Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Health &Environmental Economic, นางสาวเครือวัลย์ ทองดี รหัส…
Health &Environmental Economic
หลักการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(Environmental Impact Assessment: EIA)
การพิจารณาว่า นโยบายหรือโครงการที่นำเสนอมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร พร้อมทั้งนำเสนอทางออกที่จะแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์ 4 ด้าน
ทรัพยากรทางกายภาพ เช่น ดิน น้ำ อากาศ
ทรัพยากรทางชีวภาพ เช่น ระบบนิเวศ ป่าไม้ สัตว์ป่า
คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เช่น การใช้ประโยชน์จากที่ดิน น้ำ
4.คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต เช่น ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ
การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ (Economic Impact Analysis)
เป็นการมองว่า การตัดสินใจบางอย่าง เช่น การออกกฎหมายทางสิ่งแวดล้อม จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร เพราะบางครั้งนโยบายที่เข้มงวดอาจทำเศรษฐกิจหยุดชะงัก เช่น สหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้สัตยาบันใน Kyoto Protocol เพราะเกรงว่าจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมหยุดชะงัก
การวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการควบคุมทางสิ่งแวดล้อม (Regulatory Impact Analysis: RIA)
เป็นการพิจารณามาตรการที่ควบคุมที่จะนำมาใช้ ก่อให้เกิดต้นทุน หรือผลประโยชน์อย่างไร เช่น ถ้ารัฐบาลต้องการนำเสนอให้ยกเลิกการใช้ CFC รัฐบาลต้องแสดงให้เห็นว่า การใช้สารทดแทนตัวใหม่จะเพิ่มต้นทุนการผลิตหรือไม่ และประโยชน์ที่ได้รับจากการลดการใช้สาร CFC
การวิเคราะห์ประสิทธิผล (Cost-effective Analysis)
การวิเคราะห์วิธีนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ถ้าเราต้องการบรรลุเป้าหมายในการสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อม เราจะมีแนวทางกี่แบบ แบบใดที่เสียค่าใช้จ่ายตํ่าสุด เช่น ถ้าเราต้องการลดการปล่อย Greenhouse gas เราสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การกำหนดมาตรฐานเครื่องยนต์,การใช้พลังงานทางเลือก
การประเมินความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Damage Assessment)
การประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สิ่งแวดล้อมจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามค่าที่ประเมินได้ เช่น การปล่อยน้ำเสียลงทะเลสาบ
การวิเคราะห์ต้นทุน ผลประโยชน์ (Cost Benefit Analysis)
เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจของรัฐบาล โดยการนำผลประโยชน์ที่เกิดจากการออกนโยบาย มาเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบาย
การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis)
เนื่องจากเราไม่ทราบแน่นอนว่าจะเกิดอะไรบ้างในอนาคต ทั้งในแง่ของต้นทุนและผลประโยชน์ สิ่งที่เรามีคือข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
การประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อม
มูลค่าสิ่งแวดล้อมคืออะไร
มูลค่าไม่ใช่ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต มูลค่าไม่ใช่ต้นทุน
มูลค่าคือระดับความสำคัญที่มนุษย์มีต่อสิ่งของต่างๆ
มูลค่าคือความรู้สึกที่คนมีต่อสิ่งของ 3 : 2
มูลค่าคืออัตราการทดแทนระหว่างความรู้สึกของคนกับเงิน
ถ้าจัดลำดับไม่ได้ ก็กำหนดมูลค่าไม่ได้มูลค่าจึงถูกกำหนดโดยค่านิยมของคนในแต่ละสังคม
มูลค่าเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนด ไม่ใช่ธรรมชาติกำหนด ต้องอธิบายให้ได้ว่าการกระทำ หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมกระทบมนุษย์อย่างไร
มูลค่าสิ่งแวดล้อมทำให้สิ่งแวดล้อมมีความสำคัญเหมือนสินค้าเศรษฐกิจอื่น ดังนั้น วิธีการประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมจึงต้องเป็นวิธีเดียวกันกับสินค้าอื่นๆด้วย
การประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมจึงเป็นวิธีที่จะทำให้สามารถนำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เดิมมีหน่วยวัดที่แตกต่างกัน สามารถนำมารวมกันได้
การประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อมมีประโยชน์เพื่อการตัดสินใจ เช่น Cost Benefit Analysis การจ่ายค่าชดเชย การกำหนดภาษีสิ่งแวดล้อม การทำบัญชีรายได้ ประชาชาติ Green GDP
ปัญหาสุขภาพและคุณภาพสังคมอุตสาหกรรม
มลพิษทางอากาศและศักยภาพการรองรับมลพิษ
มลพิษทางนํ้า
การลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม
อุบัติภัยสารเคมี
การจัดการทรัพยากรนํ้า
เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม
การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์(Life Cycle Assessment : LCA)
การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco Design)
การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment; HIA)
เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในสังคม เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันพิจารณาถึงผลกระทบทางสุขภาพ ที่อาจเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วในประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบาย โครงการ หรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในทางเลือกที่ดีที่สุดสาหรับการสร้างเสริมและคุ้มครองสุขภาพของทุกคนในสังคม
แนวคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมของคุซเน็ตส์
คือ ศึกษความสัมพันธ์รหว่างรายได้ต่อหัวกับความเลื่อมล้ำทางรายได้ของประชากร เช่น เศรษฐกิจเติบโตความเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้นเมื่อถึงจุดๆหนึ่งแล้วก็จะลดลง
ลักษณะสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม
สินค้าและบริการทางสิ่งแวดล้อมเป็นถือว่าเป็นสินค้าที่ไม่มีตลาดจึงไม่ทราบมูลค่าที่แท้จริงของสิ่งแวดล้อม
มีลักษณะเป็นสินค้าที่เป็นเจ้าของร่วมกัน ทุกคนมีสิทธิ์เข้าใช้ประโยชน์ และไม่สามารถกีดกันผู้อื่นได้
Economic Values นักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม
สำนักลอนดอน ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินค่าทางสิ่งแวดล้อม แนวคิด “ค่าทางเศรษฐกิจทั้งหมด”(Total Economic Value: TEV)
ค่าทางเศรษฐกิจทั้งหมด(Total Economic Valuation: TEV)
ค่าสำหรับการใช้สอย (Use Value)
ค่าใช้สอยโดยตรง (Direct use value)
ค่าใช้สอยโดยอ้อม (Indirect use value)
ค่าใช้สอยในอนาคต (Optional use value)
ค่าสำหรับการไม่ใช้สอย (Non use value)
คุณค่าคงอยู่ (Existence values)
คุณค่าที่เป็นมรดก(Bequest value)
Environmental Valuation Methods
1. Revealed Preference Methods
เป็นการพิจารณาพฤติกรรมของปัจเจกชน โดยสังเกตจากพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าอย่างไร และนำมาสัมพันธ์กับคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยใช้ข้อมูลข้างเคียงผลที่เปิดเผยออกมาจะแสดงถึงความชอบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
2. Expressed Preference Methods:
เป็นการสอบถามบุคคลโดยตรง ว่ามีความชอบมากน้อยแค่ไหนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยให้แสดงออกมาอย่างเปิดเผยว่า สิ่งแวดล้อมนั้นๆมีค่ามากน้อยแค่ไหนสำหรับเขา และเขาเต็มใจจะจ่ายมากน้อยแค่ไหนเพื่อให้สิ่งแวดล้อมนั้นคงอยู่
เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม
Polluter Pays Principle : PPP คือ ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย
CSR : Corporate Social Responsibility คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมธุรกิจ ธุรกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักจริยธรรม
Beneficiary Pay Principle(BPP) คือ ผู้รับผลประโยชน์เป็นผู้จ่าย
นางสาวเครือวัลย์ ทองดี รหัส 6101110801099