Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อ - Coggle…
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท
กระดูกและกล้ามเนื้อ
ระบบประสาท
อาการสำคัญทางระบบประสาท
(Neurological Signs)
ระดับความรู้สึกตัว
(Level of Conscious)
3.ซึม (Stuporous) ผู้ป่วยจะมีอาการซึมลง จะหลับเป็นส่วนใหญ่
ปลุกไม่ค่อยตื่น บางครั้งต้องเขย่า
แต่ยังสามารถตอบสนองต่อความเจ็บได้ตรงจุด
ใกล้หมดสติ (Semi coma) ผู้ป่วยจะหลับอยู่ตลอดเวลา ไม่ตอบสนองต่อการเขย่าหรือคำสั่งมีการตอบสนองต่อ ความเจ็บปวดอย่างไม่มีจุดหมาย
ง่วง (Drowsy) ผู้ป่วยมีความรู้สึกตัวเลวลงเล็กน้อย
จะง่วงหลับแต่เมื่อปลุกตื่นและตอบคำถามได้
หมดสติ (Coma) ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นอื่น ๆ นอกจากความเจ็บปวดที่รุนแรงโดยอาจมีอาการเกร็ง โดยอาการเกร็งสามารถแบ่งอออกเป็น 2 แบบ คือ
Decortication
งอแขนทั้ง 2 ข้างเข้าหาตัวในระดับไหล่ กำมือแน่นและงอข้อมือ
ทั้ง 2 ข้าง ส่วนขาทั้ง 2 ข้างเหยียดปลายเท้าออกและงอปลายเท้าเข้าหากัน
โดยท่านอนแบบนี้จะพบ ในเด็กหมดสติที่มีการทำลาย
ของเนื้อสมองส่วน cerebral cortex อย่างรุนแรง
Decerebration
แขนทั้ง 2 ข้างเกร็ง เหยียดออกและคว่ำแขนลงโดยบิดข้อมือออก
ด้านข้าง ขาทั้ง 2 ข้างเกร็ง เหยียดออกและแยกออกจากกัน
พบในเด็กหมดสติที่สมองส่วน Midbrain ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
ระดับรู้สึกตัวดี (Alert) สามารถตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นได้ถูกต้อง
และรวดเร็วเหมาะสมกับวัยของผู้ป่วย
ประเมินความรู้สึกตัวโดยใช้ Glasgow Coma Scale
ประเมินออกมาเป็นค่าระดับคะแนน (Glasgow Coma Score)
ซึ่งบ่งถึงปฏิกิริยาการตอบสนองที่ดีที่สุดต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ
ใน 3 พฤติกรรมด้วยกัน คือ การลืมตา การสื่อภาษาพูด
และการเคลื่อนไหว โดยมีคะแนนรวม 15 คะแนน
ระดับคะแนน 9-14 คือ ผู้ป่วยไม่หมดสติ
แต่มีความผิดปกติทางสมองบางประการ 8
ระดับคะแนน 8 คือ ร้อยละ 90 ผู้ป่วยหมดสติ
ระดับคะแนน 15 คือ ระดับความรู้สึกตัวเป็นปกติ
ระดับคะแนน 3-7 คือ หมดสติ ไม่ลืมตา ไม่พูด ไม่ทำตามคำสั่ง
ระดับคะแนน 3 คือ หมดสติในระดับที่รุนแรงที่สุด ลึกที่สุด
การลืมตา
3 คะแนน เมื่อใช้เสียงเรียก
2 คะแนน เมื่อทำให้เจ็บ
4 คะแนน ลืมตาได้เอง
1 คะแนน ไม่ลืมตา
การเคลื่อนไหว
6 คะแนน ทำตามคำสั่งได้
5 คะแนน ปัดป้องต่ำแหน่งที่เจ็บได้
4 คะแนน ชักแขนขาหนีเมื่อเจ็บมาก
3 คะแนน เกร็งงอแขนเมื่อเจ็บมาก (Decortication)
2 คะแนน เกร็งบิดแขนบิดเข้าข้างใน
เมื่อเจ็บมาก(Decerebration)
1 คะแนน ไม่เคลื่อนไหว
การสื่อภาษา
3 คะแนน เปล่งเสียงพูดเป็นคำๆ
ที่จับความไม่ได้
2 คะแนน เปล่งเสียงที่ไม่เป็นคำพูด
1 คะแนน ไม่เปล่งเสียงเลย
4 คะแนน พูดสับสน
5 คะแนน พูดรู้เรื่องดี
ปฏิกิริยาการเคลื่อนไหว (Motor Response)
ทารกประเมินจาก Reflex Moro, Grasp, Babinski
เด็กโตตรวจโดยใช้แรงต้าน และแรงดึงต้านแรงของผู้ตรวจ
การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ (Vital Signs)
การเปลี่ยนแปลงของชีพจร
การเปลี่ยนแปลงของการหายใจ
Central Neurogenic Hyperventilation คือ การหายใจเร็วลึก แสดงถึงมีการทำลายบริเวณ Midbrain หรือ Pons ตอนบน
การหายใจแรงเร็วสลับการหยุดหายใจ (Cheyne – Stroke Respiration)
การหายใจเข้าเต็มที่แล้วหยุดนิ่งนานกว่าหายใจออกและหยุดนิ่งอีกครั้งก่อนหายใจเข้า (Apneustic Breathing)
การหายใจไม่สม่ำเสมอ ตั้งอัตราเร็วและความลึก (Ataxia Breathing) B.P. Pulse Temperature อาจบ่งถึง การมีความดัน ในกะโหลกศีรษะสูง
การเปลี่ยนอุณหภูมิ ในกรณีที่ Hypothalamus ได้รับอันตรายทำให้การทำงานของ Heat-Regulating Center ขาดประสิทธิภาพ อุณหภูมิของร่างกายอาจสูงขึ้นหรือต่ำลงได้
การเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต
หากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง
ร่างกายจะปรับตัวให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
เพื่อรักษาการไหลเวียนให้ปกติ
อาการทางตา (Ocular Signs)
รูม่านตา (pupil)
มีปฏิกิริยาช้า (Sluggish) : ผิดปกติ
ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง (No React To Light) : ผิดปกติ
มีปฏิกิริยาต่อแสง (React To Light) : ปกติ
การกลอกตา
เปิดเปลือกตาของผู้ป่วยและหันศีรษะของผู้ป่วยไปด้านใดด้านหนึ่ง
ในคนปกติลูกตาจะ กลอกไปด้านตรงข้ามกับศีรษะที่หัน
แสดงว่า Doll’s Eye ให้ผลบวก
่ถ้าพบว่ายังคงมองตรงในแนวกึ่งกลางขณะที่ศีรษะหันไป เรื่อย ๆ (Nagative Doll’s Eye Reflex) แสดงว่า มีแรงเบียดดัน หรือกดอยู่ที่สมองส่วน Midbrain หรือส่วนที่อยู่เหนือ Pons
ภาวะชักและโรคลมชัก
(Seizure and Epilepsy )
Epilepsy (โรคลมชัก) ภาวะที่เกิดอาการ Seizure ตั้งแต่ 2 episodes ขึ้นไป
โดยไม่ได้เกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น การติดเชื้อในสมอง อุบัติเหตุทางสมอง
โดยอาการชักที่เกิดขึ้น 2 episodes ต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
Convulsion (อาการเกร็งและ/หรือกระตุก) หมายถึง อาการแสดงทาง motor ผิดปกติ
แสดงอาการด้วยการเกร็ง กระตุก เกิดจาก Seizure หรือสาเหตุอื่น
เช่น syncope, breath holding spell, cyanotic spell เป็นต้น
Seizure (อาการชัก) คือภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ
คลื่นไฟฟ้าสมอง โดยมีการปล่อยคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติ
(epileptiform discharge) จากเซลล์ประสาทในสมอง
Status epilepticus หมายถึง การชักต่อเนื่องนานมากกว่า 30 นาที
หรือการชักหลายครั้งในช่วงเวลานานกว่า 30 นาที โดยผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวเป็นปกติขณะหยุดชัก
สาเหตุ
ภาวะติดเชื้อที่กะโหลกศีรษะ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ
ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ
ภาวะผิดปกติทาง metabolism เช่น Hypocalcemia, Hypoglycemia
ภาวะผิดปกติทางไต เช่น Uremia
เนื้องอกในกะโหลกศีรษะ
โรคบาดทะยัก
ภาวะไข้สูงในเด็กเล็ก
ความผิดปกติของสมองโดยกำเนิด เช่น Hydrocephalus
โรคลมบ้าหมู/โรคลมชัก (Epilepsy)
ชนิดและลักษณะเฉพาะของภาวะชัก
การชักเฉพาะส่วน (focal seizure)
คือการชักที่เกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองเฉพาะที่
จะพบมีอาการเตือน (aura)
Complex partial seizure ผู้ป่วยจะเสียการรู้ตัวขณะที่มีอาการชัก ลักษณะการชักอาจมีการเคลื่อนไหวแบบ automatism ซึ่งเป็นการทำอะไรซ้ำๆโดยไม่มีความหมาย เช่น ปากขมุบขมิบ เคี้ยวปาก เลียริมฝีปากหรือการเคลื่อนไหวซ้ำๆของมือ
Simple partial seizure ผู้ป่วยไม่เสียการรู้ตัวขณะที่มีอาการชัก
อาจแบ่งเป็นกลุ่มตามอาการผิดปกติดังนี้
การรับความรู้สึกผิดปกติ เช่น มีการได้กลิ่นแปลกๆ ได้ยินเสียง
การมองเห็น การได้กลิ่น รส หรือสัมผัสที่ผิดปกติ
ระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
หน้าแดง เหงื่อออก ขนลุก
ด้านอารมณ์จิตใจ (psychic symptom) เช่นรู้สึกกลัวหรือโกรธ มองเห็นหรือได้ยินเสียงทั้งที่ไม่มีอยู่จริง (hallucination) รู้สึกคุ้นเคยทั้งที่ไม่เคยไปสถานที่นั้นมาก่อน (deja vu)
ด้านการเคลื่อนไหว เช่น jerking, rigidity, spasm, head turning
การชักทั้งตัว (generalized seizure) คือการชักที่เกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองพร้อมกันทั้ง 2 ด้าน สามารถแบ่งได้เป็น
Generalized tonic-clonic seizure ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติเกร็งทั้งตัวตามด้วยการกระตุกเป็นจังหวะ
Absence ผู้ป่วยมีอาการเหม่อ ตาลอย อาการจะเกิดขึ้น
และสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว
Myoclonic มีลักษณะกระตุกเป็นระยะเวลาสั้นๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วคล้ายสะดุ้ง (sudden, brief muscle contraction)
Clonic มีลักษณะกระตุกเป็นจังหวะ
Tonic มีลักษณะกล้ามเนื้อเกร็งอย่างรุนแรง
Atonic มีลักษณะสูญเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นทันที
Unclassified epileptic seizure เป็นการชักที่ไม่สมารถจัดกลุ่มได้เนื่องจากข้อมูลไม่พอเพียงหรือเนื่องจากการ ไม่สมบูรณ์ของสมอง เช่นการชักชนิด subtle ใน neonatal seizure เป็นต้น
ชักจากไข้สูง (Febrile Seizure)
“การชักที่สัมพันธ์กับไข้ โดยไม่เกิด จากการติดเชื้อในสมอง หรือความผิดปกติทางเกลือแร่ของร่างกายในเด็กอายุมากกว่า 1 เดือนที่ไม่มีประวัติชักโดยไม่มีไข้ มาก่อน”
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหต แต่เชื่อว่ามีปัจจัยร่วมกันหลายชนิด
พันธุกรรม ภาวะที่สมองเด็ก ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ และมีไข้เป็นปัจจัยกระตุ้นอาจเกิดจากการติดเชื้อ viral หรือ bacterial ในสมอง เช่น Human Herpes Virus types 6
อาการและอาการแสดง
ไข้ ระดับไข้จะสูงกว่าหรือเท่ากับ 38ºC
ลักษณะการชัก ที่พบมากคือ generalized tonic-clonic ระยะเวลาชักเป็นเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1-2 นาที ส่วนใหญ่ไม่มี post-ictal อาจพบ drowsiness ช่วงสั้นๆ ถ้าเด็กซึมมากหรือซึมเป็นระยะเวลานานโดยไม่ สามารถอธิบายสาเหตุได้ ต้องคิดถึงภาวะอื่นที่ไม่ใช่ febrile seizure
ช่วงเวลาที่ชัก ส่วนใหญ่ชักใน 1-24 ชั่วโมงของไข้
การชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง ระดับของ serum sodium
ที่ต่ำกว่า 135 ml/l เป็นปัจจัยในการเกิดชักซ้ำ
การพยาบาล
ประเมินและบันทึกลักษณะการชักลักษณะของใบหน้า
ตา ขณะชัก ระดับการรู้สติ ของผู้ป่วยก่อนระหว่างและหลัง
ขณะชักจัดให้ผู้ป่วยตะแคงหน้าเพื่อให้น้ำลายไม่สำลักเข้าไป
ในทางเดินหายใจ ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอ
ดูแลดูดเสมหะออกจากปากและจมูกบ่อยๆเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
จัดให้ผู้ป่วยนอนราบ ใช้ผ้านิ่มๆเช่นผ้าห่มหรือผ้าเช็ดตัวหนุนบริเวณ
ใต้ศีรษะเพื่อป้องกันศีรษะกระแทกกับพื้นเตียง
Observe vital signs ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินลดลงอุณหภูมิ
และการหายใจ
ดูแลเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุ่นนาน 10–15 นาที ทุก 2 ชั่วโมงเวลามีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส เพราะไข้สูงจะกระตุ้นให้เกิดการชักซ้ำ
ดูแลสิ่งแวดล้อมข้างเตียงให้สะอาดเหมาะแก่การพักผ่อน
เพื่อลดเมตาบอลิซึมของร่างกาย
ดูแลให้ Oxygen, สารน้ำ, และยาตามแผนการรักษา
การป้องกัน
ภาวะแทรกซ้อน
สังเกตและบันทึกระยะเวลาขณะชัก
สังเกตผู้ป่วยภายหลังชัก
เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและ
ขาดออกซิเจนขณะชัก
ให้กำลังใจผู้ป่วย
และครอบครัวและให้คำแนะนำ
เรื่องการดูแลขณะชักและภายหลังชัก
ให้ยากันชัก (Anticonvulsant)
เตรียมช่วยแพทย์เจาะหลัง
ในกรณีที่ผู้ป่วยชักจากไข้สูง
กรณีที่ผู้ป่วยเป็น Status epilepticus
ชักนานเกิน 30 นาที จะเกิดภาวะพร่องออกซิเจน
และให้ยากันชักตามแผนการรักษา
สมองพิการ
(Cerebral Palsy)
มีบริเวณที่มีการตายของเนื้อสมองที่ส่วยใดส่วนหนึ่ง
ความบกพร่องของสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อ
ทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับท่าทางการทรงตัว
การเคลื่อนไหว (motor disorders)
สาเหตุ
Spastic diplegia เกิดจากพยาธิสภาพที่ pyramidal tract
ในตำแหน่งต่างๆ
Spastic hemiplegia เป็นความผิดปกติของการไหลเวียนของเลือด เช่น thromboembolism ภาวะเลือดแข็งตัวเร็วกว่าปกติ เป็นต้น
Dyskinetic / choreoathetoid / extrapyramidal CP มักพบในทารกเกิดที่มีภาวะขาดอากาศหายใจระหว่างคลอดอย่างรุนแรง (severe birth asphyxia) เป็นผลจากการตายของเซลล์ประสาทที่เฉพาะเจาะจง ทำให้เกิดรอยโรคบริเวณ basal ganglia และ thalamus ทำให้เกิด extrapyramidal CP
Spastic quadriplegia เป็นชนิดที่มีความรุนแรงที่สุดของภาวะสมองพิการที่มีกล้ามเนื้อหดเกร็ง บริเวณที่เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงได้บ่อยคือ parasaggital cortical และ subcortical area
Ataxic CP มักพบในทารกเกิดครบกำหนดพยาธิสภาพอยู่ที่
cerebellar pathway ทำให้มีอาการ ataxia ของแขนขาและตัว
การพยาบาล
พร่องการดูแลตนเอง
กระตุ้นให้เด็กดูแลตนเองตามความสามารถ
ถ้าเด็กทำไม่ได้ต้องช่วยเหลือให้เกิดความสุขสบาย
ระวังการเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ
ในเด็กที่มีน้ำลายหรือเสมหะมาก
ช่วยเหลือเด็กในการรับประทานอาหาร
จัดอาหารที่มีแคลอรีสูงให้พอเพียง
แนะนำเรื่องการฝึกการขับถ่ายโดยใช้วิธีที่
แตกต่างกันตามความสามารถของเด็ก
พัฒนาการช้ากว่าวัย
แนะนำบิดามารดา ญาติ หรือผู้ดูแลเด็กในการดูแลส่งเสริม
พัฒนาการเด็กอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ติดตามและประเมินพัฒนาการเป็นระยะๆ
ส่งเสริมพัฒนาการในแต่ละด้านโดยใช้ของเล่นหรือกิจกรรมที่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมมากที่สุดตามความสามารถของเด็ก
การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่อง
ดูแลเรื่องการเคลื่อนไหวของร่างกายที่บกพร่อง
โดยการกระตุ้นให้เด็กนั่ง คลาน เดิน ตามวัย
จัดหาของเล่นที่จะกระตุ้นให้เด็ก
เกิดการเคลื่อนที่หรือการเคลื่อนไหว
ช่วยเด็กในการใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆ
ส่งเด็กไปทำกายภาพบำบัด
เพื่อป้องกันความพิการอื่นๆ
ให้ยาคลายกล้ามเนื้อในเด็กที่มีอาการเกร็ง
ศีรษะโตผิดปกติ (Hydrocephalus)
การมีน้ำไขสันหลังเพิ่มมากขึ้นในกะโหลกศีรษะบริเวณ Ventricle
ของสมองและชั้นใต้ arachnoid การมีน้ำมากเกินไป
สาเหตุ
มีการอุดตันของทางเดินน้ำไขสันหลัง
ระหว่างจุดที่ผลิตและจุดที่ดูดซึม
ลดการดูดซึมของน้ำไขสันหลังจากการอักเสบ
จาก Congenital Hypoplasia ของ Arachnoid Villi
แต่กำเนิดหลังมีการติดเชื้อบริเวณ Arachnoid
ส่วนใหญ่มักเกิดเนื่องจาก Papilloma
ของ Choroid Plexus ของ External Ventricle
การประเมินสภาพ
( Assessment )
เมื่อมีน้ำมากขึ้น หน้าผากโปนเด่น หนังศีรษะแยกออก
ทำให้ขนาดของศีรษะขยายใหญ่กว่าปกติ
มี Sun Set Eye หรือ Setting Sun Sign กล้ามเนื้อแขนขากว้าง ซึม อาเจียน เบื่ออาหาร เลี้ยงไม่โต สั่น ร้องเสียง แหลม สังเกตการขยายของศีรษะดูความสมดุลย์ ซึ่งอาจบ่งถึงการอุดตัน หน้าที่ทางการเคลื่อนไหวจะเสื่อมเมื่อศีรษะโตขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการเสื่อมของประสาทและ Atrophy จากการเคลื่อนไหวไม่ได้
หัวโตเมื่อเทียบกับลำตัว รอบศีรษะโตกว่ารอบอกเกิน 2-5ซม.
การวินิจฉัย
ถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะจะเห็นการแยกของ
Suture และกระดูกกะโหลกศีรษะบาง
Transillumination จะเห็นการแบกของ Suture
และกระดูกกะโหลกศีรษะบาง
เปรียบเทียบรอบศีรษะกับขนาดปกติของเด็กแต่ละวัย
โดยการวัดรอบศีรษะจะเพิ่มรวดเร็ว
CT Scan หรือ Ventriculography จะเห็น Ventricle ขยาย
ถ้าเป็นชนิด Non Communicating ใส่สีเข้าไปใน Ventricle
จาก Anterior Fontenele จะไม่พบ ในน้ำไขสันหลังเมื่อเจาะหลัง
แนวการรักษา
ถ้าศีรษะโตไม่มากนัก เกิดจากการมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย เจาะหลังใส่ยาก็อาจให้ความดันของน้ำไขสันหลังปกติ
ถ้าศีรษะโตมากขึ้นเรื่อยๆ
ต้องผ่าตัด
เอาส่วนที่อุดตันออก เช่น เนื้องอก
ทำ Shunt ให้น้ำไขสันหลังจาก Ventricle ไปสู่บริเวณที่มีการไหลเวียนปกติเช่นจาก Lateral Ventricle ไปสู่ Cistena Magna แล้วดูดซึมที่ Subarachnoid Space วิธีนี้เรียก ventriculocisternostomy หรือ Torkildsen Shunt
การพยาบาล
หลังผ่าตัด
อาจทำให้พัฒนาการล่าช้าเนื่องจากความเจ็บป่วย
ดูแลบิดามารดามีความวิตกกังวล
เนื่องจากขาดความเข้าใจในการดูแลบุตร
ดูแลท่อ Shunt อาจเกิดการอุดตัน
เนื่องจากการกดหรือการผ่าตัด
ดูแลเหมือนก่อนผ่าตัด
คำแนะนำแก่บิดามารดา
เมื่อเด็กมี Shunt
แนะนำให้สังเกตอาการของความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่ม เช่น อาเจียน กระสับกระส่าย กระหม่อมหน้าโป่งตึง ร้อง เสียงแหลม ชักเกร็ง ไม่ดูดนม
สังเกตบริเวณที่มี Pump ว่าบวมหรือไม่
จัดท่านอนให้เด็กนอนศีรษะสูงเล็กน้อย ห้ามนอนศีรษะต่ำ
แนะนำเกี่ยวกับเรื่องอาหาร เช่น
ให้รับประทานผักผลไม้เพื่อป้องกันท้องผูก
ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย พาเด็กมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
ก่อนผ่าตัด
ดูแลเรื่องภาวะขาดสารน้ำและอาหาร
ดูแลผิวหนังป้องกันระคายเคืองและการติดเชื้อ
ดูแลความดันในกะโหลกศีรษะสูง และเปลี่ยนแปลงทางประสาท
ภาวะความดันสูงในกะโหลกศีรษะสูง
การพยาบาลเพื่อป้องกัน
เพิ่มอัตราการหายใจให้มากกว่าปกติ (Hyperventilation) โดยให้
bag-mask ventilation 100% O2 ทำให้ CO2 ในเลือดลดลงกว่าเกณฑ์ปกติให้อยู่ระหว่าง 25-30 mmHg
จำกัดน้ำ
ประเมินสัญญาณชีพและการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท
ทุก 1-2 ชั่วโมง
Hypothermia เป็นการทำให้อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 32-33 องศาเซลเซียส เพื่อลดการเผาผลาญพลังงานที่อาจส่งผลให้หลอดเลือดขยายทำให้เกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
ให้ผู้ป่วยได้รับยา Acetazolamine (diamox)
เพื่อลดการสร้างน้ำไขสันหลัง
ผู้ป่วยที่ทำ Ventriculostomy เพื่อระบายน้ำไขสันหลัง
จัดท่านอนให้ศีรษะสูง 15-30 องศา
ผู้ป่วยโรคสมองบวมน้ า (Hydrocephalus) ก่อนผ่าตัดต้องเฝ้าระวังภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในเด็กเล็ก ภายหลังได้รับการผ่าตัดใส่ท่อระบายน้ำไขสันหลังลงสู่ช่องท้อง (Ventriculo peritoneal shunt) ให้ระวังการอุดตันของน้ำไขสันหลังภายในท่อระบาย
การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะ CO2 คั่ง
ปกติแล้วความดันโดยเฉลี่ยจะ ประมาณ 100-160 มิลลิเมตรน้ำ
ซึ่งวัดได้จากการเจาะตรวจดูน้ำไขสันหลัง ถ้าความดันของน้ำไขสันหลัง
ที่เจาะได้สูงเกินกว่า 200 มิลลิเมตรน้ำ ถือว่าสูง
Myelodysplasia
เป็นความผิดปกติของการเจริญเติบโต
และพัฒนาการของ spinal column
ตั้งแต่เป็นตัวอ่อนใน ครรภ์มารดา (Embryonic life)
โดยไม่มีการเจริญปิดของ neural tube
ซึ่งความผิดปกติที่พบบ่อยมีดังนี
Meningocele เป็นความผิดปกติที่ meninges
ยื่นออกไปเป็นก้อนที่มีผิวหนังคลุม
Myelomeningocele เป็นความผิดปกติที่ไขสันหลังผิดปกติ
และยื่นเข้าไปอยู่ในถุง meningocele
Spina bifida occulta พวกนี้ tube ปิดแล้วแต่ Mesoderm ที่มาเจริญคั่นไม่ดี คือ Lamina และ spinous process ของกระดูกสันหลังไม่เจริญมาหุ้มด้านหลังของไขสันหลัง
สาเหตุ
การขาดอาหาร โดยเฉพาะ สังกะสี โฟเลต วิตามิน
อายุของมารดา กลุ่มที่เสี่ยงคือ มารดาวัยรุ่น
และมารดาอายุมากกว่า 35 ปี
คาดว่ามีสาเหตุจาก Chromosomal aberration
หรือทารกในครรภ์ได้รับสารพวก teratogenic drug
พยาธิสภาพ
ความพิการอื่นที่อาจพบเช่น club feet , scoliosis ,
contractures dislocation of hip
และความผิดปกติที่พบได้เกือบทุกราย ได้แก่ bowel and bladder dysfunction เนื่องจากเส้นประสาทไปเลี้ยงอยู่ที่ sacral area
ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของความผิดปกติ ซึ่งอาจมีตั้งแต่ Complete paralysis จนถึง minimal
การรักษา
ส่วนใหญ่แพทย์รักษาโดยการผ่าตัด
ซึ่งจะต้องพิจารณา
ลักษณะของ Meningocele
ต้องพิจารณาถึง
2.1 ลักษณะและขนาดของ meningocele เช่น ถ้าขนาดใหญ่มากผู้ป่วยเด็กตัวเล็กเมื่อผ่าตัดแล้วหาผิวหนังปิด ยาก อาจจะรอให้ผู้ป่วยเด็กโต
2.2 ลักษณะของผิวหนังที่คลุม ถ้าบางมากอาจแตกได้ง่าย
ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ควรทำการผ่าตัด
โอกาสที่ผู้ป่วยเด็กจะเจริญขึ้นมา
ดำเนินชีวิตที่คุ้มค่า โดยขึ้นอยู่กับ
1.2 ความพิการของ neurologic deficit
1.1 การทำลายของเนื้อสมองจาก Hydrocephalus
การพยาบาล
จัดท่านอน ไม่ให้นอนทับบริเวณแผล
สังเกตอาการทั่วไป และประเมินการติดเชื้อจาก สัญญาณชีพ
และอาการอื่นๆ เช่น ซึมลง ดูดนมได้น้อยลง อาเจียน เป็นต้น
ดูแลความสะอาดและปิดแผลด้วย NSS และปิด sterilized gauze เปลี่ยนทุก 2 ชั่วโมง หรือ ทุกครั้งที่dressing เปียกชุ่ม
4.ดูแลการได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ ประเมินน้ำหนักตัว
5.ระวังเรื่องภาวะความดันสูงในกะโหลกศีรษะ
สังเกตอาการ และให้การดูแลเกี่ยวกับ
การถ่ายกระปริดกระปรอย ถ่ายลำบาก ท้องอืด
ทำ crede' maneuver กระเพาะปัสสาวะด้วยความนุ่มนวล
ทุกครั้งที่ถ่ายปัสสาวะ เพื่อไม่ให้ มีน้ำปัสสาวะคั่งค้าง
ให้กำลังใจผู้ปกครองเกี่ยวกับปัญหาของผู้ป่วย
และแนะนำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแล
กระดูกและกล้ามเนื้อ
โรคกระดูกอ่อน
(Ricket)
อาการและอาการแสดง
กะโหลกศีรษะใหญ่กว่าปกติ รอยต่อที่กระหม่อมปิดช้า
พบขาโก่ง ขาฉิ่ง กระดูกสันหลังคดหรือหลังค่อม
ท่าเดินคล้ายเป็ด อาจเกิดกระดูกหักได้
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะน้อย กล้ามเนื้อหย่อน อ่อนแรง หลังแอ่น
การรักษา
การป้องกัน
ให้ร่างกายได้รับแสงแดดช่วงเช้าและเย็น
การกินอาหารโดยเฉพาะโปรตีนและแคลเซียม
การรักษาสาเหตุ เช่น ให้วิตามินดี
ให้วิตมินดี 200 หน่วยต่อวันต่อน้ำหนักตัว
สำหรับเด็กคลอดก่อนกำหนด
แบบประคับประคอง ใช้หลักการรักษากระดูกหักทั่วไป
ให้ออกกำลังกายกระตุ้นการสร้างของกระดูก
ระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม เช่น ยากันชัก ยาลดกรด ยาเตรทตราชยัคลิน ยาระบาย ยาขบัปัสสาวะ
สาเหตุ
การเผาผลาญแคลเซียม
โรคไตบางชนิดทำให้ไม่สามารถดูดกลับ
อนุมูลแคลเซียมและฟอสเฟต
การเผาผลาญ Vit D
ภาวะฟอสเฟตต่ำ (Hypophosphatasia)
จากขาด Alkaline Phosphatase
Bone and Joint infection
Likely (คล้ายติดเชื้อที่กระดูก) พบลักษณะทางคลินิคและภาพรังสีเข้าได้กับการติดเชื้อ ที่กระดูกตอบสนองดีต่อยาปฏิชีวนะโดยที่ไม่พบเชื้อจากการเพาะเลี้ยง
การวินิจฉัย
ต้องมีอาการ 5 ใน 6
อุณหภูมิร่างกาย > 38.3 องศาเซลเซียส
มีอาการปวดข้อ
ปวดมากเมื่อขยับข้อ
ข้อบวม
มีอาการทาง systemic โดยไม่พบพยาธิสภาพอื่นๆร่วม
ตอบสนองดีต่อการให้ยาปฏิชีวนะ
Probable (น่าจะติดเชื้อที่กระดูก) การติดเชื้อในเลือด
ร่วมกับลักษณะทางคลินิค และภาพรังสี
Osteomyelitis
พบมีการติดเชื้อที่กระดูกท่อนยาว
มักเป็นตำแหน่งเดียว
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา เข้าสู่กระดูกจากการทิ่มแทงจากภายนอก
หรือจากอวัยวะใกล้เคียง การแพร่กระจายจากกระแสเลือด
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย มีปวด บวม แดง ร้อน เฉพาะที่ บริเวณที่มีพยาธิสภาพอาจมีความผิดปกติ ปวด ปวดมากขึ้นถ้ากดบริเวณนั้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผล CBC พบ Leucocytosis , ESR , CRP มีค่าสูงผล Gram stain และ culture ขึ้นเชื้อที่เป็นสาเหตุ
ประวัติ ไม่ขยับแขนขาข้างที่เป็น (pseudoparalysis)
การตรวจทางรังสี
Plain flim พบเนื้อเยื่อส่วนลึกบวม โดยเฉพาะบริเวณ metaphysis
Bone scan ได้ผลบวก บอกต าแหน่งได้เฉพาะ
MRI (Magnatic resonance imaging) พบ soft tissue abcess , bone marrow edema
การรักษา
ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์
การผ่าตัด เอาหนอง ชิ้นเนื้อ กระดูกตายออก
ภาวะแทรกซ้อน
กระดูกและเนื้อเยื่อตาย
กระทบต่อ physis เป็นส่วนเจริญเติบโตของกระดูก
ทำลาย physeal plate ยับยั้งการเจริญของกระดูกตามยาว
Definite (ติดเชื้อกระดูกอย่างแน่นอน) ตรวจพบเชื้อโรคจากกระดูก
หรือเนื้อเยื่อติดกับกระดูกนั้นหรือผลตรวจชิ้นเนื้อแสดงถึงการติดเชื้อ
ข้ออักเสบติดเชื้อ
(septic arthritis)
สาเหตุ
สาเหตุส่วนใหญ่ เช่น แบคทีเรีย
การวินิจฉัย
ผล Lab เจาะดูดน้ำในข้อ (joint aspiration) มาย้อม gram stain
ผล CBC พบ ESR , CRP สูงขึ้นเล็กน้อย
การตรวจทางรังสี
Plain flim อาจพบช่องระหว่างข้อกว้าง
Ultrasound บอกถึงภาวะมีน้ำในข้อมาก หรือเคลื่อนหลุด
Bone scan / MRI ช่วยบอกถึงการติดเชื้อกระดูก
1.ลักษณะทางคลินิค มีไข ้ มีการอักเสบ
ปวดบวมแดง ภายใน 2-3 วันแรก
การรักษา
การใหย้าปฏิชีวนะ
การผ่าตัด ได้แก่ Arthrotomy and drainage มีข้อบ่งชี้
เพื่อระบายหนอง หยุดยั้งการทำลายข้อ
และเพื่อได้หนองและชิ้นเนื้อในการส่งตรวจ
ภาวะแทรกซ้อน
1.Growth plate ถูกทำลาย ทำให้การเจริญเติบโตตามความยาวกระดูก และการทำหน้าที่เสียไป
ข้อเคลื่อน (Dislocation)
ข้อถูกทำลาย (joint destruction)
หัวกระดูกข้อสะโพกตายจากการขาดเลือด(avascular necrosis)
Tuberculous Osteomyelitis
and Tuberculous Arthitis
วัณโรคกระดูกและข้อ
อาการและ
อาการแสดง
ที่กระดูกรอยโรคเริ่มที่ metaphysis ของ long bone
กระดูกจะถูกทำลายมากขึ้น กระดูกจะบางลงหรือแตกนอกกระดูกเกิด
เป็นโพรงหนองที่ไม่มีลักษณะ การอักเสบหรือแตกเข้าสู่ข้อใกล้เคียง
การวินิจฉัย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC อาจพบ WBC ปกติหรือสูงไม่มาก
ค่า CRP , ESR สูง ทดสอบ tuberculin test ผล
การตรวจทางรังสี plaint film MRI
ลักษณะทางคลินิก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีไข้ต่ำๆ
ตอนบ่ายหรือเย็น ต่อมน้ำเหลืองโต
สาเหตุ
เชื้อ Mycobacterium tuberculosis
การรักษา
ให้ยาต้านวัณโรค
การผ่าตัด การตรวจชิ้นเนื้อ การผ่าตัดระบายหนอง
ผ่าตัดเพื่อแก้การกดทับเส้นประสาท
ภาวะแทรกซ้อน
กระดูกสันหลังค่อมหรือเป็นอัมพาต (Pott’s paraplegia)
ปวดข้อ ผิวข้อขรุขระ ข้อเสื่อม ข้อยึดติด พิการ
Club Foot
(เท้าปุก)
สาหตุ
แบบทราบสาเหตุ
positional clubfoot เกิดจาก uterus impaction affect
teratologoc clubfoot เป็นชนิดที่มีความแข็งมาก พบใน Syndrome หลายชนิด เช่น arthogryposis multiplex congenita
neuromuscular clubfoot พบได้ท้งัแบบเป็นตั้งแต่เกิด / ภายหลัง
เช่น ใน cerebral palsy , myelomeingocele , neurological injury
แบบไม่ทราบสาเหตุ (ideopathic cluำbfoot) หรือ Ideopatic Talipes EquinoVarus (ITCEV) พบตั้งแต่กเนิด
ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด อาจเกิดจาก gene และปัจจัยส่งเสริม
พยาธิสภาพ
Joint capsule และ Ligament : จะหดส้ันแข็ง
Tendon และ Muscle : เอ็นและกล้ามเนื้อขาข้าง
ที่มีเท้าปุกจะเล็กกว่าปกติ
พบกระดูกเท้าบิดเข้า medial
Nerve และ Vessel : มีขนาดเลก็กว่าปกติ
รูปร่างของเท้าที่มีลักษณะข้อเท้าจิกลง (equinus) ส้นเท้าบิดเข้าใน (varus) ส่วนกลางเท้าและเท้าด้านหน้าบิดงุ้มเข้าใน (adduction and cavus)
การวินิจฉัย
idiopatic clubfoot : ไม่สามารถหายได้เองต้องได้รับการรักษา
positional clubfoot : ขนาดเท้าใกล้เคียงเท้าปกติ
การรักษา
การดัดและใส่เฝือก เปลี่ยนเฝือกทุก 1 – 2 สัปดาห์ การดัดใส่เฝือกอาจช่วยให้การผ่าตัดรักษาง่ายขึ้น ใส่นาน 2 – 3 เดือน และนัดมา F/U
การผ่าตัด
2.1 การผ่าตัดเนื้อเยื่อ (subtalar soft tissue release) ทำในอายุ < 3 ปี ผ่าตัดคลายเนื้อเยื่อ Subtalar joint และยืดเอ็นที่ตึง
ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อเท้าใกล้เคียงปกติ
2.2. การผ่าตัดกระดูก (osteotomy) ทำในอายุ 3 – 10 ปี
ตัดตกแต่งกระดูกให้รูปร่าง ใกล้เคียงปกติ
2.3 การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูก (triple fusion) ช่วงอายุ 10 ปี ขึ้นไป ทำให้ Subtalar joint และ midtarsal joint เชื่อมแข็ง ไม่โต รูปร่างเท้าใกล้เคียงปกติ
ฝ่าเท้าแบน (Flat feet)
โค้งใต้ผ่าเท้าไม่มี
สาเหตุ
เกิดจากการเดินที่ผิดปกติเช่นการเดินแบบเป็ด
คือมีการบิดของเท้าเข้าข้างใน
เกิดจากเอ็นของข้อเท้ามีการฉีกขาด
เป็นพันธุกรรมในครอบครัว
โรคเกี่ยวกับสมองหรือไขสันหลัง
การรักษา
ใส่แผ่นรองเท้าเสริม
อาจจะใช้ ultrasound หรือ laser เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
อย่ารักษาตาปลาด้วยตัวเอง
ใส่รองเท้าที่กว้างและมีขนาดพอดี
พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
อาการ
รองเท้าผู้ป่วยจะสึกเร็ว
ปวดฝ่าเท้า
ผู้ป่วยอาจจะมีตาปลาหรือผิวหนังฝ่าเท้าจะหนาผิดปกติ
ในรายที่แบนรุนแรงผู้ป่วยจะมีอาการปวดน่อง เข่า และปวดสะโพก
อาการขึ้นกับความรุนแรงของความแบนราบ
Cerebral Palsy
ความพิการทางสมอง
ซึ่งเด็กจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติ
จำแนกลักษณะ
การเคลื่อนไหว
Spastic CP จะมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งแน่น ไม่สามารถหดตัวได้เหมือนกล้ามเนื้อปกติมีลักษณะแข็งทื่อ
Double hemiplegia คือ มีลักษณะของ hemiplegia ทั้ง 2 ข้างเพียงแต่ความรุนแรงของแต่ละข้างไม่เท่ากัน
quadriplegia หรือ total body involvement พวกนี้มี
involvement ของทั้งแขนและขาท้้ง 2 ข้างเท่าๆกัน
Hemiplegia คือพวกที่มี spasticity ของแขนและขาข้างใดข้างหนึ่งส่วนอีกข้างหนึ่งปกติ
Diplegia คือ involved มากเฉพาะที่ขาทั้ง 2 ข้าง
มีเฉพาะส่วนของ fine movement เท่านั้นที่ถูก involved
อื่นๆ เช่น monoplegia, paraplegia, triplegia
การรักษา
1.ป้องกันความผิดรูปของข้อต่างๆ โดยใช้ วิธีทางกายภาพบำบัด (Physical Therapy) กับอรรถบำบัด (Speech and Language Therapy)
ลดความเกร็ง โดยใช้ยายากิน กลุ่ม diazepam และยาฉีด ฉพาะที่
3.การผ่าตัด ลดความตึงของกล้ามเนื้อ การย้ายเอ็น การผ่าตัดกระดูก
การให้การดูแลรวมถึงให้กำลังใจ โดยพ่อแม่ผู้ปกครอง
มีส่วนสำคัญกับการพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก
5.การรักษาด้านอื่นๆ
Ataxic CP กล้ามเนื้อจะยืดหดอย่างไม่เป็นระบบระเบียบ
ทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้
Athetoid CP มีอาการกล้ามเนื้อไม่ประสานกันทำให้เด็กควบคุม
สมดุลย์ไม่ได้ ทำให้โซเซและหกล้มได้ง่าย
Mixed CP เป็นการผสมผสานลักษณะทั้งสาม
สาเหตุ
ก่อนคลอด อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ มารดาเป็นโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับมารดาขณะตั้งครรภ์
ปัญหาระหว่างคลอด : คลอดยาก , สมองกระทบกระเทือน ,ขาดออกซิเจน, ทารกคลอดก่อนกำหนด ,เนื้อสมองจะยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
โรคติดเชื้อของสมอง
สมองอักเสบ (Encephalitis)
อาการและอาการแสดง
ไข้ มักสูงได้มาก ๆ ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ คอแข็ง
ซึมลง จนกระทั่งถึงขั้นโคม่า ภายใน 24 –72 ชั่วโมง
ชัก มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Involuntary movement)
กระสับกระส่าย อารมณ์ผันแปร เพ้อคลั่ง อาละวาด มีอาการทางจิต
การหายใจไม่สม่ำเสมอ อาจหยุดเป็นห้วง ๆ
การวินิจฉัย
ประวัติจากผู้เลี้ยงดู ให้ข้อมูลว่าผู้ป่วยมีไข้สูง ซึม คอแข็ง เป็นต้น
อาการและอาการแสดงดังที่กล่าวข้างต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจนับเม็ดเลือดขาวในเลือด ในช่วง 2-3 วันแรกเม็ดเลือดขาวสูง และนิวโตรฟิลขึ้นสูงต่อมาจะอยู่ในเกณฑ์ ปกติ
การตรวจน้ำไขสันหลัง ถ้าตรวจพบเม็ดเลือดแดงในน้ำไขสันหลัง
ให้สงสัยว่าอาจเกิดจากเชื้อไวรัสเริม (herpes simplex) การเพาะเชื้อ
และย้อมสีน้ำไขสันหลังเพื่อแยกการติดเชื้อออกจากเชื้อแบคทีเรีย
การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI) เป็นการตรวจที่ได้ผลรวดเร็ว
อาจพบพยาธิสภาพที่ตำแหน่งฐานของ กะโหลกศีรษะ บริเวณ temporal lobe
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) อาจพบลักษณะผิดปกติเฉพาะข้างใดข้างหนึ่ง ถ้ามีลักษณะผิดปกติทั้ง 2 ข้างมักมี การพยากรณ์โรคที่ไม่ดี
การตรวจวินิจฉัยแยกสาเหตุของเชื้อ เช่น โรคสมองอีกเสบจากเชื้อ JE virus โรคพิษสุนัขบ้า เริม
สาเหตุ
ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ปรสิต หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาต่อ
วัคซีนสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสมีได้ 2 ประการคือ
Primary viral encephalitis หมายถึง
การที่มีไวรัสเข้าไปสู่สมองแล้วทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
ไวรัสเริม
ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า
ไวรัสที่นำโดยแมลงโดยเฉพาะโรคไข้สมองอักเสบเจอี
หรือ Japanease B. Virus
Secondary viral encephalitis หมายถึง
การที่มีสมองอักเสบโดยเป็นผลมาจากปฏิกิริยาที่มีไวรัสเข้าสู่ร่างกาย
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นประเภท allergic หรือ Immune reaction
เชื้อที่สำคัญในประเภทนี้ได้แก่ หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส คางทูม
รวมทั้งวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
การรักษา
การให้ยา ได้แก่ ยาระงับชัก, ยาป้องกันและรักษาความสมองบวมตั้งแต่ระยะแรกๆ, ยานอนหลับ, ยา acyclovir ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเริม, ยาลดไข้,
ยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะ
รักษาสมดุลของปริมาณน้ำเข้า-ออกของร่างกาย
โดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ดูแลระบบหายใจของผู้ป่วยให้ปกติ
และหายใจสม่ำเสมอ
การให้สารสารอาหารที่มีแคลอรีเพียงพอ
ต่อความต้องการของร่างกาย
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
สาเหตุ
Viral meningitis หรือ Aseptic meningitis
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรั
Eosinophilic meningitis เกิดจากพยาธิ เช่น ตัวจี๊ด
จากการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ หรือการว่ายน้eในหนอง
บึงหรือ ดื่มน้ำที่ไม่สะอาดมีการปนเปื้อนเชื้ออะมีบา
Bacterial meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น Purulent meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดเป็นหนอง และ Tuberculosis meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค
การติดเชื้อรา (fungal meningitis) เช่น Candida albicants, Cryptococcus neoformans เป็นต้น
ปฏิกิริยาที่ไม่ใช่การติดเชื้อ (non-infections diseases) เช่น เนื้องอก (Malignancy) การบาดเจ็บ/กระทบกระเทือนของสมอง (trauma)
การได้รับสารพิษ จากตะกั่ว ปรอท เป็นต้น
2.1 เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
สาเหตุ
การติดเชื้อลุกลามโดยตรง มีการอักเสบของหูชั้นกลางอย่างเรื้อรัง
มีการอักเสบของเส้นโลหิตดำใหญ่ๆ ในชั้นดูรา ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่เป็นผลจากการติดเชื้อในบริเวณหน้าจมูก Meningocele แตก
ได้รับเชื้อโดยตรงจากการเปื้อนของเชื้อ
เช่น มีการแตกหักของกะโหลกศีรษะ เป็นต้น
การติดเชื้อผ่านทางกระแสโลหิต
อาการและอาการแสดง
อาการที่แสดงว่ามีการระคายของเยื่อหุ้มสมอง (Meningeal Irritation) ที่สำคัญ คือ อาการคอแข็ง (Stiftness of Neck) ,
Kernig’s Sign Positive , Brudzinski’s Sign Positive
อาการที่แสดงถึงภาวะแทรกซ้อน เช่น สมองบวม
มีน้ำหรือหนองในช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง มีฝีในสมอง เป็นต้น
อาการที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ คือ มีไข้สูง หนาวสั่น เบื่ออาหาร ในเด็กเล็กๆ จะกระสับกระส่ายหรือหงุดหงิดไม่ยอมดูดนม หรือมีอาเจียนได้ง่าย
การวินิจฉัย
ประวัติของผู้ป่วยโดยบิดมารดา หรือผู้เลี้ยงดูจะให้ข้อมูลว่า
ผู้ป่วยมีไข้สูง ปวดศีรษะและปวดคอ ซึม อาเจียน
เด็กเล็กไม่ยอมดูดนม ร้องกวน กระสับกระส่าย
การตรวจห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
2.1 การตรวจเลือด พบปริมาณเม็ดเลือดขาวมีจำนวนสูงขึ้น
และมีอีโฮซิโนฟิลสูง ผลการนำเลือดเพาะเชื้อจะพบเชื้อ
แบคทีเรีย
2.2 การตรวจน้ำไขสันหลังมีลักษณะขุ่นคล้ายน้ำซาวข้าว
หรือใสแต่มีลักษณะข้น แสดงว่าเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
ความดันน้ำไขสันหลังผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะมีค่าสูงมากกว่า 180 มม/น้ำ ตรวจพบเม็ดเลือดขาวในน้ำไขสันหลังเพิ่มจำนวนมากตรวจพบเม็ดเลือดขาวในน้ำไขสันหลังเพิ่มจำนวนมาก ตรวจพบน้ำตาลในน้ำไขสันหลังต่ำแสดงถึงภาวะ เยื่อหุ้มสมองติดเชื้อแบคทีเรีย
2.3 การย้อมสีน้ำไขสันหลัง (gram stain) หลังย้อมสีจะพบเชื้อแบคทีเรีย และการเพาะเชื้อจากน้ำไขสัน หลังจะพบมีการติดเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้นเช่นกัน
2.4 การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) การตรวจคอมพิวเตอร์สมองเพื่อค้นหาตำแหน่งของการติดเชื้อและการลุกลามของโรค
การรักษา
การรักษาทั่วไปตามอาการ
และการรักษาแบบประคับประคอง
2.1 ให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้สูง
2.2 ให้ยานอนหลับเพื่อลดอาการกระสับกระส่าย
2.3 ให้ยากันชักในผู้ป่วยที่มีอาการชักเกร็ง
2.4 ให้ยาลดอาการบวมของสมองในผู้ป่วยที่มีอาการสมองบวม
เช่น ม่านตาโตขึ้น หัวใจเต้นช้า ซึมลง เป็นต้น
2.5 ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
2.6 เจาะคอ หรือใช้เครื่องช่วยหายใจ
ในผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจ หรือภาวะหมดสติ
การรักษาภาวะแทรกซ้อน
3.2 ฝีในสมอง (brain abscess)
3.3 ความดันในกะโหลกศีรษะสูง
3.1 ของเหลวคั่งในช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง (subdural effusion)
3.4 การมองเห็นและการได้ยินผิดปกติ
1.การรักษาเฉพาะ
โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาต้านจุลชีพ
หรือยาปฏิชีวนะสอดคล้องกับผลการเพาะเชื้อน้ำไขสันหลัง
ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้ป่วย
2.2 เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค
(Tuberculous meningitis)
อาการและอาการแสดง
แบบเฉียบพลัน เด็กจะมีไข้ ซึมลง การรับรู้เปลี่ยนแปลง ชัก
มีอาการระคายเคืองของเยื่อ หุ้มสมอง ในระยะท้ายๆผู้ป่วยจะมี decerebrate rigidity และเกิดการเลื่อนของสมอง (cerebral herniation)
แบบเรื้อรัง
2.1 ระยะนำ (prodomal stage) ระยะนี้มีไข้ต่ำๆ บางรายไข้สูงลอย หงุดหงิด โกรธง่าย เบื่ออาหาร ซึม นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ
อาเจียน เด็กเล็กจะมีอาการกระสับกระส่าย ร้องกวนผิดปกติ
2.2 ระยะเปลี่ยนแปลง (transitional stage) เป็นระยะที่มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง และขามาก
ไข้สูงตลอดเวลา จะตรวจพบอาการแสดงของเยื่อหุ้มสมองชัดเจน
2.3 ระยะสุดท้าย (terminal stage) ผู้ป่วยในระยะนี้จะมีอาการค่อนข้างหนัก รูม่านตาขยายโดยไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง อาจมีอาการกระตุก หรือมีอาการชักเกร็งบ่อย อาจมี decorticate หรือ decerebrate rigidity เป็นพักๆ ลักษณะการหายใจ เป็นแบบ Cheyne-strokes breathing คือการหายใจเร็วตามด้วยช้าลง และหยุดหายใจเนื่องจากสมองส่วน medulla ถูกกด
การวินิจฉัย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษ
3.1 การทดสอบทูเบอร์คูลิน (tuberculin test) ให้ผลบวก
3.2 การเจาะหลัง (Lumbar puncture) ได้ ลักษณะน้ำไขสันหลังใสอาจมีสีเหลืองอ่อน ตรวจนับเซลล์ในน้ำไขสันหลังได้ประมาณ 25-500 เซลล์/มม3 ส่วนใหญ่ เป็นเซลล์ lymphocytes โปรตีนในน้ำไขสันหลังสูงกว่า 40 mg/dl
น้ำตาลในน้ำไขสันหลังต่ำกว่า ครึ่งหนึ่งของระดับน้ำตาลในเลือด ความดันของน้ำไขสันหลังสูงกว่า 200 มม/น้ำ
ส่วนผู้ป่วยในระยะท้ายๆของโรค อาจพบจำนวนเซลล์ในน้ำไขสันหลัง มากกว่า 500 เซลล์/มม3
แต่ไม่เกิน 2,000 เซลล์/มม3 เซลล์ส่วนใหญ่เป็นโพลีมอร์โฟนิวเคียร์ การตรวจย้อมสีน้ำไขสันหลังเพื่อหาเชื้อจุลินทรีย์ อาจพบเชื้อแอซิด ฟาสท์ บาซิไล ถ้านำน้ำไขสันหลังตั้งทิ้งไว้ค้างคืนจะมีเยื่อผิวหรือฝ้าลอย
ลักษณะคล้ายใยแมงมุม (cob web หรือ pellicle)
3.3 การถ่ายภาพรังสีทรวงอกจะพบ primary tuberculosis ที่ปอด
3.4 การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) เพื่อติดตามการรักษา
อาการอาการแสดงที่กล่าวข้างต้น
จากประวัติ
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง การให้สารน้ำ,
การให้นม/อาหารที่ให้พลังงาน วิตามิน
เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การรักษาภาวะแทรกซ้อน
การให้ยากันชักในรายที่มีอาการชักเกร็ง
การให้ยาลดอาการบวมของสมอง
การรักษาเฉพาะ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาต้านวัณโรค
อย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา
ภาวะแทรกซ้อน
ระดับสติปัญญาลดลง หรือปัญญาอ่อน
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนของโรค
หูหนวกหรือพูดได้ช้า อาการชักภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง
การพยาบาล
ประเมินและบันทึก I/O
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง
ประเมินน้ำหนักตัวและภาวการณ์ขาดน้ำ
ดูแลการได้รับน้ำและสารอาหาร
ดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัดเกี่ยวกับทางสมอง (ถ้ามี)
จัดสิ่งแวดล้อม จัดท่านอนให้เหมาะสม พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง
การจับต้องหรือพลิกตัวควรทำอย่างนุมนวล
ให้ยาปฏิชีวนะ ยาลดอาการบวมในสมอง ยาป้องกันและยาตานการชัก
ตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
เช็ดตัวและใหยาลดไข้หรือยาบรรเทาอาการเจ็บปวด
ดูในการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มี ICP และ
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีอาการชัก
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง และให้ออกซิเจน
ประเมินพัฒนาการ
ประเมินการหายใจ และภาวะขาดออกซิเจน
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
ในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการ
จัดกิจกรรมสันทนาการให้เหมาะสมกับอาการและวัย
มะเร็งกระดูก
(Osteosarcoma)
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย : น้ำหนัก ตำแหน่งของก้อน
การเคลื่อนไหว ต่อมน้ำเหลือง
การตรวจทางหอ้งปฏิบัติการ : MRI , CT เพื่อดูการแพร่กระจายของโรค หาระดับอัลคาไลน์ฟอสฟาเตส (ALP) และระดับแลคเตสดีไฮโดรจิเนส (LDH) มีค่าสูงขึ้น
การซักประวัติ : ระยะเวลาการมีก้อนเนื้องอก
อาการปวด การคลื่อนไหว
การรักษา
การผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา
อาการ
มีไข้
การเคลื่อนไหวของตำแหน่งที่เป็นผิดปกติ
รับน้ำหนักไม่ได้ มักมีประวัติการเกิดอุบัติเหตุ
น้ำหนักลด
อาจมีกระดูกหักบริเวณนั้นๆ
ปวดบริเวณที่มีก้อนเนื้องอก
การพยาบาล
ดูแลการเกิดภาวะแทรกซ้อนของกระดูกที่ทำการผ่าตัด
ดูแลการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเคมีบำบัดและรังสีรักษา
ดูแลเรื่องไม่สุขสบายจากการปวดแผลผ่าตัด
ดูแลเรื่องความวิตกกังวล
Omphalocele มีการสร้างผนังหน้าท้อง
ไม่สมบูรณ์ ทำให้บางส่วนขาดหายไป
การรักษา
conservative ทำโดยใช้สารละลายฆ่าเชื้อ (antiseptic solution)
ทาที่ผนังถุง มีผลทำให้หนังแปรสภาพเป็น eschar ที่เหนียวไม่แตกง่าย
operative เหมาะสำหรับในรายที่ omphalocele มีขนาดใหญ่
3.การผ่าตัด
การเย็บผนังหน้าท้องปิดเลย (primary fascial closure)
มักจะทำเมื่อ omphalocele มีขนาดเล็ก และมีอวัยวะอยู่ภายในไม่มาก
การปิดผนังหน้าท้องโดยทำเป็นข้ันตอน (staged repair)
Gastroschisis
การที่มีผนังหน้าท้องแยกจากกัน
การวินิจฉัย
เมื่อคลอดพบว่าที่หน้าท้องทารกจะพบถุงสีขาวขุ่นบาง ขนาดต่างๆกัน สามารถมองเห็นขดลำไส้หรือตับผ่านผนังถุงอาจมีส่วนของถุงบรรจุ wharton’s jelly สายสะดือติดอยู่กับตัวถุง ขนาดที่พบตั้งแต่ 4 – 10 cm
เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดเกิดเป็นช่องแคบยาวที่ผนังท้องภายหลังจากผนังช่องท้องพัฒนาสมบูรณ์แล้ว เกิดการแตกทะลุของ
hermia of umbilical cord
การพยาบาล
ดูแลเรื่องภาวะ Hypothermia
2.ดูแลเรื่องการสูญเสียสารเหลวที่
ไม่สามารถทราบได้ (insensible loss)
ดูแลภาวะติดเชื้อของแผล
4.ดูแลอาการท้องอืด หรืออาเจียน และการจัดท่านอน
ดูแลเรื่องการขาดสารน้ำและอีเลคโตรลัยท์
6.ดูแลเรื่องความวิตกกังวล
7.ดูแลเรื่องการใส่ endotrachial tube
และให้ muscle relaxant 1-2 วันหลังผ่าตัด
8.ระวังเรื่อง Hypoglycemia, Hypocalcemia
กระดูกหัก ภาวะที่โครงสร้างหรือส่วนประกอบ
ของกระดูกแยกออกจากกันอาจเป็น
การแตกแยกโดยสิ้นเชิง
ข้อเคลื่อน ภาวะที่มีการเคลื่อนของผิวข้อออก
จากที่ควรอยู่ หรือหลุดออกจากเบ้า
สาเหตุ
มักเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุนำมาก่อนมีแรง
กระแทกบริเวณกระดูกโดยตรงและทางอ้อม
อาการ
1.มีอาการปวดและกดเจ็บ บริเวณที่กระดูกมีพยาธิสภาพ
2.บวมเนื่องจากมีเลือดออกบริเวณที่กระดูกหักหรือกระดูกเกยกัน
3.รอยจ้ำเขียว เนื่องจากมีเลือดซึมจากชั้นในขึ้นมายังผิวหนัง
4.อวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะผิดรูป
การรักษาที่ต้องผ่าตัด
กระดูกหักผ่านข้อ
(displaceed intra articular fracture)
กระดูกมีแผลเปิด (open fracture)
กระดูกหักในเด็กตามการแบ่งของ
Salter ชนดิ Ш , ІV
กระดูกหักจากการหดตัวของเอ็นกล้ามเนื้อ
(avulsion fracture)
กระดูกคอฟีเมอร์หักและเคลื่อน
(displaced fracture neck of femur)
ข้อเคลื่อนที่มีชั้นกระดูกติดอยู่ในข้อ
ข้อเคลื่อนที่ไม่สามารถจัดเข้าที่ได้โดยไม่ผ่าตัด
ซึ่งมักเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ หรือมีเนื้อเยื่อขวางกั้น
กระดูกและข้อเคลื่อนในเด็กส่วนใหญ่รักษารักษาโดยไม่ผ่าตัด
การประเมินสภาพ
การตรวจร่างกาย ลักษณะของกระดูกหัก ลักษณะของข้อเคลื่อน มี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ข้อเคลื่อนออกจากกันโดยตลอด กับยังมีบางส่วนสัมผัสกันอยู่
การตรวจพบทางรังสี มีความจำเป็นในการถ่ายภาพให้ถูกต้อง
เป็นแนวทางในการรักษาและติดตามผลการรักษา
การซักประวัติ ซักเกี่ยวกับเรื่องการเกิด
หลักการรักษากระดูกหัก
กระดูกเคลื่อน
ระมัดระวังไม่ให้กระดูกหักหรือ
ข้อเคลื่อนได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้น
แก้ไขตามปัญหาและการพยากรณ์โรค
ที่จะเกิดกับกระดูกหักนั้นๆ
เป้าหมายการรักษา
ในระยะแรกจะมุ่งลดความเจ็บปวด
จัดกระดูกให้เข้าที่และดามกระดูก
ให้มีแนวกระดูก (alignment)
ให้กระดูกที่เข้าที่ดีและติดเร็ว
ให้อวัยวะนั้นกลับทำงานได้เร็วที่สุด
กระดูกที่หักบ่อย
กระดูกข้อศอกหัก
( Supracondylar fracture )
โรคแทรก ซ้อนที่อาจเกิดขึ้น “ Volkman’s ischemic contracture ”
กระดูกหักบริเวณนี้อาจเกิดปัญหา เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของกระดูก Humerus
ในรายที่หักแบบ greenstick อาจใส่เฝือกแบบ posterior plaster splint ประมาณ 1 สัปดาห์เมื่อยุบบวม จึงเปลี่ยนเฝือกพันต่ออีก 2-3 สัปดาห์
พบบ่อยในเด็กวัยก่อนเรียนและวัยเรียน
การเคลื่อนของหัวกระดูกเรเดียส
( Transient subluxation of radial head , pulled elbow )
เป็นการเคลื่อนที่ของหัวกระดูกเรเดียส
ออกมาจากขอ้ radio- humeral ไม่หมด
กระดูกต้นแขนหัก
(fracture of humerus)
การหักของกระดูก บริเวณนี้ อาจให้ห้อยแขนข้างที่หักไว้
ด้วยผ้าคล้องแขนไว้ นานประมาณ 2 - 3 สัปดาห์
ในรายที่กระดูกหักเคลื่อนออก จากกันมากๆควรตรึงแขนด้วย traction
ตรึงไว้นาน ประมาณ 3 สัปดาห์ อาจท้า skin traction
หรือ skeletal traction ก็ได้
กระดูกปลายแขนหัก
กระดูกไหปลาร้าหัก
( fracture of clavicle )
การรักษา
ในทารกและเด็กเล็กจะตรึงแขนข้างที่หักให้อยู่นิ่งโดยมัดแขนให้ข้อศอกงอ
90 องศา ให้ติดกับลำตัวพันนาน 10-14 วัน
ในเด็กอายุมากกว่า 3 ปี อาจใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องคอ ห้อยแขนให้ ข้อศอกงอ 90 องศา และพันแขนให้ติดกับลำตัวด้วยผ้ายืดหรือผ้าสำลี คล้อง แขนไว้นานประมาณ 2-3 สัปดาห์
อาการ
Crepitus คล้ำได้เสียงกรอบแกรบ
ปวด บวม ข้างที่เป็น
Pseudoparalysis ขยับข้างที่เป็นได้น้อย ไหล่ตก
เอียงคอไปด้านที่เจ็บ ยื่นตัวไปข้างหน้า
แขนที่ดีประคองข้างที่เจ็บ
กระดูกต้นขาหัก
( fracture of femur )
ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี แก้ไขโดยให้ใส่เฝือกขาแบบ
ยาวนาน 3-4 สัปดาห์
ถ้ากระดูกเคลื่อนออกจากกันมากๆ ให้รักษาด้วยวิธี Gallow’s หรือ Bryant’s traction ถ้าอายุมากกว่า 3 ปี แก้ไขโดยทำ Russel’s traction
7.ภยันตรายต่อข่ายประสาท brachial plexus
จากการคลอด (birth palsy)
ข่ายประสาท brachial plexus เป็นการรวมตัวของรากประสาทไขสันหลัง ส่วน ventral rami ระดับ C5-T1ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อ
และรับความรู้สึกจากบริเวณไหล่จนถึงปลายมือเมื่อมีภยันตรายต่อ
ข่ายประสาทมีผลให้เกิดอาการแขนอ่อนแรง
สาเหตุ
เกิดจากข่ายประสาทถูกดึงยึด ได้แก่ การคลอดท่าก้น
ภาวะคลอดติดไหล่ เด็กมีน้้าหนักมากและการคลอดที่ใช้เวลานาน
การวินิจฉัย
จากการสังเกตเห็นแขนที่ผิดปกติ
เคลื่อนไหวได้น้อยกว่าธรรมดา
การรักษา
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีการฟื้นตัวของเส้นประสาท
โดยไม่จำเเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
การพยาบาล
จัดกระดูกให้อยู่นิ่งตามแผนการรักษา
3.2 การดึงกระดูก
(Traction)
การดูแลให้การดึงกระดูกมีประสิทธิภาพตลอ
ดูแลแรงดึงสมดุลเพียงพอกับน้ำหนักผู้ป่วย 1/5 ปอนด์
ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
น้ำหนักที่ใช้ถ่วงแขวนลอยอิสระไม่แตะพื้นหรือข้างเตียงขณะดึงกระดูกควรจัดท่านอนของเด็กให้ถูกต้องตามชนิดของ Traction
ขณะดึงกระดูกควรจัดท่านอนของเด็กให้ถูกต้องตามชนิดของ Traction ควรใช้ผ้าตรึงตัวเด็กให้ถูกกับ position ของ traction นั้นๆ
สังเกตการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย
จะต้องไม่เอาน้ำหนักออก หรือถอด traction เองจนกว่าแพทย์สั่ง
รายที่ทำ Skeletal Traction ต้องสังเกตอาการติดเชื้อ
บริเวณที่เหล็กดึงกระดูก
ชนิดของ Traction
Bryant’s traction ในเด็กที่กระดูกต้นขาหัก ( fracture shaft of femur )
ตั้งแต่แรกเกิด นถึงอายุไม่เกิน 2 ขวบ หรือน้ำหนัก ไม่เกิน 13 กิโลกรัม
Over Head traction หรือ Skeletal traction the upper limb
ใช้ในการรักษากระดูกหักที่ต้นแขน เป็นการเข้า traction ในลักษณะข้อศอกงอ 90 องศากับลำตัว ในรายที่ผู้ป่วยแขนหักแล้วมีอาการบวมมากยังไม่สามารถ reduce และใส่เฝือกได้
Dunlop’s traction ใช้กับเด็กในรายที่มี Displaced Supracondylar Fracture ที่ไม่สามารถดึงให้เข้าที่ ( reduce ) ได้ หรือในรายที่มีอาการบวมมาก
บางกรณีใช้เพียงเพื่อดึงให้ยุบบวมแล้วจึง educe ใหม่
Skin traction ใช้ในรายที่มี facture shaft of femur ในเด็กโต
อายุมากกว่า 3 ขวบขึ้นไป traction แบบนี้อาจเกิดปัญหาการกด peroneal nerve ทำให้เกิด foot drop ได้
Russell’s traction ใช้ในเด็กโตที่มี Fracture shaft of femur หรือ fracture บริเวณ supracondyla region of femur การทำ traction ชนิดนี้อาจเกิดปัญหาการผ้า sling ที่คล้องใต้ขาไปกดเส้นเลือดและ
เส้นประสาทบริเวณใต้เข่าได้
3.3 ผ่าตัดทำ open reduction internal fixation (ORIF)
เพื่อจัดกระดูกให้เข้าที่และอยู่นิ่งโดยใช้โลหะยึดไว้
อาจใช้ plate , screw, nail หรือ wire แพทย์จะพิจารณา
ท้าในรายที่กระดูกหักมาก เกิดอันตรายต่ออวัยวะโดยรอบ
การเตรียมก่อน
การผ่าตัด
ด้านร่างกาย
การเตรียมผิวหนังเฉพาะที่
การดูแลความสะอาดของร่างกาย
การตรวจวัดสัญญาณชีพ
การประเมินอาการของระบบประสาท
และหลอดเลือด
5.การให้สารน้ าทางหลอดเลือดดำ / ยา /
เอกสารใบเซ็นยินยอม / ผล Lab / ผล X-ray
ด้านจิตใจ ผู้ป่วยและญาติให้ค้าแนะนำ
เกี่ยวกับการผ่าตัด
การเตรียม
การหลังผ่าตัด
1.ประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย
การประเมินระดับความเจ็บปวดโดยใช้ pain scale
ประเมินปริมาณเลือดที่ออกบริเวณแผลผ่าตัด
ประเมินการไหลเวียนของอวัยวะส่วนปลาย
ปกติไม่ควรนานเกิน 3 วินาที และ ประเมิน 6 P 3
จัดท่าเด็กโดยยกส่วนที่ทำผ่าตัดให้สูงกว่าระดับหัวใจ
เพื่อลดอาการบวมและปวด
การทำแผล
3.1 เข้าเฝือกปูน
ประเมินอาการภายหลังเข้าเฝือกภายใน 24 ชั่วโมง
ซึ่งประเมินได้จาก 5 PS หรือ 6P ได้แก่
Pallor ปลายมือปลายเท้าซีด หรือเขียวคล้้า
Paresthesia ชา ขาดความรู้สึก
Paralysis เส้นประสาทถูกกด เคลื่อนไหวไม่ได้
Pulselessness ชีพจรเบา,เย็น
Puffiness or Swelling มีอาการบวมมากขึ้น
Pain มีอาการเจ็บมากกว่าเดิม
ยกแขนที่เข้าเฝือกให้สูง การยกหรือเคลื่อนย้ายเด็ก
ต้องระวังเฝือกหัก ระมัดระวังไม่ให้เฝือกเปียกน้้า
และแนะนำเด็กและญาติในการดูแลเฝือก
การจัดเตรียมเด็กก่อนเข้าเฝือก
เคลื่อนย้ายเด็กด้วยความระมัดระวัง
ประเมินลักษณะการบาดเจ็บที่ได้รับ โดยการสังเกต
คล้ำดูความสัมพันธ์ของอวัยวะ การเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ
การยกขึ้นงอหรือเหยียด ตรวจสอบความตึงตัว อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
เ
พื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
จากการถูกจำกัดเคลื่อนไหว
ป้องกันการเกิดแผลกดทับ ด้วยการเปลี่ยนท่าที่เหมาะสม
ให้เด็กอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
ลดอาการท้องผูกด้วยการกระตุ้นให้เด็กมีการเคลื่อนไหว
จัดอาหารที่มีกากมาก ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ป้องกันและลดอาการข้อติดแข็งและกล้ามเนื้อลีบ
กระตุ้นให้เด็กมีการออกกำลังบริเวณกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ
ช่วยให้ปอดขยายตัวเต็มที่ด้วยการกระตุ้นให้เด็ก
หายใจเข้าออกลึกๆแรงๆหลายๆครั้ง
ประเมินอาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง
ป้องกันการติดเชื้อที่กระดูก
เนื่องจากมีทางเปิดของ
ผิวหนังถึงกระดูก
ประเมินลักษณะอาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ทำความสะอาดบาดแผลก่อนการเข้าเฝือก
ดูแลให้ได้รับประทานอาหารที่จะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ
เพื่อลดความเครียดวิตกกังวล
เมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
สร้างความมั่นใจและความรู้สึกที่ดีแก่เด็กและญาติ
จัดกิจจกรรมหรือเปิดโอกาสให้เด็ก
และญาติให้มีการระบายออก
ประเมินสภาพความต้องการทางด้านจิตใจของเด็กและญาติ
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาโดยเฉพาะในระยะแรกๆ
แต่ต้องประเมินอาการเจ็บปวดด้วย
เพื่อบรรเทาปวด
ตรวจดูว่าเฝือกคับหรือskin traction พันแน่นเกินไปหรือไม่
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาโดยเฉพาะในระยะแรกๆ
จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง
กรณีเด็กได้รับการผ่าตัด อาจมีการรัดโดยสำลีพันเฝือกบริเวณข้อศอก ข้อเข่า ควรคลายสำลีพันเฝือกให้ถึงผิวหนังเด็ก
ประเมินระดับอาการปวดของผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่ได้รับการยึดด้วย Kirschner wire ผ่านผิวหนังออกมาข้าง นอกเพื่อสะดวกในการถอด ต้องหมั่นทำแผลจนกว่าจะถึงเวลาที่ถอด
เพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว
เมื่อกลับไปอยู่บ้านอย่างถูกต้อง
ห้ามผู้ป่วยและญาติแกะแผลหรือเอาเฝือกออกเอง
ควรสังเกตอาการผิดปกติที่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาลทันที
ได้แก่ เฝือกมีกลิ่นเหม็น,ปลายมือปลายเท้าชา เขียวคล้ำ,มีไข้สูง
การดูแลแผลผ่าตัด ควรระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำหรือสกปรก
ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้แผลหายดี
รักษาสุขภาพ อนามัยให้แข็งแรงอยู่เสมอ และหมั่นออกกำลังกาย
กล้ามเนื้อและข้อ โดยเฉพาะการกำแบมือบ่อยๆ
ภาวะแทรกซ้อน
โรคคอเอียงแต่กำเนิด
(Congenital muscular Torticollis)
ป็นลักษณะที่ศีรษะเอียงจากแนวกึ่งกลางไปด้านใดด้านหนึ่งจาก กล้ามเนื้อด้านข้างคอ Sternocleidomastoid
มักคลำพบก้อนที่กล้ามเนื้อข้างคอด้านที่เอียง และก้อนจะค่อยๆ ยุบลงไป
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ลักษณะของผู้ป่วย ซักประวัติ
ภาพรังสีกระดูกคอ
การรักษา
การยืดโดยวิธีดัด (passive stretch) จัดท่าให้นอนหงายจัดให้หู ข้างตรงข้ามกับกล้ามเนื้อหดสั้นสัมผัส
กับไหล่ข้างเดียวกัน หรือหันหน้าจัดให้คางสัมผัสกับไหล่ข้างที่กล้ามเนื้อหดสั้น
การยืดแบบให้เดก็หันศีรษะเอง (active streth) โดยหาวิธีการให้ เด็กหันหน้ามาด้านที่คอเอียงที่มีกล้ามเนื้อหดสั้น
เช่น การให้นม หาวัตถุล่อให้มองตามจากของเล่นต่างๆ จัดท่าขณะนอนหลับ
การใช้อุปกรณ์พยุง (orthosis) ปรับตำแหน่งศีรษะ
การผ่าตัด อายุที่เหมาะสมในช่วงอายุ 1 – 4 ปี โดยการผ่าตัด bipolar release ตัดปลายเอ็นยึดเกาะของกล้ามเนื้อด้านคอทั้งสองปลาย
Volkmann’ s ischemic contracture
สาเหตุ
เลือดแข็งจับกันเป็นก้อน
งอพับข้อศอกมากเกินไป
ในขณะที่บริเวณนั้นยังบวมอยู่
ปลายกระดูกหักชิ้นบน เช่น
ในรายที่มีการเคลื่อนของกระดูกมาก
จากการเข้าเฝือก
แบ่งได้ 3 ระยะ
ระยะเริ่มเป็น
มีบวม เห็นได้ชัดที่นิ้ว เจ็บและปวด
นิ้วกางออกจากกัน กระดิกไม่ได้ การบวมทำให้นิ้วแข็ง
สีของนิ้วจะขาวซีด หรืออาจจะเป็นสีคล้ำ แต่นิ้วยังคงอุ่นอยู่
มีอาการชา ชีพจรคลำไม่ได้ชัดหรือไม่ได้
ระยะมีการอักเสบของกล้ามเนื้อ
ระยะกล้ามเนื้อหดตัว การหดตัวเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อ
Pronator และ flexor ของแขนมือและนิ้ว
ทำให้มือและนิ้วหงิกงอ ใช้การไม่ได้
ลักษณะอาการ
ข้อศอกอาจจะงอ
ข้อมือพับลง (palmar flemion)
แขนอยู่ในท่าคว่ำมือ (pronation)
ข้อ metacarpophalangeal กระดกขึ้น
หรือมี extension
นิ้วจะงอทุกนิ้ว
อาจมีอัมพาต ถ้า median nerve
หรือ ulnar nerve ถูกทำลาย
กล้ามเนื้อแขนลีบแข็ง
ข้อเกือบทุกข้อจะแข็ง บางรายอาจจะกระดิกได้
กล้ามเนื้อมือลีบ เหมือนกับมีอัมพาต
วิธีป้องกัน
อย่างอข้อศอกมากเกินไปขณะที่ใส่เฝือก
ใช้ slab ใส่ทางด้านหลังของแขนแล้วพันด้วยผ้าพันธรรมดา
จัดกระดูกให้เข้าที่โดยเร็วที่สุดขณะที่หักเกิดขึ้นใหม่
ยกบริเวณที่หักให้สูงกว่าระดับหัวใจตลอดเวลา ควรนอนพัก
ยกแขนให้สูงไว้ประมาณ 2 - 3 วัน หรือจนยบุบวม
ถ้ามีอาการบวมมาก และมีอาการเจ็บปวด
ควรรีบปรึกษาแพทยท์นัที
polydactyly นิ้วเกิน
กับ syndactyly นิ้วติด
สาเหตุจากพันธุกรรม
การรักษาได้ด้วยการผ่าตัด
กระดูกสันหลังคด
(Scoliosis)
อาการ
กล้ามเนื้อและเอ็นด้านเว้าจะหดสั้นและหนา
ส่วนด้านโค้งออก จะฝ่อลีบและบาง
ข้อศอกและกระดูกเชิงกรานไม่อยู่ระดับเดียวกัน
ผู้ป่วยเอียงตัวไปด้านข้าง ระยะห่างของแขนและเอวไม่เท่ากัน
ทรวงอกเคลื่อนไหวจำกัด มักหายใจตื้น หายใจลึกทำได้ยาก
กระดูกสันหลังโค้งไปด้านข้าง กระดูกสะบักสองข้างไม่เท่ากัน
สะบักไม่อยู่ระดับเดียวกันคือไหล่ข้างหนึ่งสูงกว่าอีกข้าง
พบการเลื่อนของกระดูกสันอกจากแนวลำตัว
ความจุในทรวงอก สองข้างไม่สมมาตรไม่เท่ากัน
มีอาการปวดเมื่อหลังคดมาก ในเด็กอาจพบไม่บ่อย
เริ่มมีอาการเมื่ออายุน้อยยิ่งมีความพิการมาก กระดูกสันหลัง
ส่วนเอวคดมีพยากรณ์โรคดีกว่ากระดูกสันหลังคด
การรักษา
แบบอนุรักษ์นิยม (Conservation) กายภาพบำบัด , บริหารร่างกาย
การผ่าตัด เป็นการรักษาสมดุลของลำตัว
แก้ไขแนวตรงของร่างกาย รักษาระดับไหล่และสะโพก
การวินิจฉัย
การซักประวัติ: การผ่าตัด ความพิการของกระดูกสันหลัง
การตรวจร่างกาย : สังเกตความพิการ ส่วนสูง น้ำหนักตัว แนวลำตัว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการพิเศษอื่น ๆ : X-Ray
สาเหตุ
แบ่งตามชนิด
1.ชนิดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเนื้อกระดูกสันหลัง (Non Structurial Scoliosis)
ชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลัง (structural Scoliosis)
การพยาบาล
1.แนะนำการปฏิบัติตัวก่อน
และหลังผ่าตัด
อธิบายวิธีการพลิกตัวหลังผ่าตัด
แนะนำให้รายงานอาการผิดปกติต่างๆที่อาจเกิดหลังผ่าตัด
บอกผู้ป่วยต้องนอนในหออภิบาลหลังผ่าตัด
สอนและสาธิตวิธีการไอ หายใจอย่างมีประสิทธิภาพ
การออกกำลังแขนขาและหลัง
แนะนำการใช้หม้อนอน การรับประทานและดื่มบนเตียง
การลุกออกจากเตียงและเข้าเตียงโดยให้หลังตรงใช้ท่าตะแคงหรือนอนคว่ำ
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษาและการปฏิบัติตน
บอกผู้ป่วยให้ทราบวิธีการเตรียมความสะอาดร่างกายทั่วไป
บอกผู้ป่วยให้ทราบหลังผ่าตัดมีสายน้ำเกลือ สายระบายจากแผลผ่าตัด แผลผ่าตัดจะมี 2 แห่งที่หลังและบริเวณ Iliac Crease
อธิบายให้ทราบว่าหลังผ่าตัดต้องนอนบนเตียงประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นแพทย์จะใส่เฝือกและให้เดินได้
ให้ผู้ป่วยคุ้นเคยกับเฝือกปูนและการดึงถ่วงน้ำหนัก
ดูแลความไม่สุขสบายจากความปวดหลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง
ป้องกันการติดเชื้อที่แผลและเกิดแผลกดทับ
แนะนำการปฏิบัติตัวในการใส่อุปกรณ์ดัดลำตัว