Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Neonatal jaundice neonatal-jaundice-2017-1-638, maxresdefault, e…
Neonatal jaundice
พยาธิสภาพ
เป็นภาวะที่บิลิรูบินในเลือดสูง (hyperbilirubinemia) สูงกว่า 5 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด บิลิรูบิน มี 2 ชนิดคือ unconjugated หรือ indirect bilirubin ซึ่งมีพิษต่อเนื้อสมอง และ conjugated หรือ direct bilirubin ไม่เป็นพิษต่อเนื้อสมอง อันตรายของภาวะตัวเหลืองจึงเกิดจากสาร indirect bilirubin ที่สูงขึ้น โดยมีสาเหตุดังนี้
-
-
-
อาการ
3. ตับหรือม้ามโต พบได้ใน hemolytic disease of the newborn หรือโรคติดเชื้อในครรภ์ เกิดขึ้นเนื่องจาก
การสร้างเม็ดเลือดแดงมาก เพื่อชดเชยส่วนที่ถูกทําลาย ไปใน ABO incompatibility จะมีการแตกสลายของ
เม็ดเลือดแดงที่มักจะไม่รุนแรง ตับและม้ามจึงไม่ค่อยโต พวก galactosemia จะมีตับโตมาก แต่คลําม้าม
ไม่ได้
4. ซึม ถ้าระดับบิลิรูบินสูงมากๆมักจะทําให้ทารกซึม ต้องแยกจากทารกติดเชื้อหรือเป็น galactosemia
2. ซีดหรือบวม พบได้ในเด็กที่มีการทำลายของเม็ดเลือดแดงอย่างมากมักเป็นอาการที่พบได้เฉพาะราย
hydroph fetallis จาก Rh incompatibility หรือซิฟิลิสแต่กำเนิด
5. จุดเลือดตามตัวหรือมีรอยเลือดออกบนผิวหนัง อาจพบเป็น petichii หรือ purpuric spoth ตามผิวหนัง พบในทารกที่มีการติดเชื้อในครรภ์หรือมีผิวหนังชํ้า หรือมี cephalhematoma หรือ subgaleal hematoma ที่เกิดจากการคลอด
1. อาการตัวเหลือง มักเห็นที่บริเวณใบหน้าก่อน ถ้ากดลูบบริเวณดั้งจมูกจะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น อาการตัวเหลืองจะเห็นชัดมากขึ้นลามมาที่ลําตัวและแขนตามลําดับ (cephalocaudal progression)
การรักษา
การรักษาโดยการส่องไฟ ( Phototherapy ) พลังงานจากแสงสว่างโดยเฉพาะแสงสีฟ้าเขียว ( blue-green light )ที่มีความถี่ ในช่วง 450-480 นาโนเมตร จะช่วยลดระดับของซีรั่มบิลิรูบินชนิดที่ละลายในไขมันลงได้โดยทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโมเลกุลของบิลิรูบินชนิดไม่ละลายนํ้า ให้กลับกลายมาเป็นสารที่ละลายนํ้าได้การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในเส้นเลือดฝอยบริเวณผิวหนังหรือชั้นไขมันใต้ผิวหนังและถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ
การรักษาโดยการเปลี่ยนถ่ายเลือด ( Exchange Transfusion ) เป็นวิธีการรักษาที่จะช่วยลดระดับบิลิรูบินลงได้ดีที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุด มีข้อบ่งชี้สําคัญคือ ในกรณีที่เกิดจากเลือดแม่กับเลือดลูกไม่เข้ากน หรือเม็ดเลือดแดงแตกง่าย โดยทั่วไปควรเปลี่ยนเลือดเมื่อระดับ Microbilirubin ( MB ) สูงกว่า 20 มก./ดล. ในกรณีที่สาเหตุไม่ได้เกิดจากโรคเม็ดเลือดแดง แตกง่ายจะทําการเปลี่ยนเลือดเมื่อ Microbilirubin สูงกว่า 23 มก./ดล. สําหรับทารกอายุ 3-5 วัน และ ระดับ Microbilirubin สูงกว่า25มก./ดล สําหรับทารกอายุมากกว่า 5 วัน การเปลี่ยนถ่ายเลือดในปริมาณ 2 เท่าของปริมาณเลือดในร่างกาย จะสามารถลดระดับซีรั่มบิลิรูบินได้ประมาณร้อยละ 50 อย่างไรก็ตามบิลิรูบินได้กระจายอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ( ประมาณร้อยละ 70 ) ดังนั้น ภายหลังการถ่ายเปลี่ยนเลือดประมาณ 1 ชั่วโมงระดับบิลิรูบินจะกลับสูงขึ้นได้
การใช้ยาในการรักษา ยาที่ใช้ลดระดับของบิลิรูบินได้ดีคือ Phenobarbital จะช่วยลดการขนส่งบิลิรูบินเข้าสู่เซลล์ตับ มีเมตาบอลิซึมของบิลิรูบินและการขับถ่ายออกทางน้ำดีมากยิ่งขึ้น แต่ต้องใช้ระยะเวลานานจึงไม่นิยมใช้ นอกจากนี้มี Agar,Charcoal ที่ช่วยยับยั้งการดูดซึมของบิลิรูบินจากลําไส้ Trinprotoporphyrin เป็นยาที่ยับยั้งการทํางานของ Heme Oxygenase ทําให้ Heme สลายตัวเป็นบิลิรูบินได้น้อยลง ใช้ในการป้องกัน หรือรักษาในรายที่ยังเหลืองไม่มาก
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-