Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหักในเด็ก - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหักในเด็ก
กระดูกหักที่พบบ่อย
1.กระดูกไหปลาร้าหัก (fracture of clavicle)
อาการเเละอาการเเสดง
1.Pseudoparalysis ขยับข้างที่เป็นได้น้อย ไหล่ตก
2.Crepitus คลำได้เสียงกรอบเเกรบ
3.ปวด บวม ข้างที่เป็น
4.เอียงคอไปด้านที่เจ็บ ยื่นตัวไปข้างหน้า เเขนที่ดีประคองข้างที่เจ็บ
การรักษา
ในทารกเเละเด็กเล็กจะตรึงเเขนข้างที่หักให้อยู่นิ่งโดยมัดเเขนให้ข้อศอกงอ 90 องศาให้ติดกับลำตัว พันนาน 10-14 วันระมัดระวังเรื่องการอุ้มเด็ก
ในเด็กอายุมากกว่า 3 ปี อาจใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องคอห้อยเเขนให้ข้อศอกงอ 90 องศาเเละพันเเขนให้ติดกับลำตัวด้วยผ้ายืดหรือผ้าสำลีคล้องเเขนไว้นานประมาณ 2-3 สัปดาห์
2.กระดูกต้นเเขนหัก(fracture of humerus)
อาการเเละอาการเเสดง
ในทารเเรกเกิดมักเกิดในรายที่คลอดติดไหล่เเล้วผู้ทำคลอดสอดนิ้วเข้าไปเกี่ยวออกมา
ในเด็กโต อาจเกิดการล้มเเล้วต้นเเขนหรือข้อศอกกระเเทกพื้นโดยตรง จะพบหัวไหล่บวม ช้ำ เวลาไหล่หรือเเขนให้มีการเคลื่อนไหวจะเจ็บปวด
การรักษา
ในรายกระดูกหักเคลื่อนออกจากกันมากๆควรตรึงเเขนด้วย traction ตรึงไว้นานประมาณ 3 สัปดาห์ อาจทำ skin traction ก็ได้
3.กระดูกข้อศอกหัก (Supracondylar fracture)
อาการเเละอาการเเสดง
เกิดจากการล้มเอามือเท้าพื้นในท่าข้อศอกเหยียดตรงหรือข้อศอกงอกเด็กจะปวดบวมบริเวณข้อศอกอย่างมาก
โรคเเทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น Volknan's ischemic contracture กระดูกหักบริเวณอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของกระดูก Humerus
การรักษา
ในรายที่หักเเบบ greenstick อาจใส่เฝือกเเบบ posterior plaster splint ประมาณ 1 สัปดาห์เมื่อยุบบวม จึงเปลี่ยนเฝือกพันต่ออีก 2-3 สัปดาห์
4.การเคลื่อนของหัวกระดูกเรเดียส
เป็นการเคลื่อนที่ของหัวกระดูกเรเดียส ออกมาจากข้อ radio-humeral ไม่หมด
เกิดจากการหยอกล้อ เเล้วดึงเเขนหรือหิ้วเเขนขึ้นมาตรงๆในขณะที่ข้อศอกเหยียดเเละเเขนท่อนปลายคล่ำมือ
5.กระดูกปลายเเขนหัก
พบได้บ่อยในเด็กตั้งเเต่เริ่มหัดเดินไปจนถึงวัยรุ่น เกิดจากการกระทำทางอ้อม เช่น หกล้มเอามือเท้าพื้น ตกจากที่สูง
6.กระดูกต้นขาหัก (fracture of femur)
ต่ำเเหน่งที่พบคือ ช่วงกลางของกระดูกต้นขา เด็กจะปวดบริเวณข้างที่หัก บวมตรงต่ำเเหน่งกระดูกถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี เเก้ไขโดยให้ใส่เฝือกขาเเบบยาวนาน 3-4 สัปดาห์
7.ภยันตรายต่อข่ายประสาท brachial plexus จากการคลอด
สาเหตุ
เกิดจากข่ายประสาทถูกดึงยึด ได้เเก่ การคลอดท่าก้น ภาวะคลอดติดไหล่ เด็กมีน้ำหนักมากเเละการคลอดที่ใช้เวลานาน
การวินิจฉัย
จากการสังเกตเห็นเเขนที่ผิดปกติเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าธรรมดา
การรักษา
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีการฟื้นตัวของเส้นประสาทโดยไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษาตามเเผนการรักษา
1.เข้าเฝือกปูน
2.ดึงกระดูก (traction)
ชนิดของ traction
1.Bryant's traction
ใช้ในเด็กกระดูกต้นขาหัก
2.Over Head traction
ใช้ในการรักษากระดูกหักที่ต้นเเขน
3.Dunlop's traction
ใช้ในเด็กที่มี Displaced Supracondylar Fracture ที่ไม่สามารถดึงให้เข้าที่ได้
4.Sjin traction
ใช้ในรายที่มี facture shaft of femur ในเด็กโต traction เเบบนี้อาจเกิดปัญหาการกด peroneal nerve ทำให้เกิด foot drop
5.Russell's traction
ใช้ในเด็กโตที่มี Fracture shaft of femur
3.ผ่าตัดทำ open reduction internal fixtion (ORIF)
เพื่อจัดกระดูกให้เข้าที่เเละอยู่นิ่งโดยใช้โลหะยึดไว้ เเพทย์จะพิจารณาทำในรายที่กระดูกมากเกิดอันตรายต่ออวัยวะโดยรอบ
โรคเเทรกซ้อนเเละการป้องกัน
1.ลักษณะรูปร่างของนิ้ว มือ เเละเเขนใน
Volkmann's ischemic contracture
สาเหตุ
เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณforearm ขาดเลือดไปเลี้ยงหรือมีเลือดไปเลี้ยงน้อยเนื่องจากเส้นเลือดดำเเละเส้นเลือดเเดงถูกกด
เเบ่งเป็น 3 ระยะ
1.ระยะเริ่มเป็น
มีบวมเห็นได้ชัดที่นิ้ว เจ็บเเละปวด นิ้วกางออกจากกันกระดิกไม่ได้ สีนิ้วขาวซีด มีอาการชา คลำชีพจรไม่ได้
2.ระยะมีการอักเสบของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อ บวม ตึง เเข็ง เนื่องจากมีเลือดปะปนอยู่
ผิวหนังพอง เนื่องจากกล้ามเนื้อมี fascia หุ้มอยู่ fascia ขยายตัวได้ไม่มากจึงทำให้ความอัดดันภายในมากเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อถูกทำลายสลายตัว
เปลี่ยนสภาพเป็น fibrous tissue เเละหดตัวสั้นทำให้นิ้วเเละมือหงิกงอ
3.ระยะกล้ามเนื้อหดตัว
การหดตัวเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อ Pronator เเละ flexor ของเเขน มือเเละนิ้ว ทำให้มือเเละนิ้วหงิกงอใช้การไม่ได้
2.โรคคอเอียงเเต่กำเนิด (Congenital muscular Torticollis)
อาการ
มักคลำพบก้อนที่กล้ามเนื้อข้างคอด้านที่เอียง เเละก้อนจะค่อยๆยุบลงไป การปล่อยให้มีภาวะคอเอียงอยู่นานจะส่งผลให้กระโหลกศีรษะ ใบหน้าข้างที่กดทับกับพื้นที่นอนเเบนกว่าอีกข้าง ศีรษะบิดเบี้ยวไม่สมดุล
การรักษา
1.ยืดกล้ามเนื้อบริเวณคอที่หดสั้น
การยืดโดยวิธีดัด
การยืดเเบบให้เด็กหันศีรษะเอง
การใช้อุปกรณ์พยุง
2.การผ่าตัด
เหมาะสมในอายุ 1-4 ปี
การผ่าตัด bipolar release ตัดปลายเอ็นยึดเกาะของกล้ามเนื้อด้านคอทั้งสองปลาย
หลังผ่าตัดอาจต้องใช้อุปกรณ์พยุงคอ เเละต้องยืดกล้ามเนื้อเพื่อให้คอตรงเเละป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
3.Polydactyly
สาเหตุ
พันธุกรรม
การรักษา
ผ่าตัด
ภาวะเเทรกซ้อน
ที่พบมากที่สุ เป็น hallux varus ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดเเละความยากง่ายกับการสวมใส่รองเท้า
4.กระดูกสันหลังคด(Scoliosis)
การมีกระดูกสันหลังคดไปด้านข้างร่วมกับมีการหมุนของปล้องกระดูกสันหลังเกิดความพิการทางรูปร่างเเละผิดปกติของทรวงอกร่วมด้วยถ้าหลังคดมากทรวงอกก็จะผิดปกติมากขึ้นด้วย
อาการเเสดง
1.กระดูกสันหลังโค้งไปด้านข้าง กระดูกสะบักสองข้างไม่เท่ากันสะบักไม่อยู่ระดับเดียวกันคือไหล่ข้างหนึ่งสูงกว่าอีกข้าง
2.ทรวงอกเคลื่อนไหวจำกัดมักหายใจตื้น หายใจลึกทำได้ยาก
3.พบการเลื่อนของกระดูกสันอกจากเเนวลำตัวความจุในทรวงอกสองข้างไม่สมมาตรไม่เท่ากัน
4.กล้ามเนื้อเเละเอ็นด้านเว้าจะหดสั้นเเละหนาส่วนด้านโค้งออกจะฝ่อลีบเเละบาง
5.ข้อศอกเเละกระดูกเชิงกรานไม่อยู่ระดับเดียวกัน
6.ผู้ป่วยเอียงตัวไปด้ารข้างระยะห่างของเเขนเเละเอวไม่เท่ากัน
7.มีอาการปวดเมื่อยหลังคดมากในเด็กอาจไม่พบบ่อย
8.เริ่มมีอาการเมื่ออายุน้อยยิ่งมีความพิการมากกระดูกสันหลังส่วนเอวมีพยากรณ์โรคดีกว่ากระดูกสันหลังคด
การรักษา
1.เเบบอนุรักษ์นิยม
กายภาพบำบัด บริหารร่างกาย
2.การผ่าตัด
เป็นการรักษาสมดุลของลำตัวเเก้ไขเเนวตรงของร่างกายรักษาระดับไหล่เเละสะโพก
ชนิดของกระดูกสันหลังคด
1.ชนิดที่ไม่มีการเปลี่ยนเเปลงในเนื้อกระดูกสันหลัง(์Non Structurial Scoliosis)
ไม่มีการเปลี่ยนเเปลงของกระดูกสันหลังหรือโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง
เเก้ไขความคดได้โดยการเอียงตัวด้านข้าง
สาเหตุ
ความผิดปกติของท่าทาง ขาสองข้างยาวไม่เท่ากัน มีการหดรั้งของข้อสะโพก หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท เเละมีการอักเสบของกล้ามเนื้อ กระดูกสันหลังเเละไส้ติ่ง
2.ชนิดที่มีการเปลี่ยนเเปลงของกระดูกสันหลัง (structural Scoliosis)
มีการเปลี่ยนเเปลงโครงสร้างของกระดูกสันหลังเนื่อเยื่อโดยรอบๆกระดูกสันหลังหรือทั้งสองอย่างถ้าไม่รักษาการเปลี่ยนเเปลงของเนื้อเยื่อเเละความพิการจะเป็นไปตลอดชีวิต
สาเหตุ
โรคกระดูสันหลังคดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อระบบประสาท