Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดและหลักการพยาบาลเด็กปกติและเจ็บป่วย, นางสาวสหทัย ชาวโพงพางเลขที่36ห้…
แนวคิดและหลักการพยาบาลเด็กปกติและเจ็บป่วย
ระดับของพัฒนาการ
ด้านสติปัญญาพื้นฐานทางครอบครัว และประสบการณ์ การพัฒนาด้านความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วยของเด็ก
ประเภท 0 : ตอบแบบไม่เข้าใจ เมื่อถามเด็ก เด็กจะตอบไม่สัมพันธ์กันกับคําถาม
ประเภทที่ 1 : ตอบตามปรากฏการณ์ สาเหตุของความเจ็บป่วยเป็นปรากฏการณ์
ประเภทที่ 2 : สาเหตุของความเจ็บป่วยเกิดจากการติดต่อ สัมพันธ์กับวัตถุ
ประเภทที่ 3 : การปนเปื้อน สามารถบอกถึงสาเหตุของความเจ็บป่วย
ประเภทที่ 4 : ภายในร่างกาย ความเจ็บป่วยเกิดขึ้นภายในร่างกายระดับปฏิบัติการด้วยนามธรรม(อายุ 11-12 ปี จนถึงวัยผู้ใหญ่ )
ประเภทที่ 5 : ความเจ็บป่วยเกิดจากอวัยวะภายในร่างกายทํางานไม่ดี หรือไม่ทํางาน
ประเภทที่ 6 : เข้าใจถึงสาเหตุของความเจ็บป่วยที่พัฒนาถึงขึ้นสูงสุด
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความตายของเด็กแต่ละช่วงวัย)
วัยแรกเกิดและวัยทารก ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับความตาย เข้าใจเพียงว่าคนๆนั้นหายไปเด็กจะมีปฏิกิริยาด้วยการตอบสนองของปฏิกิริยาสะท้อน (physiological reflex
วัยอนุบาลหรือวัยก่อนเรียน เข้าใจว่าความตายเกิดขึ้นชั่วคราว (temporary) สามารถกลับฟื้นคืนได้ (reversible)
วัยเรียน เริ่มเข้าใจว่าความตายเป็นสภาวะที่ร่างกายหยุดทํางานอย่างสมบูรณ์ไม่สามารถกลับฟื้นคืนได้อีก (irreversible)
วัยรุ่น เข้าใจในเรื่องของความตายใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ คือ เป็นภาวะการทํางานของร่างกาย ไม่สามารถกลับฟื้นคืนได้อีก
ปฏิกิริยาของเด็กป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ความวิตกกังวลเนื่องจากการแยกจาก (separation anxiety) พบมากในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 3 ปี พฤติกรรมการแยกจาก มี 3 ระยะคือ ระยะประท้วง(protest) ระยะสิ้นหวัง(despair) และระยะปฏิเสธ (denial or detachment)
พฤติกรรมถดถอย(regression) เป็นกลไกการปรับตัวที่พบเสมอในเด็กวัยเดินและเด็กก่อนวัยเรียน เด็กจะหยุดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
การสูญเสียการควบคุมตัวเอง (loss of control)
เด็กวัยก่อนเรียน เหตุการณ์ที่ทําให้เด็กสูญเสียการควบคุมตัวเอง
การบาดเจ็บและความเจ็บปวด
เด็กวัยก่อนเรียนสามารถพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เจ็บปวด เด็กจึงมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่รุนแรงและมองการปฏิบัติต่าง ๆ เป็นการลงโทษ
เด็กวัยเรียนกลัวการบาดเจ็บ
เด็กวัยเรียนกลัวการบาดเจ็บ กลัวความตาย เด็กสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของเหตุผล
ต้องการคําอธิบายที่เป็นวิทยาศาสตร์ในการอธิบายเกี่ยวกับโรค ความรู้สึก การรักษาพยาบาล กลัว
ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจะทําให้แตกต่างจากเพื่อน ๆ และจะทําให้เพื่อนไม่ยอมรับ
วัยรุ่นการบาดเจ็บ ความเจ็บปวด และความพิการนั้น จะเกิดผลกระทบกระเทือนมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าวัยรุ่นได้มองตัวเองในปัจจุบันเป็นอย่างไร
การปรับตัวของวัยรุ่นเมื่ออยู่ในโรงพยาบาลอาจเป็น
ปรับตัวโดยการเข้าหาผู้อื่น ในลักษณะนี้แสดงว่าเขายอมรับความอ่อนแอของตัวเอง
ปรับตัวโดยการต่อสู้และต่อต้าน ไม่ไว้วางใจผู้อื่น และต้องการที่จะเป็นคนที่เข้มแข็งและมีอิสระภาพ
ปรับตัวโดยการถอยหนีจากคนอื่น สร้างโลกของตนเอง อยู่ห่างจากคนอื่น เพราะคิดว่าคนอื่นไม่เข้าใจในตัวเขา
ปฏิกิริยาโต้ตอบของบิดามารดาต่อความเจ็บป่วยของลูกและความสามารถในการปรับตัวขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่
ความรุนแรงของการรักษา
ประสบการณ์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการอยู่ในโรงพยาบาล
วิธีปฏิบัติเพื่อการวิเคราะห์โรคและการรักษา
ปัจจัยการช่วยเหลือค้ําจุน
ความเข็มแข้งของบิดามารดา
ความสามารถในการปรับตัวครั้งก่อน ๆ
ความเคร่งเครียดที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากระบบครอบครัว
ความเชื่อถือเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนา
แบบแผนการสื่อสารของสมาชิกในครอบครัว
ปฏิกิริยาของบิดามารดาต่อการเจ็บป่วยของเด็ก
การปฏิเสธ และไม่เชื่อ ในระยะแรกที่ทราบว่าบุตรเจ็บป่วย โดยเฉพาะถ้าเป็นโรคคุกคามชีวิต บิดามารดามักจะไม่ค่อยยอมเชื่อว่าเด็กจะป่วยร้ายแรงขนาดนั้น
ความรู้สึกโกรธและโทษตัวเอง เมื่อรู้แน่ชัดว่าเด็กป่วยจริง
ความรู้สึกกลัว และวิตกกังวล มักจะมีความสัมพันธ์กับอาการรุนแรงของโรคที่เด็กเป็น
ความรู้สึกหงุดหงิด คับข้องใจ และการขาดอํานาจต่อรอง มักเกิดจากการที่บิดามารดาไม่ได้รับการบอกเล่า
ความรู้สึกเศร้า บิดามารดาที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการป่วยของเด็กหลายๆอย่างข้างต้น อาจมีความรู้สึกเศร้าเพิ่มขึ้น
ปฏิกิริยาโต้ตอบของพี่น้องต่อการเจ็บป่วยของเด็กและการปรับตัว
ปฏิกิริยาโต้ตอบของพี่น้องต่อการเจ็บป่วย ได้แก่ ความโกรธ ความอิจฉาริษยา
เกิดขึ้นเนื่องจากการระงับความรู้สึกด้านอื่น และเกิดขึ้นบ่อยในเด็กโต
ความสามารถในการปรับตัวของพี่น้องขึ้นอยู่กับระดับขั้นของพัฒนาการ ความเข้มแข็งของระบบ
ครอบครัว ประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะเครียดและการใช้กลไกในการปรับตัว
แนวคิดและหลักการพยาบาลใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
การตระหนักและการเคารพ (Respect) เคารพและยอมรับในความแตกตางทางวัฒนธรรม ความเป็นบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ ความมีอิสระ ทางความคิดและการกระทํา
การร่วมมือ (Collaboration)
ครอบครัวและบุคลากรวิชาชีพมีความเท่าเทียมกันในการ เป็นหุ้นส่วนดูแล
การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ของเด็ก/ครอบครัว
ยอมรับว่าผู้ป่วย/บิดามารดา/บุคคลที่มีความสําคัญต่อ ผู้ป่วย ว่าเป็นส่วนหนึ่ง
ตระหนักว่าบิดามารดามีความต้องการในการมีส่วนร่วม ในการดูแลเด็กในระดับแตกต่างกัน
ข้อมูลที่ได้รับจากบุคลากรทีมสุขภาพและบิดามารดา และการมีส่วนร่วมในการ วางแผนดูแลเด็กป่วย
การสนับสนุน (Support)
ตระหนักว่าแต่ละครอบครัวมีวิธีการเผชิญปัญหาที่เป็น ลักษณะเฉพาะ
ตระหนักถึงอิทธิพลของการที่เด็กเข้ารับการรักษาอยู่ใน โรงพยาบาล
ให้ช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายและ อารมณ์ของเด็ก
หลักการดูแลเด็กโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง (Shelton & Stepanek , 1994)
เคารพและตระหนักว่าครอบครัวคือส่วนคงที่ในชีวิตเด็ก ในขณะที่บุคลากรด้านสุขภาพและระบบบริการสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลง
สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างบิดามารดากับทีมสุขภาพในทุกระดับของการบริการดูแลสุขภาพทั้งที่โรงพยาบาล บ้าน และชุมชน
มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่จําเป็นและสมบูรณ์แก่บิดามารดาอย่างต่อเนื่องและไม่ลําเอียงด้วยท่าทีที่เหมาะสมในลักษณะของการสนับสนุน
เข้าใจและผสานความต้องการตามระยะพัฒนาการ ของ บุคคลและครอบครัว
ยอมรับว่าครอบครัวมีจุดแข็ง และมีลักษณะเฉพาะ รวมทั้งเคารพวิธีการเผชิญปัญหา
ลงมือปฏิบัติสนับสนุนและช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และเศรษฐกิจ
เคารพยอมรับในความหลากหลายของเชื้อชาติวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ และสังคม เศรษฐกิจของ ครอบครัว
กระตุ้นและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายผู้ปกครอง
จัดบริการให้มีความความยืดหยุ่น เข้าถึงได้และ ตอบสนองความต้องการของครอบครัว
บทบาทของพยาบาลเด็กในการใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
เสริมสร้างความสามารถของครอบครัว โดยให้โอกาสบิดามารดาแสดงความสามารถ
เสริมสร้างพลังอํานาจแก่ครอบครัวในการควบคุมชีวิตของครอบครัว
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะ และทรัพยากรกับครอบครัว โดยพยาบาลต้องตระหนัก
พยาบาลสร้างกลไกความสัมพันธ์กับบิดามารดาเป็นแบบหุ้นส่วน โดยมีข้อตกลงว่าใครจะเป็นคนให้การพยาบาลเด็กด้านใด
การจัดการการพยาบาลเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
การประเมินและการวินิจฉัยทางการพยาบาล พยาบาลควรมีการประเมินความคิดความรู้สึกของเด็กต่อการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
การวางแผนและการดําเนินการ ประกอบไปด้วย
2.1 การจัดสิ่งแวดล้อม (environment)
2.2 การอํานวยความสะดวก (facilitative) ควรมีการอํานวยความสะดวกแก่เด็กและบิดา
2.3 การประสานงาน (coordination) ควรมีการประสานงานในด้านต่างๆ
2.4 การสื่อสาร (communication) การสื่อสารกับเด็กมีความแตกต่างตามระยะ
พัฒนาการของเด็ก
2.5 การให้การพยาบาลตามระยะพัฒนาการของเด็ก เมื่อเด็กเข้ารับการรักษา
3 การประเมินผล การให้การพยาบาลแก่เด็กเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบความคิดความรู้สึกของเด็กเพื่อให้เด็กได้รับการตอบสนองความต้องการให้ได้มากที่สุด
นางสาวสหทัย ชาวโพงพางเลขที่36ห้อง2ุ
รหัสนักศึกษา 612001116
แหล่งอ้างอิงจากสื่อการเรียนการสอน
อาจารย์วิภารัตน์ ยมดิษฐ์