Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคลอดเฉียบพลัน - Coggle Diagram
การคลอดเฉียบพลัน
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
- เคยมีประวัติคลอดเร็ว และผ่านการคลอดมาหลายครั้ง
- การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และกล้ามเนื้อหน้าท้องแรงผิดปกติ โดยเกิดขึ้นเองหรือ จากการให้ยาเร่งคลอดมากผิดปกติ
- ความต้านทานของคอมดลูก พื้นเชิงกร้านช่องคลอด ฝีเย็บมีน้อย
- ทารกตัวเล็กหรืออายุครรภ์น้อยกว่ากำหนด ทำให้เคลื่อนต่ำลงมาได้ง่าย
- ผู้คลอดที่ไวต่อการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
- ช่องทางคลอดอ่อนมีโอกาสฉีกขาดมากผิดปกติ เนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
- เจ็บครรภ์มาก เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวแรงและถี่มาก
- ทารกอาจได้รับอันตรายจากการคลอดเฉียบพลัน
- อาจเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจากการคลอดเฉียบพลัน
- วิตกกังวล/กลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากการคลอดเฉียบพลัน
การวินิจฉัย
- ระยะเวลาในการเจ็บครรภ์และคลอดน้อยกว่า 3 ชั่วโมง
- อัตราการเปิดขยายของปากมดลูก เปิดมากกว่า 5 เซนติเมตร/ชั่วโมง ในครรภ์แรก และเปิด มากกว่า 10 เซนติเมตร/ชั่วโมง ในครรภ์หลัง
- มีการหดรัดตัวของมดลูกถี่และรุนแรง มีการหดรัดตัวทุก 2 นาทีหรือบ่อยกว่านั้นและ ระยะเวลาของการหดรัดตัวของมดลูกนานมากกว่า 90 วินาที หรือไม่มีการคลายตัวในระยะที่ควรเป็นระยะพัก
- ความดันภายในโพรงมดลูกประมาณ 50-70 มิลลิเมตรปรอท
การพยาบาล
- มารดาที่มีประวัติการคลอดเร็ว ต้องระมัดระวังในการให้การพยาบาล เพื่อการปูองกันการคลอด เฉียบพลัน โดยการประเมินความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิด
- ประเมินและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก และฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ ทุก 30 นาที เพื่อประเมินสภาพของมารดาและทารกในครรภ์
-
3 พิจารณาย้ายมารดาเข้าห้องคลอด ในมารดาที่มีประวัติการคลอดเร็วควรย้ายเข้าห้อง คลอดเมื่อปากมดลูกเปิด 5 เซนติเมตร เพื่อเตรียมการช่วยคลอดโดยเร็ว
- ให้การดูแลตามอาการ กรณีที่จะมีภาวะคลอดเฉียบพลัน
- กระตุ้นให้มารดาใช้เทคนิคการหายใจแบบตื้นๆ เร็วๆ เบา ๆ เข้าออกทางปากและจมูก เพื่อควบคุมไม่ให้มารดาเบ่งเร็ว
- ใช้ผ้าสะอาดกดบริเวณฝีเย็บ พร้อมทั้งใช้มืออีกข้างกดศีรษะทารกให้ก้มลงก่อนที่ศีรษะ ทารกจะคลอด เพื่อป้องกันการฉีกขาดของฝีเย็บและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
- ในกรณีที่มารดาไม่สามารถหยุดเบ่ง และศีรษะทารกคลอดออกมาแล้ว ให้กางขามารดาออก เพื่อป้องกันศีรษะทารกถูกหนีบ
- จับให้ทารกนอนศีรษะต่ำ ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง และดูดน้ำคร่ำในปากและจมูก ทารกออกเพื่อป้องกันทารกสำลักน้ำคร่ำ
- ระยะหลังคลอดให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่มีการฉีกขาดของช่องทางคลอด และมดลูกหดรัดตัวไม่ดี เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
- แนะนำการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
-
-
ตรวจภายในพบปากมดลูกมีการเปิดขยายเร็ว ครรภ์แรกปากมดลูกเปิด 5 เซนติเมตร/ชั่วโมง ครรภ์หลังปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตร หรือมากกว่า 10 เซนติเมตร/ชั่วโมง
การรักษา
- ให้การดูแลตามอาการ ถ้าประสบกับการคลอดเฉียบพลันให้ช่วยคลอด
- การให้ยา รายที่ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ควรหยุดให้ อาจให้ยาช่วยยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก แพทย์มักจะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อปูองกันการติดเชื้อ และให้ยา methergin หลังคลอดเพื่อป้องกันการตกเลือด
- การผ่าตัดคลอด ทำในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะมดลูกแตก (uterine rupture) หรือ น้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือดของผู้คลอด (amniotic fluid embolism)
การประเมินสภาพ
1.การซักประวัติ ได้แก่ ประวัติการคลอดเฉียบพลัน หรือการคลอดเร็วในครรภ์ก่อน ความไวต่อการ เร่งคลอด ลักษณะอาการเจ็บครรภ์ หรืออาการอื่นๆ ร่วมกับการเจ็บครรภ์
-
- ภาวะจิตสังคม ได้แก่ ประเมินความวิตกกังวล และความหวาดกลัวของผู้คลอดเกี่ยวกับภาวะ สุขภาพของทารกเนื่องจากการคลอดเร็ว
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา
เนื้อเยื่อบริเวณช่องทางคลอดเกิดการฉีกขาด ได้แก่ ปากมดลูก ช่องคลอด ฝีเย็บ ลักษณะของ แผลเป็นแบบกะรุ่งกะริ่ง
-
-
-
-
-
-
ภาวะแทรกซ้อนต่อทารก
-
-
อาจมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อแขนถูกดึงมากเกินไป ทารกไม่สามารถยกมือได้ แขนข้างที่ เป็นจะบิดไปติดกับลำตัว ฝ่ามือหันไปทางด้านหลัง กางแขนออกไม่ได้ ภาวะนี้เรียกว่า Erb’palsy
อาจเกิดภาวะขาดออกซิเจน (asphyxia) เนื่องจากรกลอกตัวก่อนกำหนด หรือจากการที่มดลูก หดรัดตัวของมดลูกอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ทำให้เส้นเลือดหดรัดตัว เลือดไหลผ่านไปยังรกได้น้อย ทารกจึงขาดออกซิเจน
-
-
-
-
ความหมาย
การคลอดที่เกิดขึ้นเร็วผิดปกติ ใช้เวลาทั้งหมด ประมาณ 3 ชั่วโมง มีการเปิดขยายของปากมดลูก ในระยะปากมดลูกขยายเร็ว 5 เซนติเมตร/ชั่วโมงในผู้คลอดครรภ์แรก และมากกว่า 10 เซนติเมตร/ชั่วโมงในผู้คลอดครรภ์หลัง
-