Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะมดลูกปลิ้น (Inversion of the uterus or uterine…
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะมดลูกปลิ้น (Inversion of the uterus or uterine inversion)
ความหมาย
ภาวะที่ยอดมดลูกรั้งลงมา ส่วนล่างของโพรงมดลูก ซึ่งอาจพ้นปากมดลูกออกมา หรือโผล่ออกมาถึงปากช่องคลอด
อุบัติการณ์
พบได้ประมาณ 1 : 2,000 ของการคลอด เกือบทั้งหมดเกิดจากการดึงสายสะดือในการช่วยทำคลอดรก
ชนิดของมดลูกปลิ้น
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ (complete inversion)
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ และเคลื่อนต่่ำลงมานอกปากช่องคลอด (prolapsed of complete inverted uterus)
มดลูกปลิ้นแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete inversion)
แบ่งตามระยะเวลาของการเกิดภาวะมดลูกปลิ้น
Subacute uterine invertion เกิดขึ้นภายใน24 ชม.-1เดือน หลังคลอด
Chronic uterine invertion เกิดขึ้นตั้งเเต่ 1เดือนหลังคลอด
Acute uterine invertion เกิดขึ้นภายใน 24 ชม.หลังคลอด
สาเหตุ
ทำคลอดรกในขณะที่รกยังไม่ลอกตัวหรือรกเกาะแน่น
ดันยอดมดลูกที่หน้าท้องมารดามากเกินไปในการช่วยทำคลอดรก
การดึงสายสะดือแรงเกินไป
มดลูกและปากมดลูกอยู่ในภาวะคลายตัว
รกเกาะบริเวณส่วนยอดของมดลูก
สาเหตุส่งเสริม
6.1 มีพยาธิสภาพที่มดลูก
6.2 ผนังมดลูกหย่อน
อาการและอาการแสดง
มีอาการช็อคจากการปวด และการเสียเลือดมาก
การตรวจหน้าท้องในรายที่เป็นมดลูกปลิ้นชนิดไม่สมบูรณ์ จะพบว่ายอดมดลูกเป็นแอ่
มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ถ้ารกยังไม่ลอกตัว หรือรกติดแน่น
การตรวจภายใน จะคลำได้ก้อนเนื้อบริเวณปากมดลูก
มีเลือดออกมาทันทีภายหลังคลอดในกรณีที่รกคลอดแล้ว
ผลกระทบต่อมารดา
จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะมดลูกปลิ้น คือเลือดออก อย่างรุนแรง เจ็บปวดมาก หรือช็อคจากการเสียเลือด และอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
ผลกระทบต่อทารก
ทำให้ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดาล่าช้า รวมถึงการ สร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกล่าช้า
การรักษา
ถ้ารกลอกตัวแล้วให้เริ่มทำการดันมดลูกกลับได้ทันที
เมื่อดันเข้าที่แล้วให้ oxytocin ทันทีเพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดี
ดันมดลูกกลับภายใต้การดมยาสลบ โดยใช้ฮาโลเธน (halothane)
ในกรณีที่ไม่สามารถดันกลับคืนได้ต้องผ่าตัดทางหน้าท้องช่วยทันที
ให้การรักษาสภาพทั่วไป เช่น ให้สารน้้ำและให้เลือดอย่างเพียงพอ
ให้ยาปูองกันการติดเชื้อ และให้ยากลุ่มธาตุเหล็กรักษาภาวะเลือดจาง
การช่วยเหลือการคลอดรกอย่างถูกวิธี การตรวจภายในหลังจากทำคลอดรก
การพยาบาล
การพยาบาลเพื่อการป้องกันการเกิดภาวะมดลูกปลิ้น
1.2 ก่อนท าคลอดรก ต้องตรวจสอบว่ารกมีการลอกตัวสมบูรณ์แล้วทุกครั้ง
1.3 เมื่อรกคลอดออกมาแต่เยื่อหุ้มรกยังค้างอยู่ ผู้ทำคลอดควรคลายอดมดลูกว่าหดรัดตัวแข็ง ก่อนที่จะดึงรกเพื่อรั้งให้เยื่อหุ้มรกส่วนที่เหลือลอก
ออกมา
1.1 ห้ามดึงสายสะดือ เพื่อให้รกคลอดก่อนการตรวจสอบว่ารกมีการลอกตัวสมบูรณ์แล้ว
1.4 หลังทำคลอดรก คลึงให้มดลูกหดรัดตัวกลมแข็ง
ให้สารน้้ำทางหลอดเลือดดำและ/หรือให้เลือด
2.2 รายงานแพทย์ เพื่อมาดันมดลูกกลับ
2.3 ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์
2.1 โดยใช้ผ้าก๊อซชุบน้้ำเกลือคลุมและกด ผนังมดลูกที่ปลิ้นไม่ให้เลือดไหลออกมามาก ในขณะรอแพทย์มาดันมดลูกกลับ
2.4 สังเกตภาวะช็อค หากมีอาการให้รายงานแพทย์ เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดามีโอกาสตกเลือดหรือช็อค เนื่องจากมีภาวะมดลูกปลิ้น
มารดาปวดมดลูกมาก เนื่องจากมดลูกปลิ้น
มารดามีโอกาสเกิดมดลูกปลิ้น เนื่องจากทำคลอดรกไม่ถูกวิธี และ/หรือการฝังตัวของรกแน่น
กว่าปกติ
มารดาและครอบครัวมีความวิตกกังวลและกลัว เนื่องจากภาวะมดลูกปลิ้น
นางสาวนัทฐธิดา ด้วงทองกุล รหัส601001060