Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
CAPD การล้างไตผ่านช่องท้อง นางสาวพรรณวิภา วงค์ตาพรม เลขที่ 29 ห้อง B…
CAPD การล้างไตผ่านช่องท้อง
นางสาวพรรณวิภา วงค์ตาพรม
เลขที่ 29 ห้อง B กลุ่ม A
การล้างไตทางช่องท้อง (PD) เป็นการทำความสะอาดเลือดและขจัดของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกายโดยใช้ตัวกรองที่มีอยู่ตามธรรมชาติซึ่งก็คือ เยื่อบุผนังช่องท้องของร่างกายนั่นเอง เยื่อบุผนังช่องท้องเป็นเยื่อบางๆ ที่ห่อหุ้มช่องท้อง หรือเป็นเยื่อที่แบ่งช่องในท้อง ซึ่งบรรจุอวัยวะต่างๆ ทั้งกระเพาะอาหาร ม้าม ตับ และลำไส้ น้ำยาล้างไตจะถูกใส่เข้าไปในช่องท้อง เยื่อบุผนังช่องท้องจะทำหน้าที่กรองของเสียและของเหลวออกจากเลือดไปสู่น้ำยาล้างไต หลังจากนั้น 2-3 ชั่วโมง น้ำยาล้างไตที่มีของเสียอยู่จะถูกปล่อยออกจากช่องท้องและถูกแทนที่ด้วยน้ำยาใหม่ที่เติมเข้าไป ทั้งหมดนี้เรียกว่า การเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตและการแลกเปลี่ยนของเสีย (Exchange) พยาบาลผู้มีประสบการณ์ในการล้างไตทางช่องท้องจะช่วยฝึกสอนให้คุณสามารถทำการล้างไตทางช่องท้องได้ด้วยตนเองที่หน่วยบริการล้างไตในฐานะผู้ป่วยนอกได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถทำการล้างไตทางช่องท้องได้เองหลังจากได้รับการฝึกอบรมประมาณ 5-7 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล หากคุณมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาควรปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์เจ้าของไข้ และคุณอาจต้องไปที่คลินิกอย่างน้อยเดือนละครั้ง
สายท่อล้างไตทางช่องท้อง สายท่อล้างไต (catheter) เป็นสายท่ออ่อนขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในช่องท้องผ่านทางผนังหน้าท้อง เพื่อเป็นช่องทางให้น้ำยาล้างไตไหลเข้าออก การใส่สายท่อล้างไตเข้าไปในช่องท้องใช้เพียงการผ่าตัดเล็กแบบผู้ป่วยนอก และควรปล่อยให้แผลสมานดีเสียก่อนที่จะเริ่มทำการล้างไต ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ โดยปกติแล้วสายท่อล้างไตจะไม่สร้างความเจ็บปวด และจะติดอยู่กับร่างกายของผู้ป่วยตลอดการล้างไตทางช่องท้อง
การเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไต (Exchange)
การเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไต แบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะปล่อยน้ำยาล้างไตออกจากช่องท้อง ระยะใส่น้ำยาล้างไตกลับเข้าสู่ช่องท้อง และระยะค้างน้ำยาล้างไตไว้ในช่องท้อง ซึ่งวิธีการล้างไตทางช่องท้องนี้จะไม่มีการสูญเสียเลือดจากร่างกาย
การล้างไตทางช่องท้อง (PD) ส่งผลต่อวิถีชีวิตของคุณอย่างไร
ข้อดี
ผู้ป่วยมีความยืดหยุ่นและความมีอิสระในชีวิต
ไปคลินิกเพียงเดือนละครั้ง
สามารถทำการล้างไตได้แม้ในขณะหลับ
เป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้เข็มฉีดยา
เป็นวิธีบำบัดอย่างต่อเนื่องจึงคล้ายกับการทำงานของไต
ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังหน่วยบริการล้างไตเพื่อทำการล้างไต
สามารถทำการล้างไตได้ง่ายแม้ขณะไปท่องเที่ยว
เนื่องจากไม่ต้องใช้เข็มฉีดยาวิธีนี้จึงไม่มีเลือดออก ซึ่งแตกต่างจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis หรือ HD)
ข้อเสีย
จำเป็นต้องกำหนดตารางเวลาการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตให้เป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันตลอดสัปดาห์
จำเป็นต้องมีสายท่อล้างไตแบบถาวรยื่นออกมานอกร่างกาย
มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
อาจทำให้มีน้ำหนักและรอบเอวที่เพิ่มขึ้น
ต้องการพื้นที่ในบ้านสำหรับจัดเก็บน้ำยา อุปกรณ์ที่ใช้ในการล้างไต
ต้องการพื้นที่ในห้องนอนสำหรับวางเครื่องมือ กรณีใช้วิธีการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติผู้ที่มีรูปร่างใหญ่มาก อาจต้องทำการล้างไตบ่อยขึ้น
ชนิดของการล้างไตทางช่องท้อง
การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (APD)
การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ เป็นการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องควบคุมการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตแบบอัตโนมัติซึ่งจะทำในเวลากลางคืนขณะที่ผู้ป่วยนอนหลับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะค้างน้ำยาล้างไตไว้ในช่องท้อง หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตเพียงครั้งเดียวในระหว่างวัน การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการอิสระจากการล้างไตตอนกลางวัน APD ช่วยให้คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตทุกๆ 4-6 ชั่วโมง คุณจึงมีอิสระมากขึ้น การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ บางครั้งเรียกว่า การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยเครื่อง (CCPD)
การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง (CAPD)
การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองเป็นการทำความสะอาดเลือดตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน โดยที่ผู้ป่วยยังสามารถทำกิจวัตรเช่นเดินไปมาได้ตามปกติแม้ในขณะที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไต เพราะการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองนี้ ใช้เพียงถุงน้ำยาล้างไตซึ่งแขวนบนเสาที่มีล้อในระหว่างการใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง และสายที่เชื่อมต่อมายังสายท่อล้างไตของคุณ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตวันละ 4 ครั้ง คือ เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ตอนกลางวัน ก่อนอาหารเย็นและก่อนนอน ซึ่งการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตในแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30 นาที น้ำยาล้างไตจะค้างอยู่ในช่องท้องในช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนของเสียและในช่วงเวลากลางคืน ในขณะที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่เป็นข้อห้ามได้ เช่น ดูทีวี คุยโทรศัพท์ นั่งทำงานบนโต๊ะ หรืออ่านหนังสือ เป็นต้น การเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตสามารถทำได้ในบริเวณที่สะอาด ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือแม้แต่เวลาไปท่องเที่ยว