Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:star:การคลอดเฉียบพลัน :star: (Precipitate labor) - Coggle Diagram
:star:การคลอดเฉียบพลัน :star:
(Precipitate labor)
ความหมาย
การคลอดที่เกิดขึ้นเร็วผิดปกติ ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 ชม. หรือระยะที่ 2 ของการคลอดใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที ส่วนมากพบในครรภ์หลัง ผู้คลอดจะเจ็บนานและมาก
อุบัติการณ์
พบประมาณร้อยละ 2 ของการคลอด ร้อยละ 93 ของผู้คลอดกลุ่มนี้มักเป็นผู้คลอดที่ผ่านการคลอดมาแล้ว
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
เคยมีประวัติการคลอดเฉียบพลัน
การหดรัดตัวของมดลูกแรง โดยเกิดขึ้นเองหรือจากการให้ยาเร่งคลอดมากผิดปกติ
ความต้านทานที่คอมดลูกน้อย พื้นเชิงกราน ช่องคลอด และฝีเย็บมีน้อย
ทารกตัวเล็กหรืออายุครรถ์น้อยกว่ากำหนด
ผู้คลอดครรภ์หลัง เนื้อเยื่อต่างๆมีการยืดขยายมาก จึงทำให้ส่วนต่างๆ ได้แก่ คอมดลูก พื้นเชิงกรานช่องคลอดและฝีเย็บหย่อนตัว
ผู้คลอดไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดจากการคลอดหรือไม่รู้สึกอยากเบ่ง พบได้น้อย
ผู้คลอดไวต่อการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
อาการและอาการแสดง
มีอาการเจ็บครรภ์เป็นอย่างมาก
มดลูกมีการหดรัดตัวอย่างถี่และรุนแรง มากกว่า 5 ครั้งในเวลา 10 นาที
ตรวจภายในพบปากมดลูกมีการเปิดขยายเร็ว ครรภ์แรกปากมดลูกเปิด
5 cm./hr. ครรภ์หลังปากมดลูกเปิด 10 cm. หรือมากกว่า 10 cm./hr.
การวินิจฉัย
มีการหดรัดตัวของมดลูกถี่และรุนแรง มีการหดรัดตัวทุก 2 นาที หรือบ่อยกว่านั้น
ผู้คลอดอยากเบ่งในขณะที่ปากมดลูกเปิดไม่หมด
อัตราการเปิดขยายของปากมดลูกถ่างขยายเร็ว ไม่สัมพันธ์กับระยะเวลาคลอด
ระยะเวลาในการเจ็บครรภ์และคลอดน้อยกว่า 3 ชม.
ความดันภายในโพรงมดลูกประมาณ 50-70 mmHg.
ผลกระทบต่อทารก
ศีรษะทารกได้รับอันตรายจากการรับเด็กไม่ทัน
อัตราการตายของทารกเพิ่มขึ้น
เกิดอัมพาตของแขนและขาถูกกระทบกระเทือน
อาจเกิดภาวะขาดออกซิเจน
สายสะดือขาด เนื่องจากสายสะดือสั้นหรือรกยังไม่ลอกตัว
อาจเกิดการติดเชื้อจากการคลอดเร็ว ทำความสะอาดไม่ทัน
ถ้าคลอดออกมาทั้งถุงน้ำคร่ำทารกอาจสำลักน้ำคร่ำได้ ซึ่งมักพบในทารกอายุครรภ์น้อย
รกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อมารดา
เนื้อเยื่อบริเวณช่องทางคลอดเกิดการฉีกขาด
ตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมีเลือดออกจากแผล และระยะหลังคลอดกล้ามเนื้อมดลูกอ่อนล้าจึงหดรัดตัวไม่ดี
มีการติดเชื้อหลังคลอด เนื่องจากมีแผลฉีกขาดและจากการช่วยคลอดไม่ทัน
อาจเกิดภาวะน้ำคร่ำอุดตัน
มดลูกแตกจากมดลูกหดรัดตัวรุนแรง
เกิดการคั่งของเลือดใต้ชั้นผิวหนังที่ฉีกขาด
อาจเกิดมดลูกปลิ้น
ถ้าแรงต้านทานของช่องคลอดมีน้อย เช่น ปากมดลูกบางและถ่างขยายได้ง่าย มักไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมารดา
ถ้าแรงต้านทานของช่องคลอดมีมากเกินไป เช่น ปากมดลูกแข็ง ไม่เปิดและยาว จะทำให้มีโอกาสเกิดการฉีกขาดของช่องทางคลอดได้มาก
การรักษา
หากให้ยา Oxytocin เร่งคลอด >> หยุดให้ทันที
ให้ยาที่มีคุณสมบัติทำให้มดลูกคลายตัว ได้แก่
ยาสลบ >> Halothane , Isoflurane
ยาที่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว >> Ritrodine , Magnesium sulfate
ยาระงับปวด >> ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว
การผ่าตัดคลอด ทำในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะมดลูกแตก หรือน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือดของผู้คลอด
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ
การคลอดเฉียบพลันหรือการคลอดเร็วในครรภ์ก่อน
ความไวต่อการเร่งคลอด
ลักษณะอาการเจ็บครรภ์
อาการอื่นๆ ร่วมกับการเจ็บครรภ์
การตรวจร่างกาย
การตรวจภายใน เพื่อประเมินอัตราการเกิดขยายของปากมดลูก
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
การฟัง FHS ของทารกร่วมกับการ Monitor EFM
ภาวะจิตสังคม
ประเมินความวิตกกังวล
ความหวาดกลัวของผู้คลอดเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของทารกเนื่องจากการคลอดเร็ว
การพยาบาล
มารดาที่มีประวัติการคลอดเร็วระมัดระวังในการช่วยเหลือการคลอด
สังเกตประเมินความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิด
บันทึกการหดรัดตัวของมดลูก
และฟัง FHS ทุก 30 นาที
ประเมินการเปิดขยาย
และความบางของปากมดลูก
เมื่อมารดาอยากเบ่ง
ไม่ทอดทิ้งผู้คลอด
พิจารณาย้ายมารดาเข้าห้องคลอด มีประวัติคลอดเร็วควรย้ายเข้าห้องคลอด เมื่อ Cx. 5 cm. เพื่อเตรียมช่วยเหลือโดยเร็ว
ให้การดูแลตามอาการ กรณีที่มีการคลอดเฉียบพลัน
กระตุ้นให้มารดาใช้เทคนิคการหายใจแบบตื้นๆเร็วๆเบาๆ เข้าออกทางปากและจมูก เพื่อควบคุมไม่ให้มารดาเบ่งเร็ว
ใช้ผ้าสะอาดกดบริเวณฝีเย็บ พร้อมทั้งใช้มืออีกข้างกดศีรษะทารกให้ก้มลงก่อนที่ศีรษะทารกจะคลอด เพื่อป้องกันการฉีกขาดของฝีเย็บและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ในกรณีที่มารดาไม่สามารถหยุดเบ่ง และศีรษะทารกคลอดออกมาแล้ว
ให้กางขามารดาออก เพื่อป้องกันศีรษะทารกถูกหนีบ
จับให้ทารกนอนศีรษะต่ำ ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง
และดูดน่ำคร่ำในปากและจมูกทารกออก เพื่อป้องกันสำลักน้ำคร่ำ
ระยะหลังคลอดให้การดูแลอย่างใกล้ชิด กรณีที่มีการฉีกขาดช่องทางคลอดและมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
แนะนำการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
และดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังคลอด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ช่องทางคลอดมีโอกาสฉีกขาดมากผิดปกติ เนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
เจ็บครรภ์มาก เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวแรงและถี่มาก
ทารกอาจได้รับอันตรายจากการคลอดเฉียบพลัน
อาจเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจากการคลอดเฉียบพลัน
วิตกกังวล/กลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน