Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาทกล้ามเนื้อ และกระดูก - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาทกล้ามเนื้อ และกระดูก
ระดับของความรู้สึกตัว
ระดับความรู้สึกตัวดี (full consciousness)
ผู้ป่วยจะตื่นและรู้สึกตัวดี รับรู้ต่อเวลา บุคคล และสถานที่ เป็นปกติ
ความรู้สึกสับสน(confusion)
ผู้ป่วยจะรู้สึกสับสนและมีความผิดปกติเกี่ยวกับการตัดสินใจ
การรับรู้ผิดปกติ (disorientation)
ไม่รับรู้ต่อเวลา บุคคล สถานที่ ระดับความรู้สึกตัวเริ่มลดลง
ระดับความรู้สึกง่วงงุน (lethargy / drowsy)
สามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย มีอาการง่วงงุน พูดช้าและสับสน เมื่อกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าหรือปลุกผู้ป่วยจะสามารถโต้ตอบได้ตามปกติ แต่ถ้ากระตุ้นด้วยสิ่งเร้าแล้วไม่สามารถโต้ตอบได้ เรียกว่า obtundation
ระดับความรู้สึกstupor
ไม่รู้สึกตัว หลับลึก แต่ยังสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่รุนแรงและกระตุ้นซ้ำๆกันหลายครั้ง
ระดับหมดสติ (coma)
ไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถสามารถตอบสนองทั้งด้านการเคลื่อนไหวหรือทางวาจาต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ
ท่าทาง (posturing)
ของเด็กในภาวะไม่รู้สึกตัว
Decorticate posturing เป็นท่านอนที่เด็กนอนหงาย งอแขนทั้ง 2 ข้าง เข้าหาตัว ในระดับไหล่ กำมือแน่นและงอข้อมือทั้ง2 ข้าง ส่วนขาทั้ง2 ข้างเหยียดปลายเท้าออก และงอปลายเท้าเข้าหากัน
เด็กในภาวะหมดสติ
Decerebrate posturing เป็นท่านอนที่เด็กนอนหงาย แขนทั้ง2ข้างเกร็ง เหยียดออกและคว่ำแขนลงโดยบิดข้อมือออกด้านข้าง ขาทั้ง2ข้างเกร็ง เหยียดออกและแยกออกจากกัน
ในช่วงหมดสติระดับลึก (deep coma) จะพบว่า reflexes ต่างๆของเด็กจะหายไป
ภาวะไม่รู้สึกตัว ร่วมกับการเคลื่อนไหวผิดปกติ
อาการสำคัญ
ชักเกร็ง ซึม ไม่ดูดนม
กรณีที่ 1
ไม่มีไข้ นึกถึง ความผิดปกติของสมองที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ(Head Injury)
เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor)
โรคลมชัก (Epilepsy)
กรณีที่ 2
มีไข้ นึกถึง ความผิดปกติที่สมองทีเกิดจากการติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมอง สมองและไขสันหลัง (Meningitis ;Encephalitis;Tetanus)
กรณีที่ 3
มีไข้สูง เกิน 38 °c อายุ ประมาณ 6 เดือน – 5 ปี ไม่มีการติดเชื้อของระบบประสาทนึกถึง Febrile convulsion
การตรวจกำลังกล้ามเนื้อ
-ไม่มีการเคลื่อนไหวหรือการหดตัวของกล้ามเนื้อเลย = 0
-มีการหดตัวของกล้ามเนื อบ้างเล็กน้อย แขน ขา ขยับได้บ้างเล็กน้อย = 1
-มีการหดตัวของกล้ามเนื้อมากกว่าระดับ 1 แต่ยกแขนหรือขาไม่ได้ = 2
-กล้ามเนื้อมีแรงพอที่จะยกแขน ขา ได้โดยไม่ตก = 3
-มีแรงยกแขน ขา ต้านแรงผู้ตรวจได้บ้าง = 4
-กล้ามเนื้อมีแรงปกติเหมือนคนทั่วไป = 5
ภาวะชักไข้สูง (Febrile convulsion)
ปัจจัยเสี่ยงของการชักซ้ำ
-อายุ โดยเฉพาะเด็กที่มีอาการชักครั้งแรกในช่วงอายุก่อน 1 ปี
-มีความผิดปกติของระบบประสาทก่อนมีอาการชัก
-ประวัติการชักของสมาชิกในครอบครัว
-ไข้ที่เกิดร่วมกับการติดเชื้อ
สาเหตุ
การติดเชื้อในระบบต่างๆที่ไม่ใช่ระบบประสาท เช่น ติดเชื้อระบบ
ทางเดินอาหาร , ทางเดินปัสสาวะ , ทางเดินหายใจ
อาการ
-เด็กจะมีอาการชักเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส
-อาการชัก เกิดขึ้นภายใน 24 ชม.แรกที่เริ่มมีไข้
-มักเกิดในเด็กอายุ 3 เดือน ถึง 5 ปี
-พบมากช่วงอายุ 17 – 24 เดือน
ชนิดของการชักจากไข้สูง
Simple febrile seizure (primary febrile seizure)
-มีไข้ร่วมกับชักในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี
-การชักเป็นแบบทั้งตัว (generalized seizure)
-ระยะเวลาการชักช่วงสั้น ไม่เกิน 15 นาที
-ไม่มีการชักซ้ำในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกัน
-ก่อน – หลัง ชักไม่มีอาการทางระบบประสาท
Complex febrile seizure
-การชักเป็นแบบเฉพาะที่หรือทั้งตัว
(Local or Generalized seizure)
-ระยะเวลาการชักเกิดนานมากกว่า 15 นาที
-เกิดการชักซ้ำในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกัน
-เด็กที่ชักชนิด complex มีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคลมชัก
-แพทย์จะให้ยาป้องกันการชัก เช่น Phenobarbital หรือ Valproic acid
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ
ไข้, การติดเชื้อ,ประวัติครอบครัว,การได้รับวัคซีน,โรประจำตัว,
ประวัติการชัก, ระยะเวลาของการชัก เป็นต้น
ประเมินสภาพร่างกาย
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษอื่นๆ
โรคมชัก (Epilepsy)
ทำให้เกิดอาการชักซ้ำๆอย่าง น้อย2 ครั้งขึ้นไป และอาการชักครั้งที่2 ต้องห่างกันมากกว่า24ชั่วโมง
อุบัติการณ์
-พบได้บ่อยในเด็กโรคระบบประสาท ร้อยละ 4-10
-อายุที่มีอุบัติการณ์บ่อยคือ 2-5 ปี และเมื่ออายุเพิ่มขึ้นอุบัติการณ์จะลดลง
-พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
อาการและอาการแสดง
Preictal period คือ ระยะก่อนอาการชัก
-อาการนำ(Seizure prodromes)
-อาการเตือน (Aura) เช่น มีอาการปวด ชา เห็นภาพหลอน
Ictal event หรือ Peri-ictal period คือ ระยะที่เกิดอาการชัก มีระยะเวลาตั้งแต่วินาที จนถึงนาที มักจะไม่นานเกินครึ่งชั่วโมง
-เกิดขึ้นทันทีทันใด
-เกิดในระยะเวลาสั้นๆไม่เกิน5นาทีและหยุดเอง
-เกิดขึ้นเองแต่บางครั้งมีปัจจัยกระตุ้น
-ส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกันทุกครั้ง
Postictal peroid คือ ระยะเวลาเมื่อการชักสิ้นสุดลง มีอาการทางคลินิค ระยะนี้อาจเกิดนาน มีอาการสับสน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ
-Postical paralysis หรือ Todd’s paralysis กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉพาะที่
-Automatism การเคลื่อนไหวร่างกายไปโดยอัตโนมัติขณะชัก จุดประสงค์เลียนแบบท่าทางปกติ เช่น เคี้ยวปากกระพริบตาถี่ๆ ตีมือคว่ำหงายสลับกัน
Interictal peroid คือ ช่วงเวลาระหว่างการชัก เริ่มตั งแต่ระยะเวลาหลังการชักหนึ่งสิ้นสุดลงไปจนถึงเริ่มเกิดชักครั้งใหม่
ชนิดของโรคลมชัก และกลุ่มอาการชัก
อาการชักเฉพาะที่ (Partial / Focal seizure)
1.1 ชักเฉพาะที่แบบมีสติ
1.2 อาการชักเฉพาะที่แบบขาดสติ
1.3 อาการชักเฉพาะที่ตามด้วยอาการชักทั้งตัว
อาการชักทั้งตัว (Generalized seizures) เกิดการเสียหน้าที่ของสมองทั้ง 2 ซีก
อาการชักเหม่อ (Absence)
-อาการเกร็งกระตุก (Tonic clonic seizures)
-อาการชักกระตุก (Clonic seizures)
-อาการชักเกร็ง (Tonic seizures)
-อาการชักตัวอ่อน (Atonic seizures)
-อาการชักสะดุ้ง (Myoclonic seizures)
เยื่อหุ้มสมองอังเสบ (Meningitis)
เป็นการอักเสบเฉียบพลันของเยื่อหุ้มสมองชั้นในสุดและอแรคนอยด์ที่อยู่รอบๆสมองและไขสันหลังและเยื่อหุ้มสมองถูกทำลาย
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย3ตัว คือ
-Haemophilus influenzae
-Neisseria meningitidis
-Streptococcus peumoniae
อุบัติการณ์
มักจะเกิดในช่วงหน้าหนาว
เกิดจากเชื้อ นิวโมคอคคัส และเมนิงโกคอคคัส
มักก่อให้เกิดโรคในเด็กอายุระหว่าง 2 เดือน ถึง 7 ปี
เชื้อมักจะเข้าทางหูชั้นกลางอักเสบ (Otitis media)
โพรงอากาศจมูกอักเสบ (Sinusitis)
**เชื้อ Neisseria meningococcus พบได้ทั้งในเด็กและวัยรุ่น
ในเด็กพบเชื้อนี้ ระบาดในศูนย์เลี้ยงเด็กกลางวัน เชื้อจะ
ติดต่อทางเดินหายใจ น้ำมูก น้ำลาย
อาการและอาการแสดง
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
-มีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดข้อ ชักและซึมลงจนหมดสติ
-มีอาการคอแข็ง (Nuchal rigidity คือ มีแรงต้านเมื่อก้มคอผู้ป่วย)
-ตรวจพบ Kernig sign และ
Brudzinski sign ให้ผลบวก
-ในรายที่เกิดจากเชื้อเมนิงโกคอคคัส จะตรวจพบผื่นแดงที่ผิวหนัง จุดเลือดออกกระจายทั่วๆ ไป รวมทั้งมีเลือดออกที่ต่อมหมวกไตด้วย
โรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Menningitis)
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria meningitides
เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างกลมคล้ายเมล็ดถั่ว
เรียงตัวกันอยู่เป็นคู่ๆ โดยหันด้านเรียบเข้าหากัน ไม่สร้างสปอร์
การเก็บและส่งตัวอย่างตรวจ
-วิธีทางชีวเคมี และวิธี PCR (กรณีเก็บตัวอย่างเชื้อบริสุทธ์)
-วิธีตรวจหาค่า Minimum inhibition concentration (MIC)
-วิธี seminested-PCR
ระยะติดต่อ
-ผู้ที่สามารถแพร่เชื้อได้ คือ ผู้ที่ไม่มีอาการ(พาหะ)
-ผู้ป่วยสามารถแพร่โรคได้
จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อในน้ำมูก น้ำลาย
-เชื้อจะหมดไปจากช่องโพรง
จมูกทางด้านหลัง ( nasopharynx )
วิธีการติดต่อ
-เชื้อนี้ติดต่อจากคนไปสู่คน
-โดยเชื้อจะออกมาทางละอองน้ำมูก น้ำลาย (droplet)
จากปากหรือจมูกของผู้ที่เป็นพาหะ
-โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 2-10 วัน (เฉลี่ย 3-4 วัน)
อาการและอาการแสดง
-ไข้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง อาจมีผื่นแดง จ้ำเลือด(pink macules) ขึ้นตามผิวหนัง
-และอาจเกิดภาวะช็อกอย่างรวดเร็ว
การรักษา
-Glucocorticoid therapy ก่อนการให้ยาปฏิชีวนะ 15 นาที
-ยาปฏิชีวนะ เช่น Ceftriaxone /PGS/Chloramphenicol
-การรักษาแบบประคับประคองและตามอาการอื่นๆ
การควบคุมป้องกันโรค
-ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคแก่ประชาชน โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับละอองน้ำมูก น้ำลาย จากปากหรือจมูกของผู้ป่วย
-ใช้วัคซีนป้องกันโรค ใน Serogroups A, C, Y และ W135
-สำหรับนักท่องเที่ยวผู้ที่จะเดินทางไปในที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดโรคได้
-การรักษา ยา penicillin และ chloramphenical
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับความดันในสมองสูง
โรคอุทกเศียร: น้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมอง: ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะ (Hydrocephalus)
อาการสำคัญ
-ศีรษะโตแต่กำเนิด,กระหม่อมหน้าโป่ง,ศีรษะโตเพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบกับทรวงอก
-ปวดศีรษะ ซึม ไม่ดูดนม อาเจียนพุ่ง
-Congenital Hydrocephalus ความผิดปกติในการสร้างน้ำไขสันหลัง
-Obstructive Hydrocephalus ความผิดปกติในการอุดกั้นทางเดินน้ำไขสันหลัง
-Communicate Hydrocephalus ความผิดปกติในการดูดซึมน้ำไขสันหลัง post meningitis
การรักษา (Treatment)
1.การรักษาด้วยยา ยาขับปัสสาวะ Acetazolamide
2.การรักษาด้วยการผ่าตัด
-การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองออกนอกร่างกาย
-การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองสู่ช่องในร่างกาย ผ่าตัดใส่สายระบาย
โรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัด (Complication)
1.การทำงานผิดปกติของสายระบายน้ำในโพรงสมอง(Shunt malfunction)
2.การติดเชื้อของสายระบายน้ำในโพรงสมอง(Shunt infection)
3.การอุดตันสายระบายน้ำในโพรงสมอง(Shunt obstruction)
4.ภาวะระบายน้ำในโพรงสมองมากเกิน(Overdrainage)
5.ภาวะโพรงสมองตีบแคบ(Slit ventricle)
6.ภาวะเลือดออกในศีรษะ เกิดเลือดออกในโพรงสมอง(Intraventricularhemorrhage)
7.ไตอักเสบ(Shunt nephritis)
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการสำคัญ
-มีก้อนที่หลัง หรือที่หน้าผาก ขาอ่อนแรงทั้งสองข้าง ปัสสาวะ อุจจาระตลอดเวลา
-นึกถึง Congenital Spina bifida occulta
Meningocele Meningomyelocele
-ไข้ร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง
-มีประวัติ ไม่ได้รับวัคซีน
-ไม่มีประวัติการคลอดในรพ. เป็นชนต่างด้าว
นึกถึง Poliomyelitis
Spina Bifida
เป็นความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง
มีถุงยื่นผ่านจากกระดูกไขสันหลังออกมาตามตำแหน่งที่บกพร่องนั้น
พบบ่อยที่สุดที่บริเวณlumbosacrum
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
มารดาไม่ได้รับกรดโฟลิคขณะตั้งครรภ์
ได้ยากันชักประเภท Valporic acid
การตรวจร่างกาย
แขนขาอ่อนแรง
พบก้อนหรือถุงตามแนวกระดูกสันหลัง
การตรวจพิเศษ
การตรวจระดับ alpha fetoprotein ขณะตั้งครรภ์
การรักษา
spida bifida occulta ไม่จำเป็นต้องรักษาแต่ชนิด Cystica ต้องผ่าตัดภายใน 24 – 48 ชั่วโมงภายหลังเกิด เพื่อลดการติดเชื้อ
มักทำ V P Shunt ภายหลังทารกมักต้องผ่าตัดหลายครั้ง
การป้องกัน
ให้กรดโฟลิคแก่หญิงตั้งครรภ์จะช่วยลดการเกิดโรคได้
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับสติปัญญาบกพร่อง
อาการสำคัญ
ไม่รู้สึกตัว เกร็งเมื่อกระตุ้น หายใจไม่มีประสิทธิภาพ การดูดกลืนบกพร่อง เลี้ยงไม่โต ข้อติดแข็ง พัฒนาการล่าช้า
มีประวัติ สมองขาดออกซิเจน นึกถึง Cerebral palsy
สมองพิการ (CP: Cerebral palsy)
ความบกพร่องของสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวการทรงตัว
กล้ามเนื้อหดเกร็ง (Splastic)
1.1 Splastic quadriplegia มีความผิดปกติกล้ามเนื้อแขนขาทั้ง 2 ข้าง คอและลำตัวอ่อนผิดปกติ ศีรษะเล็ก น้ำลายไหล
1.2 Splastic diplegia มีความผิดปกติกล้ามเนื้อแขนขาทั้ง2ข้าง ขาเป็นมากกว่าแขน
1.3 Splastic hemiplegia ผิดปกติที่แขนขาซีกใดซีกหนึ่ง
Extrapyramidol cerebral palsy (athetoidsis) การเคลื่อนไหวผิดปกติตลอดเวลาขณะตื่น บังคับส่วนต่างๆของร่างกายไม่ได้
Ataxia cerebral palsy
มีเดินเซ ล้มง่าย กล้ามเนื อตึงตัว
น้อย ทรงตัวได้ไมดี สติปัญญาปกติ
Mixed type
หลายอย่างร่วมกัน
อาการและอาการแสดง
-มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า
-ปัญญาอ่อน
-อาการอื่นๆ ร่วม เช่น ชัก หูหนวก ตาบอด การรับรู้ผิดปกติปัญหาด้านการพูด
การประเมินสภาพ
ซักประวัติ
มารดามีการติดเชื้อขณะคลอด เช่น เป็นหัดเยอรมัน คลอดท่าก้น เด็กมีพัฒนาการช้ากว่าวัย ตัวเกร็งแข็ง
ประเมินร่างกาย
เส้นรอบศีรษะไม่เพิ่มขึ้น ท่าทางการเคลื่อนไหวผิดปกติ พัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย
เป้าหมายการพยาบาลเด็กที่ไม่รู้สึกตัว
การทำทางเดินหายใจให้โล่ง
-จัดท่านอนของเด็กให้เหมาะสม โดยให้นอนตะแคงข้าง เพื่อป้องกันการสำลัก
-ดูแลไม่ให้มีอาหาร หรือเศษอาหารอยู่ในช่องปาก
-ดูดเสมหะให้เด็กเป็นระยะๆ
-เตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือให้พร้อมหากมีปัญหาเกี่ยวกับการอุดกั้นทางเดินหายใจ
แรงดันภายในสมองต้องไม่เพิ่มขึ้น
-จัดให้เด็กนอนศีรษะสูง ประมาณ 15 – 30 องศา
-หลีกเลี่ยงท่านอนหรือกิจกรรม ที่จะท าให้แรงดันภายในสมองเพิ่ม
-จัดท่านอนให้ข้อสะโพกงอไม่เกิน 90 องศา
-ป้องกันไม่ให้ท้องผูก
แรงดันภายในสมองต้องไม่เพิ่มขึ้น
-เด็กแสดงอาการเจ็บปวด พยาบาลควรดูแลให้ยา
แก้ปวดตามแผนการรักษา
-วางแผนการพยาบาล โดยให้มีการรบกวนเด็กให้น้อยที่สุด
-ติดตามอาการแสดงที่บ่งชี้ว่าเด็กมีการเปลี่ยนแปลงของแรงดันภายในสมอง
ได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ
กิจกรรมการพยาบาล: ด้านอาหาร
-ดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
-ดูแลให้เด็กได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
-บันทึกปริมาณน้ำดื่ม และปัสสาวะทุกวัน
-ควรชั่งน้ำหนักทุกวันหรือตามแผนการรักษา
ด้านการขับถ่าย
-ดูแลให้เด็กได้รับน้ำอย่างเพียงพอและสอดคล้องกับแผนการรักษา
-ทำความสะอาดผิวหนังทุกครั้งหลังการขับถ่ายทั้งปัสสาวะและอุจจาระ
-ดูแลให้ยาระบาย เพื่อป้องกันอาการท้องผูกตามแผนการรักษา
ด้านความสะอาด
-อาบน้ำให้เด็กทุกวัน
-เปลี่ยนเสื้อผ้าให้เด็ก
-สระผมให้เด็กบ่อยๆ
-ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน ผิวหนัง และเล็บ
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการไม่สามรถเคลื่อนไหวได้
กิจกรรมการพยาบาล: ภาวะแทรกซ้อนระบบหายใจ
-หมั่นพลิกตะแคงตัวเด็กทุก 2 ชั่วโมง ยกเว้นเด็กที่มีปัญหาความดันในสมองสูง
-ดูแลไม่ให้ผู้ที่มีอาการติดเชื้อทางระบบหายใจ
-ก่อนและหลังสัมผัสเด็ก ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับตา
-สังเกตและประเมินอาการที่บ่งชี้ว่า จะมีการระคายเคืองหรือการอักเสบของตา
-อาจต้องใช้ผ้าปิดตา (eye pad) เพื่อไม่ให้ตาแห้ง
-ถ้าตาแห้ง อาจต้องใช้น้ าตาเทียม (artificial tears) หยอด
ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง
-ประเมินสภาพผิวหนังเป็นระยะๆ
-หมั่นเปลี่ยนท่านอน หรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ
-ดูแลผิวหนังให้สะอาดและชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา
-ควรทาครีมบำรุงผิวหนัง (lotion)
ครอบครัวผู้ป่วยเด็กได้รับความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับความเจ็บป่วย
กิจกรรมการพยาบาล
-ประเมินความต้องการข้อมูลของครอบครัว
-รับฟังปัญหาของครอบครัวอย่างตั้งใจ และอดทน
-ตอบคำถามที่ครอบครัวต้องการทราบอย่างชัดเจน
-ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งความช่วยเหลือที่ครอบครัวต้องการ
-ให้กำลังใจและประคับประคองด้านจิตใจแก่ครอบครัว
แนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
-รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
-การออกกำลังกายที่
เหมาะสมกับผู้ป่วย
-การพักผ่อนให้เพียงพอ
-สุขวิทยาทั่วไป ระบบขับถ่าย ระวังท้องผูก
-แพทย์สั่งเจาะเลือดหาระดับยากันชัก