Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปเข้ากลุ่ม PBL ครั้งที่ 2 - Coggle Diagram
สรุปเข้ากลุ่ม PBL ครั้งที่ 2
การทําคลอดและการช่วยเหลือการคลอดปกติ
การเตรียมสถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมือ
ชุดผ้าสําหรับทําคลอด
ผ้ารองคลอด 2 ผืน,ปลอกขา1 คู่
ผ้าคลุมหน้าท้อง 1 ผืน,ผ้ารับเด็ก 1 ผืน, ผ้าSave perineum 1ชิ้น
ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางสําหรับเย็บแผล 1 ผืน
ชุดเครื่องมือทําคลอด
.
Artery clamp 2 ตัว,Sponge Forceps 1 ตัว,กรรไกรตัด Perineum 1 ตัว,กรรไกรตัด Cord 1 ตัว,Tooth Forceps 1 ตัว,
ภาชนะสําหรับใส่รก และถ้วยเล็กสําหรับใส่น้ํายาและน้ํายาต่างๆ ได้แก่ 0.9% NSS , สารละลายProvidine paint,ลูกสูบ
ยาง 1 ตัว, ยางรัดสายสะดือ 1-2 ชิ้น,เสื้อคลุมSterile 1 ตัว,ถุงมือSterile 2 คู่
อุปกรณ์และเครื่องใช้อื่นๆ
ชุดเครื่องมือเย็บแผลPerineum 1 ชุด
กรรไกรตัดไหม 1 ตัว ,Needle Holder 1 ตัว ,Nontooth Forceps 1 ตัว
เข็มเย็บชนิด Cutting, Round อย่างละ 1 ตัว
การเตรียมผู้ทําคลอด
ใส่หน้ากากอนามัย ฟอกทําความสะอาดมือจนถึงศอก โดยสบู่เหลวผสมน้ํายาฆ่าเชื้อ เช่น Chlorhexidine 4% เช็ดมือให้แห้งด้วยปราศจากเชื้อหรือผ้าสะอาด
ใส่ถุงมือปราศจากเชื้อ 2 ชั้น
เปิดห่อเสื้อคลุมและห่อถุงมือปราศจากเชื้อด้วยเทคนิคสะอาด(สวมผ้ายางกันเปื้อนและรองเท้าบูท)
การเตรียมผู้คลอด
การทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ผู้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุผู้คลอด ใส่ชุดปราศจากเชื้อ เช็ดจากใกล้ตัวผู้ทำความสะอาดไปไกลตัวผู้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุผู้คลอด ไม่เช็ดกลับไปมา
ผู้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุผู้คลอด ไม่ใส่ชุดปราศจากเชื้อ เช็ดจากไกลตัวผู้ทำความสะอาดไปใก้ลตัวผู้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุผู้คลอด ไม่เช็ดกลับไปมา
การคลุมผ้าให้กับผู้คลอด
กรณีไม่เร่งด่วน สวมปลอกขาให้กับผู้คลอด แล้วเริ่มปูผ้ารองก่น โดยพับปลายให้ได้1 ใน 4 ของผืนผ้า โดยคลุมมือผู้ทําคลอดและนําไปสอดไวใต้ก้นผู้คลอด ขณะถอดมือระวังอย่าให้โดนก้นผู้คลอด คลุมผ้าหน้าท้องสําหรับห่อตัวเล็ก
กรณีเร่งด่วน ให้ผ้ารองก้นผู้คลอดและทําคลอดตามสถานการณ์ นําเครื่องช่วยคลอดที่จําเป็นมาไว้บนผ้ารองก้น เพื่อให้สะดวกแก่การหยิบใช้
การเชียร์เบ่ง
ดควรดูแลให้ผู้คลอดเบ่งอย่างถูกวิธี ชมเชยและพูดให้กําลังใจผู้คลอด เพื่อให้ผู้คลอดเกิดความกระตือรือร้นและมีกําลังใจในการเบ่งมากขึ้น
เห็นศีรษะทารกมาอยู่ที่บริเวณฝีเย็บประมาณ 3-5 ซม. แล้วไม่ผลุบกลับเข้าไปให้เตรียมตัดฝีเย็บฉีดยาชาเฉพาะที่ก่อนบริเวณรอบๆ ปากช่องคลอด จัดท่าผู้คลอด โดยให้นอนหงายชันเข่า
การทำคลอด
การทําคลอดศีรษะ
.
นิยมทําคลอดแบบ Modified Ritgen's maneuver
มือขวาให้ใช้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านหนึ่ง อีก 4 นิ้วอยู่อีกด้านหนึ่ง วางไว้ใต้ฝีเย็บ 1-2 ซม. เพื่อสังเกตการฉีกขาดของฝีเย็บได้ชัด
เห็นศีรษะทารกโผล่ 3-4 ซม. ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลางของมือข้างที่ไม่ถนัดแตะศีรษะทารกกดศีรษะ ไม่ให้ศีรษะเงยขึ้นก่อนกําหนด
หลังศีรษะทารกเกิดแล้ว ห้ามผู้คลอดเบ่ง ให้อ้าปากหายใจทางปากยาวๆ ลึกๆะกลั้นเบ่งไว้ไม่ได้ ให้บอกผู้ทําคลอดทันที เพื่อรอกลไกการคลอดและป้องกันการฉีกขาดของฝีเย็บ
หน้าผากพ้นปากช่องคลอดใช้มือที่ควบคุมบริเวณท้ายทอย โกยศีรษะบริเวณเหนือขอบฝีเย็บให้เงยขึ้น พร้อมกับมือขวารวบบริเวณฝีเย็บดันหน้าทารกให้เงยขึ้นช้าๆ จนคางผ่านพ้นฝีเย็บ
หมุนศีรษะทารกตาม Restitution ให้สะดวกในการช่วยเหลือ ใช้สําลีชุบ N.S.S. เช็ดตาทารกโดยเช็ดจากหัวตาไปหางตาและใช้ลูกสูบยางแดงดูดมูจากปากและค่อยดูดจมูก เพื่อป้องกันการสําลักในระบบหายใจ
การทําคลอดไหล่
การทําคลอดไหล่หน้า เมื่อไหล่อยู่แนวตรง ใช้ 2 มือจับ ศีรษะบริเวณขมับของทารกให้อยู่ระหว่างฝ่ามือทั้งสอง
ใช้มือข้างที่ถนัดอยู่ด้านบน กดศีรษะทารกลงล่างตามแนวทิศทางของ ช่องเชิงกรานส่วนบนเมื่อเห็นไหล่หน้า จนถึงบริเวณซอกรักแร้จึงหยุด
ห้ามเอามือดึงรั้งใต้คางทารกช เพราะจะทําอันตรายแก่ประสาทบางส่วน ทําให้ทารกคอเอียง (congenital torticollis)
การทําคลอดไหล่หลัง จับศีรษะทารกให้บริเวณขมับทั้งสองข้างระหว่างฝ่ามือทั้งสอง
ยกศีรษะทารกขึ้นไปทางหน้าท้องผู้คลอดประมาณ 45 องศากับแนวดิ่ง
ห้ามสอดนิ้วเข้าไปดึงรักแร้หรือใต้คางทารก จะทําให้ทารกเกิด ErbDuchenne Paralysis
ต้องดูบริเวณฝีเย็บดีวย เพราะฝีเย็บอาจจะเกิดการฉีกขาดได้
การทําคลอดลําตัว
เมื่อพ้นไหล่ดึงตัวทารกออกมาช้าๆ โดยใช้มือซ้ายอยู่ข้างล่างช่วยพยุงรองรับให้ศีรษะอยู่ในอุ้งมือ และคอทารกอยู่ระหว่างซอกนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
ค่อยๆ ลดศีรษะทารกลง มือขวาค่อยๆ ลูบตามหลังทารกในขณะที่ลําตัวทารกค่อยๆ เลื่อนไปจนถึงข้อเท้าของทารก
ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางจับข้อเท้าทารกให้แน่น นําทารกวางบนผ้าที่จัดเตรียมไว้ โดยระวังไม่ให้สายสะดือดึงรั้ง
ดูดมูกจากปากทารกออกให้หมด ใช้ผ้าขนหนูที่อุ่นๆ เช็ดศีรษะและตัวทารกให้แห้งสะอาดทันที ช่วยรักษาอุณหภูมิร่างกาย กระตุ้นให้ร้อง
การตัดสายสะดือทารก
หลังจากดูดมูก และเช็ดตัวกระตุ้นทารกแล้ว ประมาณ 1 นาที หนีบสายสะดือห่างจากหน้าท้องทารกประมาณ 3 cm
ใช้มือรูดสายสะดือ รีดเลือดในสายสะดือไปทางด้านรกก่อนหนีบสายสะดือหรือเชือกรัดสายสะดือหนีบอีกอัน ป้องกันการพุ้งกระเด็นของเลือดในขณะตัดสายสะดือ
ใชสําลีชุบ Alcohol 70% เช็ดเมือกที่สายสะดือบริเวณที่จะตัดวางสายสะดือพาดบนนิ้วกลาง
และนิ้วนางมือซ้าย ให้นิ้วชี้และนิ้วก้อยล็อคสายสะดือไว้ สอดสําลีชุบ Alcohol 70% ใต้สายสะดือตรงตําแหน่งที่จะตัด ใช้กรรไกรตัดสายสะดือ
โดยกันปลายกรรไกรเข้าหาอุ้งมือที่พาดสายสะดือไว้และกําอุ้งมือขณะที่ทําการตัด ควรตัดสายสะดือให้เหนือตําแหน่งที่ยางรัดสายสะดือประมาณ 1 เซนติเมตร
สรีรวิทยาของการคลอดรกและการทำคลอดรก
สรีรวิทยาของการคลอดรก
การลอกตัวของรก
อาศัยการหดรัดตัว (Contraction) และคลายตัว(Retraction) เป็นนระยะๆ ของกล้ามมเนื้อมดลูกส่วนบนเกิดเลือดไหลซึมหลังรก เรียกว่า retroplacental bleeding เกิดที่ชั้น spongiosa และ decidua
ชนิด
Schultze’s method เกิดขึ้นตรงกลางของรกไม่มีเลือดออกมาให้เห็นทางช่องคลอด เคลื่อนออกมาลักษณะคล้ายร่มชูชีพ
Matthews duncan’s method รกจะเกิดขึ้นโดยเริ่มที่บริเวณริมรกก่อน พบ Vulva sign ก่อนคลอด
อาการแสดง
Uterine sign มดลูกเปลี่ยนจากกลม แบน ใหญ่ นุ่ม ต่ำกว่าสะดือ เป็นกลม นูน เล็ก แข็ง สูงเหนือสะดือและค่อนไปทางขวา
Vulva sign หลังคลอดทารก จะเห็นเลือดออกทางช่องคลอด แสดงว่ารกมีการลอกตัวแบบ Duncan’smethod
Cord sign สายสะดือจะเหี่ยว คลายเกลียว คลําชีพจรไม่ได้ เคลื่อนต่ําลงมาจากตําแหน่งเดิม 8-10 cm.
การคลอดรก
ระยะที่ 1 รกผ่านจากโพรงมดลูก หลังจากรกลอกตัวหมด จะค้างอยู่ภายในโพรงมดลูก จนกล้ามเนื้อมดลูกมีการหดรัดตัวครั้งต่อไป
ระยะที่ 2 กล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างและผนังช่องคลอดยืดขยายออกไปเต็มที่เมื่อไม่มีส่วนของทารกมาถ่างไว้และยังมีมดลูกส่วนบนที่มีรกค้างอยู่ ระดับของยอดมดลูกอยู่ระดับสะดือ และรูปร่างกลมแบนใหญ่
การทำคลอดรก
คลอดเองตามธรรมชาติ
โดยอาศัยแรงเบ่งของมารดา นิยมปฏิบัติเพราะไม่เกิดภาวะมดลูกปลิ้น
วิธีปฏิบัติดังนี้
รกลอกตัวหมด ให้ผู้คลอดใช้มือซ้ายคลึงมดลูกให้แข็งแล้วจับมดลูกเลื่อนจากด้านขวามาอยู่ในแนวกลาง จับมดลูกให้อยูในอุ้งมือ
มือขวาจับสายสะดือไว้ และร่วมกับแรงเบ่งรกคลอดใช้มือขวารองรับรกไว้
มือซ้ายโกยมดลูกส่วนบนขึ้นและมือขวาหมุนรกไปรอบๆทางเดียว หมุนจนเยื่อหุ้มทารกออกมาหมด
อย่าให้เยื่อหุ้มทารกขาดค้างในโพรงมดลูกที่จะทําเกิดการตกเลือดและติดเชื้อหลังคลอด
ผู้ทําคลอดช่วยเหลือให้รกคลอด
Medified crede Maneuver อาศัยมดลูกส่วนบนที่หดตัวแข็งดันเอารกซึ่งอยู่ในส่วนล่างของทางคลอดออกมา
Brandt-Andrews Maneuver เป็นการกดไล่รกที่ลอกตัวแล้วและอยู่
ที่มดลูกส่วนล่างให้คลอดออกมา วิธีนี้จะไม่ค่อยเจ็บ
Controlled cord traction เป็นการดึงสายสะดือเพื่อให้รกคลอดออกมา วิธีนี้มีอันตรายคือทําให้มดลูกปลิ้นได้ง่าย
การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิดทันที
(Apgar Score) การประเมินความสามารถของทารกในการปรับตัวของทารก จากสิ่งแวดล้อมภายในมดลูกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก
ประเมินวิธีการง่ายๆ รวดเร็ว ประเมินนาทีที่ 1,5 และ10
วิธีการสังเกต 5 ประการ
สีผิว (Appearance: A) ทารกมีสีชมพูทั้งตัว 2 คะแนน ถ้าสีชมพูเฉพาะลําตัว ปลายมือ ปลายเท้าสีเขียว 1 คะแนน เขียวคล้ําซีดตลอดตัว 0 คะแนน
ชีพจร (Pulse or heart rate: P) คลําสายสะดือ หรือฟังเสียงหัวใจโดยการนับ มากกว่า 100 ครั้ง/นาที 2 คะแนน ต่ำกว่า 100 ครั้ง/นาที 1 คะแนน หัวใจไม่เต้น 0 คะแนน
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น (Grimace or reflex irritability: G)
สังเกตสีหน้า การไอ จาม การร้องของทารก ทารกร้องเสียงดัง2 คะแนน
แสยะหน้าหรือขมวดคิ้ว 1 คะแนน ไม่มีการตอบสนอง 0 คะแนน
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Activity or muscle tone = A)เคลื่อนไหวดี งอ แขนขาได้เต็มที่ 2 คะแนน งอแขนขาได้เล็กน้อย 1 คะแนน ไม่ตอบสนองเลย 0คะแนน
การหายใจ (Respiration: R) หายใจดี 2 คะแนน หายใจไม่สม่ําเสมอ1 คะแนน ไม่หายใจเลย 0 คะแนน
ระดับคะแนนและการช่วยเหลือของทารก
0-3 คะแนน (severe asphyxia) แสดงว่าทารกที่ขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง ควรช่วยเหลือโดยการนวดหัวใจและ ช่วยการหายใจโดยให้ออกซิเจน 100% ทารกควรได้รับการใส่ Umbilical venouscatheter
4-6 คะเเนน (Mild asphyxia) ทารกที่มีภาวะขาดออกซิเจน ระดับปานกลาง ให้ออกซิเจนและกระตุ้นให้ทารกหายใจ ใช้นิ้วมือตีหรือดีดฝาเท้าทารก หรือใช้ผ้าถูหน้าอกบริเวณ Sternum ให้ออกซิเจนอัตราการไหล 4 ลิตร/นาที
7-10 คะแนน (Good condition) ถือว่าทารกปกติ ให้การดูแลทั่วๆ โดยให้ความอบอุ่นอย่างเพียงพอ และดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง และแก่ทารก
การป้องกันการตกเลือดระยะที่ 3 ของการคลอด
ซักประวัติอย่างละเอียดเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด โรคประจําตัว เช่น โลหิตจาง โรคการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
ตรวจร่างกายดูอาการแสดงของการเสียเลือด ได้แก ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่่ำหรือซีดมาก
ส่งเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น CBC, จํานวนเกล็ดเลือด , fibrinogen ส่งตรวจ type และ cross matching เพื่อจองเลือดจากธนาคารเลือด
clamp สายสะดือใกล้ฝีเย็บโดยใช้ sponge forceps วางมืออีกข้างเหนือกระดูกหัวหน่าว และstabilize มดลูกโดยดันมดลูกไม่ให้เคลื่อนลงมา ดึงสายสะดือลงอย่างนุ่มนวล แบบcounteraction เพื่อป้องกันมดลูกปลิ้น
ตรวจการหดรัดของมดลูก ถ้ายังหดรัดตัวไม่ดีหลังจากสวนปัสสาวะแสดงว่าตกเลือด ถ้าหลังคลอดเกิดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี นวดคลึงหรือกดมดลูก
โดยให้ oxytocin หลังคลอดไหล่หน้า (หรือหลังคลอดเด็ก) 10 ยูนิต IM หรือหยดทาง IV100-150 มล./ชม. ในน้ําเกลือ 10-20 ยูนิต/ลิตร และให้ต่อหลังคลอด 1-2 ชั่วโมง กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ตรวจการฉีกขาดของช่องทางคลอดและปากมดลูก เย็บซ่อมจุดที่มีเลือดออก
ตรวจการคลอดของรกอีกครั้ง เพื่อแน่ชัดว่ารกคลอดครบครบหรือไม่ในกรณีที่รกลอกตัวช้าควรนึกถึงภาวะรกเกาะลึกผิดปกติ
ถ้าตรวจทุกอย่างเบื้องต้นแล้วพบว่าปกติให้ตรวจสอบการแข็งตัวของมดลูก
หลีกเลี่ยงหรือรักษาปัจจัยเสี่ยง เช่น การคลอดยาวนาน การติดเชื้อในถุงน้ําครํ่า เป็นต้น ระมัดระวังไม่ให้เบ่งคลอดยาวนานเกินไป
การตรวจรก การตรวจการฉีกขาดช่องทางคลอด การตรวจการหดรัดตัวของมดลูก
การตรวจรก
ตรวจสายสะดือ
ตรวจตําแหน่งสายสะดือว่าอยู่บนรกหรือที่เยื่อหุ้มทารก
ตรวจเส้นเลือดในสายสะดือทั้ง 3เส้น vein 1 เส้น artery 2 เส้น
ดูการฉีกขาดความยาวและปมต่าง ๆ วัดปลายสายสะดือที่ถูกตัด
ตรวจเยื่อหุ้มทารก
ตรวจดูรอยแตกของถุงเยื่อหุ้มทารก รายที่รกเกาะต่ำ (placenta previa) รอยแตกชิดกับขอบของรก
ดูสัดส่วนของเยื่อหุ้มทารกทั้งสองชั้น ปกติจะทั้งสองชั้นเท่ากัน
ตรวจเยื่อหุ้มส่วน chorion ถ้าเส้นเลือดทอดไปถึงบริเวณ chorionic plate เเสดงว่ารกค้าง
ตรวจรอยแหว่งหรือช่องโหว่บนเยื่อหุ้มทารกชั้น chorion
ตรวจดูสัดส่วนของเยื่อหุ้มทารกชั้น choion และเยื่อชั้น amnion
ตรวจรกด้านแม่
ดู Marginal sinus ตรวจก้อนเลือดที่อยู่ที่ marginal sinus
ดูรอยปุ่มบนผิวรกพบได้ในรายที่รกลอกตัวก่อนกําหนด
ดูเลือดขังอยู่หลังรกมากรอยปุ่มบน cotyledon
ดูผิว cotyledon ปกติพบ placental sulcus แบ่งรกด้านแม่ออกเป็นก้อนๆ (cotyledons)
ตรวจรกด้านทารก
ตรวจเส้นเลือดของสายสะดือที่ที่เกาะของสายสะดือบน chorionic plate
ตรวจดู Closing Ring of Wrinkle-Waldeyer
ตรวจดู subchorionic infarct, Subchorionic cyst ใต้ chorionic plate ปกติจะไม่มี
ตรวจดูการติดของเยื่อหุ้มทารกชั้น chorion
ดูว่าเป็นปกติและติดต่อจากขอบรกหรือเป็นชนิด circumvallate
การตรวจการหดรัดตัวของมดลูก
Basal tone of uterus
ระดับ tone ของกล้ามเนื้อมดลูกในระยะพัก ขณะที่ไม่มีการหดรัดตัว
ค่าสูงผิดปกติอาจผิดปกติบางอย่าง เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกําหนด (Placental abruption)
Interval (frequency)
ระยะห่างของการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกในแต่ละครั้ง
ต้องมีระยะห่างที่สม่ำเสมอ และไม่ถี่หรือห่างเกินไปควรจะอยู่ที่ประมาณ 2-3 นาที
หดรัดตัวของมดลูกเกิดขึ้นถี่เกินไป เรียกว่า Tetanic uterine contraction อาจทําให้ทารกอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน และมดลูกแตก
Duration
ระยะเวลาที่กล้ามเนื้อมดลูกหดตัวในแต่ละครั้ง ปกติมักจะไม่เกิน 60 วินาที
นานเกินไป อาจทําให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์
การหดรัดตัวของมดลูกสั้นเกินไป จะไม่เพียงพอทําให้ปากมดลูกเปิดขยาย
Intensity
ความแรงของการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
3 ระดับ คือ mild intensity, moderate
intensity และ strong intensity
การตรวจการฉีกขาดช่องทางคลอด
First degree tear ฉีกขาดบริเวณ Fourchette ผิวหนังบริเวณด้านหน้าของฝีเย็บ เยื่อบุช่องคลอดเท้านั้น Fascia และกล้ามเนื้อ
Perineal body ไม่ฉีกขาด
Second degree tear ฉีกขาดที่ลึกลงไปถึงกล้ามเนื้อของ Perineal body ไม่ถึงanal sphincte
Third degree tear เป็นการฉีกขาดที่ลึกลงไปถึงหูรูดทวารหนัก บ้างครั้งถึงRectal mucosa เรียกว่า Complete tear หรือ Fourth degree