Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะมดลูกแตก (Uterine rupture) - Coggle Diagram
ภาวะมดลูกแตก (Uterine rupture)
ลักษณะของมดลูกแตก
มดลูกแตกสมบูรณ์ (Complete rupture)
มดลูกแตกไม่สมบูรณ์ (Incomplete rupture) มีการฉีกขาดของชั้นกล้ามเนื้อมดลูกเท่านั้น ส่วนชั้น peritoneum ยังคงปกติดีอยู่
มดลูกปริ (Dehiscence) อาจไม่พบอาการอะไรเลย
ชนิดของมดลูกแตก
การแตกของแผลเป็นที่ตัวมดลูก (Rupture previous uterine scar) มดลูกแตกจากแผลผ่าตัด
การแตกของมดลูกที่เป็นปกติ เนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือน (Traumatic rupture of the intact uterus)เกิดจากอุบัติเหตุและมีการบาดเจ็บที่บริเวณช่องท้อง ส่วนมากจะพบรกลอกตัวก่อนกำหนดเท่านั้น
การแตกเองของมดลูก (Spontaneous rupture of the intact uterus)พบได้บ่อยในมารดาตั้งครรภ์หลังอายุมาก
สาเหต
รอยแผลผ่าตัดเดิม จากแผลผ่าท้องคลอด หรือแผลผ่าตัดอื่นๆ
การทำสูติศาสตร์หัตถการอย่างยาก เช่น การทำคลอดด้วยคีม การทำคลอดท่าก้น การหมุนเปลี่ยนท่าเด็กจากภายใน สูติศาสตร์หัตถการทำลายเด็ก เป็นต้น
การบาดเจ็บบริเวณช่องท้องอย่างรุนแรง (severe abdominal trauma)
เคยผ่านการตั้งครรภ์ และการคลอดบุตรจำนวนมาก (grand multiparty)
การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
รกฝังตัวลึกชนิด placenta percreta หรือ placenta increta
การคลอดติดขัด (obstructed labor)
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงเตือนว่ามดลูกจะแตก
(threatened uterine rupture) มีดังนี้
1.1 มดลูกหดรัดตัวตลอดเวลา (tetanic uterine contraction) ไม่สัมพันธ์กับความก้าวหน้าของการคลอด
1.2 ปวดท้องน้อยบริเวณเหนือหัวเหน่าอย่างรุนแรง
1.3 กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว หายใจไม่สม่ำเสมอ
1.4 กดเจ็บบริเวณเหนือหัวเหน่า โดยเฉพาะบริเวณส่วนล่างของมดลูก
1.5 พบ Bandl’s ring
1.6 จากการตรวจภายในช่องคลอด พบปากมดลูกลอยสูงขึ้น เนื่องจากถูกดึงรั้งขึ้นไปและอาจพบปากมดลูกบวม
1.7 อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ไม่สม่ำเสมอ
1.8 อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด
อาการและอาการแสดงของมดลูกแตก (uterine rupture) มีดังนี้
2.1 อาการปวดท้องน้อยจะทุเลาลง
2.2 บางรายพบมีเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ
2.3 มีอาการช็อก (hypovolemic shock) หรือไม่ ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของมดลูกแตก ว่ามีเลือดออกมากน้อยเพียงใด
2.4 คลำส่วนของทารกได้ชัดเจนมากขึ้น และอาจคลำได้ส่วนของมดลูกอยู่ข้างๆ ทารก
2.5 เสียงหัวใจทารกจะเปลี่ยนแปลง
2.6 การตรวจภายในพบว่าส่วนน าถอยกลับ หรือส่วนนำลอยสูงขึ้น หรือตรวจไม่ได้ส่วนนำและอาจคลำพบรอยแตกของมดลูก
2.7 อาจคลำได้ก้อนหยุ่น ๆ ข้างมดลูก
2.8 สวนปัสสาวะอาจได้เลือดปนในปัสสาวะ ถ้ามีการฉีกขาดของกระเพาะปัสสาวะ
2.9 ปวดท้องอย่างรุนแรง รู้สึกอึดอัด
การรักษา
แก้ไขภาวะช็อค
การผ่าตัดเปิดช่องท้อง (exploratory laparotomy)
รายงานกุมารแพทย์ เพื่อช่วยฟื้นคืนชีพทารก ในกรณีที่ทารกยังมีชีวิต
การเย็บซ่อมแซมหรือตัดมดลูก
ถ้าเลือดออกอีกอาจต้องท าผ่าตัด เพื่อผูก hypogastric arteries ทั้งสองข้างร่วมด้วย
ให้เลือดทดแทน และให้ยาปฎิชีวนะอย่างเต็มที
การพยาบาล
การพยาบาลเพื่อการปูองกันภาวะมดลูกแตก
1.1 มารดาที่มีประวัติการคลอดยาก ผ่าตัดมดลูก และเคยได้รับการทำสูติศาสตร์หัตถการควรแนะนำให้ฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอในระยะตั้งครรภ์ และแนะนำให้มาคลอดที่โรงพยาบาล
1.2 มารดาที่เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ควรแนะนำให้คุมกำเนิด และเว้นระยะในการตั้งครรภ์อย่างน้อย 2 ปี และเมื่อตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์ครั้งแรกควรส่งพบแพทย์
1.3 ในระยะคลอดต้องเฝ้าดูแลมารดาอย่างใกล้ชิด
1.3.1 ตรวจการหดรัดตัวของมดลูก
1.3.2 สังเกตลักษณะมดลูก ถ้าพบว่ามีลักษณะ Bandl’s ring ให้รายงานแพทย์
1.4 ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ผิดปกติ หรือมีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ควรรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาผ่าท้องทำคลอด
การพยาบาลเมื่อมีภาวะมดลูกแตกแล้ว
2.1 เตรียมมารดาเพื่อทำผ่าตัด
2.2 เตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพ
2.3 ให้การดูแลจิตใจมารดาและครอบครัว ในกรณีที่สูญเสียบุตร