Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท, นางสาวสุกัลยา บุญยิ่ง เลขที่ 82 ห้อง 2B…
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท
ภาวะชักและโรคลมชัค (Seizure and Epilepsy)
Seizure (อาการชัก)
ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของคลื่นไฟฟ้าสมอง
การปล่อยคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติ (epileptiform discharge) จากเซลล์ประสาทในสมอง
เกิดขึ้นทันที
อาการแสดงจะขึ้นกับตำแหน่งของสมองที่ทำงานผิดปกติ
Epilepsy (โรคลมชัก)
ภาวะที่เกิดอาการ Seizure ตั้งแต่ 2 episodes ขึ้นไป ต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
ไม่ได้เกิดจากสาเหตุภายนอก
มีโอกาสชักอีกครั้งในระยะเวลาต่อไปอีก 2 ปีได้ร้อยละ 70-80
Convulsion (อาการเกร็งและ/หรือกระตุก)
เกิดจาก Seizure อาการแสดงทาง motor ผิดปกติ
อาการแสดงทาง motor ผิดปกติ
จากสาเหตุอื่น เช่น syncope, breath holding spell, cyanotic spell เป็นต้น
Status epilepticus
การชักต่อเนื่องนานมากกว่า 30 นาที
การชักหลายครั้งในช่วงเวลานานกว่า 30 นาที
ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวเป็นปกติขณะหยุดชัก
สาเหตุของอาการชักที่พบบ่อย
ภาวะติดเชื้อที่กะโหลกศีรษะ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ
ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
ภาวะผิดปกติทาง metabolism เช่น Hypocalcemia, Hypoglycemia
ภาวะผิดปกติทางไต เช่น Uremia
เนื้องอกในกะโหลกศีรษะ
โรคบาดทะยัก
ภาวะไข้สูงในเด็กเล็ก
ความผิดปกติของสมองโดยกำเนิด เช่น Hydrocephalus
โรคลมบ้าหมู/โรคลมชัก (Epilepsy)
ชนิดและลักษณะเฉพาะของภาวะชัก
Partial seizure
การชักที่เกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองเฉพาะที่
มีอาการเตือน (aura)
พบความผิดปกติของระบบประสาทเฉพาะที่หลังชัก
Simple partial seizure ไม่เสียการรู้ตัวขณะชัก
ด้านการเคลื่อนไหว เช่น jerking, rigidity, spasm, head turning
การรับความรู้สึกผิดปกติ เช่น ได้กลิ่นแปลกๆ ได้ยินเสียง การมองเห็น การได้กลิ่น รสหรือสัมผัสที่ผิดปกติ
ระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น มีอาการคลื่นไส้อาเจียน หน้าแดง เหงื่อออก ขนลุก
ด้านอารมณ์จิตใจ เช่น รู้สึกกลัวหรือโกรธ มองเห็นหรือได้ยินเสียงทั้งที่ไม่มีอยู่จริง รู้สึกคุ้นเคย (deja vu)
Complex partial seizure เสียการรู้ตัวขณะชัก
รู้ตัวดีมาก่อนและตามด้วยอาการไม่รู้ตัว
หรือมีการเสียการรู้ตัวตั้งแต่แรก
มีการเคลื่อนไหวแบบ automatism เป็นการทำอะไรซ้ำๆ โดยไม่มีความหมาย
ปากขมุบขมิบ เคี้ยวปาก เลียริมฝีปากหรือการเคลื่อนไหวซ้ าๆของมือ
Generalized seizure
Generalized tonic-clonic seizure มีอาการหมดสติเกร็งทั้งตัวตามด้วยการกระตุกเป็นจังหวะ
Absence ผู้ป่วยมีอาการเหม่อ ตาลอย อาการจะเกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว
Myoclonic กระตุกเป็นระยะเวลาสั้นๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วคล้ายสะดุ้ง (sudden, brief muscle contraction)
Clonic มีลักษณะกระตุกเป็นจังหวะ
Tonic มีลักษณะกล้ามเนื้อเกร็งอย่างรุนแรง
Atonic มีลักษณะสูญเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นทันที
Unclassified epileptic seizure
ไม่สมารถจัดกลุ่มได้เนื่องจากข้อมูลไม่พอเพียง
เนื่องจากการไม่สมบูรณ์ของสมอง
เช่นการชักชนิด subtle ใน neonatal seizure เป็นต้น
ชักจากไข้สูง (Febrile Seizure)
พบบ่อยในเด็กก่อนอายุ 5 ปี พบมากในช่วงอายุ 18-22 เดือน เด็กชายพบมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย
ซึ่งไม่ทราบสาเหตุกลไกในการเกิดที่แน่ชัดแต่เชื่อว่าเกิดจากด้านพันธุกรรม
อาการและอาการแสดง
ไข้ สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
ลักษณะการชัก
ระยะเวลาชักเป็นเวลาสั้นๆ
ซึมมากหรือซึมเป็นระยะเวลานานโดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ ต้องคิดถึงภาวะอื่นที่ไม่ใช่ febrile seizure
ชักใน 1-24 ชั่วโมงของไข้
อายุที่ชักน้อย และการชัก episode ที่ 1-2 มีความเสี่ยงการชักซ้ ามากกว่าครั้งที่ 3, 4, 5
การพยาบาล
1.ประเมินและบันทึกลักษณะการชัก ระดับการรู้สติของผู้ป่วยก่อนระหว่างและหลัง จำนวนครั้งของการชัก เพื่อวางแผนการพยาบาลได้ถูกต้องและรวดเร็ว
2.ขณะชักจัดให้ตะแคงหน้าเพื่อให้น้ำลายไหลออกจากปาก ไม่สำลักเข้าไปทางเดินหายใจ และลิ้นไม่ตกอุดหลอดลม รวมทั้งดูแลทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอ
3.ดูแลดูดเสมหะออกจากปากและจมูกบ่อยๆเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
4.จัดให้ผู้ป่วยนอนราบ ใช้ผ้านิ่มๆ เช่น ผ้าห่มหรือผ้าเช็ดตัวหนุนบริเวณใต้ศีรษะเพื่อป้องกันศีรษะกระแทกกับพื้นเตียง
5.Observe vital signs ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินลดลง อุณหภูมิและการหายใจ
6.ดูแลเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ าอุ่นนาน 10–15 นาที ทุก 2 ชั่วโมงเวลามีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส เพราะไข้สูงจะกระตุ้นให้เกิดการชักซ้ำได้อีก
7.ดูแลสิ่งแวดล้อมข้างเตียงให้สะอาดเหมาะแก่การพักผ่อนเผื่อลดเมตาบอลิซึมของร่างกาย
8.ดูแลให้ Oxygen สารน้ำ และยาตามแผนการรักษา
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากภาวะชัก
เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและขาดออกซิเจนขณะชัก
สังเกตและบันทึกระยะเวลาขณะชัก
สังเกตผู้ป่วยภายหลังชัก เปลี่ยนเสื้อผ้าให้สุขสบาย ให้ผู้ป่วยพักผ่อนไม่รบกวนผู้ป่วย
ให้กำลังใจผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อลดความวิตกกังวลและให้คำแนะนำเรื่องการดูแลขณะชักและภายหลังชัก
ให้ยากันชัก (Anticonvulsant) ตามแผนการรักษา และติดตามการออกฤทธิ์ของยาและผลข้างเคียง
เตรียมช่วยแพทย์เจาะหลังในกรณีที่ผู้ป่วยชักจากไข้สูง อายุต่ ากว่า 18 เดือนเพื่อแยกภาวะติดเชื้อในระบบประสาท
กรณีที่ผู้ป่วยเป็น Status epilepticus ชักนานเกิน 30 นาที จะเกิดภาวะพร่องออกซิเจนและให้ยากันชักตามแผนการรักษา
สมองพิการ (Cerebral Palsy)
ความบกพร่องของสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อ
ให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับท่าทาง การทรงตัว การเคลื่อนไหว (motor disorders)
สาเหตุ
ไม่สามารถหาสาดหตุได้ ร้อยละ 50
ระยะก่อนคลอด ร้อยละ 10 มารดาขาดสารอาหาร ติดเชื้อขณะท้อง
ระยะคลอด ร้อยละ 30 สมองขาดออกซิเจน คลอดยาก ท่าก้น
ระยะหลังคลอด ร้อยละ 5 ได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ ตัวเหลือง ได้รับสารพิษ
ทำให้เนื้อสมองถูกทำลายขณะที่สมองก าลังเจริญเติบโตตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี
ชนิดของสมองพิการ
Spastic quadriplegia : มีความรุนแรงที่สุด มีกล้ามเนื้อหดเกร็ง พบในทารกเกิด ครบกำหนดและตัวเล็กกว่าอายุครรภ์
Dyskinetic / choreoathetoid / extrapyramidal CP : มักพบในทารกเกิดครบกำหนดที่มีภาวะขาดอากาศหายใจระหว่างคลอดอย่างรุนแรง
Spastic hemiplegia : พบในทารกเกิดครบกำหนดที่มีน้ำหนักแรกเกิดปกติ
Ataxic CP : มักพบในทารกเกิดครบกำหนด
Spastic diplegia : พบได้ทั้งในทารกเกิดครบกำหนดและก่อนกำหนด
การพยาบาล
พร่องการดูแลตนเอง
ระวังการเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ ในเด็กที่มีน้ำลายหรือเสมหะมาก
ช่วยเหลือเด็กในการรับประทานอาหาร จัดอาหารที่มีแคลอรีสูงให้พอเพียง
กระตุ้นให้เด็กดูแลตนเองตามความสามารถ ถ้าเด็กทำไม่ได้ต้องช่วยเหลือให้เกิดความสุขสบาย
แนะนำเรื่องการฝึกการขับถ่ายโดยใช้วิธีที่แตกต่างกันตามความสามารถของเด็ก
พัฒนาการช้ากว่าวัย
แนะนำบิดามารดา ญาติ หรือผู้ดูแลเด็กในการดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ติดตามและประเมินพัฒนาการเป็นระยะๆ
ส่งเสริมพัฒนาการในแต่ละด้านโดยใช้ของเล่นหรือกิจกรรมที่ให้เด็กได้และมีส่วนร่วมมากที่สุดตามความสามารถชองเด็ก
การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่อง
ช่วยเด็กในการใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่นอุปกรณ์ช่วยเดินสำหรับเด็กที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริม
ส่งเด็กไปทำกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันความพิการอื่นๆ
จัดหาของเล่นที่จะกระตุ้นให้เด็กเกิดการเคลื่อนที่หรือการเคลื่อนไหว นำของเล่นที่เขย่ามีเสียงไพเราะ
ให้ยาคลายกล้ามเนื้อในเด็กที่มีอาการเกร็ง
ดูแลเรื่องการเคลื่อนไหวของร่างกายที่บกพร่อง โดยการกระตุ้นให้เด็กนั่ง คลาน เดิน ตามวัยของเด็ก
ศีรษะโตผิดปกติ (Hydrocephalus)
การพยาบาลก่อนผ่าตัด
ดูแลผิวหนังป้องกันระคายเคือง ป้องกันการติดเชื้อ
อาจเกิดภาวะขาดสารน้ำและอาหาร เนื่องจากดูดกลืนลำบาก อาเจียน
ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและเด็ก อาจไม่เป็นไปตามปกติ
มีโอกาสเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง และเปลี่ยนแปลงทางประสาท เนื่องจากมีการสะสมของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะ
แนวทางการรักษา
ถ้าศีรษะโตไม่มากนัก เกิดจากการมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย เจาะหลังใส่ยา ก็อาจให้ความดันของน้ำไขสันหลังปกติ
ถ้าศีรษะโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ต้องผ่าตัด
การพยาบาลหลังผ่าตัด
ท่อ Shunt อาจเกิดการอุดตัน เนื่องจากการกดหรือการผ่าตัด
อาจทำให้พัฒนาการล่าช้าเนื่องจากความเจ็บป่วย
อาจเกิดภาวะขาดสารน้ำและอาหาร เนื่องจากดูดกลืนลำบาก อาเจียน
บิดามารดามีความวิตกกังวล เนื่องจากขาดความเข้าใจในการดูแลบุตร
อาจเกิดการติดเชื้อหรือมีภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากการผ่าตัดใส่ Shunt
คำแนะนำแก่บิดามารดาเมื่อเด็กมี Shunt
จัดท่านอนให้เด็กนอนศีรษะสูงเล็กน้อย ห้ามนอนศีรษะต่ำ
แนะนำเกี่ยวกับเรื่องอาหาร เช่น ให้รับประทานผักผลไม้เพื่อป้องกันท้องผูก
สังเกตบริเวณที่มี Pump ว่าบวมหรือไม่
ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย พาเด็กมาตรวจตามนัดทุกครั้ง หรือเมื่อมีอาการดังที่กล่าวแล้วในข้อที่ 1
ให้สังเกตอาการของความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่ม เช่น อาเจียน กระสับกระส่าย กระหม่อมหน้าโป่งตึง ชักเกร็ง ไม่ดูดนม
การวินิจฉัย
Transillumination จะเห็นการแบกของ Suture และกระดูกกะโหลกศีรษะบาง
CT Scan หรือ Ventriculography จะเห็น Ventricle ขยาย
ถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะจะเห็นการแยกของ Suture และกระดูกกะโหลกศีรษะบาง
ถ้าเป็นชนิด Non Communicating ใส่สีเข้าไปใน Ventricle จาก Anterior Fontenele จะไม่พบในน้ำไขสันหลังเมื่อเจาะหลัง
เปรียบเทียบรอบศีรษะกับขนาดปกติของเด็กแต่ละวัย โดยการวัดรอบศีรษะจะเพิ่มรวดเร็ว
การประเมินสภาพ ( Assessment )
หัวโตเมื่อเทียบกับลำตัว รอบศีรษะโตกว่ารอบอกเกิน 2-5 ซม.กระหม่อมหน้ากว้าง ตึง กระดูกกะโหลกศีรษะแยกออก ทำให้ขนาดของศีรษะขยาย
เมื่อมีน้ำมากขึ้น หน้าผากโปนเด่น หนังศีรษะแยกออก ทำให้ขนาดของศีรษะขยายใหญ่กว่าปกติ
มี Sun Set Eye หรือ Setting Sun Sign กล้ามเนื้อแขนขากว้าง ซึม อาเจียน เบื่ออาหาร เลี้ยงไม่โต สั่น ดูดนมลำบาก
ภาวะความดันสูงในกะโหลกศีรษะสูง
โรคที่ทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะสูงที่พบบ่อย
Hydrocephalus
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เนื้องอกในสมอง
เลือดออกในสมอง
ฝีในสมอง
การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
Hypothermia เป็นการทำให้อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 32-33 องศาเซลเซียส จะช่วยให้สมองมีการเผาผลาญลดลง
ให้ผู้ป่วยได้รับยา Acetazolamine (diamox) ตามแผนการรักษา
จำกัดน้้ำโดยอาศัยหลักว่าถ้าน้ำภายในเซลล์ลดลงแล้วความดันภายในสมองก็จะลดตามไปด้วย
ผู้ป่วยที่ทำ Ventriculostomy วางถุงรองรับน้ำไขสันหลัง (transfer bag) ไว้ที่หัวเตียงในระดับเหนือหู 10 เซนติเมตร
เพิ่มอัตราการหายใจให้มากกว่าปกติ (Hyperventilation) โดยให้ bag-mask ventilation 100% O2
ผู้ป่วยโรคสมองบวมน้ำ (Hydrocephalus) ก่อนผ่าตัดต้องเฝ้าระวังภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
ประเมินสัญญาณชีพและการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาททุก 1-2 ชั่วโมง
ป้องกันภาวะ CO2 คั่ง ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดขยายส่งผลให้เกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
จัดท่านอนให้ศีรษะสูง 15-30 องศา
เจาะน้ำไขสันหลัง วัดความดันสูงกว่า 200 มิลลิเมตรน้ำ
Myelodysplasia
สาเหตุ
Chromosomal aberration
ทารกในครรภ์ได้รับสารพวก teratogenic drug
การขาดอาหาร โดยเฉพาะ สังกะสีโฟเลต วิตามิน
อายุของมารดา กลุ่มที่เสี่ยงคือ มารดาวัยรุ่น และมารดาอายุมากกว่า 35 ปี
เป็นความผิดปกติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของ spinal column ตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา (Embryonic life) โดยไม่มีการเจริญปิดของ neural tube
รักษาด้วยการผ่าตัด
การพยาบาล
มี/อาจเกิดภาวะ bowel and bladder dysfunction เนื่องจากเส้นประสาทที่มาเลี้ยง อวัยวะควบคุมการขับถ่ายมีน้อยหรือไม่มีเลย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำมากเพียงพอ (ในกรณีไม่มีข้อจำกัดปริมาณน้ำที่เข้าสู่ร่างกาย)
ทำ crede' maneuver กระเพาะปัสสาวะด้วยความนุ่มนวลทุกครั้งที่ถ่ายปัสสาวะ เพื่อไม่ให้มีน้ำปัสสาวะคั่งค้าง
ดูแลความสะอาดบ่อยๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ประเมินสัญญาณชีพ
ให้กำลังใจผู้ปกครองเกี่ยวกับปัญหาของผู้ป่วย และแนะนำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแล
สังเกตอาการ และให้การดูแลเกี่ยวกับการถ่ายกระปริดกระปรอย ถ่ายลำบาก ท้องอืด
1.เสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อบริเวณที่มีพยาธิสภาพและสมอง เนื่องจากมี open membranous sac, CSF ไหลจากบริเวณที่มีพยาธิสภาพ
จัดท่านอน ไม่ให้นอนทับบริเวณแผล
สังเกตอาการทั่วไป และประเมินการติดเชื้อจาก สัญญาณชีพ และอาการอื่นๆ เช่น ซึมลงดูดนมได้น้อยลง อาเจียน เป็นต้น
ดูแลความสะอาดและปิดแผลด้วย NSS และปิด sterilized gauze เปลี่ยนทุก 2 ชั่วโมง หรือ ทุกครั้งที่dressing เปียกชุ่ม
ดูแลการได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ ประเมินน้ำหนักตัว
2.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันสูงในกะโหลกศีรษะ เนื่องจากบางรายอาจมีhydrocephalus ร่วมด้วย
ให้การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะ ICP
นางสาวสุกัลยา บุญยิ่ง เลขที่ 82 ห้อง 2B รหัสนักศึกษา 613601191