Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท
การประเมินอาการทางระบบประสาทในเด็ก
ระดับความรู้สึกตัว
รู้สึกง่วงงุน
: ง่วง พูดช้า กระตุ้นจะตอบโต้ได้
รู้สึก stupor
: หลับลึกไม่รู้สึกตัว ต้องกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าที่รุนแรง
การรับรู้ผิดปกติ
: ไม่รู้เวลาและสถานที่
หมดสติ
: ไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองการกระตุ้น
รู้สึกสับสน
: สับสนและผิดปกติเกี่ยวกับการตัดสินใจ
รู้สึกตัวดี
: ตื่นรู้สึกตัวดี
ท่าทาง (Posturing)
เด็กภาวะไม่รู้สึกตัว
Decorticate posturing : ท่านอนหงาย งอแขนและขาเข้าหาลำตัว
เด็กภาวะหมดสติ
Decerebrate posturing : ท่านอนหงาย แขนและขาเกร็งเหยียดออก
ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ
ในช่วงหมดสติระดับลึก : reflexes ต่างๆของเด็กจะหายไป
ภาวะไม่รู้สึกตัว ร่วมกับการเคลื่อนไหวผิดปกติ
ภาวะชักจากไข้สูง (Febrile convusion)
แบ่งเป็น 2 ชนิด
Complex febrile seizure
ชักเฉพาะที่หรือทั้งตัว
ระยะเวลาชักนานกว่า 15 นาที
มีการชักซ้ำได้ หลังชักมีความผิดปกติทางระบบประสาท
Simple febrile seizure
มีไข้ร่วมกับชักในเด็กอายุ 6 เดือน-5ปี
ระยะเวลาชักสั้นๆ ไม่เกิน 15 นาที
ไม่มีการชักซ้ำ ก่อน-หลัง ชักไม่มีอาการทางระบบประสาท
ชักทั้งตัว
สาเหตุ : ติดเชื้อในระบบต่างๆ ที่ไม่ใช่ระบบประสาท
อาการ
อุณหภูมิมากกว่า 39 องศาเซลเซียส
เกิดภายใน 24 ชั่วโมงแรกที่เริ่มมีไข้
เกิดในเด็กอายุ 3 เดือน - 5 ปี (พบมากช่วง 17-24 เดือ)
ประเมินสภาพ
การซักประวัติ
: ไข้,การติดเชื้อ,ประวัติครอบครัว, ประวัติการชัก
ประเมินสภาพร่างกาย
: ตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษอื่นๆ
โรคลมชัก (Epilepsy)
อุบัติการณ์
พบบ่อยในเด็กโรคประสาท พบร้อยละ 4-10 ของเด็กทั่วไป
พบบ่อย 2-5 ปี อายุเพิ่มขึ้นอุบัติการณ์จะลดลง
พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
สาเหตุ
ไม่ทราบสาเหตุ
: ความผิดปกติของ Neurotransmission
กลุ่มที่หาสาเหตุไม่ได้
: มีพยาธิสภาพภายในสมอง
ทราบสาเหตุ
: ติดเชื้อระบบประสาทส่วนกลาง ฯลฯ
อาการและอาการแสดง
ระยะที่เกิดการชัก
: เกิดขึ้นทันทีทันใด ระยะเวลาไม่เกิน 5 นาทีและหยุดเอง เกิดขึ้นเองบางครั้งอาจมีปัจจัยมากระตุ้น
ระยะเวลาการชักสิ้นสุดลง
: มีอาการทางคลินิค มีการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมอง อาจเกิดนานหลายวินาทีถึงหลายวัน ส่วนมากไม่เกิน 24 ชั่วโมง มีอาการ ได้แก่ สับสน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ
ระยะก่อนอาการชัก
อาการนำ
: อาการที่นำมาก่อนมีอาการชัก อาจเกินนานก่อนชัก
อาการเตือน
: อาการเตือนแตกต่างกันตามตำเเหน่งของสมอง เช่น ปวด ชา เห็นภาพหลอน
ช่วงเวลาระหว่างการชัก
: เริ่มตั้งแต่ระยะหลัการชักหนึ่งสิ้นสุดลงไปจนเริ่มเกิดการชักครั้งใหม่
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
อุบัติการณ์
มักเกิดช่วงหน้าหนาว เพราะเป็นช่วงที่ระบบต้านทานในทางเดินหายใจทำงานน้อยลง
เกิดจากเชื้อ นิวโมคอคคัส และ เมนิงโกคอคคัส
พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เกิดในเด็กอายุ 2 เดือน-7 ปี
คือ การอักเสบเฉียบพลันของเยื่อหุ้มสมองชั้นในสุดและอแรคนอยด์ที่อยู่รอบๆ สมองและไขสันหลังและเยื่อหุ้มสมองถูกทำลาย
อาการและอาการแสดง
มีอาการ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง คอเเข็ง ชักและซึมลงจนหมดสติ
ตรวจพบ Kernig sign และ Brudzinski sign ให้ผลบวก และตรวจ Babinski ได้ผลปวก
การเก็บสิ่งส่งตรวจ
เลือด
น้ำจากผิวหนังที่เป็นผื่นเลือด
Nasopharyngea 1 swab
น้ำไขสันหลัง
โรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria meningitides เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ
การเก็บสิ่งส่งตรวจ
เลือด
น้ำจากผิวหนังที่เป็นผื่นเลือด
Nasopharyngea 1 swab
การติดต่อ
: จากคนสู่คน เชื้อออกมาทางละอองน้ำมูก น้ำลาย (droplet)
อาการและอาการแสดง
ไข้ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน คอแข็ง อาจมีผื่นแดง จ้ำเลือดขึ้นตามผิวหนังร่วมด้วย และอาจเกิดภาวะช็อกอย่างรวดเร็ว
การรักษา
Glucocorticoid therapy ก่อนให้ยาปฏิชีวนะ 15 นาที
ยาปฏิชีวนะ เช่น Ceftriaxone
การรักษาแบบประคับประคริงและตามอาการอื่นๆ
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับความดันในสมองสูง
โรคอุทกเศียร : ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะ (Hydrocephalus)
อาการแสดงทางคลินิค
หนังศีรษะบางและเห็นเส้นเลือดดำ
อาการแสดง IICP : ปวดศีรษะ อาเจียน
หัวบาตร, หัวโตกว่าปกติ, รอยต่อกะโหลกศีรษะแยกออกจากกัน
ตากลอกลงล่าง กลอกขึ้นบนไม่ได้
พัฒนาการล่าช้า. สติปัญญาล่าช้า, เลี้ยงยากไม่ทานอาหาร
การรักษา
รักษาด้วยยา
ยาขับปัสสาวะ ช่วยลดการสร้างน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง
รักษาด้วยการผ่าตัด
ใส่สายระบายน้ำในดพรงสมองออกนอกร่างกาย
สายระบายน้ำโพรงสมองประกอบด้วย 3 ส่วน
วาล์ว และส่วนที่เก็บน้ำหล่อสมอง
สายระบายลงช่องท้อง
สายระบายจากโพรงสมอง
โรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
การติดเชื้อของสายระบาย
การอุดตันของสายระบาย
การทำงานผิดปกติของสายระบายน้ำในโพรงสมอง
ภาวะโพรงสมองตีบแคบ, เลือดออกในโพรงสมอง
ไตอักเสบ
การรักษา IICP
รักษาเฉพาะ
: รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิด IICP
การรักษาเบื้องต้น
จัดท่านอนศีรษะสูง 15-30 องศา
การให้ยาขับปัสสาวะ ทางหลอดเลือดดำ
การรักษาความผิดปกติที่เกิดต่อเนื่องจากพยาธิสภาพเดิมหรื่อที่เกิดร่วม
ได้แก่ ภาวะสมองบวม
อาการสำคัญ
ซึม
ไม่ดูดนม
ปวดศีรษะ
อาเจียนพุ่ง
ศีรษะโตแต่กำเนิด
กระหม่อมหน้าโป่ง
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการสำคัญ
ขาอ่อนแรงทั้ง 2 ข้าง
มีก้อนที่หลัง/หน้าผาก
ปัสสาวะ อุจจาระ ตลอดเวลา
การวินิจฉัย
มีประวัติไม่ได้รับวัคซีน
ไข้ร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ไม่มีประวัติคลอดที่ รพ.
Spina Bifida
คือ ความบกพร่องของกระดูกสันหลัง มีถุงยื่นผ่านจากกระดูกไขสันหลังออกมาตามตำแหน่งที่บกพร่อง พบบ่อยบริเวณ lumbosacrum
แบ่งเป็น 2 ชนิด
Spina bifida occulta
: ผิดปกติกระดูกสันหลังส่วน Vetebral arches ไม่รวมตัวกัน เกิดเป็นช่องโหว่ บริเวณ L5 หรือ S1 ไขสันหลังและเยื่อหุ้มสมองยังอยู่ในไขสันหลัง
Spina bifida cystica
: ผิดปกติของการปิดของส่วนโค้งกระดูกสันหลังทำให้มีการยื่นของไขสันหลัง หรือเยื่อหุ้มสมองผ่านกระดูกออกมาให้เห็นเป็นถุงหรือก้อน มี 2 ชนิด
Meningocele
: ก้อนประกอบไปด้วยเยื่อหุ้มสมอง น้ำไขสันหลัง ไม่มีเนื้อเยื่อประสาทไขสันหลัง ไม่เกิดอัมพาต
Myelomeningocele หรือ Meningomyelocele
: กระดูกสันหลังผิดปกติ มีก้อนยื่นออกมา พบบ่อย อันตรายและเกิดความพิการ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
: มารดาไม่ได้รับกรดโฟลิคขณะตั้งครรภ์ ได้ยากันชัก ประเภท Valporic acid
การตรวจร่างกาย
: แขนขาอ่อนแรง พบก้อนตามแนวกระดูกสันหลัง
การตรวจพิเศษ
: CT, ใช้ไฟฉายส่องบริเวณก้อน แยกเพราะ meningoccele จะโปร่งใสไม่มีไขสันหลัง ฯลฯ
การรักษา
Spina bifida occulta ไม่จำเป็นต้องรักษา
Spina bifida cystica ต้องผ่าตัดภายใน 24-48 ชั่วโมงภายหลังเกิด เพื่อลดการติดเชื้อ ความผิดปกติขึ้นอยู่กับความรุนแรงขแงโรค
การป้องกัน
: ให้กรดโฟลิคแก่หญิงตั้งครรภ์จะช่วยลดการเกิดโรคได้
ภาวะไม่รู้สึกตัวร่วมกับสติปัญญาบกพร่อง
อาการสำคัญ
หายใจไม่มีประสิทธิภาพ
การดูดกลืนบกพร่อง
เลี้ยงไม่โต พัฒนาการล่าช้า
ไม่รู้สึกตัว เกร็งเมื่อกระตุ้น
มีประวัติ สมองขาดออกซิเจน นึกถึง
Cerebral palsy
สมองพิการ (CP: Cerebral palsy)
เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การทรงตัว
ชนิดของสมองพิการ
กล้ามเนื้อหดเกร็ง
Splastic hemiplegia
: ผิดปกติที่แขน ขา ซีกใดซีกหนึ่ง
Splastic diplegia
: ความผิดปกติกล้ามเนื้อแขน-ขา ทั้ง 2 ข้าง ขาเป็นมากกว่าแขน
Splastic quadriplegia
: ความผิดปกติกล้ามเนื้อแขน-ขา ทั้ง 2 ข้าง คอและลำตัวอ่อนผิดปกติ
Extrapyramidol cerebral palsy (athetoidsis)
: เคลื่อนไหวผิดปกติขณะตื่น กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก
Ataxia cerebral palsy
: มีเดินเซ ล้มง่าย กล้ามเนื้อตึงตัวน้อย สติปัญญาปกติ
Mixed type
: หลายอย่างร่วมกัน
อาการและอาการแสดง
มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า โดยเฉพาะด้านการเคลื่อนไหวและการทรงตัว
ปัญญาอ่อน
อาการอื่นๆร่วม เช่น ชัก หูหนวก ตาบอด การรับรู้ด้านการพูดผิดปกติ
การประเมินสภาพ
ซักประวัติ
: มารดามีการติดเชื้อขณะคลอด เด็กมีพัฒนาการช้า ตัวเกร็งแข็ง
ประเมินร่างกาย
: เส้นรอบศีรษะไม่เพิ่มขึ้น การเคลื่อนไหวไม่ปกติ พัฒนาการไม่ตามวัย
เป้าหมายการพยาบาลเด็กไม่รู้สึกตัว
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง
ดูดเสมหะเป็นระยะๆ
ดูแลไม่ให้มีเศษอาหารติดในช่องปาก
จัดท่านอนเด็กให้เหมาะสม นอนตะแคงข้างป้องกันการสำลัก
แรงดันภายในสมองต้องไม่เพิ่มขึ้น
จัดท่านอนสูง 15-30 องศา
ป้องกันไม่ให้ท้องผูก
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เพิ่มแรงดันในสมอง
วางแผนพยาบาลให้รบกวนเด็กน้อยที่สุด
ได้รับการดูแลพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ
ด้านอาหาร
: ดูแลให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน บันทึกปริมาณน้ำดื่มและปัสสาวะ ชังน้ำหนักทุกวัน
ด้านการขับถ่าย
: ดูและให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ทำความสะอาดผิวหนังหลังขับถ่ายทุกครั้ง
ด้านความสะอาด
: อาบน้ำให้เด็กทุกวัน ดูแลความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
แนะนำคำดูแลที่เกี่ยวกับสุขภาพ
: รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ มาตรวจสุขภาพตามนัดสม่ำเสมอ