่นบ่อย=1, ตื่นตลอด=2
Neonatal Infants Pain Scale (NIPS)
0-7 คะแนน > 4 = pain ให้ยาแก้ปวด
CHEOPS (Children’s Hospital of Eastern Ontario Pain Scale )
ใช้กับเด็ก 1-6 ปี หรือไม่รู้สึกตัว
คะแนนอยู่ระหว่าง 4-13
พยาบาลเป็นผู้ประเมิน
การแปลผล
0 = ไม่ปวด
1-3 = ปวดน้อย
4-6 = ปวดปานกลาง
7-10 = ปวดมาก
FLACC Scale (Face ; Legs ; Activity ; Cry ; Consolability Scale)
ใช้กับเด็ก 1เดือน-6 ปี หรือไม่รู้สึกตัว
คะแนนอยู่ระหว่าง 0-10
พยาบาลเป็นผู้ประเมิน
การแปลผล
0 = ไม่ปวด
1-3 = ปวดน้อย
4-6 = ปวดปานกลาง
7-10 = ปวดมาก
Faces scale
นิยมใช้กับผู้ป่วยที่สื่อสารไม่ได้
Numeric rating scales
คะแนนอยู่ระหว่าง 0-10
ใช้ได้ตั้งแต่เด็กวัยเรียนขึ้นไป ซักถามถ้าไม่ปวดเลย ให้ 0 ปวดมากที่สุดให้ 10 ขณะนี้ปวดเท่าใด
การแปลผล
0 = ไม่ปวด
1-3 = ปวดน้อย
4-6 = ปวดปานกลาง
7-10 = ปวดมาก
บทบาทของพยาบาลกับการประเมินความปวด
ให้ความสนใจโดยเป็นผู้ฟังที่ดี และเชื่อในคำบอกเล่าของผู้ป่วย
ระหว่างการประเมินควรบันทึกพฤติกรรม แนวคิด สภาพอารมณ์ จิตใจและบุคลิกภาพของผู้ป่วย เพื่อเป็นข้อมูล
ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถตอบข้อซักถามได้ อาจใช้วิธีสัมภาษณ์จากคนดูแลใกล้ชิด ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจถามจากบิดา มารดา หรือสังเกตพฤติกรรมและผลกระทบที่เกิดจากความปวด เช่น ผู้ป่วยที่ยังไม่รู้สึกตัวดี ครึ่งหลับครึ่งตื่น หรือผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น
สร้างสัมพันธภาพที่ดี ใช้คำพูดสุภาพ เข้าใจง่าย
หลักการประเมินความปวด
ประเมินก่อนให้การพยาบาล เพื่อเป็นสมมติฐาน และหลังให้การพยาบาล เพื่อประเมินผล
ควรประเมินอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยประเมินทั้งขณะพักและขณะทำกิจกรรม
เลือกวิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย และควรใช้วิธีเดียวกันตลอดการให้การพยาบาลนั้นๆ
เด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีการรับรู้บกพร่อง หรือไม่สามารถสื่อสารได้ ควรดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากการประเมินอาจได้ข้อมูลไม่ครอบคลุมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด
มีการบันทึกเป็นหลักฐาน
หลีกเลี่ยงคำถามนำอันเป็นเหตุให้บดบังข้อเท็จจริง หรือคำถามที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์เศร้า เสียใจ
ทรรศนันทน์ บุญสวัสดิ์ 36/1 เลขที่ 43
อ้างอิง
1.สุพัฒนา ศักดิษฐานนท์. (2558). การประเมินความปวดและการบันทึก. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2563. จาก
https://slideplayer.in.th/slide/2133449/
2.สุทธิลักษณ์ แก้วบุญเรือน. (2560). การจัดการความปวดเบื้องต้น. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2563. จาก
https://www.slideshare.net/sutthiluckkaewboonrurn/ss-74711055
วิภารัตน์ ยมดิษฐ์. (ม.ป.ป.). การดูแลเด็กเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2563. จาก
https://drive.google.com/file/d/122MJMUspASEPhq_QnpP-pYB9SUuNvn9O/view
4.MicroOne. (2020). Pain scale faces stock. Retrieved 24 May 2019 from
https://www.vectorstock.com/royalty-free-vector/pain-scale-faces-stock-vector-9916403