Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา / ภาวะปัญญาอ่อน (Intellectual Disabilities /…
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา / ภาวะปัญญาอ่อน
(Intellectual Disabilities / Mental Retardation
คำจำกัดความ
บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามักมีพัฒนาการด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ ภาษา สติปัญญา การเรียนรู้และการปรับตัวในการดำรงชีวิตล่าช้ากว่าเด็กปกติในช่วงอายุเดียวกัน
หลักเณฑ์การวินิจฉัย
ตามเกณฑ์ของ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition, Text Revision (DSM- IV-TR) โดย American Psychiatric Association (APA)
3.มีความผิดปกติในพฤติกรรมการปรับตัว (adaptive behavior) โดยบกพร่องตั้งแต่ 2 ด้านขึ้นไป จากทั้งหมด 10 ด้าน
1.การสื่อความหมาย (Communication) 2.การดูแลตนเอง (Self-care) 3. การดำรงชีวิตภายในบ้าน (Home living) 4. การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม (Social and Interpersonal Skills) 5. การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน (Use of Community Resources) 6. การควบคุมตนเอง (Self- direction) 7. การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน (Functional Academic Skills) 8. การใช้เวลาว่าง (Leisure) 9. การทำงาน (Work) 10. การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น (Health and Safety)
พ.ศ.2545 AAMR จึงได้ปรับเกณฑ์การวินิจฉัยเรื่องพฤติกรรมการปรับตนเป็นการปฏิบัติตนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในข้อ ก หรือ ข้อ ข ดังนี้
ก. ทักษะด้านใดด้านหนึ่งใน 3 ด้านของพฤติกรรมการปรับตน ได้แก่ ทักษะด้านความคิดรวบยอด (conceptual skills) ทักษะด้านสังคม (social skills) หรือทักษะด้านการปฏิบัติตน (practical skills) หรือ
ข. ทักษะทั้ง 3 ด้าน ตามข้อ ก โดยดูจากคะแนนรวมทั้งหมด
เครื่องมือวัดพฤติกรรมการปรับตัว
Vineland Adaptive Behavior Scale II (VBAS II)
ประกอบด้วยพฤติกรรมการปรับตัว 261 ข้อ แบ่งเป็น 4 ด้าน
2.ด้านกิจวัตรประจําวัน (Daily living skill domain)
2.ด้านการทำงานบ้าน(Domestic)
3.ด้านพฤติกรรมในชุมชน(Community)
1.ด้านกิจกรรมส่วนบุคคล (Personal)
3.ด้านการเข้าสังคม (socialization domain)
2.ด้านการเล่นและการใช้เวลายามว่าง (Play and leisure time)
3.ด้านทักษะการจัดการ (Coping skill)
1.ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (interpersonal relationships)
1 ด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication domain)
2.ด้านการแสดงออกทางด้านภาษา (Expressive)
3.ด้านการเขียน (Written)
1.ด้านการรับรู้และการเข้าใจภาษา (Receptive)
4.ด้านทักษะการเคลื่อนไหว (Motor skill domain)
1.ด้านการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross)
2.ด้านการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine)
เกณฑ์การให้คะแนน
การให้ 2 คะแนน
แสดงพฤติกรรมนั้นเป็นประจำ เป็นนิสัย
การให้ 1 คะแนน
แสดงพฤติกรรมนั้นบ้างเป็นบางครั้งหรือแสดงพฤติกรรมนั้นได้บางส่วน
การให้ 0 คะแนน
ไม่เคยแสดงพฤติกรรมนั้นเลย
การให้คะแนน n
เด็กไม่มีโอกาสได้ทำเนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่ไม่มีสิ่งนั้น
การให้คะแนน DK
ผู้ตอบไม่รู้ว่าเด็กทำกิจกรรมนั้นได้หรือ เช่น กิจกรรมที่โรงเรียนหรือห้องสมุด
การคิดคะแนน
1.หา Basal item และ Ceiling item
Basal item คือ ข้อคำถามที่ได้คะแนนเท่ากับ 2 จำนวน 7 ข้อติดต่อกัน
Ceiling itemคือข้อคำถามที่ได้คะแนนเท่ากับ 0 จำนวน 7 ข้อคำถามติดต่อกัน
2.ให้คะแนน 2 ในทุกข้อคำถามก่อน Basal item
3.ให้คะแนน 0 ในทุกข้อหลัง Ceiling item
4.รวมคะแนนดิบ 2,1,0,DK และ n ในแต่ละคอลัมน์
5.นำผลรวมคะแนนดิบไปเทียบหาคะแนนมาตรฐาน (Standard Score)
การแปลผล
ใช้การเทียบคะแนนเฉลี่ยของบุคคลนั้นๆกับกลุ่มตัวอย่าง
พิจารณาดูว่าบุคคลนั้นมีความสามารถเท่ากับอายุจริงหรือไม่หรือไม่มีความสามารถด้านใดบ้างที่ควรจะมี แต่ยังไม่มี
2.เริ่มมีอาการก่อน 18 ปี ถ้าหลังอายุ 18 ปีไม่ถือเป็น mental retardation แต่เป็น dementia
1.มีระดับเชาว์ปัญญาโดยทั่วไปต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยหมายถึง มีระดับ IQ (Intellectual guotient) < 70 (ในกรณีเด็กทารกซึ่งไม่สามารถจะตรวจวัด IQ ได้ ให้อาศัยการตัดสินทางคลินิกว่ามีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
สาเหตุของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1.ก่อนคลอด ได้แก่โครโมโซมผิดปกติบางส่วนหรือการผ่าเหล่าของยีน เช่น กลุ่มอาการดาวน์ และความผิดปกติทางเมตาบอลิกอื่นๆ ความผิดปกติจากการขาดหายไปของยีนบนโครโมโซม เช่น กลุ่มอาการโครโมโซม x เปราะ
2.ความผิดปกติแต่กำเนิด ได้แก่ ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น หลอดประสาทไม่ปิด กลุ่มอาการที่มีความผิดปกติหลายระบบ การติดเชื้อในครรภ์ ได้รับสารพิษ ครรภ์เป็นพิษ หรือรกผิดปกติการติดเชื้อหัดเยอรมัน การติดเชื้อ hiv การเกิดก่อนกำหนด ได้รับรังสี
3.ปริกําเนิด ได้แก่ การติดเชื้อ หรือมีปัญหาระหว่างการคลอดและอื่นๆ เย่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะขาดออกซิเจน บิลิรูบินในเลือดสูง
4.หลังคลอด ได้แก่ การติดเชื้อ ได้รับสารพิษ ปัญหาทางจิตสังคมและอื่นๆ สมองอักเสบ ได้รับพิษจากตะกั่ว เนื้องอกในสมอง เศรษฐานะยากจน การเจ็บป่วยทางจิตเวช
5.ด้านจิตใจ ได้แก่ ขาดความรักความอบอุ่น ขาดการเอาใจใส่ ขาดการกระตุ้นพะฒนาการ
การแบ่งระดับ
ระดับปานกลาง (Moderate Mental Retardation)
มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 35-49
สามารถเรียนหนังสือได้ประมาณระดับปฐมศึกษาปีที่ 2-3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 แต่มักต้องการการจัดการศึกษาพิเศษ มีข้อจำกัดในการสื่อสาร กล้ามเนื้อมัดใหญ่มีปัญหา สามารถฝึกอบรมได้ (trainable) ในทักษะการช่วยเหลือ ดูแลตนเอง เรียนรู้ที่จะเดินทางได้ด้วยตนเองในสถานที่ที่คุ้นเคย และฝึกอาชีพได้บ้าง สามารถทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะฝีมือ แต่ควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด มี
ระดับรุนแรง (Severe Mental Retardation)
ไม่สามารถเรียนหนังสือได้ มีทักษะทางการเคลื่อนไหวล่าช้าอย่างชัดเจน ด้านภาษาพัฒนาเล็กน้อย ทักษะการสื่อความหมายมีเพียงเล็กน้อยหรือไม่มี สื่อสารด้วยรูปภาพ พอจะฝึกฝนทักษะการดูแล ตนเองเบื้องต้นได้บ้างแต่น้อย ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมภายใต้การควบคุมดูแลอย่างเต็มที่ การทำงานไม่สามารถประกอบอาชีพเองได้ ต้องให้ความช่วยเหลือที่พิเศษเป็นการเฉพาะ
มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 20-34
ระดับน้อย (Mild Mental Retardation)
มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 50-69
สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ปกติ สามารถพัฒนาทักษะด้านสังคม และการสื่อความหมายได้เหมือนเด็กทั่วไป แต่มักมีความบกพร่องด้านประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว สามารถเรียนรู้ได้ (educable) สามารถเรียจบชั้นประถมปลายได้ สามารถฝึกทักษะด้านอาชีพพอที่จะเลี้ยงตัวเองได้ เป็นแรงงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะฝีมือหรือกึ่งใช้ฝีมือ แต่งงานได้ตามปกติ อาจต้องการคำแนะนำและการช่วยเหลือบ้างเมื่อประสบความเครียด
ระดับรุนแรงมาก (Profound Mental Retardation)
มีระดับไอคิวต่ำกว่า 20
มีพัฒนาการล่าช้าอย่างชัดเจนในทุกๆ ด้าน ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ มีขีดจำกัดในการเข้าใจและการใช้ภาษาอย่างมาก ต้องการความช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา อาจมีความผิดปกติทางร่างกายร่วมด้วย
แบบประเมิน
Stanford-Binet Intelligence Scale
แบ่งออกเป็นชุด ๆ ตามระดับอายุ เริ่มจากชุดที่ใช้สำหรับเด็กอายุ 2 ปี ไปถึงวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย
สำหรับอายุ 5 – 14 ปี ได้จัดเป็นชุดแบบทดสอบของแต่ละปี เช่น สำหรับเด็กอายุ 6 ปี , 7 ปี , 8 ปี ไปจนถึงอายุ 14 ปี
(Superior Adult) สำหรับเด็กอายุระหว่าง 2 – 5 ปี ได้จัดแบบทดสอบเป็นชุด ในช่วง เช่น อายุ 2 ปี , 3 ปี , 4 ปี เรื่อยไปจนถึงเด็กอายุ 5 ปี
อายุเกิน 14 ปี จะมี 4 ชุด
ชุดแรก สำหรับผู้ใหญ่ตอนกลาง (Adult Average : AA)
ชุดที่สอง สำหรับผู้ใหญ่ตอนปลายระดับ 1 (SA – 1)
ชุดที่สาม สำหรับผู้ใหญ่ตอนปลายระดับ 2 (SA – 2)
ชุดที่สี่ สำหรับผู้ใหญ่ตอนปลายระดับ 3 (SA – 3)
แบบทดสอบในแต่ระดับอายุ ประกอบด้วย ข้อทดสอบย่อยบ 6 อย่าง ยกเว้นในระดับผู้ใหญ่ ซึ่งในแต่ละชุดประกอบด้วย ข้อทดสอบย่อย 8 อย่าง
อุปกรณ์ที่ใช้จะบรรจุในกระเป๋า ซึ่งมีตุ๊กตา ของเล่นต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับเด็กเล็ก ๆ ชุดภาพต่าง ๆ แบบฟอร์มบันทึกผลการทดสอบและหนังสือคู่มือสำหรับแบบทดสอบ แบบทดสอบดังกล่าจะใช้วัดความสามารถทางด้านต่าง ๆ ตามลักษณะคำถามย่อยของแบบทดสอบ
การหาค่า Intelligence Quotient” เรียกชื่อย่อว่า IQ ในภาษาไทยเรียกว่า เกณฑ์ภาคเชาวน์
คำนวณได้จากการหาอายุของสมองด้วยอายุจริง
สูตรการคำนวณ คือ IQ = อายุสมองคูณ100 หารอายุจริง
เกณฑ์ภาคเชาว์
130 ขึ้นไป
ฉลาดมาก
สามารถเรียน ในระดับปริญญาเอก
120-129
ฉลาด
สามารถเรียน ในระดับปริญญาโท
110-119
สูงกว่าปกติหรือค่อนข้างฉลาด
สามารถเรียนในระดับปริญญาตรี หรือมีโอกาสจบมหาวิทยาลัยได้
90-109
ปกติหรือปานกลาง
มีความสามารถปานกลางเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายได้
80-89
ต่ำกว่าปกติหรือปัญญาทึบ
เชาวน์ปัญญาต่ำที่สามารถรับการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กเรียนช้าๆได้
70-79
ชาวน์ปัญญาก้ำกึ่ง ระหว่างปัญญาทึบกับปัญญาอ่อน
ประกอบอาชีพประเภทช่างฝีมือได้
50-69
ปัญญาอ่อนเล็กน้อย
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 7-10 ปี พอรับรู้การศึกษาได้ ในระดับประถมต้น ป .1- ป .4 โดยเรียนอยู่ในชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียน การศึกษาพิเศษเฉพาะ ประกอบอาชีพที่ไม่ต้องความรับผิดชอบสูง หรืองาน ประเภทช่างฝีมือง่ายๆ
35-49
ปัญญาอ่อนปานกลาง
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็ก อายุ 4-7 อาจอ่านเขียนได้เล็กน้อย แต่เรียนรู้ได้ช้า ไม่สามารถเรียนในโรงเรียนปกติได้ ควรเรียนในโรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะ ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสมอาจพอดูแลตนเองในชีวิตประจำวันได้ และทำงานง่ายๆภายใต้การควบคุมดูแล
20-34
ปัญญาอ่อนมาก
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 3 ปี เรียนหนังสือไม่ได้ มีความบกพร่องเห็นได้ชัดในพฤติกรรม การปรับตัวและอาจมีพัฒนาการบกพร่องในด้านภาษาการรับรู้ การดำรงชีวิต ต้องอยู่ภายใต้การดูแล เช่นเดียวกับเด็กเล็ก
ต่ำกว่า 20 ลงไป
ปัญญาอ่อน มากที่สุด
มีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 1-2 ปี ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ต้องมีผู้ให้การดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด
แนวทางการช่วยเหลือ
การพยาบาล
ส่งเสริมพัฒนาการ (Early Intervention)ให้ช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้
ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
กายภาพบำบัด (Physical Therapy) เน้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การเคลื่อนไหว แก้ไขการเดิน และลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) เน้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก การหยิบจับ สมาธิ และการรับรู้สัมผัส
แก้ไขการพูด (Speech Therapy) เน้นพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
ฝึกทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training) เน้นพัฒนาการด้านสังคม และการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน
ฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา
ทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP - Individualized Educational Program) เหมาะสมกับจุดเด่น จุดด้อย และความสนใจของเด็กแต่ละคน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ง่ายไม่สับสน มุ่งหมายที่จะให้เด็กสามารถนำทักษะที่ได้จากชั้นเรียนไปใช้ในชีวิตจริง
ฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างเท่าเทียม เพื่อลดความรู้สึกแปลกแยกจากสังคม สามารถดำรงชีวิตตามปกติในสังคมได้
ฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ
ฝึกทักษะพื้นฐานทางอาชีพเฉพาะด้าน และฝึกลักษณะนิสัยในการทำงานที่เหมาะสม เช่น การตรงต่อเวลา รู้จักรับคำสั่ง สามารถปฏิบัติตนต่อผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสม และเข้าใจมารยาททางสังคม
ส่งเสริมศักยภาพครอบครัว
ครอบครัวควรมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการดูแล เห็นความสำคัญของการฝึกฝนทักษะต่างๆอย่างต่อเนื่อง ให้คำปรึกษาสำหรับครอบครัว เพื่อ ลดความเครียดของครอบครัว ให้ข้อมูลและทางเลือกต่างๆ ในการตัดสินใจ และให้กำลังใจ
แนวทางการป้องกัน
ในระหว่างตั้งครรภ์ ควรฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ไม่ซื้อยาทานเอง
กลุ่มที่มีความเสี่ยงควรรับการตรวจเพิ่มเติม เช่น มารดาที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์
หลังคลอด ควรติดตามประเมินพัฒนาการตามวัย ถ้ามีปัญหาพัฒนาการล่าช้า ควรรับการตรวจ ประเมินเพิ่มเติม และส่งเสริมพัฒนาการแต่แรกเริ่มที่สงสัย
คู่สมรสควรมีการวางแผนครอบครัวล่วงหน้า
เอาใจใส่ดูแลเด็กอย่างเหมาะสม ให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ มีโอกาสได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมตามวัย