Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด, image, image, image, image, image, image,…
การพยาบาลมารดาในระยะหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรในมารดาหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
มดลูก
หลังคลอดคล ามดลูกได้ที่ระดับสะดือ ลักษระกลมแข็ง หดรัดตัวดีอาจเอียงไปด้านขวาของหน้าท้องมารดา วัดได้ประมาณ 1 นิ้วมือ (finger-breadth: FB)ต่ำกว่าสะดือ
และมดลูกจะลดขนาดลงเพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติประมาณวันละ ½ นิ้ว เรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า “มดลูกเข้าอู่
12 – 24 ชั่วโมง แรกหลังคลอด ยอดมดลูกจะอยู่ที่ระดับสะดือ และจะลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง
ปากมดลูก
ปากมดลูกจะมีลักษณะนุ่มบางและมีรอยฉีกขาดออกไปทางด้านข้างภายหลังที่รกคลอดแล้ว และมีการหดตัวอย่างช้าๆ พบว่าหลังคลอดประมาณ 2-3 วันแรก จะมีขนาดเท่ากับสอด 2 นิ้วมือได้ และจะแคบลงเมื่อครบ 3 สัปดาห์ หรือเรียกว่า ปากมดลูกด้านนอก จะมีลักษณะแตกต่างไปจากเดิมเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 6 คือขนาดจะกว้างออกและด้านข้างจะมีรอยแตก ส่วนมดลูกก็จะหดตัวหนาขึ้นและสั้นลง ภายใน 2-3 สัปดาห์ก็จะเป็นคอมดลูกตามเดิม
น้ำคาวปลา(Lochai)
Lochia rubra: วันที่ 1-3 วัน หลังคลอดน้ำคาวปลาสีแดงสด
เป็นสิ่งคัดหลั่งที่ออกมาจากโพรงมดลูกหลังคลอด
Lochia serosa วันที่ 4-9 วันหลังคลอดน้ำคาวปลาสีชมพูจนถึงสีน้ำตาล
ค่อนข้างเหลือง
Lochia alba วันที่ 10-21 หลังคลอดน้ำคาวปลาสีเหลืองข้นหรือ
ครีมขาวหมดภายในสัปดาห์ที่ 3 หรือ สัปดาห์ที่ 4
ช่องคลอด
ภายในสัปดาห์ที่ 3 – 4 หลังคลอด ผนังช่องคลอดจะค่อยๆ
ฟื้นตัวช้าๆ
ภายใน 6 – 10 สัปดาห์ ผนังช่องคลอดฟื้นตัวกลับสู่สภาวะปกติ
หากมีเพศสัมพันธ์ก่อนอาจจะเกิดความเจ็บปวดได้ (dyspareunia)
Hymen ขาดกะรุ่งกะริ่ง เป็นติ่งเนื้อเล็กๆ เรียกว่า
carunculae myriformes เป็นการเปลี่ยนแปลงถาวร
หลังคลอดช่องคลอดบางตัวลง Rugae หายไป
เต้านม
เต้านมจะใหญ่ขึ้น เห็นเส้นเลือดชัดขึ้นที่บริเวณผิวหนัง หัวนมใหญ่ขึ้น ตั้งชัน สีคล้ำมากขึ้นระหว่างนี้ลานหัวนมจะกว้างขึ้นและสีคล้ำขึ้นจากการสะสมของเม็ดสี
หลั่งH. prolactin
กระตุ้นเซลล์ผลิตน้ำนม
สร้างน้ำนม
เกิดกลไก let down reflex หรือmilk ejection reflex
ต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนต่างๆในร่างกายลดลงเพื่อปรับสมดุลย์ในร่างกายให้เป็นปกติ
การมีประจำเดือน
แม่ให้นมทารก
ทารกดูดนมกระตุ้นต่อมไฮโปทาลามัส
เส้นประสาท/สมอง กดมาให้หลั่งFSH+LH
ไม่มีการตกไข่และไม่มีประจำเดือน
การเปลี่ยนแลงระบบต่างๆ
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ทารกจะกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีการคั่งของเลือด เกิดการบวมของท่อกระเพาะปัสสาวะ โดยการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะกลับเป็นปกติภายใน 6-8 สัปดาห์หลังคลอด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
การสูญเสียเลือดในระยะคลอด ทำให้ปริมาณเลือดในร่างกายลดลง ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ปริมาณเลือดจะใกล้เคียงเหมือนก่อนการตั้งครรภ์
ภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด BP อาจสูงขึ้นหรือลดลงได้เล็กน้อย กลับคืนสู่ระดับปกติประมาณ วันที่ 4 หลังคลอด
ระบบทางเดินอาหาร
มีความอยากอาหารและน้ำเพิ่มขึ้นจากการสูญเสียพลังงานในการคลอด ส่วนใหญ่ต้องการพลังงานเพิ่มประมาณ 200 kcal/d มีอาการแสบยอดอกจากกรดไหลย้อนและอาการท้องผูก พบได้บ่อย เกิดจากการอุดกั้นของล้ำไส้ การเคลื่อนไหวที่ลดลง
ระบบผิวหนัง
บได้บ่อยมากกว่าครึ่งหนึ่งของสตรีตั้งครรภ์ มักเกิดบริเวณท้อง เต้านม ก้นและต้นขา ลักษณะเป็นแนวเส้นสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นสีเงินจาง ๆ ตอนหลังคลอด เป็นลักษณะที่เรียกว่า ท้องลาย (stretch mark)
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
1 – 2 วันหลังคลอดมารดามักมีอาการล้าและปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ เป็นผลมาจากการเบ่งคลอด การลดลงของระดับ relaxin ช้าๆ
ประมาณ 6-8 สัปดาห์หลังคลอดข้อต่อจะกลับคืนสู่สภาพเหมือนเดิมก่อนตั้งครรภ์
ผนังกล้ามเนื้อมีการยืดขยายจากการคลอด ความตึงตัว
ของกล้ามเนื้อลดลง
ระบบเลือด
ปริมาณเลือด(Blood volume)จะลดลงทันทีจากการสูญเสียเลือดภายหลังคลอดโดยปริมาณเลือดจะลดลงจากระดับ5- 6 ลิตรในระยะก่อนคลอดจนถึงระยะ 4 ลิตรเท่ากับคนปกติ
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคมของมารดาหลังคลอด
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues)
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues) เกิดระยะแรกหลังคลอดและต่อเนื่องจนถึง 3-4 วัน หลังคลอด มีอารมณ์หงุดหงิด ร้องไห้ วิตกกังวล รบกวนการนอนหลับและความอยากอาหาร
ภาวะซึมเศร้าภายหลังคลอด (Postpartum Depression) อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จัดการปัญหาไม่ได้ มีความคิดเชิงลบ กลัวเมื่อต้องอยู่คนเดียว สับสน สูญเสียการรับรู้ รู้สึกผิด
สูญเสียความมั่นใจ และมีความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรืออยากทำร้ายบุตร
โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)เป็นอาการที่มีความรุนแรงมาก รูปแบบของโรคจิตหลังคลอดเป็น
รูปแบบที่รุนแรงมาก และมีความผิดปกติ ของอารมณ์มากที่สุด
กระบวนการในการปรับตัวของสตรีหลังคลอด
ระยะพึ่งพา(taking-in phase) มารดาจะสนใจแต่ความต้องการของตนเองมากกว่าการคำนึงถึงความต้องการของบุตร โดยมารดาจะมีความต้องการพักผ่อน มารดาไม่สุขสบายด้านร่างกาย รวมทั้งมีความ
ตึงเครียด
ด้านจิตใจในการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ในการเป็นมารดา
ระยะกึ่งพึ่งพา (taking-hold phase)มารดาเริ่ม
พึ่งพาตนเองได้มารดาจึงสนใจการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกาย กระตือรือร้น ที่จะดูแลตนเอง และตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆที่เป็นบทบาทหน้าที่ของมารดาได้ เริ่มสนใจเรียนรู้ และฝึกทักษะในการดูแลบุตร
ระยะพึ่งพาตนเอง (letting-go phase) ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่การเป็นมารดา สามารถที่จะดูแลตนเองและบุตรได้มากขึ้น เป็นระยะที่มารดารู้สึกเศร้าลึกๆ ต่อการสูญเสียสิ่งที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายคือบุตร และเริ่ม ยอมรับว่าบุตรเป็นบุคคลหนึ่งที่แยกออกจากตน
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจอารมณ์และสังคมเพื่อปรับตัวสู่บทบาทการเป็นมารดานอกจากนี้ยังพบปัญหาทางด้านอารมณ์ในเรื่องความสัมพันธ์ภาพระหว่างสามี
พยาบาลจะต้องแนะนำให้มารดาหลังคลอดและสามีและสมาชิกภายในครอบครัวสามารถปรับตัวและวางแผนดำเนินชีวิตตามพัฒนกิจของครอบครัวได้อย่างเหมาะสมช่วยประสานความสัมพันธ์ของสมาชิกให้แน่นขึ้นให้เห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น
การส่งเสริมสุขภาพมารดาในระยะหลังคลอด
1.การพักผ่อนและการทำงานการพักผ่อนมีความสำคัญสำหรับมารดาหลังคลอดที่ให้นมบุตรเนื่องจากวิตกกังวลความไม่สุขสบายจะยับยั้งการหลั่งน้ำนมทำให้ร่างกายอ่อนเพลียรู้สึกเหนื่อยล้า
2.ทำความสะอาดร่างกายมารดาวัยรุ่นควรอาบน้ำวันละสองครั้งสระผมได้ตามปกติและไม่ควรแช่ในอ่างหรือแม่น้ำลำคลองเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย
3.การมีเพศสัมพันธ์ระยะหลังคอดไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 สัปดาห์เนื่องจากหลังคอดแผลภายในโพรงมดลูกยังไม่หายดีอาจเกิดการฉีกขาดได้
4.อาการผิดปกติที่ควรมาโรงพยาบาลทันทีเมื่อสังเกตถึงอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ ไข้ น้ำคาวปลาสีผิดปกติ
5.การวางแผนครอบครัวระยะหลังคอดควรมีการคุมกำเนิดเพื่อเว้นระยะห่างของการมีบุตร
6.การตรวจร่างกายภัยหลังคลอดปกติจะนัดตรวจเมื่อหกสัปดาห์หลังคลอดเพื่อตรวจการกลับคืนเข้าสู่สภาพปกติของร่างกาย
นางสาวธิติมา สังรวมใจ5B