Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะมดลูกปลิ้น (Inversion of the uterus or uterine…
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะมดลูกปลิ้น
(Inversion of the uterus or uterine inversion)
ภาวะที่ยอดมดลูกรั้งลงมาส่วนล่างของโพรงมดลูก ซึ่งอาจพ้นปากมดลูกออกมา หรือโผล่ออกมาถึงปากช่องคลอด
ชนิดของมดลูกปลิ้น
ระดับความรุนแรงของภาวะมดลูกปลิ้น
มดลูกปลิ้นแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete inversion)
ยอดมดลูกเคลื่อนต่ำลง แต่ยังไม่พ้นปาก
มดลูก
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ (complete inversion)
ยอดมดลูกเคลื่อนพ้นปากมดลูก แต่ยังไม่ถึงปากช่องคลอด
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ และเคลื่อนต่ำลงมานอกปากช่องคลอด (prolapsed of complete inverted uterus)
ภาวะที่ยอดมดลูกยุบตัวผ่านออกมาพ้นปากช่องคลอด
แบ่งตามระยะเวลาการเกิดมดลูกปลิ้น
Acute uterine inversion
เกิดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
Subacute uterine inversion
เกิดใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด - 1 เดือนหลังคลอด
Chronic uterine inversion
เกิดตั้งแต่ 1 เดือนหลังคลอด
สาเหตุ
รกเกาะบริเวณส่วนยอดของมดลูก
ดึงสายสะดือแรงเกินไป
ทำคลอดรกในขณะที่รกยังไม่ลอกตัว หรือรกเกาะแน่น
ดันยอดมดลูกที่หน้าท้องมารดามากเกินไป
มดลูกและปากมดลูกอยู่ในภาวะคลายตัว
ผนังมดลูกบางและยืดมาก
ผนังมดลูกหย่อน
อาการและอาการแสดง
ปวดท้องอย่างรุนแรง
ช็อคจากการปวด และการเสียเลือดมาก
ตรวจหน้าท้องในรายที่เป็นมดลูกปลิ้นชนิดไม่สมบูรณ์ จะพบว่ายอดมดลูกเป็นแอ่ง ในรายที่มดลูกปลิ้นสมบูรณ์ จะคลำไม่พบยอดมดลูก
ตรวจภายใน จะคลำได้ก้อนเนื้อบริเวณปากมดลูก หรือคลำได้ก้อนในช่องคลอดหรือก้อนโผล่ออกมานอกช่องคลอด ถ้ารกยังไม่หลุดก็จะเห็นรกติดกับก้อนเนื้อนั้น
ผลกระทบต่อมารดา
เลือดออกอย่างรุนแรง เจ็บปวดมาก หรือช็อคจากการเสียเลือด และอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
ผลกระทบต่อทารก
ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดาล่าช้า รวมถึงการสร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกล่าช้า
การรักษา
การช่วยเหลือการคลอดรกอย่างถูกวิธี การตรวจภายในหลังจากทำคลอดรก และหลังการเย็บแผลสามารถประเมินสภาพได้รวดเร็ว
ให้สารน้ำและให้เลือดอย่างเพียงพอ หรือการฉีดมอร์ฟีนเพื่อระงับ อาการปวด
ดันมดลูกกลับภายใต้การดมยาสลบ
ถ้ารกลอกตัวแล้วให้เริ่มทำการดันมดลูกกลับได้ทันที และใช้ฝ่ามือส่วนปลายและนิ้วหงายขึ้น แล้วดันยอดมดลูกที่ปลิ้นมาอยู่ข้างนอก ให้กลับเข้าไปตามแนวแกนของช่องทางคลอด
เมื่อดันเข้าที่แล้วให้ oxytocin ทันทีเพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดี
กรณีที่ไม่สามารถดันกลับคืนได้ต้องผ่าตัดทางหน้าท้องช่วยทันที
ให้ยาป้องกันการติดเชื้อ และให้ยากลุ่มธาตุเหล็กรักษาภาวะเลือดจาง
การพยาบาล
การพยาบาลเพื่อการป้องกันการเกิดภาวะมดลูกปลิ้น
ห้ามดึงสายสะดือ เพื่อให้รกคลอดก่อนการตรวจสอบว่ารกมีการลอกตัวสมบูรณ์แล้ว
ก่อนทำคลอดรก ต้องตรวจสอบว่ารกมีการลอกตัวสมบูรณ์แล้วทุกครั้ง ให้คลึงมดลูกให้มีการหดรัดตัวกลมแข็ง ก่อนทำคลอดรกและ/หรือไล่ก้อนเลือด
หลังทำคลอดรก คลึงให้มดลูกหดรัดตัวกลมแข็ง เพื่อป้องกันการตกเลือด
การพยาบาลเมื่อเกิดภาวะมดลูกปลิ้น
ดูแลมดลูกที่ปลิ้นมานอกปากช่องคลอดให้ชุ่มชื้นไม่แห้ง โดยใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือคลุมและกดผนังมดลูกที่ปลิ้นไม่ให้เลือดไหลออกมามาก
รายงานแพทย์ เพื่อมาดันมดลูกกลับ
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์
สังเกตภาวะช็อค ได้แก่ เหงื่อออก ตัวเย็น ความดันโลหิตต่ำ หากมีอาการให้รายงานแพทย์ เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
หลังจากแก้ไขภาวะช็อคแล้ว จัดท่าผู้คลอด Lithotomy ให้ดมยาสลบและดันมดลูกกลับหรือล้วงรก
จัดท่าผู้คลอดเพื่อลดการดึงรั้งของรังไข่ โดยยกปลายเตียงให้สูงขึ้นหรือจัดท่า Trendelenberg's position หรือ Knee chest
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและ/หรือให้เลือด เพื่อป้องกันภาวะช็อคจากการเสียเลือด